) คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 1/2553

สดที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 3,385 ล้านบาท เงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 147 ล้านบาท และ เงินสดใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 749 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2553 งบการเงินรวมจึงมี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 4,625 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 4,111 ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 375 ล้านบาท และของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 139 ล้านบาท 3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากเงินสดต้นงวดจำนวน 1,711 ล้านบาท (เป็นเงินทุนของโครงการ PQI 299 ล้านบาท และสำหรับดำเนินงานทั่วไปจำนวน 1,412 ล้านบาท) และในระหว่างงวดบริษัทฯได้เงินอีก 2,400 ล้านบาท จากกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) บริษัทฯ ได้เงินสดมาจากกิจกรรมดำเนินงาน 3,337 ล้านบาท ได้แก่ - มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานที่เป็นเงินสด 1,451 ล้านบาท - มีเงินสดได้มาจากสินทรัพย์ดำเนินงาน 771 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าคงเหลือลดลง 521 ล้านบาท และ สินทรัพย์อื่นๆลดลง 250 ล้านบาท - ได้เงินสดจากหนี้สินดำเนินงาน 1,322 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้นจำนวน 1,460 ล้าน บาท แต่หนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นลดลงจำนวน 138 ล้านบาท - บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ไปเป็นเงินสดจำนวนรวม 207 ล้านบาท 2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 137 ล้านบาท ได้แก่ - จ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 146 ล้านบาท - ได้เงินสดจากการขายสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 9 ล้านบาท 3) ใช้เงินสดไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 800 ล้านบาท เพื่อชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นทั้งจำนวน ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2553 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือจำนวน 4,111 ล้านบาท ซึ่ง เป็นเงินสดที่เป็นเงินทุนของโครงการ PQI จำนวน 217 ล้านบาท และเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 3,894 ล้านบาท 4. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต 4.1 สัญญาป้องกันความเสี่ยงค่าการกลั่น (GRM Hedging) ด้วยสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามปัจจัยพื้นฐานทั้งด้านอุปสงค์และ อุปทาน และการเก็งกำไรในตลาด Commodity ทำให้โรงกลั่นต่างๆได้รับผลกระทบโดยตรงจากความผันผวนของ ค่าการกลั่น บริษัทฯได้ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าวมาโดยตลอด จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้าน ราคาและการเงินขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูงทุกสายงานและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน มีการติดตาม สถานการณ์ในตลาดค้าน้ำมันอย่างใกล้ชิด โดยเลือกใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ในตลาดอย่างเหมาะสม เช่น การซื้อตราสารอนุพันธ์เพื่อกำหนดส่วนต่างราคาของน้ำมันสำเร็จรูปกับราคาน้ำมันดิบอ้างอิงล่วงหน้า และการซื้อ น้ำมันดิบ/ขายน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังล่วงหน้า เป็นต้น โดยบริษัทฯจะยังคงรักษาการดำเนินนโยบายป้องกันความ เสี่ยงนี้ต่อไป เพื่อให้ความผันผวนในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อกิจการน้อยที่สุด 4.2 อัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทฯคือ ความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้นบริษัทฯ จะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้าโดย มีการอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ และส่งผลกระทบต่อกำไร (Margin) ของบริษัทฯด้วย ปัจจุบันบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงบางส่วนโดย ใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ในตลาด และบริษัทฯได้ดำเนินการเปลี่ยนเงินกู้สกุลเงินบาทให้เป็นเงินกู้สกุลเหรียญ สหรัฐฯ (Cross Currency Swap) มูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามนโยบายที่จะปรับสัดส่วนหนี้สินที่อยู่ในรูป สกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน และสมดุลกับรายได้ (Natural Hedge) เพื่อบริหารความเสี่ยงจาก อัตราแลกเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้รับผลกระทบจากความผัน ผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงบริษัทฯจะมีรายได้ในรูปของเงินบาทเพิ่มขึ้นแต่ก็จะมีผลขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยเช่นกัน ในทางกลับกันเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นรายได้ในรูปของเงินบาทจะลดลง แต่บริษัทฯก็ จะมีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนมาชดเชยเช่นกัน สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2552 และจะครบ กำหนดในวันที่ 30 กันยายน 2556 4.3 การลงทุนในธุรกิจใหม่ จากวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ที่มุ่งสร้างสรรค์ธุรกิจพลังงานอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน ดังนั้นในการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจใหม่ทุกโครงการ จะมีการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่จะ กระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของโครงการ มีการประเมินระดับความรุนแรงของแต่ละปัจจัยเสี่ยง การ จัดทำแผนจัดการความเสี่ยงเพื่อกำจัดหรือลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงนั้นๆ รวมถึงการติดตามความก้าวหน้าในการ ดำเนินการตามแผนจัดการความเสี่ยงนั้นๆ ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กร เพื่อให้ มั่นใจได้ว่าการลงทุนในธุรกิจใหม่ใดๆ ธุรกิจนั้นจะสามารถดำเนินงานและบรรลุเป้าหมายได้ตามที่กำหนดไว้ บริษัทฯ กำหนดทิศทางการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจด้านพลังงานทดแทน ที่นอกจากจะเป็นธุรกิจที่จะช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนใน ปัจจุบันนี้ และเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่จะมาทดแทนพลังงานจากฟอสซิล (น้ำมัน และถ่านหิน) แล้ว ยังนับว่าเป็น ธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตที่สูงมาก หรือแม้กระทั่งการขยายสู่ธุรกิจการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เทคโนโลยี สะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงธุรกิจใหม่ๆ ทั้งที่เกี่ยวเนื่องและไม่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจปัจจุบัน เพื่อเป็นการเพิ่ม มูลค่าของกิจการ และเป็นการกระจายความเสี่ยงรายได้ของบริษัทฯในอนาคตอีกด้วย จากการยึดมั่นแนวทางการ พัฒนาธุรกิจอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัทฯ จึงได้ตั้งเป้าหมายที่ พัฒนากิจการให้บริษัทสามารถมุ่งสู่การเป็นบริษัทที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์หรือ Zero Global Warming Impact Company 5. การบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environment Cost Accounting) เพื่อแสดงให้เห็นความรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา บริษัทฯ จึงได้ จัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม (เฉพาะในสายการผลิต) และเผยแพร่สู่สาธารณะในรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นประจำทุกปี บัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม ถือเป็นบัญชีการบริหารด้านสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้บริษัทฯ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น และยังช่วยให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและลดต้นทุนการผลิต ได้รับประโยชน์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและ การเงินซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป สรุปบัญชีค่าใช้จ่ายสิ่งแวดล้อมไตรมาส 1 ปี 2553 เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท) ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 เปลี่ยนแปลง ปี 2553 ปี 2552 +/- ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ (Material Costs of Product Outputs) 20,957 13,301 +7,656 : ประกอบด้วย น้ำมันดิบ สารเคมี ส่วนผสมต่างๆ ในการผลิต และพลังงานที่ใช้ใน การผลิด ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ ( Material Costs of Non-Product 42 25 +17 Outputs) : ประกอบด้วย น้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพ น้ำทิ้ง สารเคมีที่ใช้เกินจำเป็น และส่วนผสม อื่นที่เกินจำเป็น ค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษ (Waste and Emission Control Costs ) 22 18 +4 : ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายบำบัดหรือกำจัดของเสีย รวมถึงค่าบำรุงรักษา และค่าเสื่อม ของอุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อม ( Prevention and Other Environmental 2 05 +1.5 Management Costs) : ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายการติดตาม ป้องกัน ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ประโยชน์ของผลผลิตพลอยได้และการนำของเสียมาใช้ใหม่ ( Benefit from -0.5 -1 -0.5 by-product and waste recycling) : ประกอบด้วย รายได้ของการใช้ประโยชน์จากของเสีย (เครื่องหมายลบหมายถึง รายได้) จากตารางด้านบน ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นมีปัจจัยหลักมาจากราคาน้ำมันดิบและกำลัง การผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงค่าสารเคมี น้ำ และพลังงานที่สูงขึ้นตามกำลังการผลิตและการเดินหน่วยกลั่น PQI มีการเพิ่ม การผลิตน้ำปราศจากแร่ธาตุเพื่อผลิตไอน้ำสำหรับทำความสะอาดท่อในโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังงานร่วมที่อยู่ใน ระหว่างการทดลองเดินเครื่อง ส่วนค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 17 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงถังเก็บน้ำมัน สำหรับหมวดค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษ มีค่าบำบัดน้ำ ทิ้งที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณน้ำใช้และน้ำทิ้งที่เพิ่มสูงขึ้น ในหมวดค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อมสูงกว่าไตร มาส 1 ปีที่แล้ว เกือบ 4 เท่า เนื่องจากบริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมีการ ดำเนินการเกี่ยวกับระบบการจัดการเพิ่มขึ้น