ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
) คำอธิบายและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน งวดปีสิ้นสุด 31 ธ.ค.52
จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลอีกครั้งในเดือนกันยายน 2552 อัตราหุ้นละ 1.00 บาท รวมมูลค่าเงินปัน
ผลที่จ่ายไปทั้งสิ้น 1,729 ล้านบาท
- มีการตัดจำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เป็นจำนวน 379 ล้านบาท
3) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552 ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัทฯ สำหรับ
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน (โครงการ ESOP) จำนวน 24 ล้านหน่วย ได้หมดอายุลงโดยไม่มีผู้ใด
สามารถใช้สิทธิได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ บริษัทฯ ยังมีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถ
ใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ
และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 212
ล้านหุ้น เมื่อคิด Full Dilution แล้วมีสัดส่วนประมาณ 15.3% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552
3.1 สำหรับปี 2552 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา 2,322 ล้านบาท
ในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิลดลงจากกิจกรรมต่างๆ จำนวน 186 ล้านบาท โดยได้เงินสดจากกิจกรรม
ดำเนินงาน 3,983 ล้านบาท ใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 3,458 ล้านบาท และใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน
711 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นปี 2552 งบการเงินรวมจึงมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 2,136
ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 1,711 ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน
380 ล้านบาท และของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 45 ล้านบาท
3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากเงินสดต้นงวดจำนวน 2,095 ล้านบาท (เป็นเงินทุนโครงการ PQI 187
ล้านบาท และสำหรับดำเนินงานทั่วไปจำนวน 1,908 ล้านบาท) และในระหว่างปี บริษัทฯ ใช้เงินไป 384
ล้านบาท ในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) บริษัทฯ ได้เงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน 3,849 ล้านบาท ได้แก่
- มีกำไรจากการดำเนินงานที่เป็นเงินสด ก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สิน
ดำเนินงาน 11,535 ล้านบาท
- ใช้เงินสดไปเพื่อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 7,552 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 6,939 ล้าน
บาท ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,041 ล้านบาท แต่สินทรัพย์อื่นๆลดลง 428 ล้านบาท
- มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 2,178 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1,571
ล้านบาท และได้มาจากหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 607 ล้านบาท
- บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายทางการเงิน และภาษีเงินได้ เป็นเงินสดจำนวน 760 ล้านบาท
และ 1,552 ล้านบาท ตามลำดับ
2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 2,940 ล้านบาท ได้แก่
- จ่ายเงินเพิ่มทุนในบริษัท บางจากไบโอฟูเอล 118 ล้านบาท
- จ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 2,745 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็น
ส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดไปจำนวน 1,398 ล้านบาท
- ใช้เงินสดไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆจำนวน 77 ล้านบาท
3) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 1,293 ล้านบาท ได้แก่
- ชำระคืนกู้เงินระยะสั้นจำนวน 470 ล้านบาท
- เบิกเงินกู้ระยะยาวเพื่อใช้จ่ายสำหรับโครงการ PQI จำนวน 1,510 ล้านบาท
- จ่ายคืนเงินกู้ระยะยาวตามกำหนดจำนวน 603.50 ล้านบาท
- จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,729 ล้านบาท
ดังนั้น ณ สิ้นปี 2552 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือจำนวน 1,711 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสด
สำหรับเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 299 ล้านบาท และสำหรับใช้ดำเนินงานทั่วไปจำนวน 1,412 ล้านบาท
4. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินสำหรับปี 2552 เทียบกับปี 2551
ปี 2552 ปี 2551
อัตราส่วนแสดงสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) เท่า 1.8 1.8
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (Quick Ratio) เท่า 0.7 1.1
อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (Receivable Turnover) เท่า 24.2 27.2
ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (Collection Period) วัน 15.1 13.5
อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) เท่า 10.1 14.8
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (Inventory Turnover Period) วัน 36.1 24.7
อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้ (Account Payable Turnover) เท่า 19.1 18.5
ระยะเวลาชำระหนี้ (Payment Period) วัน 19.1 19.7
Cash Cycle วัน 32.1 18.5
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio)
อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ร้อยละ 6.9 -0.6
อัตรากำไรสุทธิไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน 1/ ร้อยละ 4.8 2.2
(Net Profit Margin excluded Inventory Effect)
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) ร้อยละ 33.0 -3.7
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน 1/ ร้อยละ 20.3 14.4
(Return on Equity excluded Inventory Effect)
อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน(Efficiency Ratio)
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Total Assets) ร้อยละ 15.6 -1.7
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน 1/ ร้อยละ 9.8 6.7
(Return on Total Assets excluded Inventory Effect)
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ (Assets Turnover) เท่า 2.2 2.9
อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Financial Policy Ratio)
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Debt / Equity) 2/ เท่า 0.6 0.8
Debt / Equity (รวมหุ้นกู้แปลสภาพ) 3/ เท่า 0.5 0.6
หมายเหตุ : คำนวณจากงบการเงินรวม
1/ คำนวณเพื่อการวิเคราะห์กรณีไม่รวมผลกระทบทั้งกำไรและขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิภาษีในอัตราร้อยละ 30
2/ คำนวณจากหนี้สินเฉพาะส่วนที่มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย
3/ รวมหุ้นกู้แปลงสภาพไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น
5. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต
โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI)
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ใน
ส่วนของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจาก
การขึ้นลงของราคาขายปลีกดังกล่าวมักจะทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น
ปัจจุบันบริษัทฯได้ติดตั้งหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และ
ทำให้โรงกลั่นของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery สามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่
ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยังทำให้โรงกลั่นสามารถใช้กำลังการกลั่นได้เพิ่ม
สูงขึ้น อย่างไรก็ตามการเลือกใช้น้ำมันดิบและ Mode การกลั่นยังขึ้นอยู่กับปัจจัยค่าการกลั่นและระดับราคาน้ำมันใน
ขณะนั้นๆเป็นสำคัญ โครงการ PQI มีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ
(Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ สัญญาก่อสร้าง
โครงการ PQI นี้เป็นลักษณะราคาก่อสร้างคงที่ มีกำหนดเวลาก่อสร้างที่แน่นอน และรับประกันผลงาน โดยบริษัทฯได้
จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand Co., Ltd.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง
ขณะนี้งานก่อสร้างได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ ได้ดำเนินการทดสอบอุปกรณ์และหน่วยผลิต 3 หน่วยหลัก ได้แก่
หน่วยกลั่นสุญญากาศ (Vacuum Distillation Unit - VDU) หน่วยผลิตไฮโดรเจน (Hydrogen Plant Unit - HPU)
และหน่วยแตกโมเลกุล (Hydro-cracking Unit - HCU) โดยได้ทดสอบประสิทธิภาพตามเงื่อนไขสัญญาก่อสร้างเป็นที่
เรียบร้อยและสามารถเริ่มผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2552
อนึ่งจากการที่ บริษัทฯได้หยุดเดินเครื่องหน่วยแตกตัวโมเลกุล (Hydro-cracking Unit) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการ PQI เพื่อซ่อมแซมระบบควบคุมอัตโนมัติในการเปิดปิดและสูบถ่ายน้ำมันของหน่วยดังกล่าวที่เกิดความ
เสียหายขึ้นในช่วงเตรียมดำเนินการทดสอบขั้นสุดท้าย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 นั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่
ภายใต้การประกันคุ้มครองความเสียหายระหว่างก่อสร้าง (Construction All Risks) และการคุ้มครองความเสียหาย
จากการเดินเครื่องล่าช้า (Delay in Start-Up) ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับบริษัทผู้รับประกันภัยและบริษัท
ผู้รับเหมาก่อสร้าง
อัตราแลกเปลี่ยน
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทฯคือ ความผันผวนของอัตรา
แลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้นบริษัทฯ จะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้าโดย
มีการอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ
และส่งผลกระทบต่อกำไร (Margin) ของบริษัทฯด้วย ปัจจุบันนอกจากบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงโดย
ใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดแล้วบางส่วน อีกทั้งเมื่อบริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างเงินกู้ใหม่เมื่อวันที่ 2
กรกฎาคม 2551 แล้ว บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการเปลี่ยนเงินกู้สกุลเงินบาทให้เป็นเงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐฯ (Cross
Currency Swap) มูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามนโยบายที่จะปรับสัดส่วนหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญ
สหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน และสมดุลกับรายได้ (Natural Hedge) เพื่อบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตรา
แลกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงบริษัทฯจะมีรายได้ในรูปของเงินบาทเพิ่มขึ้นแต่ก็จะมีผลขาดทุนจากอัตรา
แลกเปลี่ยนด้วยเช่นกัน ในทางกลับกันเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นรายได้ในรูปของเงินบาทจะลดลง แต่บริษัทฯก็จะมีผล
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนมาชดเชยเช่นกัน สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2552 และจะครบกำหนด
ในวันที่ 30 กันยายน 2556
สัญญาป้องกันความเสี่ยงค่าการกลั่น (GRM Hedging)
แม้ว่าโครงการ PQI จะแล้วเสร็จและสามารถเพิ่มค่าการกลั่นให้แก่บริษัทฯได้ในระยะยาว แต่ด้วย
สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามปัจจัยพื้นฐานทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน และ
การเก็งกำไรในตลาด Commodity ทำให้โรงกลั่นต่างๆได้รับผลกระทบโดยตรงจากความผันผวนของค่าการกลั่น
บริษัทฯได้ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าวมาโดยตลอด จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านราคาและ
การเงินขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูงทุกสายงานและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่
กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน มีการติดตามสถานการณ์ใน
ตลาดค้าน้ำมันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความผันผวนในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อกิจการน้อยที่สุด โดย
เลือกใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ในตลาดอย่างเหมาะสม เช่น การซื้อตราสารอนุพันธ์เพื่อกำหนดส่วนต่าง
ราคาของน้ำมันสำเร็จรูปกับราคาน้ำมันดิบอ้างอิงล่วงหน้า และการซื้อน้ำมันดิบ/ขายน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังล่วงหน้า
เป็นต้น
6. การบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environment Management Accounting-EMA)
เพื่อแสดงให้เห็นความรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา บริษัทฯ จึงได้
จัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม (เฉพาะในสายการผลิต) และเผยแพร่สู่สาธารณะในรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป็นประจำทุกปี บัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม ถือเป็นบัญชีการบริหารด้านสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องมือ
ที่ทำให้บริษัทฯ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น
และยังช่วยให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและลดต้นทุนการผลิต ได้รับประโยชน์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและ
การเงินซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป สรุปบัญชีค่าใช้จ่ายสิ่งแวดล้อมปี 2552 เทียบกับปี 2551 ได้ดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท) ปี 2552 ปี 2551 เปลี่ยนแปลง
+/-
ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ (Material Costs of Product Outputs)
: ประกอบด้วย น้ำมันดิบ สารเคมี ส่วนผสมต่างๆ ในการผลิต และพลังงานที่ใช้ใน 64,141 91,564 -27,423
การผลิด
ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ ( Material Costs of Non-Product
Outputs) 96 19 +77
: ประกอบด้วย น้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพ น้ำทิ้ง สารเคมีที่ใช้เกินจำเป็น และส่วนผสม
อื่นที่เกินจำเป็น
ค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษ (Waste and Emission Control Costs )
: ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายบำบัดหรือกำจัดของเสีย รวมถึงค่าบำรุงรักษา และค่าเสื่อม 79 87 -8
ของอุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อม ( Prevention and Other Environmental
Management Costs) 5 4 +1
: ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายการติดตาม ป้องกัน ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ประโยชน์ของผลผลิตพลอยได้และการนำของเสียมาใช้ใหม่ ( Benefit from
by-product and waste recycling) -3 -3 -
: ประกอบด้วย รายได้ของการใช้ประโยชน์จากของเสีย (เครื่องหมายลบหมายถึง
รายได้)
จากตารางด้านบน พบว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมในปี 2552 นี้ ต่ำกว่าปีก่อนมาก จากค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับ
ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยที่เข้ากลั่นในปีนี้ต่ำกว่าปีที่แล้วประมาณ 7.57 บาทต่อลิตร แม้ว่าจะมี
การใช้กำลังการกลั่นในปีนี้สูงขึ้นกว่าปีก่อนประมาณ 5.0 พันบาร์เรลต่อวันก็ตาม สำหรับค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไป
กับผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นประมาณ 77 ล้านบาท หรือประมาณ 4 เท่า ส่วนใหญ่มาจากน้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพต้องนำเข้าสู่
กระบวนการกลั่นใหม่มีปริมาณสูงขึ้นในช่วงการทดลองเดินเครื่องหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ค่าใช้จ่ายเพื่อ
อุปกรณ์ควบคุมมลพิษลดลง 8 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปี 2551 มีงานซ่อมบำรุง
ใหญ่ประจำปี ส่วนค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.0 เนื่องจากบริษัทฯ ให้
ความสำคัญในการเฝ้าระวังโดยการเพิ่มความถี่ในการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมมากขึ้น