) คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 2/2552

3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2552 3.1 สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2552 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา 1,682 ล้านบาท โดยในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ จำนวน 414 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,772 ล้านบาท เงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 2,355 ล้านบาท แต่ได้เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 997 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2552 งบการเงินรวมจึงมีเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 2,096 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 1,795 ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 268 ล้านบาท และของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 33 ล้านบาท 3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากเงินสดต้นงวดจำนวน 1,495 ล้านบาท (เป็นเงินทุนโครงการ PQI 187 ล้านบาท และสำหรับดำเนินงานทั่วไปจำนวน 1,308 ล้านบาท) และในระหว่างงวดบริษัทฯได้เงินอีก 300 ล้านบาท จากกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) บริษัทฯ ได้เงินสดมาจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,667 ล้านบาท ได้แก่ - มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานที่เป็นเงินสด 6,244 ล้านบาท - ใช้เงินสดไปเพื่อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 7,529 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 5,382 ล้านบาท ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,240 ล้านบาท และซื้อสินทรัพย์อื่นๆเพิ่มขึ้น 907 ล้านบาท - มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 3,400 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 3,181 ล้านบาท และได้มาจากหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 219 ล้านบาท - บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ไปเป็นเงินสดจำนวนรวม 448 ล้านบาท 2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 2,043 ล้านบาท ได้แก่ - ลงทุนซื้อตั๋ว B/E ระยะสั้นเพิ่มจำนวน 500 ล้านบาท - จ่ายเงินเพิ่มทุนในบริษัท บางจากไบโอฟูเอล 40 ล้านบาท - จ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 1,507 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็น ส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดในปีนี้จำนวน 880 ล้านบาท - ได้เงินสดจากสินทรัพย์อื่นๆ อีกจำนวน 4 ล้านบาท 3) บริษัทฯ ได้เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 676 ล้านบาท ได้แก่ - กู้เงินระยะสั้นจากธนาคารและออกตั๋ว B/E จำนวน 630 ล้านบาท - เบิกเงินกู้ระยะยาวเพื่อใช้จ่ายสำหรับโครงการ PQI จำนวน 890 ล้านบาท - จ่ายคืนเงินกู้ระยะยาวตามกำหนดจำนวน 284 ล้านบาท - จ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท รวมเป็นเงิน 560 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2552 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือจำนวน 1,795 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงิน สดที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 197 ล้านบาท และเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 1,598 ล้านบาท 4. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต 4.1 โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ในส่วนของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจาก การขึ้นลงของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่ โรงกลั่นของบริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery จึงมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับ โรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯถูกจำกัด ไว้ บริษัทฯจำเป็นต้องหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้ดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วย แตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ และคาดว่าจะทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ยปีละ 2,000-4,000 ล้านบาท เป็น ประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท หลังจากที่โครงการดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับภาวะราคาน้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ โครงการ PQI มีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลง รายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ สัญญาก่อสร้างโครงการ PQI นี้เป็นลักษณะราคาก่อสร้างคงที่ มีกำหนดเวลาก่อสร้างที่แน่นอน และรับประกันผลงาน โดยบริษัทฯได้จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand) Company Limited เป็น ผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งงานก่อสร้างได้แล้วเสร็จ และได้ดำเนินการทดสอบอุปกรณ์และหน่วยผลิต 3 หน่วยหลัก ได้แก่ หน่วยกลั่นสุญญากาศ (Vacuum Distillation Unit - VDU) หน่วยผลิตไฮโดรเจน (Hydrogen Plant Unit - HPU) และ หน่วยแตกโมเลกุล (Hydro-cracking Unit - HCU) และผ่านขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพตามเงื่อนไขหลักที่ตกลง กับกลุ่มธนาคารผู้ให้กู้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552 อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 บริษัทฯได้หยุดเดินเครื่องหน่วยแตกตัวโมเลกุล (Hydro- cracking Unit) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ PQI เพื่อซ่อมแซมระบบควบคุมอัตโนมัติในการเปิดปิดและสูบถ่ายน้ำมัน ของหน่วยดังกล่าวที่เกิดความเสียหายขึ้นในช่วงเตรียมดำเนินการทดสอบขั้นสุดท้าย อนึ่งบริษัทฯยังมิได้รับมอบหน่วย กลั่น PQI จากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง ดังนั้นความเสียหายของหน่วยแตกตัวโมเลกุลที่เกิดขึ้นยังอยู่ในความดูแลและ ความรับผิดชอบของบริษัทผู้รับเหมาทั้งหมด ซึ่งได้มีการทำประกันคุ้มครองความเสียหายระหว่างก่อสร้าง (Construction All Risks) ของโครงการไว้แล้ว และรวมถึงบริษัทฯจะได้รับการคุ้มครองความเสียหายจากการ เดินเครื่องล่าช้า (Delay in Start-Up) ด้วย โดยขณะนี้การซ่อมแซมได้ดำเนินการแล้วเสร็จและอยู่ระหว่างการเริ่ม ทดลองเดินเครื่อง และบริษัทฯจะกำหนดช่วงเวลาในการดำเนินการทดสอบขั้นสุดท้ายตามข้อกำหนดที่ผู้รับเหมาก่อสร้าง ต้องปฏิบัติให้ได้ตามเงื่อนไขในสัญญาก่อสร้างเพื่อพิจารณาปลดภาระหลักประกันให้แก่ผู้รับเหมา และโอนความรับผิดชอบของโรงงานคืนแก่บริษัทฯต่อไป 4.2 อัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทฯคือ ความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้นบริษัทฯ จะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้าโดย มีการอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ และส่งผลกระทบต่อกำไร (Margin) ของบริษัทฯด้วย ปัจจุบันนอกจากบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงโดย ใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดแล้วบางส่วน อีกทั้งเมื่อบริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างเงินกู้ใหม่เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 แล้ว บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการเปลี่ยนเงินกู้สกุลเงินบาทให้เป็นเงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐฯ (Cross Currency Swap) มูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามนโยบายที่จะปรับสัดส่วนหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญ สหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน และสมดุลกับรายได้ (Natural Hedge) เพื่อบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงบริษัทฯจะมีรายได้ในรูปของเงินบาทเพิ่มขึ้นแต่ก็จะมีผลขาดทุนจากอัตรา แลกเปลี่ยนด้วยเช่นกัน แต่ในทางกลับกันเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นรายได้ในรูปของเงินบาทจะลดลง แต่บริษัทฯก็จะมีผล กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนมาชดเชยเช่นกัน สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2552 และจะครบกำหนด ในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 4.3 สัญญาป้องกันความเสี่ยงค่าการกลั่น (GRM Hedging) แม้ว่าโครงการ PQI จะแล้วเสร็จและสามารถเพิ่มค่าการกลั่นให้แก่บริษัทฯได้ในระยะยาว แต่ด้วย สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามปัจจัยพื้นฐานทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ด้วย ปัจจัยดังกล่าวทำให้โรงกลั่นต่างๆได้รับผลกระทบโดยตรงต่อค่าการกลั่น บริษัทฯได้ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว มาโดยตลอด จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านราคาและการเงินขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้บริหารระดับสูงทุกสายงานและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการบริหาร ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน มีการติดตามสถานการณ์ในตลาดค้าน้ำมันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความผัน ผวนในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อกิจการน้อยที่สุด โดยเลือกใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ ในตลาดอย่างเหมาะสม เช่น การซื้อตราสารอนุพันธ์เพื่อกำหนดส่วนต่างราคาของน้ำมันสำเร็จรูปกับราคาน้ำมันดิบ อ้างอิงล่วงหน้า และการซื้อน้ำมันดิบ/ขายน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังล่วงหน้า เป็นต้น บริษัทฯมีสัญญาประกันราคาซื้อขาย น้ำมันล่วงหน้าคงเหลือสำหรับเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2553 กับบริษัทคู่สัญญาในต่างประเทศจำนวนทั้งสิ้น 8.06 ล้านบาร์เรล 5. การบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environment Management Accounting-EMA) เพื่อแสดงให้เห็นความรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา บริษัทฯ จึงได้ จัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม (เฉพาะในสายการผลิต) และเผยแพร่สู่สาธารณะในรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นประจำทุกปี บัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม ถือเป็นบัญชีการบริหารด้านสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องมือ ทำให้บริษัทฯ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในการบริหารด้านสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ช่วยให้มี การใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพขึ้นและลดต้นทุน ได้รับประโยชน์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและการเงินซึ่งนำไปสู่ความ ยั่งยืนต่อไป ในปี 2552 นี้ บัญชีค่าใช้จ่ายสิ่งแวดล้อมรายไตรมาส สามารถสรุปได้ดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท) ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 2 เปลี่ยนแปลง ปี 2552 ปี 2551 +/- ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ (Material Costs of Product Outputs) 29,067.31 44,249.85 -15,182.54 : ประกอบด้วย น้ำมันดิบ สารเคมี ส่วนผสมต่างๆ ในการผลิต และพลังงานที่ใช้ใน การผลิด ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ ( Material Costs of Non-Product Outputs) 57.22 11.22 +46.00 : ประกอบด้วย น้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพ น้ำทิ้ง สารเคมีที่ใช้เกินจำเป็น และส่วนผสม อื่นที่เกินจำเป็น ค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษ (Waste and Emission Control Costs ) 37.90 32.48 +5.42 : ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายบำบัดหรือกำจัดของเสีย รวมถึงค่าบำรุงรักษา และค่าเสื่อม ของอุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อม ( Prevention and Other Environmental 2.44 0.63 +1.81 Management Costs) : ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายการติดตาม ป้องกัน ด้านสิ่งแวดล้อมต่าง -1.01 -1.44 -0.43 ประโยชน์ของผลผลิตพลอยได้และการนำของเสียมาใช้ใหม่ ( Benefit from by-product and waste recycling) : ประกอบด้วย รายได้ของการใช้ประโยชน์จากของเสีย (เครื่องหมายลบหมายถึง รายได้) จากตารางด้านบน พบว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมในไตรมาส 2 ปีนี้ ต่ำกว่าไตรมาส 2 ปีที่ผ่านมาประมาณ 15,129 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 34.15 ค่าใช้จ่ายโดยส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกว่าร้อยละ 99 เป็นค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับ ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 2 ปีนี้ที่ต่ำกว่าไตรมาส 2 ปีที่แล้วประมาณ 9.26 บาทต่อลิตร ขณะที่การใช้กำลังการกลั่นโดยเฉลี่ยไตรมาส 2 ปีนี้อยู่ที่ 83.9 KBD ซึ่งใกล้เคียงกับไตรมาส 2 ปีที่ผ่านมาที่ 83.6 KBD ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นประมาณ 46.0 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 4 เท่า ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันที่ ไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนด (Slop oil) และค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษ เพิ่มขึ้น 5.42 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.69 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการต้องใช้สารเคมีเพื่อการบำบัดน้ำทิ้งมากขึ้นสอดคล้องกับ ปริมาณการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งสองรายการส่วนใหญ่มาจากการทดสอบเดินเครื่องจักรโครงการ PQI สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น 1.81 ล้านบาทหรือหรือเพิ่มขึ้น 2.8 เท่า เนื่องจากการให้ความสำคัญกับ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้น