) คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 3/2551

เงินสดที่ใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงาน 1,715 ล้านบาท เงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 7,460 ล้านบาท แต่ได้เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 5,179 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 งบการเงินรวมจึงมีเงิน สดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 2,454 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 2,178 ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 258 ล้านบาท และของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 18 ล้านบาท 3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากเงินสดต้นงวดจำนวน 6,088 ล้านบาท (เป็นเงินทุนโครงการ PQI 2,918 ล้านบาท และใช้ในดำเนินงานทั่วไปจำนวน 3,170 ล้านบาท) และในระหว่างงวด 9 เดือนบริษัทฯใช้เงินไป 3,910 ล้านบาท ในกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมดำเนินงาน 1,588 ล้านบาท ได้แก่ - กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานที่เป็นเงินสด 5,953 ล้านบาท - ใช้เงินสดไปเพื่อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 5,648 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 3,583 ล้าน บาท ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 740 ล้านบาท และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 1,325 ล้านบาท - มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 730 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 635 ล้าน บาท และมีหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 95 ล้านบาท - บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ไปเป็นเงินสดจำนวน 862 ล้านบาท และ 1,761 ล้านบาท ตามลำดับ 2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 7,403 ล้านบาท ได้แก่ - จ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 7,669 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็น ส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดไปจำนวน 6,573 ล้านบาท - ได้เงินสดจากสินทรัพย์อื่นจำนวน 266 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการรับคืนเงินค้ำประกันการทำ ธุรกรรม Oil Hedging 3) บริษัทฯ ได้เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 5,081 ล้านบาท ได้แก่ - กู้เงินระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 1,020 ล้านบาท - เบิกเงินกู้ระยะยาวจำนวน 14,221 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายสำหรับโครงการ PQI และชำระคืนเงินกู้เดิม (Refinance) - จ่ายคืนเงินกู้ระยะยาวจำนวน 9,824 ล้านบาท เพื่อการ Refinance เงินกู้เดิม - จ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการปี 2550 ให้ผู้ถือหุ้นไปจำนวน 336 ล้านบาท (จำนวน 1,119 ล้านหุ้น ปันผลหุ้นละ 0.30 บาท) ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือจำนวน 2,178 ล้านบาท ซึ่ง เป็นเงินสดที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 1,057 ล้านบาท และสำหรับใช้ดำเนินงานทั่วไปจำนวน 1,121 ล้านบาท 4. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ใน ส่วนของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจาก การขึ้นลงของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่ โรงกลั่นของบริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery จึงมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับ โรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯถูกจำกัด ไว้ บริษัทฯจำเป็นต้องหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้ดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วย แตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ บริษัทฯคาดว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2552 และคาด ว่าจะทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ยปีละ 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000-8,000 ล้าน บาท หลังจากที่โครงการดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะราคาน้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ โครงการ PQI มีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ สัญญาก่อสร้าง โครงการ PQI นี้เป็นลักษณะราคาก่อสร้างคงที่ มีกำหนดเวลาก่อสร้างที่แน่นอน และรับประกันผลงาน โดยบริษัทฯได้ จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand Co., Ltd.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ในส่วน ของการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการแล้วเสร็จครบถ้วนตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ขณะนี้ การก่อสร้างโครงการมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก สิ้นสุดเดือนตุลาคม 2551 คิดเป็นร้อยละ 97.6 โดยบริษัทฯ ได้ร่วม ทำงานกับผู้รับเหมาและดูแลการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด บริษัทฯคาดว่าโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จได้ในเดือนมกราคม 2552 อัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่อาจมีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทฯคือ ความผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้นบริษัทฯ จะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้ การค้าโดยมีการอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของ สินทรัพย์สุทธิ แต่ทั้งนี้บริษัทฯก็มีนโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ใน ระดับที่ใกล้เคียงกัน โดยปัจจุบันบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ ในตลาดแล้วบางส่วน อีกทั้งภายหลังจากการที่บริษัทฯได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเงินกู้ใหม่ บริษัทฯจะสามารถบริหาร ความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โครงสร้างเงินกู้ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 บริษัทได้ทำการปรับโครงสร้างเงินกู้โดยการจัดหาเงินกู้ยืมใหม่ทดแทนเงินกู้เดิม (Refinance) โดยทำสัญญาเงินกู้กับธนาคารภายในประเทศ 4 แห่ง และธนาคารต่างประเทศ 2 แห่ง วงเงินรวม 23,734 ล้านบาท ประกอบด้วย - วงเงินกู้ระยะยาว 16,500 ล้านบาท เพื่อจ่ายชำระคืนเงินกู้ภายใต้สัญญาให้สินเชื่อกับธนาคารกรุงไทยและ สัญญาให้สินเชื่อโครงการ PQI รวมทั้งเพื่อชำระค่าก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของโครงการ EURO IV และ โครงการด้านพลังงานอื่นๆ - วงเงินกู้ระยะสั้น 7,234 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินงานทั่วไป ในการให้ได้มาซึ่งเงินกู้ใหม่ครั้งนี้ บริษัทฯจะต้องชำระค่าธรรมเนียมจากการคืนเงินกู้ก่อนกำหนดรวม ค่าธรรมเนียมการยกเลิกการใช้สินเชื่อของเงินกู้เดิม จำนวน 174 ล้านบาท ซึ่งบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนี้ทั้งจำนวน และค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินกู้ใหม่จำนวน 128 ล้านบาท ซึ่งบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายรอตัดจ่ายแทนที่ค่าใช้จ่ายในการกู้ เงินรอตัดบัญชีของวงเงินกู้เดิมจำนวน 68 ล้านบาท โดยได้รับประโยชน์ ดังนี้ 1. ขยายระยะเวลาการคืนเงินกู้จากเดิม 7 ปีเป็น 9 ปี และมีสัดส่วนการชำระคืนเงินต้นต่ำในช่วง 5 ปีแรก เพื่อ เพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจและเพิ่มโอกาสในการลงทุนในอนาคต 2. ผลประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่จะประหยัดได้จากเงินกู้ใหม่กับเงินกู้เดิม โดยการเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย อ้างอิงจาก MLR เป็น THBFIX อย่างไรก็ตามอาจมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่อ้างอิง THBFIX จะ สูงกว่า MLR ได้ 3. เพิ่มความสามารถในการบริหารความเสี่ยงทางการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ การเปลี่ยนอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Interest Rate Swap) และสามารถปรับเปลี่ยนเงินกู้สกุลบาทให้เป็น เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ (Cross Currency Swap) ได้ ซึ่งบริษัทฯจะพิจารณาการบริหารความเสี่ยงด้าน อัตราดอกเบี้ยรวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนในระดับที่เหมาะสมต่อไป 4. ผลประโยชน์จากการปรับรูปแบบเงินกู้เป็นแบบไม่มีหลักประกัน และเงื่อนไขต่างๆ ให้เหมาะสม เพื่อรองรับ การจัดหาเงินทุน หรือเงินกู้เพิ่มเติม สำหรับการลงทุนโครงการใหม่ในอนาคต การให้ส่วนลดราคาน้ำมันดีเซล ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯครั้งที่ 6/2551 วันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ได้เห็นชอบการให้ส่วนลดราคาน้ำมัน ดีเซล ที่จำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าเฉพาะ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการรถโดยสารขนส่งสาธารณะ ผู้ประกอบการประมง และกลุ่มเกษตรกร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาราคาน้ำมันแพง และเพื่อให้เกิดการบริโภคภายในประเทศได้ อย่างต่อเนื่อง ไม่มีเหตุหยุดชะงักอันอาจทำให้มีผลกระทบต่อการผลิตของบริษัทฯในระยะยาว ในอัตราไม่เกิน 3 บาทต่อ ลิตร ในช่วงเวลาไม่เกิน 6 เดือน(มิถุนายน-พฤศจิกายน 2551) รวมเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 261 ล้านบาท ทั้งนี้หากในช่วง ระยะเวลา 6 เดือนนี้ บริษัทฯประสบปัญหาขาดทุนหรือปัญหาในการดำเนินธุรกิจ หรือทำให้บริษัทฯผิดเงื่อนไขต่อเจ้าหนี้ เงินกู้ยืม หรือหุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ บริษัทฯ สามารถหยุดการให้ความช่วยเหลือได้ทันที จนถึงสิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทฯได้ให้ส่วนลดไปแล้วทั้งสิ้น 9 ล้านบาท