) MD&A งวด 31 ธันวาคม 50

งบดุล 31 ธันวาคม 2550 31 ธันวาคม 2549 (งบเฉพาะบริษัท) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) เงินลงทุนบริษัทย่อย 0.49 28 (27) 0.49 - 0.49 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวส่งผลต่อการแสดงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัท ย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อการจัดทำงบการเงินรวมและปัจจัยพื้นฐานการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทฯแต่อย่างใด 5.คำอธิบายและการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน สำหรับปี 2550 เปรียบเทียบกับปี 2549 ปี 2550 ปี 2549 (ตรวจสอบแล้ว) (ปรับปรุงใหม่) อัตราส่วนเกี่ยวกับสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) เท่า 1.8 2.4 อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (Quick Ratio) เท่า 1.0 1.3 อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (Receivable Turnover) เท่า 23.3 29.5 ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (Collection Period) วัน 15.7 12.4 อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) เท่า 8.9 9.3 ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (Inventory Turnover Period) วัน 40.9 39.3 อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้ (Account Payable Turnover) เท่า 13.5 18.9 ระยะเวลาชำระหนี้ (Payment Period) วัน 27.1 19.3 Cash Cycle วัน 29.4 32.4 อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ร้อยละ 1.9 0.2 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) ร้อยละ 8.8 1.2 อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน(Efficiency Ratio) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Total Assets) ร้อยละ 4.3 0.5 อัตราการหมุนของสินทรัพย์ (Assets Turnover) เท่า 2.3 2.6 อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Financial Policy Ratio) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Debt to Equity) 1/ เท่า 0.5 0.7 หมายเหตุ : คำนวณจากงบการเงินรวม 1/ คำนวณจากหนี้สินเฉพาะในส่วนที่มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย (Interest Bearing Debt) สำหรับปี 2550 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิรวม 1,764 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 195 ล้านบาท จึงทำให้ อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและอัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงานดีขึ้น และส่งผลถึงอัตราส่วน หนี้สินต่อทุนที่ปรับตัวดีขึ้นด้วยเนื่องจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีมูลค่าสูงขึ้น ในส่วนของอัตราส่วนสภาพคล่องและอัตรา ส่วนสภาพคล่องหมุนเร็วที่ลดลงเนื่องจากได้มีการทยอยใช้จ่ายเงินทุนการก่อสร้างโครงการ PQI ออกไปในส่วนที่บริษัท ได้ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนไว้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 6. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ในส่วนของ ค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจากการขึ้นลง ของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่โรงกลั่นของ บริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery ซึ่งมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯ ถูกจำกัดไว้ ซึ่งบริษัทฯ มี ความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียม กับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุล น้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และคาดว่า จะทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ย 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท หลังจากที่โครงการฯดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะราคาน้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ ซึ่งโครงการ PQI ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วโดยมีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลง รายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ สัญญาก่อสร้างโครงการ PQI นี้เป็นลักษณะราคาก่อสร้างคงที่ มีกำหนดเวลาก่อสร้างที่แน่นอน และรับประกันผลงาน โดยบริษัทได้จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand Co., Ltd.) เป็น ผู้รับเหมาก่อสร้าง ในส่วนของการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการแล้วเสร็จครบถ้วนตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยมีความคืบหน้าโครงการสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2550 คิดเป็นร้อยละ 68.2 เมื่อ เทียบกับแผนที่ได้ปรับปรุงใหม่ที่วางไว้ที่ร้อยละ 65.5 ทั้งนี้บริษัทฯได้จัดทำแผนร่วมกับผู้รับเหมาเพื่อเร่งงานก่อสร้าง อาทิ การจัดหาแรงงานสำรองและเพิ่มเวลาทำงาน ในส่วนการผลิตวัสดุอุปกรณ์ย่อยบริษัทฯได้เร่งรัดการผลิต และจัดส่งให้เร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเครื่องจักรหลักที่ใช้เวลาในการผลิตประกอบเป็นเวลานานและต้องใช้วัสดุประเภท พิเศษตามการออกแบบ ซึ่งหากมีความล่าช้าเกิดขึ้นในการผลิตและประกอบจะทำให้โครงการโดยรวมมีผลกระทบอย่างมี นัยสำคัญ (Long Lead Items - LLIs) โดยบริษัทฯได้พิจารณากำหนด LLIs สำหรับโครงการไว้ทั้งสิ้น 9 รายการ และได้ทำ การสั่งซื้อเครื่องจักรดังกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่ปลายปี 2548 เพื่อให้มั่นใจได้ว่า LLIs จะมาทันตามกำหนดเวลาและไม่ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงการ ซึ่งปัจจุบันเครื่องจักร LLIs ทั้ง 9 รายการ ได้ประกอบแล้วเสร็จและติดตั้งเรียบร้อยแล้ว บริษัทฯคาดว่าโครงการฯดังกล่าวจะก่อสร้างได้แล้วเสร็จได้ในปลายปี 2551 อนึ่งความล่าช้าดังกล่าวไม่มีผลกระทบอย่างมี สาระสำคัญต่อต้นทุนโครงการแต่อย่างใด นอกจากระดับราคาน้ำมันที่ผันผวนจะส่งผลกระทบสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯแล้ว ปัจจัยอีกประการหนึ่ง ที่อาจมีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทฯคือ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจาก ในการซื้อและขายน้ำมันนั้น บริษัทฯจะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้าโดยมีการอ้างอิงราคาอยู่กับ สกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ แต่ทั้งนี้บริษัทฯก็มี นโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันเมื่อมีความ พร้อม โดยปัจจุบันบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดแล้ว บางส่วน ซึ่งบริษัทฯมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงที่คอยติดตามและบริหารความเสี่ยงดังกล่าวอย่าง ใกล้ชิด