ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
คำอธิบายงบการเงินไตรมาสที่ 3
ที่ 1000 / 281 / 2547
26 พฤศจิกายน 2547
เรื่อง คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงาน
สำหรับไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2547
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำเนาเรียน ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
สิ่งที่ส่งมาด้วย คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการ
ดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2547
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) ได้สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีการจัดทำคำ
อธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการทุกไตรมาส เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจ
ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดียิ่งขึ้นนอกเหนือจากข้อมูลตัว
เลขในงบการเงิน อีกทั้งเพื่อให้ผู้ลงทุนได้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน
ในหลักทรัพย์ของบริษัท ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (GOOD
GOVERNANCE) ในเรื่องการให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูล นั้น
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นบริษัทจด
ทะเบียนหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจการอย่าง
โปร่งใสตามแนวนโยบายบรรษัทภิบาล จึงได้จัดทำและใคร่ขอนำส่งคำอธิบาย
และการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 สิ้น
สุดวันที่ 30 กันยายน 2547 ดังรายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายปฏิภาณ สุคนธมาน)
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
สำนักแผนกิจการและนักลงทุนสัมพันธ์
โทร. 0 -2335-4583
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2547
ข้อมูลทั่วไป
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528
โดยรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยมุ่งหมายให้ดำเนินการแบบเอกชน
และเป็นบริษัทน้ำมันของคนไทยที่ดำเนินกิจการสอดคล้องกับประโยชน์ของคน
ไทยและสังคมไทย
ปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป ทั้งค้าปลีก
และค้าส่ง และบริหารกิจการโรงกลั่นน้ำมันขนาด 120,000 บาเรลต่อวัน
ซึ่งก่อสร้างใหม่ทดแทนหน่วยเดิม โดยหน่วยกลั่นล่าสุดแล้วเสร็จในปี
พ.ศ. 2536 การออกแบบกระบวนการกลั่นเน้นการผลิตได้น้ำมันสะอาด
ประหยัดพลังงาน และให้ผลผลิตสูง อีกทั้ง บริษัทฯ มีการขยายเครือข่าย
สถานีบริการน้ำมันออกไปประมาณ 1,100 แห่ง ทั่วประเทศ โดยเป็น
สถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ประมาณ 600 แห่ง และปั๊มชุมชนขนาดเล็ก
ประมาณ 500 แห่ง
ภาพรวมธุรกิจในไตรมาส 3 ปี 2547
สำหรับไตรมาส 3 ปี 2547 บริษัทฯ ดำเนินงานภายใต้การปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นของราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง โดยน้ำมัน
ดิบดูไบได้ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 3 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล และน้ำมันดิบ
ทาปีสได้ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 8 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน ส่วนสภาวะการใช้น้ำมันภายในประเทศปรับตัวลดลงจากไตรมาส
ก่อน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วง Low Season แต่อย่างไรก็ตามบริษัท
ฯ ได้เพิ่มปริมาณการจำหน่ายในทุกช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่องทางที่มี
กำไรสูง เช่น การเพิ่มปริมาณการจำหน่ายผ่านสถานีบริการภายใต้ตราของ
บริษัท การเพิ่มปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเตาในตลาดอุตสาหกรรม และการ
เพิ่มปริมาณการส่งน้ำมันเตาไปเพิ่มมูลค่าที่โรงกลั่นอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับการ
รักษาระดับการกลั่นของบริษัทฯ รายละเอียดผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัทมี
ดังนี้
1. คำอธิบายและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 ปี 2547
เปรียบเทียบช่วงเดียวกันปี 2546
1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2547 บริษัทฯ มีรายได้รวม 20,816 ล้าน
บาท มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและค่าเสื่อมราคา (EBITDA) +1,542 ล้านบาท
มีดอกเบี้ยจ่ายสุทธิ (หักลบดอกเบี้ยรับ) 180 ล้านบาท มีค่าเสื่อมราคาและ
ค่าตัดจำหน่าย 183 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิ 1,186 ล้านบาท
(ช่วงเดียวกันปี 2546 มีผลกำไรสุทธิ 120 ล้านบาท) ผลการดำเนินการ
ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
1) ธุรกิจการกลั่นมี EBITDA จำนวน 1,548 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจาก
- ค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกำไรจากสต๊อกน้ำมัน) อยู่ที่ระดับ
1.26 $/BBL ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 0.15 $/BBL เนื่อง
จากในช่วงเดือนสิงหาคม 2547 ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูง
ขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบทาปีส ที่บริษัทฯ
ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตร้อยละ 40 ของน้ำมันดิบที่ใช้ทั้ง
หมด ส่งผลให้ต้นทุนวัถตุดิบของบริษัทฯ ปรับตัวสูงขึ้นอย่าง
มาก นอกจากนี้ ราคาผลิตภัณฑ์ก็ปรับตัวขึ้นไม่สอดคล้องกับ
ราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่ง
ผลให้ค่าการกลั่นในไตรมาส 3 อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ แต่
อย่างไรก็ตามจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นก็ส่งผล
ให้บริษัทฯ มีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 1,414 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2546 ที่มีกำไรจากสต๊อกน้ำ
มันจำนวน 229 ล้านบาท
- ในไตรมาส 3 ปี 2547 บริษัทฯ ได้เพิ่มปริมาณการกลั่นขึ้นไป
อยู่ที่ระดับ 89 KBD เท่ากับเป้าหมายที่วางไว้ โดยเพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันปีก่อน 10 KBD ทั้งนี้ จากการที่บริษัทฯ ได้มี
การหยุดซ่อมแซมอุปกรณ์ในหน่วย Catalytic Reforming
Unit เป็นเวลาประมาณ 8 วัน มิได้ส่งผลกระทบต่อการใช้
กำลังกลั่นแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทฯ ได้นำน้ำมันคงคลังมา
จำหน่ายและเพิ่มปริมาณการกลั่นในช่วงหลังจากดำเนินการ
ติดตั้งอุปกรณ์สำรองแล้วเสร็จเพื่อชดเชยปริมาณการกลั่นที่
ลดลง
- อนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาค่าการกลั่นอยู่ในระดับต่ำจากการใช้น้ำ
มันดิบทาปีสที่ราคายังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ
ได้เร่งดำเนินการลดสัดส่วนการใช้น้ำมันดิบทาปีสลง โดยจัด
หาน้ำมันดิบจากแหล่งอื่นที่มีคุณภาพใกล้เคียงแต่ราคาต่ำกว่า
มาทดแทน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลทำให้ค่าการกลั่นในไตรมาสที่ 4
ปรับตัวดีขึ้น
2) ธุรกิจการตลาดมี EBITDA จำนวน -6 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจาก
- ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 บริษัทฯ มีค่าการตลาด (ไม่รวมน้ำมัน
เครื่องบิน) อยู่ที่ระดับ 37 สตางค์ต่อลิตร ใกล้เคียงกับช่วง
เดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 31 สตางค์ต่อลิตร ทั้งนี้เป็นผล
มาจากเป็นช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วง Low Season
- นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงได้รับผลกระทบจากสูตรราคาขาย
น้ำมันเครื่องบินจำนวน 109 ล้านบาท เนื่องจากสูตรราคาขาย
น้ำมันเครื่องบินที่บริษัทขายให้กับลูกค้า จะใช้ราคาน้ำมัน
เครื่องบินเฉลี่ยเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ต้นทุนขายที่ธุรกิจ
การตลาดซื้อจากธุรกิจโรงกลั่นเป็นราคาน้ำมันเครื่องบินใน
เดือนส่งมอบนั้นๆ ส่งผลให้ในช่วงที่ราคาน้ำมันเครื่องบินมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้น การจำหน่ายน้ำมันเครื่องบินให้มีผลขาดทุน
แต่ในทางกลับกันหากเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันเครื่องบินมีแนว
โน้มลดลง การจำหน่ายน้ำมันเครื่องบินก็จะมีกำไรมากเช่นกัน
1.2 การวิเคราะห์รายได้
ในไตรมาส 3 ปี 2547 บริษัทฯ มีรายได้รวม 20,816 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันปีก่อน 5,712 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8 โดยมี
รายละเอียด ดังนี้
1) รายได้จากการขายจำนวน 20,790 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียว
กันปีก่อน 5,922 ล้านบาท หรือร้อยละ 39.8 เนื่องจากยอดขาย
รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และราคาขายน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 23.4 (ราคาน้ำมันเฉลี่ย 11.98 บาท/ลิตร เทียบกับ 9.71 บาท/ลิตร)
1.3 วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายรวม
ในไตรมาส 3 ปี 2547 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายรวม 19,449 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 4,704 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.9 และมีดอกเบี้ยจ่ายจำนวน
183 ล้านบาท ลดลง 59 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.2
1) ค่าใช้จ่ายรวม 19,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,704 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 31.9 เป็นผลมาจาก ต้นทุนขายจำนวน 18,990 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 4,631 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันปีก่อน เนื่องจากยอดขายรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และต้นทุน
น้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 (ต้นทุนน้ำมันเฉลี่ย 11.04 บาท/
ลิตร เทียบกับ 9.49 บาท/ลิตร) ประกอบกับ ค่าใช้จ่ายในการ
ขายและบริหารก็เพิ่มขึ้น 42 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.2 จาก
ปริมาณการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น
2) ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 183 ล้านบาท ลดลง 59 ล้านบาท หรือร้อยละ
24.2 เป็นผลมาจากการเพิ่มทุน 3,000 ล้านบาทและการทยอย
Refinance หุ้นกู้เดิมบางส่วนด้วยหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 4,000
ล้านบาท และเงินกู้ธนาคารกรุงไทยจากการปรับโครงสร้างการเงิน
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินสำหรับ ณ วันที่ 30 กันยายน
2547 เปรียบเทียบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546
2.1 สินทรัพย์
สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2547 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2546 มีมูล
ค่าเพิ่มขึ้นจำนวน 6,433 ล้านบาท โดยรายการสินทรัพย์ที่เปลี่ยน
แปลงมากคือ
1) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 468 ล้านบาท ลดลง
2,880 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546 เนื่องจากบริษัทฯ ได้
นำไปจ่ายคืนเงินกู้บางส่วนที่ครบกำหนดชำระและที่ขอไถ่ถอนก่อน
กำหนด ประกอบกับบริษัทฯ ได้จัดหาวงเงินกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุน
เวียนตามแผนการปรับโครงสร้างทางการเงิน ส่งผลให้บริษัทฯ
สามารถบริหารเงินสดได้ดีขึ้น
2) ลูกหนี้/ตั๋วเงินรับการค้า มูลค่า 4,224 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,430 ล้าน
บาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546เนื่องจากยอดจำหน่ายน้ำมันที่สูง
ขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ปรับตัวสูงขึ้น
3) สินค้าคงเหลือรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 11,541 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,144
ล้านบาท เนื่องจากปริมาณสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้น 341 ล้านลิตร
เพื่อรองรับการเพิ่มปริมาณการกลั่นและจำหน่าย ประกอบกับใน
ไตรมาส 3 มีการสั่งซื้อน้ำมันดิบเพิ่มเป็นกรณีพิเศษเพื่อนำมาทดแทน
น้ำมันดิบทาปีสที่ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นมากจนมีค่าการกลั่นอยู่ในระดับ
ต่ำ โดยน้ำมันดิบทาปีสที่ได้ซื้อมาแล้วก็ยังอยู่ระหว่างการรอจำหน่าย
ออกไป ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ นอกจาก
นี้ราคาเฉลี่ยได้ปรับเพิ่มขึ้น 3.35 บาท/ ลิตร
4) สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ จำนวน 1,707 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,564
ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546 เนื่องจากภาครัฐได้มีการ
เข้าตรึงราคาขายของน้ำมันสำเร็จรูป ณ สถานีบริการน้ำมันตั้งแต่
ต้นเดือนมกราคม 2547 ส่งผลให้บริษัทฯ มีเงินชดเชยกองทุนค้าง
รับจากกองทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น
5) สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจำนวน 1,461 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 488 ล้าน
บาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546 เนื่องจากบริษัทฯ ได้ทำการต่อ
อายุสัญญาเช่าใช้ที่ราชพัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งโรงกลั่นและสำนักงานใหญ่
ของบริษัทฯ จาก 12 ปี เป็น 30 ปี โดยมีค่าธรรมเนียมการเช่าล่วง
หน้าจำนวน 552 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มทะยอยชำระตั้งแต่ปี 2550 -
2558
2.2 หนี้สิน
หนี้สิน ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2547 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2546 มีมูลค่า
เพิ่มขึ้น 797 ล้านบาท โดยรายการหนี้สินที่เปลี่ยนแปลงมาก คือ
1) ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2547 มียอดเจ้าหนี้การค้า จำนวน 6,841
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,411 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546
เนื่องจากปริมาณการสั่งซื้อน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษใน
ช่วงเดือนกันยายน ประกอบกับราคาน้ำมันดิบก็ได้ปรับตัวสูงขึ้น
2) เงินกู้ยืมระยะสั้นและเงินกู้ยืมระยะยาวรวมทั้งสิ้นจำนวน 16,365
ล้านบาท ลดลง 1,716 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546
เนื่องจากบริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างทางการเงินโดย
การออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนในรูปของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดขึ้นจากหุ้นสามัญบางจาก (CSDR) จำนวน 3,000 ล้าน
บาท
3) บริษัทฯ มีหนี้สินจากสิทธิการเช่าระยะยาวจำนวน 552 ล้านบาท
เนื่องจากเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 กรมธนารักษ์ได้อนุญาต
ให้บริษัทฯ ผ่อนชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าที่ราช
พัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งโรงกลั่นและสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ โดยผ่อน
ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นรายปี เริ่มตั้งแต่ปี 2550 ? 2558 ซึ่ง
ได้บันทึกบัญชีเป็นหนี้สินจากสิทธิการเช่าระยะยาว
2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2547 เพิ่มขึ้น 5,635 ล้าน
บาท จาก ณ สิ้นปี 2546 เนื่องจากบริษัทฯ มีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนในรูป
ของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญบางจากจำนวน 3,000
ล้านบาท ประกอบในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม มีการแปลงสภาพของใบแสดง
สิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นกู้แปลงสภาพ (CDDR) เป็นหุ้นสามัญ
จำนวน 28 ล้านหุ้นสามัญ หรือประมาณ 402 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทฯ
ยังมีผลกำไรสุทธิของ 9 เดือนแรกปี 2547 จำนวน 2,479 ล้านบาท ส่งผลให้
ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2547 มีจำนวน 8,716 ล้านบาท
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับ 9 เดือนแรกปี 2547
และ 2546
ใน 9 เดือนแรกปี 2547 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
จำนวน 468 ล้านบาท ลดลง 1,294 ล้านบาท เป็นผลมาจากการที่บริษัทฯ ได้มี
การปรับโครงสร้างทางการเงิน โดยจัดหาวงเงินกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
และใช้ชำระหนี้ที่ครบกำหนดชำระ ซึ่งทำให้บริษัทฯ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องถือ
เงินสดเป็นจำนวนมากเช่นในอดีต โดยเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ สิ้นปี
2546 จำนวน 3,348 ล้านบาท ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงานจำนวน 4,132 ล้านบาท
เป็นผลมาจาก บริษัทฯ มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการ
เปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน 3,042 ล้านบาท
แต่มีสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานเพิ่มขึ้นสุทธิ 7,174 ล้านบาท
เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้
ปริมาณลูกหนี้การค้าและน้ำมันคงคลังเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการ
สั่งซื้อน้ำมันดิบเพิ่มเป็นกรณีพิเศษเพื่อนำมาทดแทนน้ำมันดิบทา
ปีสที่ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นมากจนมีค่าการกลั่นอยู่ในระดับต่ำ
โดยน้ำมันดิบทาปีสที่ได้ซื้อมาแล้วก็ยังอยู่ระหว่างการรอจำหน่าย
ออกไป ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ
2) เงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 356 ล้านบาท เป็น
ผลมาจากการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์ และสิน
ทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ
3) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 1,607 ล้านบาท
เป็นผลมาจากการเบิกเงินกู้ระยะยาวและระยะสั้นจากธนาคารกรุง
ไทยและเงินทุนใหม่ที่ได้จากการเสนอขายดีอาร์หุ้นสามัญบาง
จากตามแผนการปรับโครงสร้างทางการเงิน เพื่อใช้ Refinance
เงินกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระและเงินกู้ที่บริษัทฯ ขอไถ่ถอนก่อน
กำหนดตามแผนการปรับโครงสร้างทางการเงิน
4. ปัจจัยและอิทธิผลหลักที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินใน
อนาคต
สำหรับธุรกิจน้ำมันนั้น ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมัน
คืออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งในปี 2547 เศรษฐกิจในภูมิภาคมีทิศทาง
ปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ที่มีการเติบโตใน
ระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ เศรษฐกิจไทยเองก็คาดว่าจะมีการเติบโตอย่าง
ต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้อัตราการใช้น้ำมันมีมากขึ้นเช่นเดียวกัน โดยบริษัทฯ คาด
ว่าความต้องการใช้น้ำมันในภูมิภาคและในประเทศจะเข้าสู่ภาวะสมดุลกับกำลัง
การผลิตในช่วงปี 2548 ?2549
แต่อย่างไรก็ตาม ระดับราคาน้ำมันก็ยังมีผลกระทบสำคัญต่อผลการดำเนิน
งานของบริษัทฯ เนื่องจากราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546
เป็นต้นมา ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ว่าราคาน้ำมันอาจปรับตัวลดลงในช่วงปลายปี
2547 โดยการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดังกล่าวอาจส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับผล
กระทบจากมูลค่าสต๊อกน้ำมันที่ลดลง แต่บริษัทฯ ก็มีส่วนงานที่คอยติดตามและ
บริหารความเสี่ยงดังกล่าวอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ราคาน้ำมันเตาที่ปรับตัวสูงขึ้นแต่
ไม่มากเท่ากับราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ส่งผลให้ค่าการกลั่นของ
บริษัทฯ ถูกจำกัดไว้ในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม จากการที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการ
ส่งน้ำมันเตาของบริษัทฯ ไปเพิ่มมูลค่าที่โรงกลั่นอื่นก็สามารถลดผลกระทบจากเหตุ
การณ์ดังกล่าวได้บางส่วน ซึ่งบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัด
ส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับ
อุตสาหกรรม