ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
ชี้แจงผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2547
ที่ 1000 / 264 / 2547
29 กันยายน 2547
เรื่อง นำส่งงบการเงินก่อนสอบทาน และชี้แจงผลการดำเนินงานไตรมาส
3 ปี 2547
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. งบการเงินก่อนสอบทานไตรมาส 3 ปี 2547
ฉบับภาษาไทย 1 ฉบับ
2. งบการเงินก่อนสอบทานไตรมาส 3 ปี 2547
ฉบับภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ
ตามที่บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้มีการ
จัดส่งงบการเงินก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบตามแนวทางการนำส่งงบการเงิน
ก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี ของตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย นั้น
บริษัทฯ ใคร่ขอนำส่งงบการเงินก่อนสอบทานโดยผู้สอบบัญชี
สำหรับไตรมาส 3 ปี 2547 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2547 และขอชี้แจง
ผลการดำเนินงานเพิ่มเติม เนื่องจากมีผลกำไรขาดทุนเปลี่ยนแปลงจากงวด
เดียวกันของปีก่อนเกินร้อยละ 20 ดังนี้
บริษัทฯ มีรายได้รวม 20,816 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและค่า
เสื่อมราคา (EBITDA) +1,542 ล้านบาท มีดอกเบี้ยจ่ายสุทธิ (หักลบ
ดอกเบี้ยรับ) 180 ล้านบาท มีค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 183 ล้านบาท
ส่งผลให้บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิ 1,186 ล้านบาท (ช่วงเดียวกันปี 2546
มีผลกำไรสุทธิ 120 ล้านบาท) ผลการดำเนินการดังกล่าวมีสาเหตุมาจาก
ปัจจัยดัง
ต่อไปนี้
1.1 ค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกำไรจากสต๊อกน้ำมัน) อยู่ที่ระดับ 1.26
$/BBL ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 0.15 $/BBL เนื่องจากใน
ช่วงเดือนสิงหาคม 2547 ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่าง
รวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบทาปีส ที่บริษัทฯ ใช้เป็น
วัตถุดิบในการผลิตร้อยละ 40 ของน้ำมันดิบที่ใช้ทั้งหมด ส่งผล
ให้ต้นทุนวัถตุดิบของบริษัทฯ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก นอก
จากนี้ ราคาผลิตภัณฑ์ก็ปรับตัวขึ้นไม่สอดคล้องกับราคาน้ำมัน
ดิบที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้ค่า
การกลั่นในไตรมาส 3 อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ แต่อย่างไรก็
ตามจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นก็ส่งผลให้บริษัทฯ
มีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 1,414 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงเดียวกันปี 2546 ที่มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 229
ล้านบาท
ในไตรมาส 3 ปี 2547 บริษัทฯ ได้เพิ่มปริมาณการกลั่นขึ้นไป
อยู่ที่ระดับ 89 KBD เท่ากับเป้าหมายที่วางไว้ โดยเพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันปีก่อน 10 KBD ทั้งนี้ จากการที่บริษัทฯ ได้มีการ
หยุดซ่อมแซมอุปกรณ์ในหน่วย Catalytic Reforming Unit
เป็นเวลาประมาณ 8 วัน มิได้ส่งผลกระทบต่อการใช้กำลังกลั่น
แต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทฯ ได้นำน้ำมันคงคลังมาจำหน่าย
และเพิ่มปริมาณการกลั่นในช่วงหลังจากดำเนินการติดตั้ง
อุปกรณ์สำรองแล้วเสร็จเพื่อชดเชยปริมาณการกลั่นที่ลดลง
อนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาค่าการกลั่นอยู่ในระดับต่ำจากการใช้น้ำ
มันดิบทาปีสที่ราคายังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ
ได้เร่งดำเนินการลดสัดส่วนการใช้น้ำมันดิบทาปีสลง โดยจัด
หาน้ำมันดิบจากแหล่งอื่นที่มีคุณภาพใกล้เคียงแต่ราคาต่ำกว่า
มาทดแทน ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าการกลั่นในไตรมาสที่ 4 ปรับ
ตัวดีขึ้น
1.2 ไตรมาสที่ 3 ปี 2547 บริษัทฯ มีค่าการตลาด (ไม่รวมน้ำมัน
เครื่องบิน) อยู่ที่ระดับ 37 สตางค์ต่อลิตร ใกล้เคียงกับช่วง
เดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 31 สตางค์ต่อลิตร ทั้งนี้เป็นผล
มาจากในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วง Low Season นอกจากนี้
บริษัทฯ ยังคงได้รับผลกระทบจากสูตรราคาขายน้ำมันเครื่อง
บินจำนวน 109 ล้านบาท เนื่องจากสูตรราคาขายน้ำมันเครื่อง
บินที่บริษัทขายให้กับลูกค้า จะใช้ราคาน้ำมันเครื่องบินเฉลี่ย
เดือนก่อนหน้า ในขณะที่ต้นทุนขายที่ธุรกิจการตลาดซื้อจาก
ธุรกิจโรงกลั่นเป็นราคาน้ำมันเครื่องบินในเดือนส่งมอบนั้นๆ
ส่งผลให้ในช่วงที่ราคาน้ำมันเครื่องบินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การ
จำหน่ายน้ำมันเครื่องบินให้มีผลขาดทุน แต่ในทางกลับกันหาก
เป็นช่วงที่ราคาน้ำมันเครื่องบินมีแนวโน้มลดลง การจำหน่าย
น้ำมันเครื่องบินก็จะมีกำไรมากเช่นกัน
1.3 ในไตรมาส 3 ปี 2547 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการขายและ
บริหาร 358 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 42
ล้านบาท มีสาเหตุหลักมาจากค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณการ
จำหน่ายที่เพิ่มขึ้น
1.4 ในไตรมาส 3 ปี 2547 บริษัทฯ มีดอกเบี้ยจ่าย 183 ล้านบาท
ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 94 ล้านบาท เป็นผลจากการ
Refinance หุ้นกู้เดิมส่วนใหญ่ด้วยเงินทุนใหม่ที่ได้จากการ
ปรับโครงสร้างการเงิน นอกจากนี้ บริษัทฯ มีดอกเบี้ยรับ 3
ล้านบาท ลดลง 5 ล้านบาท จากการที่บริษัทฯ ได้รับวงเงินกู้
จากธนาคารพาณิชย์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนตามแผนการ
ปรับโครงสร้างการเงิน บริษัทฯ จึงไม่มีความจำเป็นต้องถือเงิน
สดเป็นจำนวนมากเพื่อเตรียมไว้ชำระค่าน้ำมันดิบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายปฏิภาณ สุคนธมาน)
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
สายงานด้านบัญชีและการเงิน
สำนักแผนกิจการและนักลงทุนสัมพันธ์
โทร. 0 -2335-4583