คำอธิบายงบการเงินไตรมาสที่ 3

ที่ 1600 / 200 / 2546 21 พฤศจิกายน 2546 เรื่อง คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานงวดสามเดือนสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2546 เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำเนาเรียน ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สิ่งที่ส่งมาด้วย คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานงวดสามเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2546 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้สนับสนุนให้ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีการจัดทำคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการทุกไตรมาส เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดียิ่งขึ้นนอกเหนือจากข้อมูล ตัวเลขในงบการเงิน อีกทั้งเพื่อให้ผู้ลงทุนได้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของ บริษัท ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (GOOD GOVERNANCE) ในเรื่องการให้ความสำคัญต่อ การเปิดเผยข้อมูล นั้น บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนหนึ่งในตลาด หลักทรัพย์ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจการอย่างโปร่งใสตามแนวนโยบายบรรษัทภิบาล จึงได้จัด ทำและใคร่ขอนำส่งคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานงวดสามเดือน สิ้นสุด 30 กันยายน 2546 ดังรายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย จึงเรียนมาเพื่อทราบ ขอแสดงความนับถือ (นายวัชรพงศ์ ใสสุก) ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักแผนกิจการ สำนักแผนกิจการ โทร. 0 -2335-4583 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2546 ข้อมูลทั่วไป บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดย รัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยมุ่งหมายให้ดำเนินการแบบเอกชน และเป็นบริษัทน้ำมันของ คนไทยที่ดำเนินกิจการสอดคล้องกับประโยชน์ของคนไทยและสังคมไทย ปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง และบริหารกิจการ โรงกลั่นน้ำมันขนาด 120,000 บาเรลต่อวัน ซึ่งก่อสร้างใหม่ทดแทนหน่วยเดิม โดยหน่วยล่าสุดแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2542 การออกแบบกระบวนการกลั่นเน้นการผลิตได้น้ำมันสะอาด ประหยัดพลังงาน และให้ ผลผลิตสูง อีกทั้ง บริษัทฯ มีการขยายเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันออกไปมากกว่า 1,000 แห่ง ทั่วประเทศ โดยเป็นสถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ประมาณ 600 แห่ง และปั๊มชุมชนขนาดเล็กประมาณ 500 แห่ง ภาพรวมธุรกิจ สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2546 บริษัทฯ ดำเนินกิจการภายใต้ความผันผวนของราคาน้ำมันใน ตลาดโลก และการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทต่อเงินดอลล่าร์ สรอ. อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ค่าการกลั่นก็ได้ปรับตัวดีขึ้นจากการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนสภาวะการแข่งขันในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากกำลังการผลิตน้ำมันในประเทศยังคงเกินความต้องการใช้ ประกอบกับเป็นช่วง Low Season ซึ่งส่งผลทำให้ค่าการตลาดยังคงอยู่ในระดับต่ำ บริษัทฯ จึงได้พยายามเพิ่มปริมาณการจำหน่ายเฉพาะ ในช่องทางที่มีกำไรสูง เช่น การเพิ่มปริมาณการจำหน่ายผ่านสถานีบริการภายใต้ตราของบริษัทด้วย การขยายพื้นที่การจำหน่ายน้ำมันดีเซล Power D เพิ่มขึ้นทั้งในเขต กทม./ ปริมณฑล และการขยาย ตลาดไปสู่ต่างจังหวัด ประกอบกับการทำกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มปริมาณการ จำหน่ายน้ำมันเตาในตลาดอุตสาหกรรม แต่ได้ชะลอการจำหน่ายน้ำมันผ่านตลาด Jobber รายละเอียด ผลการดำเนินงานมีดังนี้ ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน 1. อัตราส่วนทางการเงิน ไตรมาส 3/2546 ไตรมาส 3/2545 (สอบทานแล้ว) (สอบทานแล้ว) อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) เท่า 0.67 0.70 อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (Quick Ratio) เท่า 0.27 0.22 อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสด เท่า 0.05 -0.04 (Cash Flow Liquidity) อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า เท่า 5.37 6.10 (Receiveable Turnover) ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (Collection Period) วัน 17.14 15.09 อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ เท่า 2.36 2.55 (Inventory Turnover) ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย วัน 39.03 36.06 (Inventory Turnover Period) อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้ เท่า 4.16 6.77 (Account Payable Turnover) ระยะเวลาชำระหนี้ (Payment Period) วัน 22.10 13.59 Cash Cycle วัน 34.07 37.57 อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ร้อยละ 3.43 5.49 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Net Profit Margin)ร้อยละ 0.79 -1.33 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) ร้อยละ 2.86 -7.37 อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Efficiency Ratio) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ร้อยละ 0.42 -0.71 (Return on Total Assets) อัตราการหมุนของสินทรัพย์ (Assets Turnover) เท่า 0.53 0.53 อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Financial Policy Ratio) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Debt to Equity)เท่า 6.43 9.07 ในไตรมาส 3 ปี 2546 สภาพคล่องของบริษัทฯ ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากผลกำไรจากการดำเนินงานและปริมาณการจำหน่ายรวมที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มปริมาณการจำหน่ายผ่านสถานีบริการซึ่งอยู่ในรูปเงินสด แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมี ความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางการเงิน เนื่องจากยังคงมีหนี้สินที่จะครบ กำหนดชำระกระจุกตัวในปี 2547 - 2548 เป็นจำนวนมาก โดยบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถ ปรับโครงสร้างทางการเงินให้แล้วเสร็จได้ในช่วงต้นปี 2547 2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3/2546 เปรียบเทียบไตรมาส 3/2545 การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนสำหรับสำหรับไตรมาส 3/2546 เปรียบเทียบไตรมาส 3/2545 งบกำไรขาดทุน สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2546 และ 2545 หน่วย : ล้านบาท ไตรมาส 3 2546 2545 เปลี่ยนแปลง รายได้จากการขาย 14,869 13,980 +889 รายได้อื่น 235 23 +212 รายได้รวม 15,104 14,002 +1,102 ต้นทุนขาย -14,359 -13,213 -1,146 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร -316 -277 -39 ค่าใช้จ่ายอื่น -71 -320 +249 ดอกเบี้ยจ่าย -242 -383 +141 ค่าใช้จ่ายรวม -14,988 -14,193 -795 กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงาน 116 -191 +307 ภาษีเงินได้ 4 4 - กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 120 -187 +307 2.1 การวิเคราะห์รายได้ ในไตรมาส 3/2546 บริษัทฯ มีรายได้รวม 15,104 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1,102 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) รายได้จากการขาย 14,869 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 จำนวน 889 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 เนื่องจากราคาขายน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.6% (ราคาน้ำมันเฉลี่ย 9.82 บาท/ลิตร เทียบกับ 9.39 บาท/ลิตร) และปริมาณ การจำหน่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.7% 2) รายได้อื่น 235 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน จำนวน 212 ล้านบาท เนื่องจาก - ในไตรมาส 3 ปี 2546 บริษัทฯ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 191 ล้านบาท เป็นผลมาจากการปรับตัวแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทจำนวน 2.02 บาท/ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเปรียบเทียบกับ ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2546 - ในไตรมาส 3 ปี 2546 บริษัทฯ ได้มีการทำสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ล่วงหน้าเป็นระยะๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุนที่เกิดจากความผันผวนของราคา น้ำมัน แต่ราคาน้ำมันในช่วงเดือนกันยายน 2546 ได้ปรับตัวลดลง ส่งผลให้บริษัทฯ มี กำไรจากการทำธุรกรรมดังกล่าวจำนวน 20 ล้านบาท 2.2 ค่าใช้จ่ายรวม ในไตรมาสที่ 3/2546 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 14,988 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน 795 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6 โดยค่าใช้จ่ายรวมประกอบด้วย ต้นทุนขาย ร้อยละ 95.8 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารร้อยละ 2.1 ดอกเบี้ยจ่ายร้อยละ 1.6 และค่าใช้จ่ายอื่น ร้อยละ 0.5 ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจาก 1) ต้นทุนขาย 14,359 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน 1,146 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 8.7 เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันต่อหน่วยปรับเพิ่มร้อยละ 7.0 และปริมาณการ จำหน่ายรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 2) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 316 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน 39 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.1 เป็นผลมาจากการจ้างผู้รับเหมาขนส่งน้ำมันแทนการ ดำเนินการเอง (Outsourcing) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งไปยังลูกค้า ประกอบกับ บริษัทฯ มีปริมาณการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น 3) ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 242 ล้านบาท ลดลง 141 ล้านบาท หรือร้อยละ 36.8 เป็นผลมาจาก อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.0 จากการ Refinance เงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนด ชำระในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง และในไตรมาส 3 ปี 2545 มีค่าธรรมเนียมชำระ คืนเงินกู้ธนาคารโลกก่อนครบกำหนดจำนวน 92 ล้านบาท แต่จากการชำระคืนเงินกู้ดังกล่าว ส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยได้กว่า 85 ล้านบาทต่อปี 4) ค่าใช้จ่ายอื่น 71 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน 249 ล้านบาท มีสาเหต มาจากในไตรมาส 3/2545 บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 167 ล้านบาท เป็นผลจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจาก 41.67 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นมิถุนายน เป็น 43.48 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกันยายน 2545 ประกอบกับในช่วงเดียวกันมี ผลขาดทุนจากการทำสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าจำนวน 82 ล้านบาท 2.3 กำไร(ขาดทุน)สุทธิ บริษัทฯ มีกำไรสุทธิในไตรมาสนี้ 120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 307 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลมาจาก 1) ค่าการกลั่น ราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยน - ค่าการกลั่นไม่รวมผลกระทบจากราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาส 3 ปี 2546 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2545 ปรับตัวดีขึ้น 0.26 ดอลลาร์ สรอ./บาเรล จาก 1.00 ดอลลาร์ สรอ./บาเรล เป็น 1.26 ดอลลาร์ สรอ./บาเรล - ในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2546 ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลก ได้ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 2 ดอลลาร์ สรอ./บาเรล (จากการที่ผู้ค้าน้ำมันไม่มั่นใจใน เหตุการณ์ในอิรัก ประกอบกับอิรักก็ไม่สามารถส่งออกน้ำมันเพิ่มได้ตามเป้าหมาย) หักลบ กับค่าเงินบาทได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยประมาณ 1.2 บาท/ ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ บริษัทฯ มีกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าน้ำมันคงคลังจากปัจจัยดังกล่าวประมาณ 230 ล้านบาท แต่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนประมาณ 150 ล้านบาท - จากการปรับตัวแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทจาก 42.12 บาท/ดอลลาร์ สรอ.ณ สิ้นเดือน มิถุนายน เป็น 40.10 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 ส่งผลให้บริษัท มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 191 ล้านบาท โดยมาจากเงินกู้สกุลต่างประเทศ จำนวน 35 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเจ้าหนี้น้ำมัน 2) ด้านการผลิตและการจำหน่าย ปริมาณกลั่นในไตรมาส 3 ปี 2546 อยู่ในระดับ 80 พันบาเรลต่อวัน ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ปีก่อนเล็กน้อย แต่บริษัทฯ ได้เน้นการทำตลาดในช่องทางที่มีกำไรสูง ปริมาณการจำหน่าย ในตลาดขายปลีกผ่านสถานีบริการเพิ่มขึ้น 11.1% เนื่องจากการขายน้ำมันดีเซล Power D เพิ่มขึ้นทั้งในเขต กทม./ ปริมณฑล และการขยายตลาดไปสู่ต่างจังหวัด ประกอบกับการทำ กิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการพักรถพักคนบนทางหลวง โครงการ แนะถิ่นกินเที่ยว โครงการเหนื่อยนักพักนวด ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพการแข่งขัน ที่รุนแรง ส่งผลให้ค่าการตลาดของไตรมาสสามอยู่ในระดับต่ำ บริษัทฯ จึงได้ชะลอการ จำหน่ายน้ำมันผ่านตลาด Jobber ส่วนปริมาณการจำหน่ายในตลาดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 5.2% จากการเร่งการจำหน่ายน้ำมันเตาในช่วงเดือนกันยายนซึ่งมีกำไรสูง แต่ลดลงในตลาดขนส่ง 12.6% เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเครื่องบินได้ลดลง ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการ ระบาดของโรค SARS และเป็นช่วง Low Season ของการท่องเที่ยว ส่วนปริมาณการ จำหน่าย Feedstock ลดลง 5.8% จากการส่งน้ำมันเตาไป Crack ที่โรงกลั่นอื่นลดลง 3. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินสำหรับ ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 เปรียบเทียบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2545 3.1 สินทรัพย์ การวิเคราะห์งบดุล ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 และวันที่ 31 ธันวาคม 2545 หน่วย : ล้านบาท 30 ก.ย. 46 31 ธ.ค. 45 เปลี่ยนแปลง สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 1,762 1,374 +387 ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 2,815 2,725 +90 สินค้าคงเหลือ 6,094 6,089 +5 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น พัสดุคงเหลือ-สุทธิ 351 365 -14 อื่นๆ 225 371 -146 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 11,246 10,924 +322 เงินลงทุนระยะยาว 5 5 0 เงินลงทุนในบริษัทร่วม - 1 -1 ค่าขนส่งจ่ายล่วงหน้า 177 183 -6 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ 14,659 15,638 -978 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1,002 1,056 -54 สินทรัพย์อื่น เงินลงทุนในสถานีบริการน้ำมัน 631 634 -3 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 63 60 +3 อื่นๆ 429 400 +28 รวมสินทรัพย์ 28,212 28,901 -689 สินทรัพย์รวม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2545 มีมูลค่าลดลง 689 ล้านบาท โดยรายการสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงมากคือ 1) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 1,762 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 387 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2545 เพื่อเตรียมไว้ชำระค่าน้ำมันดิบในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2) ลูกหนี้/ตั๋วเงินรับการค้า มูลค่า 2,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 90 ล้านบาท เนื่องจากยอดขาย น้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ปรับตัวสูงขึ้น 3) สินค้าคงเหลือรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 6,094 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณ สินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้น 18 ล้านลิตร แต่ราคาเฉลี่ยได้ปรับลดลง 0.19 บาท/ ลิตร 3.2 หนี้สิน การวิเคราะห์งบดุล ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 และวันที่ 31 ธันวาคม 2545 หน่วย : ล้านบาท 30 ก.ย. 46 31 ธ.ค. 45 เปลี่ยนแปลง หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและ 7,609 1,000 +6,609 เงินกู้ยืมสถาบันการเงิน เงินกู้ระยะสั้น 1,848 2,481 -633 เจ้าหนี้การค้า 3,760 3,137 +623 ส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึง 2,703 6,380 -3,677 กำหนดชำระภายในหนึ่งปี ภาษีสรรพสามิตและเงินนำส่งกองทุนน้ำมัน 160 144 +16 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย / อื่นๆ 676 791 -115 รวมหนี้สินหมุนเวียน 16,756 13,933 +2,823 เงินกู้ระยะยาว 7,270 9,973 -2,703 หนี้สินระยะยาวอื่น 392 409 -17 รวมหนี้สิน 24,418 24,315 +103 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนที่ออกและชำระแล้ว 5,220 5,220 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น - 2,008 -2,008 ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ 4,758 5,178 -420 กำไร (ขาดทุน) สะสม -6,184 -7,820 +1,636 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 3,795 4,586 -792 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 28,212 28,901 -689 หนี้สิน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2545 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 103 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เพิ่มขึ้น คือ 1) เงินกู้ยืมธนาคาร ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 จำนวน 7,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,609 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2545 เนื่องจากกู้เงินเพิ่มจากธนาคารพาณิชย์เพื่อนำไป ชำระเงินกู้ระยะยาวและระยะสั้นที่ครบกำหนดชำระใน 9 เดือนแรก 2) เจ้าหนี้การค้า 3,760 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 623 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2545 เป็นผลมาจากในเดือนธันวาคม 2545 มีการชำระค่าน้ำมันดิบล่วงหน้าจำนวน 1 ลำ เป็น จำนวนเงิน 13 ล้านดอลลาร์ สรอ. 3) เงินกู้ยืมระยะยาวและเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปีรวม 9,973 ล้านบาท ลดลง 6,380 ล้านบาท โดยการ Refinance ระยะสั้นด้วยเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานชำระคืนบางส่วน เพื่อรอการปรับโครงสร้าง การเงินบริษัทตามมติคณะรัฐมนตรี 3.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น 1) ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 ลดลง 792 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2545 เนื่องจากบริษัทฯ มีผลขาดทุนใน 9 เดือนแรก 371 ล้านบาท และตัดจ่ายส่วนเกินทุนจาก การตีมูลค่าสินทรัพย์จำนวน 420 ล้านบาท ส่งผลทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นเดือน กันยายน 2546 มีจำนวน 3,795 ล้านบาท 2) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2546 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติและได้บันทึกบัญชี ดังนี้ - ให้ลดทุนจดทะเบียนโดยตัดหุ้นจดทะเบียนที่ยังมิได้จำหน่ายออก จำนวน 250 ล้านหุ้น ให้คงเหลือ 522 ล้านหุ้น รายการนี้ได้จดทะเบียนลดทุนกับกระทรวงพาณิชย์ เรียบร้อยแล้ว - ให้ลดผลขาดทุนในบัญชี กำไร(ขาดทุน) สะสม จำนวน 2,556 ล้านบาท โดยโอนมา จากบัญชีส่วนเกินมูลค่าหุ้นจำนวน 2,008 ล้านบาท และจากบัญชีกำไรสะสมสำรอง ตามกฎหมาย จำนวน 548 ล้านบาท - ที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันดังกล่าว ได้มีมติให้ลดมูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท และให้โอนเงินลดมูลค่าหุ้นดังกล่าว จำนวน 4,698 ล้านบาท ไปลดผลขาดทุนสะสม ในบัญชีกำไร(ขาดทุน) สะสม รายการนี้จะบันทึกบัญชีภายหลังจากได้จดทะเบียนลดทุน กับกระทรวงพาณิชย์ ในกลางเดือนพฤศจิกายน 2546 ภายหลังการจดทะเบียนมูลค่า หุ้นดังกล่าว และโอนไปยังบัญชีกำไร(ขาดทุน) สะสม จะทำให้มียอดขาดทุนสะสม คงเหลือเพียง 1,485 ล้านบาท 4. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับไตรมาส 3/2546 เปรียบเทียบกับไตรมาส 3/2545 การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2546 และ 2545 หน่วย : ล้านบาท 9 เดือน 2546 2545 เปลี่ยนแปลง กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (371) 461 -832 ค่าเสื่อมราคา / ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย / อื่นๆ 634 870 -237 กำไร(ขาดทุน) จากการดำเนินงาน 262 1,331 -1,069 สินทรัพย์ดำเนินงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง 11 (3,088) 3,099 หนี้สินดำเนินงาน เพิ่มขึ้น (ลดลง) 556 1,306 -751 เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมดำเนินงาน 829 (450) +1,279 กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ลงทุนในที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (เพิ่มขึ้น)ลดลง (169) (167) -2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ (เพิ่มขึ้น)ลดลง 18 (124) +142 เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมลงทุน (151) (291) +140 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น (ลดลง) 6,089 1,398 +4,691 เงินกู้ยืมระยะยาวเพิ่มขึ้น (ลดลง) (6,380) (2,934) -3,446 เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมจัดหาเงิน (291) (1,536) +1,245 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ 387 (2,277) +2,664 ใน 9 เดือนแรกปี 2546 บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 387 ล้านบาท เป็นผลมาจากกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 262 ล้านบาท และหนี้สินดำเนินงานเพิ่มขึ้นจำนวน 567 ล้านบาท เนื่องจากมีเจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น แต่หักลบกับการชำระเงินกู้ที่ครบกำหนดจำนวน 291 ล้านบาท และการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ จำนวน 151 ล้านบาท