ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
รายงานผู้สอบบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงินไตรมาสสามปี 2541
เสนอ ผู้ถือหุ้น บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด ( มหาชน )
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้สอบทานงบดุล ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540
และงบกำไรขาดทุนสำหรับไตรมาสที่สามและงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท บาง
จากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน ) ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
แห่งประเทศไทย
การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินและการ
สอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัด
กว่าการตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปมาก ดังนั้น
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้
จากการสอบทานดังกล่าว สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญซึ่งควรนำ
มาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลข้างต้น ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
( นายประธาน ดาบเพชร )
รองผู้อำนวยการฯ ปฏิบัติราชการแทน
ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
( นางดวงตา จานทอง )
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน 8
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2541
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด ( มหาชน )
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
สำหรับไตรมาสที่สามและงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540
1.สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ
1.1 การบันทึกบัญชีถือตามเกณฑ์คงค้าง ( Accrual Basis )
1.2 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประมาณจากจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บจากลูกหนี้ไม่ได้ โดย
วิเคราะห์จากฐานะปัจจุบันของลูกหนี้แต่ละรายที่หยุดซื้อ-ขายนานกว่า 1 ปี ทั้งจำนวน
1.3 สินค้าคงเหลือ
ผลิตภัณฑ์น้ำมันคงเหลือ บันทึกบัญชีในราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า ราคาทุนต่อ
หน่วยคำนวณโดยถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการผลิตของแต่ละเดือนกับ ปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมันแต่ละประเภท
ซึ่งถ่วงน้ำหนักราคา ณ โรงกลั่น (Ex-refinery) โดยใช้เกณฑ์เข้าก่อนออกก่อน
น้ำมันดิบคงเหลือบันทึกบัญชีในราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า ราคาทุนต่อหน่วยคำนวณ
โดยถัวเฉลี่ยต้นทุนซื้อน้ำมันดิบกับปริมาณที่ซื้อในแต่ละเดือน โดยใช้เกณฑ์เข้าก่อนออกก่อน
1.4 พัสดุคงเหลือ
บันทึกบัญชีในราคาทุนโดยวิธีถัวเฉลี่ย
1.5 เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
1.5.1 กรณีที่บริษัทฯ ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป ของทุนที่ชำระแล้ว จะบันทึกตามวิธีส่วนได้เสีย
1.5.2 กรณีที่บริษัทฯ ถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 บันทึกตามราคาทุน
1.6 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ บันทึกบัญชีในราคาทุนที่ซื้อหรือได้มา ดอกเบี้ยจ่ายที่ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่ง
สินทรัพย์ถาวรถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ถาวร
ค่าเสื่อมราคา คำนวณโดยวิธีเส้นตรง ตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ แต่ละประเภท
ซึ่งอยู่ระหว่างอัตราร้อยละ 5 - 20 ต่อปี
บริษัทฯ จะตีราคาสินทรัพย์ตามสภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและมีผลกระทบต่อ
สินทรัพย์โดยตรง มูลค่าส่วนเพิ่มจากการตีราคาสินทรัพย์บันทึกไว้ในบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคา
สินทรัพย์ โดยแสดงไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น และจำนวนนี้จะไม่สามารถนำไปจ่ายเป็นเงินปันผล
ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ส่วนที่ตีราคาจะนำไปหักออกจากบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์
1.7 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
บริษัทฯ บันทึกผลต่างของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากงบการเงินกับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณ
ตามประมวลรัษฎากรเป็นภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และแสดงรายการไว้ในงบดุล จะตัดบัญชีเมื่อรายได้
หรือค่าใช้จ่ายที่บันทึกไว้เกิดขึ้นจริง หรือถือหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แล้วในการคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวล
รัษฎากร
1.8 รายจ่ายรอการตัดบัญชี
ค่าเช่าที่ดินในสถานีบริการ ตัดจ่ายตามอายุสัญญาเช่า
ส่วนเกินมูลค่าสินทรัพย์จากการแลกเปลี่ยนอาคารระหว่างบริษัทฯ กับกรมการพลังงานทหาร
กระทรวงกลาโหม ตัดจ่ายภายใน 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2531
รายจ่ายรอการตัดบัญชีอื่น ตัดจ่ายภายใน 5 ปี
1.9 เงินตราต่างประเทศ
1.9.1 บันทึกบัญชีเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการและจะปรับมูลค่าเป็น
เงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้เป็นอัตราอ้างอิง ณ วันสิ้นงวด
บัญชี ผลต่างจากการปรับมูลค่า รับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน ยกเว้นผลขาดทุนจากอัตรา
แลกเปลี่ยนรอตัดบัญชีก่อนปี 2539 ตัดจ่ายตามอายุหนี้ที่เหลือ
1.9.2 กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการชำระหนี้ในแต่ละงวดบัญชีบันทึกเป็น
รายได้ หรือค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้นทั้งจำนวน
1.9.3 ในกรณีบริษัทฯ ซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ของหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทฯ ได้บันทึกบัญชีโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา สำหรับ
ค่าธรรมเนียมการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าตัดจำหน่ายตามระยะเวลาในสัญญา
1.10 รายได้รอการรับรู้
รายได้รับล่วงหน้าจากการให้เช่าสินทรัพย์และอื่นๆ รับรู้เป็นรายได้ตามอายุสัญญา
1.11 ดอกเบี้ยเงินกู้
ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากเงินกู้ซึ่งใช้ในการก่อสร้างสินทรัพย์ถาวรถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนงานระหว่าง
ก่อสร้าง เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ ดอกเบี้ยจ่ายถือเป็นค่าใช้จ่าย
1.12 กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น
กำไร(ขาดทุน)สุทธิต่อหุ้นคำนวณจากกำไร(ขาดทุน)สุทธิหารด้วยจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นที่
ได้ออกจำหน่ายและเรียกชำระแล้ว
2. เงินลงทุนระยะสั้น ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
2541 2540
เงินฝากประจำ 2,028.11 95.81
ตั๋วสัญญาใช้เงิน - 120.00
รวม 2,028.11 215.81
เงินฝากประจำไตรมาสนี้ของปี 2541 จำนวน 2,028.11 ล้านบาท มีเงินฝากที่เป็นเงินบาท
268.96 ล้านบาท และเงินเหรียญสหรัฐฯ 45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( 1,759.15 ล้านบาท ) ฝากไว้
เพื่อรอชำระค่าน้ำมันดิบ
3. ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า - สุทธิ
ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 บริษัท ฯ มีลูกหนี้การค้าที่มีปัญหาในการชำระหนี้ แยกตามอายุหนี้ที่
ค้างชำระได้ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
มากกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน 6.81
มากกว่า 6 เดือน ถึง 12เดือน 6.87
มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป 50.75
รวม 64.43
บริษัทฯ ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้จำนวน 53.58 ล้านบาท
4. เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน จำนวน 427.08 ล้านบาท ประกอบด้วย
เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 203.45 ล้านบาท ( วิธีราคาทุน 163.00 ล้านบาท และวิธีส่วน
ได้เสีย 40.45 ล้านบาท ) และเงินจ่ายล่วงหน้าแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 223.63 ล้านบาท ดังนี้
4.1 เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
ชื่อบริษัท ประเภทกิจการ ลักษณะความ ทุนชำระ สัดส่วน เงินลงทุน เงินปันผล
สัมพันธ์ แล้ว เงินลงทุน (ล้านบาท )
(ล้านบาท) (ร้อยละ) ณ วันที่ 30 กันยายน 2541และ 2540
วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย
2541 2540 2541 2540
บริษัทร่วม
บริษัท บริหารเครือข่าย ถือหุ้น 1.00 49.00 - - 20.40 17.01 -
บางจาก จำหน่ายสินค้า
กรีนเนท อุปโภค บริโภค
จำกัด
บริษัท ธุรกิจขนส่ง บริการ ถือหุ้น 0.10 49.00 - - 2.93 1.53 -
บางจาก
กรีนไลน์
จำกัด
บริษัท บริหารเครือข่ายการ ถือหุ้น 3.00 48.98 - - 1.96 1.59 -
มงคลชัยพัฒนา จำหน่ายสินค้า
จำกัด อุปโภค บริโภค
บริษัท ผลิตและจำหน่าย ถือหุ้น 40.00 39.99 - - 15.16 16.60 -
บางจาก ไฟฟ้าและไอน้ำ
เพาเวอร์
จำกัด
บริษัทที่เกี่ยวข้อง
บริษัท ธุรกิจขนส่ง บริการ ถือหุ้น 796.00 16.71 133.00 133.00 - -
ขนส่งน้ำมัน
ทางท่อ
จำกัด
บริษัท ค้าปลีก ค้าส่ง ถือหุ้น 300.00 10.00 30.00 30.00 - -
โอชอง สินค้าอุปโภค
เชียงใหม่ บริโภค
จำกัด
ในไตรมาสนี้ บริษัทฯ ได้บันทึกส่วนแบ่งผลกำไรจากเงินลงทุนซึ่งคำนวณจากผลการดำเนินงานที่ได้
รับแจ้งจากบริษัทฯต่างๆ ตามนโยบายการบัญชีข้อ 1.5.1 ดังนี้ บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด บริษัท
บางจากกรีนไลน์ จำกัด บริษัท มงคลชัยพัฒนา จำกัด และบริษัท บางจากเพาเวอร์ จำกัด จำนวน
1.75 ล้านบาท 0.30 ล้านบาท 0.10 ล้านบาท และ 0.57 ล้านบาท ตามลำดับ
4.2 เงินค่าขนส่งจ่ายล่วงหน้าให้บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด 223.63 ล้านบาท
บริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด เมื่อวันที่ 17
มิถุนายน 2539 โดยการจ่ายค่าขนส่งน้ำมันจ่ายล่วงหน้า ( Tariff Prepayment ) ซึ่งบริษัทฯ จะได้
รับชำระคืนโดยการหักกลบกับค่าบริการขนส่งน้ำมันเป็นรายเดือน แต่ในขณะนี้ บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ
จำกัด ประสบปัญหาทางด้านการเงิน และอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ จึงมีบันทึกข้อตกลงร่วมกันใหม่
ให้หักกลบเฉพาะในส่วนของดอกเบี้ยในปีที่หนึ่งถึงปีที่สามและหลังจากนั้นจะหักกลบทั้งในส่วนของค่าขนส่ง
จ่ายล่วงหน้าและดอกเบี้ยจนครบถ้วน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2540
5. การบริหารความเสี่ยง
5.1 การบริหารความเสี่ยงด้านเงินตราต่างประเทศ
ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 บริษัทฯ มีเงินกู้ต่างประเทศ ประกอบด้วยเงินกู้ยืมระยะ
สั้นจำนวน 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 600 ล้านเยน และส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึง
กำหนดชำระในหนึ่งปี จำนวน 8.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
บริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Foreign
Exchange Contract) เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศ
จำนวน 20.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 600 ล้านเยน ค่าธรรมเนียมในการซื้อเงินตราต่าง
ประเทศล่วงหน้า ตัดจำหน่ายตามระยะเวลาในสัญญา ตามหมายเหตุ ข้อ 1.9.3
5.2 การบริหารความเสี่ยงด้านราคาน้ำมัน
ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 บริษัทฯ มีสัญญาประกันราคาขายผลิตภัณฑ์น้ำมันจำนวน 1.6 บาเรลเพื่อ
ลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน
6. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 บริษัทฯ มีภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
6.1 ภาระผูกพัน
บริษัทฯ มีภาระการค้ำประกันโดยธนาคาร ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 เป็น
เงิน 166.90 และ 204.25 ล้านบาท ตามลำดับ
6.2 คดีที่ถูกฟ้องร้อง
กระทรวงการคลัง ( จำเลยที่ 1 ) ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย ( จำนวนทุนทรัพย์ 1,055 ล้าน
บาท ) ต่อศาลแพ่งในข้อหาละเมิดขับไล่ที่ราชพัสดุบริเวณท่าเรือโรงกลั่น ซึ่งบริษัทฯ เช่าจากกระทรวง
การคลัง โดยบริษัทฯ ในฐานะผู้เช่าที่ถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยร่วม ( จำเลยที่ 5 ) สำนักกฎหมายของ
บริษัทฯให้ความเห็นว่าถึงแม้ผลคดีจะเป็นประการใด บริษัทฯ ในฐานะผู้เช่าตามสัญญาย่อมไม่มีภาระรับผิด
เกี่ยวกับจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องร้องดังกล่าวข้างต้น คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่ง
7. การดำเนินการแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อความพร้อมสำหรับปี ค.ศ. 2000
(Y2K)
บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ.2000 ตั้งแต่ไตร
มาสที่หนึ่ง ปี 2540 โดยบริษัทฯ ได้จัดเตรียมงบประมาณไว้จำนวน 49 ล้านบาท ทั้งนี้ ณ วันที่ 30
กันยายน 2541 การแก้ไขปรับปรุงดังกล่าวเสร็จประมาณร้อยละ 81 ของการแก้ไขปรับปรุงทั้งหมด อนึ่ง
บริษัทฯ ยังคงมีความเสี่ยงต่อการที่บริษัทอื่นที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วย อาจจะไม่สามารถแก้ไขปรับปรุง
ระบบได้ทันกาล อย่างไรก็ดี บริษัทฯ คาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะไม่มีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ