ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุประกอบงบการเงินไตรมาสที่ 2 ปี 2540
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด ( มหาชน )
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
สำหรับไตรมาสที่สองและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540
1.สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ
1.1 หลักการบัญชี
การบันทึกบัญชีถือตามเกณฑ์คงค้าง ( Accrual Basis )
1.2 สินค้าคงเหลือ
ผลิตภัณฑ์น้ำมันคงเหลือ บันทึกบัญชีในราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า ราคาทุนต่อหน่วย
คำนวณ โดยถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการผลิตของแต่ละเดือน กับ ปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมันแต่
ละประเภท ซึ่งถ่วงน้ำหนักราคา ณ โรงกลั่น(Ex-refinery) โดยใช้เกณฑ์เข้าก่อนออกก่อน
น้ำมันดิบคงเหลือ บันทึกบัญชีในราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า ราคาทุนต่อหน่วยคำนวณ
โดยถัวเฉลี่ยต้นทุนซื้อน้ำมันดิบกับปริมาณที่ซื้อในแต่ละเดือน โดยใช้เกณฑ์เข้าก่อนออกก่อน
1.3 พัสดุคงเหลือ
บันทึกบัญชีในราคาทุนโดยวิธีถัวเฉลี่ย
1.4 เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
1.4.1 กรณีที่บริษัทฯ ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป ของทุนที่ชำระแล้ว จะบันทึกตามวิธีส่วนได้เสีย
1.4.2 กรณีที่บริษัทฯ ถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 บันทึกตามราคาทุน
1.5 ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และค่าเสื่อมราคา
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ บันทึกบัญชีในราคาทุนที่ซื้อหรือได้มา ดอกเบี้ยจ่ายและผลกำไรหรือ
ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เกิดจากเงินกู้ที่ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์
ถาวรถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ถาวร
ค่าเสื่อมราคา คำนวณโดยวิธีเส้นตรง ตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ แต่ละ
ประเภท ซึ่งอยู่ระหว่างอัตราร้อยละ 5 - 20 ต่อปี
1.6 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมหน่วยกลั่นน้ำมัน
บันทึกบัญชีตัดเป็นค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาที่ซ่อมภายใน 18 เดือน
1.7 รายจ่ายรอการตัดบัญชี
ส่วนเกินมูลค่าสินทรัพย์จากการแลกเปลี่ยน ตัดจ่ายภายใน 20 ปี
ส่วนเกินมูลค่าสินทรัพย์รื้อถอนและรายจ่ายรอการตัดบัญชีอื่น ตัดจ่ายภายใน 5 ปี
ค่าเช่าที่ดินในสถานีบริการ ตัดจ่ายตามอายุสัญญาเช่า
1.8 รายได้รอการตัดบัญชี
รายได้รับล่วงหน้าจากการให้เช่าสินทรัพย์และอื่นๆ ตัดบัญชีเป็นรายได้ตามอายุสัญญา
1.9 เงินตราต่างประเทศ
1.9.1 บันทึกบัญชีเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ
1.9.2 ยอดที่คงค้าง ณ วันสิ้นงวด จะปรับมูลค่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนของ
ธนาคารพาณิชย์ ณ วันเดียวกัน กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จะรับรู้เป็น
รายได้หรือค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน ยกเว้นกำไรหรือขาดทุนจากการปรับมูลค่าของเงินกู้
ตาม ข้อ 1.9.3
1.9.3 กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จากการปรับมูลค่าเงินกู้ ณ วันสิ้นงวดและ
ตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ซึ่งใช้ในการก่อสร้างทรัพย์สิน
- กรณีที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง บันทึกเป็นต้นทุนงานระหว่างก่อสร้าง
- กรณีงานก่อสร้างแล้วเสร็จ บันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนใน
งวดบัญชีที่เกิดรายการ
1.9.4 กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการชำระหนี้ในปีใด บันทึกเป็นรายได้
หรือค่าใช้จ่ายในปีนั้นทั้งจำนวน
1.10 สำรองเงินบำเหน็จสงเคราะห์
การสำรองเงินบำเหน็จสงเคราะห์ถือเกณฑ์ดังนี้ พนักงานที่ทำงานครบ 5 ปี ซึ่งจะเกษียณอายุ
ในปีปัจจุบัน และอีก 5 ปีถัดไป ตั้งสำรองฯไว้ 100 % ส่วนที่เหลือตั้งสำรองฯ 5% ของเงินบำเหน็จที่
พึงได้รับ ณ วันสิ้นงวดบัญชีของแต่ละปี
1.11 ดอกเบี้ยเงินกู้
ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากเงินกู้ซึ่งใช้ในการก่อสร้างสินทรัพย์ถาวรถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนงาน
ระหว่างก่อสร้าง เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ ดอกเบี้ยจ่ายถือเป็นค่าใช้จ่าย
1.12 ค่าใช้จ่ายเพิ่มทุน
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเพิ่มทุน ค่าจัดการและประกันการจำหน่ายหุ้นและค่าใช้จ่าย
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายหุ้นเพิ่มทุน ถือเป็นรายการปรับปรุงทุนโดยนำไปลดยอดส่วนเกิน
มูลค่าหุ้น
1.13 กำไรสุทธิต่อหุ้น
กำไรสุทธิต่อหุ้นคำนวณจากกำไรสุทธิหารด้วยจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นที่ได้ออก
จำหน่ายและเรียกชำระแล้ว
2. เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
อัตราการถือหุ้น
ล้านบาท ร้อยละ
บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด 133.00 16.71
บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด 22.31 49.00
บริษัท บางจากกรีนไลน์ จำกัด 3.64 49.00
บริษัท บางจากเพาเวอร์ จำกัด 16.48 39.99
บริษัท มงคลชัยพัฒนา จำกัด 1.55 48.98
บริษัท โอชอง เชียงใหม่ จำกัด 30.00 10.00
206.98
ในไตรมาสนี้ บริษัทฯ ได้บันทึกส่วนแบ่งผลกำไรจากเงินลงทุนซึ่งคำนวณจากผลการดำเนินงานที่ได้รับจาก
บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด บริษัท บางจากกรีนไลน์ จำกัด บริษัท บางจากเพาเวอร์ จำกัด และบริษัท มงคล
ชัยพัฒนา จำกัด ในปี 2539 ตามนโยบายการบัญชี ข้อ 1.4.1 จำนวน 10.04 ล้านบาท 0.38 ล้านบาท 0.05 ล้าน
บาท และ 0.05 ล้านบาทตามลำดับ
3. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
ณ วันสิ้นงวดไตรมาสที่สอง วันที่ 30 มิถุนายน 2540 บริษัทฯ มีภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
3.1 ภาระผูกพัน
บริษัทฯ ได้รับแจ้งว่ามีภาระการค้ำประกันโดยธนาคาร เป็นเงิน 183.50 ล้านบาท
3.2 การประเมินภาษีเงินได้
บริษัทฯ ได้ขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของปี 2530 เป็นเงิน 50.68 ล้านบาท ต่อมากรม
สรรพากร ได้ประเมินภาษีเงินได้ของปี 2530 เพิ่มเป็นเงิน 10.03 ล้านบาท และแจ้งให้บริษัทฯ ชำระค่า
ภาษีทั้ง 2 รายการ รวม 60.71 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทฯ ได้จ่ายคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของปี
2530 ที่ขอคืน พร้อมดอกเบี้ย เป็นเงิน 63.97 ล้านบาท ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา อย่างไรก็
ตาม จำนวนเงินภาษีอากรที่ได้คืนไปนั้นยังไม่เป็นข้อยุติเพราะขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างที่บริษัทฯยื่น
อุทธรณ์คัดค้าน การประเมินภาษีอากรเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภาษีของกรม
สรรพากร
3.3 คดีที่ถูกฟ้องร้อง
บริษัทฯ ในฐานะผู้เช่าที่ราชพัสดุถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 5 ร่วมกับกระทรวงการคลัง (จำเลยที่ 1)
ในข้อหาละเมิดขับไล่ที่ราชพัสดุบริเวณท่าเรือโรงกลั่น ซึ่งบริษัทฯ เช่าจากกระทรวงการคลัง เรียกค่า
เสียหายต่อศาลแพ่งด้วยจำนวนทุนทรัพย์ 1,055 ล้านบาท (สำนักกฎหมายของบริษัทฯ ให้ความเห็น
ว่าถึงแม้ผลคดีจะเป็นประการใด บริษัทฯ ในฐานะผู้เช่าตามสัญญาย่อมไม่มีภาระรับผิดเกี่ยวกับ
จำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องร้องดังกล่าวข้างต้น) คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่ง
4.เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลได้ประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
จากระบบเดิมมาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Managed Float) ทำให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการ
เปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวประมาณ 909 ล้านบาท
5. การจัดประเภทบัญชีใหม่
รายการบัญชีในงบการเงิน สำหรับไตรมาสที่สอง สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ได้จัดประเภทใหม่ให้เป็น
ไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535
การจัดประเภทใหม่ในงบกำไรขาดทุน รายการค่าตอบแทนกรรมการ มีผลทำให้กำไรสุทธิไตรมาสที่สอง
และงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ลดลง จากที่เคยรายงานไว้เดิมเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2539
จำนวน 0.87 ล้านบาท
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว