ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 2/2553
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553
ภาพรวมธุรกิจปี 2553
ด้านราคาน้ำมัน
สำหรับไตรมาส 2 ปี 2553 ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในวันที่ 4 พฤษภาคม 2553 ที่ 87.36
เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นราคาสูงที่สุดของปีและถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 17 เดือน หลังจากนั้นราคาน้ำมันได้
ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องก่อนจะทรงตัวได้ในช่วงสิ้นไตรมาส โดยปัจจัยหลักที่กดดันให้ราคาน้ำมันอ่อนตัวลง ได้แก่
การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเงินยูโรอันเป็นผลจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในยุโรป ซึ่งมี
ผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของสหภาพยุโรป และสร้างความกังวลว่าอาจลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจต่อเนื่อง
จนส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงซึ่งจะกระทบต่อปริมาณความต้องการน้ำมันของโลก รวมถึง
ผลกระทบจากสถานการณ์ภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศไอซแลนด์ต่ออุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา
ตารางแสดงราคาและส่วนต่างราคาน้ำมันเปรียบเทียบเป็นดังนี้
หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ปี 2553 (ไตรมาส 2) ปี 2553 ปี 2552 ผลแตกต่าง
สูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย เฉลี่ยไตรมาส 1 เฉลี่ยไตรมาส 2
ราคา (A)-(B) (A)-(C)
(A) (B) (C)
DB 87.36 68.22 78.04 75.78 59.22 +2.26 +18.82
UNL95/DB 13.06 6.60 9.46 12.52 9.58 -3.06 -0.12
GO/DB 13.88 10.26 11.29 8.96 7.07 +2.33 +4.22
FO/DB -4.26 -9.66 -6.73 -3.04 -5.95 -3.69 -0.78
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวผันผวนเนื่องจากความไม่ชัดเจนใน
หลายปัจจัย ทั้งการก่อตัวของเฮอร์ริเคนที่ยังไม่มีความแน่ชัดว่าจะส่งผลต่อการผลิตน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกมากน้อย
เพียงใด ประกอบกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไร้ทิศทางที่แน่ชัด แต่ระดับราคาน้ำมันมีโอกาสที่
จะทรงตัวได้จากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์อุปสงค์พลังงานทั่วโลกในปีนี้ยังขยายตัว รวมทั้งได้แรงหนุนจากดัชนีเฉลี่ย
อุตสาหกรรมดาวโจนส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามจากปัจจัยเรื่องพายุเฮอริเคนที่ยังไม่หมดช่วงฤดูกาล และความ
คืบหน้าการแก้ปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรป ซึ่งจากผลการทดสอบภาวะวิกฤติทางการเงิน (Stress Test) ของธนาคารใน
ยุโรปช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเป็นอย่างมาก จะเป็นตัวผลักดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นได้
ด้านการผลิตและการจำหน่าย
ไตรมาส 2 ปี 2553 บริษัทฯกลั่นน้ำมันเฉลี่ย 80.5 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากไตรมาส 2 ปี 2552 ที่อยู่ที่
83.9 พันบาร์เรลต่อวัน โดยเป็นการกลั่นในรูปแบบ Complex Refinery จากโครงการ PQI ที่เริ่มดำเนินการผลิตเชิง
พาณิชย์แล้วตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2552 เป็นต้นมา
ด้านการจำหน่ายสำหรับไตรมาส 2 ปี 2553 บริษัทฯมีปริมาณจำหน่ายรวม (ไม่รวมน้ำมันดิบและ
น้ำมันหล่อลื่น) เฉลี่ย 98.8 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 102.5 พันบาร์เรลต่อวัน โดยเป็น
การจำหน่ายผ่านธุรกิจการตลาด 65.2 พันบาร์เรลต่อวัน สูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ที่อยู่ที่ 63.6 พัน
บาร์เรลต่อวัน เมื่อพิจารณาการจำหน่ายน้ำมันผ่านสถานีบริการน้ำมันในไตรมาส 2 ปี 2553 จากข้อมูลของกรมธุรกิจ
พลังงานในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 พบว่าภาพรวมตลาดสถานีบริการน้ำมันมีปริมาณการจำหน่ายรวมทุก
ยี่ห้อลดลงประมาณ 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 โดยยอดจำหน่ายผ่านสถานีบริการของบริษัทลดลง
ประมาณ 4.9% มีส่วนแบ่งการตลาดผ่านสถานีบริการเฉลี่ยเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 อยู่ในอันดับที่ 3 โดยมี
ส่วนแบ่งการตลาดที่ 13.7%
1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 6 เดือน ปี 2553 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 1,238 ล้านบาท
ประกอบด้วยผลกำไรของบริษัทฯ จำนวน 1,189 ล้านบาท กำไรของบริษัทย่อย ได้แก่บริษัท บางจาก
กรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 70 ล้านบาท หักกำไรระหว่างกันจำนวน 21 ล้านบาท
และเมื่อหักกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (Minority Interests) จำนวน 21 ล้านบาท แล้วคงเหลือ
กำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ จำนวน 1,217 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 1.04 บาท
2) ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2 ปี 2553 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 444 ล้านบาท ประกอบด้วย
ผลกำไรของบริษัทฯ จำนวน 438 ล้านบาท กำไรของบริษัทย่อย ได้แก่บริษัท บางจาก
กรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 26 ล้านบาท หักกำไรระหว่างกันจำนวน 20 ล้านบาท
และเมื่อหักกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (Minority Interests) จำนวน 10 ล้านบาท แล้วคงเหลือ
กำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ จำนวน 434 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.37 บาท
กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทลดลงจาก 2,704 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ปี 2552 เป็น 434 ล้าน
บาท ในไตรมาส 2 ปี 2553 เป็นผลมาจากการลดลงของรายการกำไรจากธุรกรรมป้องกันความเสี่ยง (Oil
Hedging) ซึ่งโดยปกติบริษัทฯจะพิจารณาเข้าทำธุกรรม Hedging ล่วงหน้าไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ในปี 2552
สภาวะตลาดซื้อขายล่วงหน้าไม่เอื้ออำนวยในการเข้าทำธุรกรรม Hedging สำหรับปี 2553 ทำให้ในปีนี้
บริษัทฯจะไม่ได้รับกำไรจากการ Hedging มากดังเช่นปีก่อน อีกสาเหตุหนึ่งมาจากราคาน้ำมันใน
ตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 ส่งผลให้เกิดผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน ในขณะที่ช่วง
เดียวกันของปีก่อนได้ผลกำไรจากสต๊อกน้ำมันเนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางขาขึ้น
3) ผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท บางจากฯ ในไตรมาส 2 ปี 2553 มี EBITDA พื้นฐานจำนวน 1,248 ล้าน
บาท เมื่อรวมผลกำไรจาก Hedging จำนวน 148 ล้านบาท และผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันจำนวน -233
ล้านบาท จึงทำให้มี EBITDA รวม 1,163 ล้านบาท โดยมาจากกำไรขั้นต้นรวมธุรกิจโรงกลั่นและตลาด
(Gross Integrated Margin-GIM) จำนวน 7.37 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตารางแสดงผลประกอบการ
แยกตามประเภทธุรกิจเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นดังนี้
EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ
ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 เพิ่ม + / ลด -
(หน่วย : ล้านบาท) ปี 2553 (A) ปี 2552 (B) (A) - (B)
EBITDA (จากการดำเนินงานพื้นฐาน) 1,248 1,051 +197
- โรงกลั่น 853 665 +188
- ตลาด 395 386 +9
กำไรจาก Hedging 148 1,517 -1,369
กำไร (ขาดทุน) จากสต๊อกน้ำมัน (233) 1,453 -1,686
EBITDA รวม (ตามบัญชี) 1,163 4,021 -2,858
- โรงกลั่น 768 3,635 -2,867
- ตลาด 395 386 +9
- EBITDA จากการดำเนินงานพื้นฐานของธุรกิจโรงกลั่นจำนวน 853 ล้านบาท สูงกว่าไตรมาส 2 ปี
ก่อนจำนวน 188 ล้านบาท เนื่องจากค่าการกลั่นพื้นฐานปรับตัวดีขึ้น เมื่อรวมกำไรจาก Hedging
และผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันแล้วจะมี EBITDA จำนวน 768 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อนที่อยู่ที่
3,635 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่นรวม 5.04 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มีการใช้
กำลังการผลิตที่ 80.5 พันบาร์เรลต่อวัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีค่าการกลั่นรวม 15.30
เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และมีการใช้กำลังการผลิต 83.9 พันบาร์เรลต่อวัน ตารางแสดงรายละเอียด
การวิเคราะห์ค่าการกลั่นเป็นดังนี้
หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ค่าการกลั่นจาก ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ผลแตกต่าง
ปี 2553 ปี 2552 +/-
ค่าการกลั่นพื้นฐาน 5.40 4.26 +1.14
GRM Hedging 0.62 5.64 -5.02
สต๊อกน้ำมันและ LCM (0.98) 5.40 -6.38
รวม 5.04 15.30 -10.26
ค่าการกลั่นพื้นฐาน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.14 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
กระบวนการผลิตจาก Simple เป็นแบบ Complex ในปีก่อนบริษัทฯได้รับค่าการกลั่นจากการ
จำหน่ายน้ำมันเตาเกรดพิเศษไปต่างประเทศโดยมี Premium ในระดับสูงประมาณ 8.6 เหรียญสหรัฐ
ต่อบาร์เรล ในขณะที่ปีนี้ปริมาณการผลิตน้ำมันเตาลดลงและ Premium ที่ได้จากตลาด Spot ลดลง
เหลือเพียง 0.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามคุณสมบัติน้ำมันเตาที่เปลี่ยนไป แต่ได้รับค่าการกลั่นที่
ดีขึ้นจากการผลิตน้ำมันดีเซลในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันดิบที่
ปรับตัวดีขึ้นด้วย สำหรับส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบชนิดอื่นๆอยู่ในระดับใกล้เคียง
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตารางแสดงส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบอ้างอิงเป็น
ดังนี้
หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ผลแตกต่าง
ส่วนต่างราคาเฉลี่ย ปี 2553 ปี2552 +/-
UNL95/DB 9.46 9.58 -0.12
IK/DB 11.72 7.32 +4.40
GO/DB 11.29 7.07 +4.22
FO/DB -6.73 -5.95 -0.78
ค่าการกลั่นจาก GRM Hedging ลดลง 5.02 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากในช่วงปี 2552 ที่
ผ่านมาส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบอยู่ในระดับต่ำทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าทำ
ธุรกรรมการซื้อขายส่วนต่างราคาน้ำมันล่วงหน้า โดยแม้ว่าในไตรมาส 2 ปี 2553 นี้มีปริมาณ
ธุรกรรมที่บริษัทฯได้ทำไว้ล่วงหน้าประมาณร้อยละ 35 ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย (นโยบายการ
ทำ Hedging ที่กำหนดไว้ที่ประมาณร้อยละ 30) แต่การปรับตัวของส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นจริง
ใกล้เคียงกับราคาที่ได้ทำสัญญาไว้ล่วงหน้า บริษัทฯจึงไม่ได้รับกำไรจากการทำธุรกรรมดังกล่าว
มากนัก ในขณะที่ปีก่อนธุรกรรม Hedging ที่บริษัทฯทำไว้คิดเป็นร้อยละ 51 ของปริมาณกลั่น
เฉลี่ยและการปรับตัวของส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นจริงต่ำกว่าราคาที่ได้ทำสัญญาไว้ล่วงหน้ามาก
บริษัทฯจึงได้รับกำไรจากการทำ Hedging ค่อนข้างมาก ซึ่งการกำหนดราคาซื้อขายน้ำมัน
ล่วงหน้าขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดขณะนั้นๆเป็นสำคัญ
ค่าการกลั่นจากสต๊อกน้ำมัน ในงวดนี้มีผลขาดทุนจากสต็อกน้ำมัน 0.98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553 ตรงข้ามกับ
ทิศทางราคาน้ำมันในไตรมาสที่ 2 ปีก่อน ที่ราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางขาขึ้น ส่งผลให้ไตรมาส 2
ปี 2552 มีผลกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 5.40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (รวมการกลับรายการ LCM)
- EBITDA จากธุรกิจการตลาด 395 ล้านบาท สูงกว่าไตรมาส 2 ปีก่อนจำนวน 9 ล้านบาท ไตรมาส
2 ปี 2553 นี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการเคลื่อนไหวในทิศทางที่ค่อยๆปรับตัวลดลง ไม่ผันผวน
มากนักทำให้การควบคุมและกำหนดค่าการตลาดค้าปลีกสามารถทำได้สอดคล้องกับต้นทุนจริง
ในขณะที่ปีก่อนได้รับค่าการตลาดที่ต่ำกว่าเนื่องจากการปรับตัวของราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ใน
ทิศขาขึ้น ส่งผลให้ไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการตลาดสุทธิ (ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 59
สตางค์ต่อลิตร (คิดเป็นประมาณ 2.88 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) สูงกว่าปีก่อนที่มีค่าการตลาดสุทธิ
ประมาณ 49 สตางค์ต่อลิตร (หรือคิดเป็นประมาณ 2.23 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล) สำหรับปริมาณ
การจำหน่ายผ่านธุรกิจการตลาดโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 63.6 พันบาร์เรลต่อวัน
(หรือคิดเป็นประมาณ 307 ล้านลิตรต่อเดือน) เพิ่มเป็น 65.2 พันบาร์เรลต่อวัน (หรือคิดเป็น
ประมาณ 314 ล้านลิตรต่อเดือน)
1.2 การวิเคราะห์รายได้
1) สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2553 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และ
บริษัทย่อยมีจำนวน 66,938 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน
66,194 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท
บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 10,814 ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 10,070
ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขายน้ำมันสำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท
2) สำหรับไตรมาส 2 ปี 2553 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และ
บริษัทย่อยมีจำนวน 32,958 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน
32,970 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท
บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 5,443 ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 5,455
ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท
สำหรับรายได้ต่างๆ ในส่วนของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่
- รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 6,118 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 22.8% เนื่องจากไตรมาส 2 ปี 2253 ราคา
น้ำมันในตลาดโลกมีระดับราคาที่สูงกว่าเมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ราคา
จำหน่ายน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 26.8% ส่วนปริมาณการจำหน่ายรวมลดลง 3.1%
- รายได้อื่นเพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 83.2% ส่วนใหญ่มาจากรายได้เงินปันผลจากบริษัท
บางจากกรีนเนท จำนวน 18 ล้านบาท และเคลมค่าปรับกรณีลูกค้ารายหนึ่งไม่รับน้ำมันตามสัญญา
จำนวน 16 ล้านบาท
- กำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้าลดลง 1,369 ล้านบาท หรือลดลง
90.2% เป็นผลจากการลดลงของปริมาณธุรกรรมการป้องกันความเสี่ยงในการขายส่วนต่างราคา
น้ำมันล่วงหน้า ดังที่ได้วิเคราะห์ไว้ในเรื่องค่าการกลั่นจาก GRM Hedging
- กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลงจำนวน 141 ล้านบาท หรือลดลง 60.9% จากการ Mark to market
สัญญาป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน ตามนโยบายที่ได้ปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่
อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ในระดับสมดุลกับรายได้ที่อ้างอิงสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ
(Natural Hedge) เพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้รับผลกระทบจากความผันผวน
ของอัตราแลกเปลี่ยน
1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
1) สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2553 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน
64,089 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 63,704 ล้านบาท ต้นทุนของของ
บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 10,404 ล้านบาท แต่
เป็นรายการระหว่างกันจำนวน 10,019 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของ
บริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท
2) ไตรมาส 2 ปี 2553 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 31,678
ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 31,859 ล้านบาท ต้นทุนของของบริษัทย่อย
ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 5,725 ล้านบาท แต่เป็นรายการ
ระหว่างกันจำนวน 5,906 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ ให้แก่
บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในส่วนของบริษัทบางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลัก
เมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่
- ต้นทุนขายและการให้บริการเพิ่มขึ้น 7,739 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 32.1% เนื่องจากต้นทุนราคา
น้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับอัตราการเพิ่มขึ้นของ
รายได้จากการขาย
- ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น 85 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 63.7% เนื่องจากบริษัทฯได้รับรู้ค่าใช้จ่าย
ดอกเบี้ยสำหรับโครงการ PQI เข้าในงบกำไรขาดทุนตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2552 ในขณะที่ปีก่อน
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของโครงการถูกบันทึกเข้าเป็นต้นทุนโครงการในระหว่างการก่อสร้าง
1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร
งบการเงินรวม งบเฉพาะบริษัท
ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ไตรมาส 2
ปี 2553 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2552
รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท 32,958 27,114 32,970 26,852
กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 434 2,704 438 2,677
อัตรากำไรสุทธิ, % 1.35 9.97 1.33 9.96
กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 0.37 2.42 0.37 2.39
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE), % 1.65 12.15 1.67 12.04
ROE(ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน), % 2.31 7.57 2.30 7.45
อัตรากำไรสุทธิมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ
กลั่นและค่าการตลาด โดยไตรมาส 2 ปี 2553 งบการเงินรวมและงบเฉพาะบริษัทฯมีอัตรากำไรสุทธิ 1.35% และ
1.33% ตามลำดับ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 9.97% และ 9.96% สาเหตุหลักมาจากการ
เปลี่ยนแปลงของค่าการกลั่นรวมและค่าการตลาดดังที่ได้กล่าวไว้ในการวิเคราะห์กำไรขาดทุน ทำให้อัตรา
ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (งบการเงินรวม) ในไตรมาส 2 ปี 2553 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ปรับตัวลงลงจาก
12.15% เป็น 1.65%
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2552
งบการเงินรวม งบเฉพาะบริษัท
30 มิ.ย.53 31 ธ.ค.52 30 มิ.ย.53 31 ธ.ค.52
สินทรัพย์รวม, ล้านบาท 54,935 53,891 53,858 52,901
หนี้สินรวม, ล้านบาท 28,866 27,938 27,959 27,069
ส่วนของผู้ถือหุ้น, ล้านบาท 26,069 25,953 25,899 25,832
อัตราส่วนสภาพคล่อง, เท่า 1.70 1.78 1.72 1.80
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น, เท่า 0.62 0.61 0.60 0.59
มูลค่าตามบัญชี, บาท/หุ้น 22.19 22.11 22.14 22.08
2.1 สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2553 มีจำนวน 54,935 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัท
บางจากฯ จำนวน 53,858 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจาก
ไบโอฟูเอล จำนวน 1,941 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีรายการระหว่างกันอยู่ 864 ล้านบาท โดยส่วน
ใหญ่เป็นบัญชีลูกหนี้การค้าที่บริษัท บางจากกรีนเนท ฃื้อน้ำมันจากบริษัท บางจากฯ จำนวน 548 ล้านบาท
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2553 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2552 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
จำนวน 957 ล้านบาท หรือประมาณ 1.8% สินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- พัสดุคงเหลือเพิ่มขึ้น 173 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 51.2% ส่วนใหญ่เนื่องจากบริษัทฯได้จัดหาพัสดุ
สำรองอุปกรณ์สำคัญในหน่วยกลั่น PQI ซึ่งจะถูกใช้เปลี่ยนแทนกรณีที่อุปกรณ์ที่ใช้อยู่เกิดการชำรุด
เพื่อบริหารความเสี่ยงไม่ให้การดำเนินการผลิตหยุดชะงักเป็นเวลานาน
- สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ลดลง 662 ล้านบาท หรือลดลง 59.1% ส่วนใหญ่มาจากลูกหนี้ค้างรับจาก
การทำธุรกรรม Oil Hedging ลดลงจากการรับชำระส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และน้ำมันดิบตาม
สัญญาจำนวน 536 ล้านบาท
- เงินลงทุนระยะยาวอื่นเพิ่มขึ้น 94 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 47.4% ส่วนใหญ่จำนวน 93 ล้านบาท
เนื่องมาจากการเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) จำนวน
1,165,500 หุ้น คิดเป็นประมาณ 9.9% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด ทำให้ปัจจุบันบริษัทฯถือหุ้นใน
บริษัท เหมืองแร่ฯ แห่งนี้รวมทั้งสิ้น 16.4%
2.2 หนี้สิน
1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2553 จำนวน 28,866 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัท บางจากฯ
จำนวน 27,959 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล
จำนวน 1,558 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวมีรายการระหว่างกันอยู่ 651 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชี
เจ้าหนี้การค้าของบริษัท บางจากกรีนเนท ที่ค้างจ่ายค่าซื้อน้ำมันให้แก่บริษัท บางจากฯ จำนวน 548
ล้านบาท
2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2553 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2552 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 890 ล้าน
บาท หรือประมาณ 3.3% หนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,792 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 29.7% เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบและ
ผลิตภัณฑ์น้ำมันที่บริษัทฯจัดซื้อในเดือนมิถุนายน 2553 เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.8 ล้านบาร์เรล เมื่อ
เทียบกับเดือนธันวาคม 2552 เนื่องจากบริษัทฯมีแผนที่จะเพิ่มปริมาณการกลั่นในไตรมาส 3 ให้
สูงขึ้น
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่ายลดลง 894 ล้านบาท หรือลดลง 66.2% จากการจ่ายชำระภาษีเงินได้
นิติบุคคลของรอบปีบัญชี 2552 (ครึ่งปีหลัง) จำนวน 1,350 ล้านบาท แต่มีการตั้งค้างจ่ายภาษีเงิน
ได้รอบปีปัญชี 2553 (งวด 6 เดือนแรก) ไว้จำนวน 456 ล้านบาท
2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2553 รวมจำนวน 26,069 ล้านบาท
เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท บางจากฯ 25,899 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท
และบริษัทบางจากไบโอฟูเอล จำนวน 383 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกัน 213 ล้านบาท
2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ เพิ่มขึ้น 67 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2552 หรือเพิ่มขึ้น 0.3%
เนื่องจากบริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับ 6 เดือนแรก ปี 2553 จำนวน 1,189 ล้านบาท แต่มีการจ่ายเงินปัน
ผลให้ผู้ถือหุ้นประจำปีจำนวน 935 ล้านบาท และมีการตัดจำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์
จำนวน 187 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 30 มิถุนายน 2553 มีจำนวน 25,899 ล้านบาท คิด
เป็นมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น 22.14 บาท
3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553 มี
จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 212 ล้านหุ้น เมื่อคิด Full Dilution แล้วจะมีสัดส่วนประมาณ
15.3% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553
3.1 สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2553 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา
(ยังมีต่อ)