ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
คำอธิบายและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน งวดปีสิ้นสุด 31 ธ.ค.52
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552
ภาพรวมธุรกิจปี 2552
ด้านราคาน้ำมัน
สำหรับปี 2552 นี้ระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยหลักที่
สนับสนุนราคาน้ำมัน ได้แก่ มาตรการควบคุมปริมาณการผลิตของกลุ่ม OPEC และการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ
ในขณะที่ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันและน้ำมันดิบโดยเฉพาะส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลยังคงทรงตัวในระดับต่ำ
เนื่องจากปัจจัยความต้องการบริโภคน้ำมันที่ลดลงอย่างมากตามภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์
น้ำมันมีอัตราการเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของน้ำมันดิบ อีกทั้งมีการขยายกำลังการผลิตของโรงกลั่นทั่วโลก
โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซีย ส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทานของน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม
ส่วนต่างของราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดิบปรับตัวดีขึ้นจากอุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคตึงตัวโดยมีความต้องการน้ำมัน
เตาสำหรับเดินเรือของสิงคโปร์ และความต้องการจากแถบตะวันออกกลางในระดับสูง ในขณะที่ปี 2551 ราคาน้ำมันมี
ความผันผวนอย่างมาก โดยครึ่งปีแรก 2551 ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็น
ประวัติการณ์ที่ 140.77 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนกรกฎาคม จากนั้นราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง
จนกระทั่งสิ้นสุดปี 2551 น้ำมันดิบดูไบมีราคาปิดที่ 36.40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นราคาต่ำที่สุดของปี ทำให้ผู้
ดำเนินธุรกิจด้านโรงกลั่นน้ำมันทั้งในและต่างประเทศต่างก็ได้รับผลกระทบด้านลบจากการขาดทุนสต๊อกน้ำมันอัน
เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง
ตารางแสดงราคาน้ำมันดิบและส่วนต่างราคาน้ำมันเปรียบเทียบ เป็นดังนี้
หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ปี 2552 ปี 2551 ผลแตกต่าง
สูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย สูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย
ราคา (A) (B) (A)-(B)
DB 79.57 36.40 61.82 140.77 36.40 93.48 -31.66
UNL95/DB 20.91 0.38 8.55 18.04 -4.65 9.12 -0.57
GO/DB 18.25 1.14 7.24 45.66 13.39 25.98 -18.74
FO/DB -0.86 -12.89 -5.06 -1.95 -31.21 -14.93 +9.87
ด้านการผลิตและการจำหน่าย
ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2552 บริษัทฯได้หยุดทดลองเดินเครื่องหน่วยแตกโมเลกุล (Hydro-cracking unit)
เพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์บางส่วน ทำให้โครงการ PQI เกิดความล่าช้าในการผลิตเชิงพาณิชย์ ภายหลังจากการซ่อมแซม
ทดลองเดินเครื่องและทดสอบตามเงื่อนไขสัญญาก่อสร้างแล้ว บริษัทฯจึงได้รับมอบหน่วยกลั่น PQI พร้อมทั้งเริ่มบันทึก
ค่าใช้จ่ายต่างๆเข้าในงบกำไรขาดทุนทั้งค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ยจ่าย ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม
2552 สำหรับปี 2552 บริษัทฯสามารถกลั่นน้ำมันได้เฉลี่ย 79.2 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่อยู่ที่ 74.2 พัน
บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายโดยรวมในตลาดต่างๆเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับการจำหน่ายน้ำมันผ่านธุรกิจการตลาดในปี 2552 นี้มีปริมาณการจำหน่ายรวมสูงขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่
ระดับ 53.2 พันบาร์เรลต่อวัน เป็น 61.0 พันบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นในทุกช่องทางการจัด
จำหน่าย โดยเฉพาะตลาดน้ำมันเครื่องบิน และตลาดอุตสาหกรรมในช่องทางการขนส่ง จากข้อมูลของกรมธุรกิจ
พลังงาน พบว่าอุปสงค์ในประเทศของตลาดน้ำมันรวมทั้งอุตสาหกรรมในช่วงเดือนมกราคม-ธันวาคม 2552 ปรับตัว
สูงขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551
1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวดปี 2552 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 7,523 ล้านบาท ประกอบด้วยผล
กำไรของบริษัทฯ จำนวน 7,475 ล้านบาท กำไรของบริษัท บางจากกรีนเนท 54 ล้านบาท ขาดทุนของ
บริษัท บางจากไบโอฟูเอล 5 ล้านบาท หักกำไรระหว่างกันจำนวน 1 ล้านบาท และเมื่อหักขาดทุนส่วนที่
เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (Minority Interests) จำนวน 1 ล้านบาท แล้วคงเหลือกำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือ
หุ้นบริษัทฯ จำนวน 7,524 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 6.57 บาท
2) ผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท บางจากฯ ในปี 2552 มี EBITDA จากผลประกอบการจริงจำนวน 9,081
ล้านบาท เมื่อรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 3,163 ล้านบาท (ประกอบด้วยผลกำไรจาก
สต๊อก 2,221 ล้านบาท และกลับรายการค่าเผื่อการปรับมูลค่าสินค้าลดลงจำนวน 942 ล้านบาท) จึงทำ
ให้มี EBITDA รวม 12,244 ล้านบาท ผลประกอบการแยกตามประเภทธุรกิจเป็นดังนี้
EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ
ปี 2552 (A) ปี 2551 (B) เพิ่ม + / ลด -
(หน่วย : ล้านบาท) (A) - (B)
EBITDA (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) 9,081 5,610 +3,471
- โรงกลั่น 7,676 4,419 +3,257
- ตลาด 1,405 1,191 +214
บวก กำไรจากสต๊อกน้ำมัน 3,163 - +3,163
(หัก) ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน - (5,080) -5,080
EBITDA รวม 12,244 530 +11,714
- โรงกลั่น 10,839 (661) +11,500
- ตลาด 1,405 1,191 +214
- EBITDA จากผลประกอบการจริงของธุรกิจโรงกลั่นจำนวน 7,676 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่
ระดับ 4,419 ล้านบาท โดยปี 2552 นี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน
และ LCM) 9.60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มีการใช้กำลังการผลิตที่ 79.2 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่า
ปีก่อนที่มีค่าการกลั่น 6.54 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และใช้กำลังการผลิตที่ระดับ 74.2 พันบาร์เรล
ต่อวัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังนี้
หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ผลแตกต่าง
ค่าการกลั่นจาก ปี 2552 ปี 2551
+/-
ค่าการกลั่นพื้นฐาน 3.98 6.79 -2.81
GRM Hedging 5.62 (0.25) +5.87
สต๊อกน้ำมัน 2.22 (4.54) +6.76
LCM 0.94 (1.03) +1.97
รวม 12.76 0.97 +11.79
ค่าการกลั่นพื้นฐาน ปรับตัวลดลง 2.81 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากส่วนต่างราคาน้ำมัน
สำเร็จรูปและน้ำมันดิบปรับตัวแคบลงทุกชนิด โดยเฉพาะส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซล(บริษัทฯผลิต
น้ำมันชนิดนี้ในสัดส่วนที่สูง) ปรับตัวลดลงจากปี 2551 ที่อยู่ที่เฉลี่ย 25.98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
มาอยู่ที่ 7.24 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2552 สาเหตุหลักมาจากปริมาณน้ำมันสำรองในภูมิภาค
ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และแม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวแต่ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลกลับ
ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันราคาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบค่อนข้าง
แข็งแกร่งจากนโยบายของกลุ่ม OPEC ที่ใช้มาตรการการลดกำลังการผลิตเพื่อควบคุมราคา
น้ำมันดิบ จึงทำให้ผู้ประกอบการโรงกลั่นประสบภาวะค่าการกลั่นตกต่ำ และส่งผลให้โรงกลั่นหลาย
แห่งลดปริมาณการผลิตลง
สำหรับส่วนต่างราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดิบดูไบ (FO/DB) ปรับตัวดีขึ้นจากเฉลี่ย -14.93 เหรียญ
สหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ -5.06 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และทำให้น้ำมันเตาที่บริษัทฯส่งออก
ในปี 2552 นี้มีราคาที่ดีกว่าปีก่อน โดยได้รับรู้ผลประโยชน์จากสัญญาส่งออกน้ำมันเตาที่ได้ตกลง
Premium ไว้ล่วงหน้าในระดับที่สูง
ส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบอ้างอิง เป็นดังนี้
หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ผลแตกต่าง
ส่วนต่างราคาเฉลี่ย ปี 2552 ปี2551
+/-
UNL95/DB 8.55 9.12 -0.57
IK/DB 8.28 27.90 -19.62
GO/DB 7.24 25.98 -18.74
FO/DB -5.06 -14.93 +9.87
ค่าการกลั่นจาก GRM Hedging เพิ่มขึ้น 5.87 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากบริษัทฯได้เข้าทำ
ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงไว้ในช่วงที่ค่าการกลั่นอยู่ในระดับสูง (ราวไตรมาสที่ 1-2 ปี 2551) จึงทำ
ให้สามารถขายส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และน้ำมันดิบล่วงหน้าสำหรับปี 2552 ได้ในระดับสูง ดังนั้น
เมื่อการปรับตัวของส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นจริงในปีนี้ต่ำกว่าราคาที่กำหนดในสัญญา บริษัทฯ จึง
ได้รับกำไรจากการทำ GRM Hedging ดังกล่าวในระดับสูง โดยปี 2552 นี้มีปริมาณธุรกรรมที่บริษัทฯ
ได้ทำไว้ล่วงหน้าประมาณ 54% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย (ปีก่อนมีปริมาณการทำธุรกรรมเฉลี่ย
23% ของปริมาณกลั่น) คิดเป็นกำไรที่ได้จากการประกันความเสี่ยงในปีนี้ 5,631 ล้านบาท
ค่าการกลั่นจากสต๊อกน้ำมันและรายการ LCM ในปีนี้มีผลกำไรจากสต๊อกน้ำมันรวม 3.16 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงต้นปี 2552 ตรงข้ามกับทิศทางราคาน้ำมัน
ในปี 2551 ที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวลงอย่างรุนแรงในช่วงครึ่งปีหลัง 2551 จนทำให้เกิดผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน
รวมถึงต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการตีราคาสินค้าคงเหลือลดลง (Lower of cost or market - LCM) อีกด้วย
- EBITDA จากธุรกิจการตลาด 1,405 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 1,191 ล้านบาทในปี 2552
บริษัทฯ มีค่าการตลาด(ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 57.0 สตางค์ต่อลิตร (คิดเป็นประมาณ 2.63
เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) ใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีค่าการตลาดประมาณ 59.6 สตางค์ต่อลิตร (หรือคิด
เป็นประมาณ 2.83 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล) ทั้งนี้เนื่องจากปี 2552 นี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกมี
การเคลื่อนไหวในลักษณะที่ค่อยๆปรับตัวสูงขึ้น ไม่ผันผวนมากนักทำให้ปีนี้การควบคุมและ
กำหนดค่าการตลาดสามารถทำได้สอดคล้องกับต้นทุนจริงได้ค่อนข้างดี ในขณะที่ปีก่อนหน้าแม้ว่า
โดยรวมแล้วจะได้รับค่าการตลาดที่สูงกว่า แต่มีข้อจำกัดในการกำหนดค่าการตลาดเนื่องจาก
สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ค่อนข้างผันผวนทำให้ค่าการตลาดในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ติดลบ ส่วนค่า
การตลาดในช่วงครึ่งหลังของปีนั้นมีระดับที่สูงมากสาเหตุจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง
อย่างรุนแรงโดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ด้านปริมาณการจำหน่ายในตลาดบางจาก
โดยรวมเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 53.2 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มเป็น 61.0 พันบาร์เรลต่อวัน
ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการขยายตลาดไปในช่องทางขนส่งและการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
1.2 การวิเคราะห์รายได้
1) สำหรับปี 2552 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมี
จำนวน 108,681 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 107,678
ล้านบาท บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 16,411 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 53
ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 15,461 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการ
จำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับรายได้ต่างๆ ของบริษัท บาง
จากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่
- รายได้จากการขายลดลง 20,375 ล้านบาท หรือ 15.9% สาเหตุจากราคาน้ำมันในตลาดโลกโดยเฉลี่ย
ปี 2552 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบจากปีก่อน ส่งผลให้ราคาจำหน่ายน้ำมันเฉลี่ยลดลง 21.1% ในขณะที่
ปริมาณการจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้น 6.4%
- รายได้อื่นลดลง 23 ล้านบาท หรือ 9.1% สาเหตุหลักมาจากในปีก่อนบริษัทฯ ได้รับเงินปันผลจาก
บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 20 ล้านบาท
- ปี 2552 มีกำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้า 5,631 ล้านบาท ในขณะที่
ปีก่อนมีผลขาดทุน 250 ล้านบาท เป็นผลจากการที่บริษัทฯได้เข้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงไว้
ดังที่ได้วิเคราะห์ไว้ในเรื่องค่าการกลั่นจาก GRM Hedging
1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
1) สำหรับปี 2552 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 101,009 ล้าน
บาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 100,588 ล้านบาท บริษัท บางจากกรีนเนท
จำนวน 15,751 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 37 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่าง
กันจำนวน 15,367 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ ให้แก่บริษัท
บางจากกรีนเนท สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ของบริษัทบางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปี
ก่อน ได้แก่
- ต้นทุนขายขายและการให้บริการลดลง 24,172 ล้านบาท หรือ 19.4% เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมัน
ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งต้นทุนมีอัตราการลดลงสูงกว่าเมื่อเทียบกับอัตราการ
ลดลงของรายได้จากการขายที่ลดลง 15.9% สาเหตุมาจากวิธีบัญชีต้นทุนตามเกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วง
น้ำหนัก ทำให้ช่วงที่ราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางขาขึ้นต้นทุนเฉลี่ยจะต่ำกว่าต้นทุนการจัดหาใน
ปัจจุบันส่งผลให้บริษัทฯมีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น 269 ล้านบาท หรือ 38.3% ส่วนใหญ่มาจาก 1)ค่าใช้จ่ายเงินเดือน
และสวัสดิการเพิ่มขึ้น 152 ล้านบาท จากโบนัสพนักงาน การปรับฐานเงินเดือน และการเปิดให้
พนักงานเข้าร่วมโครงการ EJIP (Employee Joint Investment Program) เพื่อสร้าง Engagement
กับพนักงานในระยะยาว 2)ค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ต่างๆเพิ่มขึ้น
38 ล้านบาท 3)ค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น 10 ล้านบาท 4)ค่าจ้างที่ปรึกษาใน
ด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น 10 ล้านบาท 5)ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่ายสินทรัพย์เพื่อการบริหารเพิ่มขึ้น 10
ล้านบาท 6)ค่าใช้จ่ายในด้านการซ่อมแซมบำรุงรักษาเพิ่มขึ้น 7 ล้านบาท
- ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง 111 ล้านบาท หรือ 66.2% เนื่องจากปี 2551 ค่าเงินบาทมีการ
ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสิ้นปี 2550 ที่อยู่ที่ 33.89 บาทดอลลาร์ สรอ. มาอยู่ที่ 35.08 บาทดอลลาร์
สรอ. ณ สิ้นปี 2551 ทำให้เกิดผลขาดทุนจากหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้แก่ เจ้าหนี้การค้า
สำหรับปี 2552แม้ว่าค่าเงินบาทจะมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นแต่บริษัทฯยังคงมีผลขาดทุนจากอัตรา
แลกเปลี่ยนอยู่เนื่องจากผลการ Mark to market รายการเงินกู้มูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญ
สหรัฐ ที่บริษัทฯ ได้ทำการเปลี่ยนเงินกู้สกุลเงินบาทให้เป็นเงินกู้สกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ (Cross
Currency Swap) ตามนโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ
ให้อยู่ในระดับสมดุลกับรายได้ที่อ้างอิงสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ (Natural Hedge) เพื่อป้องกันไม่ให้
การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
- ต้นทุนทางการเงินลดลง 303 ล้านบาท หรือ 35.4% เนื่องจากปีก่อนบริษัทฯ ได้รับรู้ค่าใช้จ่ายจาก
การ Refinance เงินกู้เดิม ซึ่งประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการจ่ายคืนเงินกู้ก่อนกำหนดและ
ค่าธรรมเนียมการยกเลิกการใช้สินเชื่อของเงินกู้เดิม รวมจำนวน 242 ล้านบาท รวมถึงอัตราต้นทุน
เงินกู้ก็ปรับลดลงด้วยเช่นกัน
1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร
งบการเงินรวม งบเฉพาะบริษัท
ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551
รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท 108,681 129,042 107,678 128,053
กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 7,524 (750) 7,475 (689)
อัตรากำไรขั้นต้น, ร้อยละ 7.06 2.87 6.58 2.57
อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 6.92 -0.58 6.94 -0.54
กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 6.57 -0.67 6.53 -0.62
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE), ร้อยละ 33.01 -3.68 32.80 -3.37
อัตรากำไรสุทธิมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ
กลั่นและค่าการตลาด โดยปี 2552 งบการเงินรวมและงบเฉพาะบริษัทฯมีอัตรากำไรสุทธิ 6.92% และ 6.94%
ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ -0.58% และ -0.54% สาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลง
ของค่าการกลั่นรวมและค่าการตลาดดังที่ได้กล่าวไว้ในการวิเคราะห์กำไรขาดทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น
(งบการเงินรวม) ปรับเพิ่มขึ้นจาก -3.68% ในปี 2551 เป็น 33.01% ในปีนี้
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2551
สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2552 มีจำนวน 53,891 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน
52,901 ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 779 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล 1,150
ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีรายการระหว่างกันอยู่ 939 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชีลูกหนี้การค้าที่
บริษัท บางจากกรีนเนท ฃื้อน้ำมันจากบริษัทฯมูลค่าประมาณ 616 ล้านบาท
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2552 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2551 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจำนวน
10,608 ล้านบาท หรือประมาณ 25.1% สินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงหลักคือ
- เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลง 384 ล้านบาท หรือลดลง 18.3% สาเหตุหลักมาจากการที่
ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้บริษัทฯใช้เงินสดไปในสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น รายละเอียด
สามารถดูได้จากการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด
- ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,051 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 23.6% จากสาเหตุที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่ม
สูงขึ้นมาก โดยราคาขายน้ำมันเฉลี่ยของบริษัทฯ เพิ่มขึ้น 77.6% จากราคา 12.67 บาทต่อลิตร ใน
เดือนธันวาคม 2551 เป็น 22.50 บาทต่อลิตร ในเดือนธันวาคม 2552 ในขณะที่ยอดขายเดือน
ธันวาคม 2552 เทียบกับปี 2551 ลดลง 12.5%
- สินค้าคงเหลือมูลค่าเพิ่มขึ้น 7,882 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 137.2% เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัว
เพิ่มขึ้น(อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเดือนธันวาคม 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ 75.26 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
เพิ่มขึ้น 87.9% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคมปี 2551 ที่อยู่ที่ 40.05 เหรียญสหรัฐต่อ
บาร์เรล) อีกทั้งมีปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมไว้รองรับการกลั่นของหน่วย PQI โดย
ปริมาณสินค้าคงเหลือ ณ สิ้นปี 2552 อยู่ที่ระดับประมาณ 69 วัน อย่างไรก็ตามเมื่อบริษัทฯใช้กำลัง
กลั่นได้อย่างเต็มที่จะทำให้สามารถควบคุมปริมาณสินค้าคงเหลือให้ลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม
ได้ในระดับประมาณ 50-55 วัน
- เงินชดเชยกองทุนน้ำมันค้างรับลดลง 191 ล้านบาท หรือลดลง 28.3% เนื่องจากบริษัทฯได้รับชดเชย
เงินกองทุนที่ขอคืนไว้มากกว่าเงินที่ขอรับชดเชยในระหว่างปี ส่วนใหญ่มาจากน้ำมันดีเซล B5 และ
เงินสนับสนุนการผลิตน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร 4
- เงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น 118 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า เนื่องจากบริษัทฯ ได้
ชำระเงินเพิ่มทุนในบริษัท บางจากไบโอฟูเอล เต็มจำนวนตามสัดส่วนที่บริษัทฯได้ลงทุนไว้คือ 70%
ทำให้ ณ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย จำนวน 198 ล้านบาท
ประกอบด้วยเงินลงทุนในบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 197.05 ล้านบาท และบริษัท บางจาก
กรีนเนทจำนวน 0.49 ล้านบาท
- เงินลงทุนระยะยาวอื่นเพิ่มขึ้น 43 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 2,690 ล้านบาท หรือ 10.7% เป็นผลมาจาก
การลงทุนเพิ่มเติมใน MFC Energy Fund จำนวน 53 ล้านบาท แต่มีการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนจากการ
ด้อยค่าไว้ด้วยจำนวน 10ล้านบาท
- บริษัทฯ มีที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น 2,690 ล้านบาท หรือ 10.7% เป็นผลมาจากการลงทุน
เพิ่มขึ้น 3,898 ล้านบาท และมีการตัดค่าเสื่อมราคาจำนวน 1,208 ล้านบาท ในส่วนของการลงทุน
แบ่งได้เป็นการลงทุนสำหรับโครงการ PQI จำนวน 2,824 ล้านบาท และเป็นการลงทุนประจำปีอื่น
ประมาณ 1,074 ล้านบาท
- สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีลดลง 316 ล้านบาท หรือลดลง 66.6% เนื่องจากงวด 6 เดือน
แรกปี 2552 นั้นบริษัทฯ มีผลกำไรจากการดำเนินงานที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งบริษัทฯ ได้
นำสิทธิประโยชน์จากผลขาดทุนสุทธิของรอบปีบัญชี 2551 ไปใช้เครดิตภาษี จึงทำให้ภาษีเงินได้รอ
การตัดบัญชีที่บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ลดจำนวนลง
หนี้สิน
1) หนี้สินรวม ณ สิ้นปี 2552 จำนวน 27,938 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน 27,069
ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 741 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล 857 ล้านบาท
ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกัน จำนวน 729 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าของบริษัท
บางจากกรีนเนท ที่ค้างจ่ายค่าซื้อน้ำมันให้บริษัทฯจำนวน 616 ล้านบาท
2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2552 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2551 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4,517 ล้านบาท
หรือประมาณ 20.0% หนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,560 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 35.0% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัว
สูงขึ้น ทำให้ราคาซื้อน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์โดยฉลี่ยเพิ่มขึ้น (เดือนธันวาคม 2552 ราคาซื้อเฉลี่ย
22.6 บาท/ลิตร หรือประมาณ 107.1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในขณะที่เดือนธันวาคม 2551 อยู่ที่
10.9 บาท/ลิตร หรือประมาณ 49.6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) แต่ปริมาณน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์
น้ำมันที่จัดซื้อในเดือนธันวาคม 2552 ลดลง 0.6 ล้านบาร์เรล เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2551
- ภาษีสรรพสามิตและเงินนำส่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงค้างจ่ายเพิ่มขึ้น 455 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น
ประมาณ 3.2 เท่า ทั้งนี้เนื่องจากอัตราภาษีและเงินกองทุนที่ถูกเรียกเก็บกลับมาอยู่ในระดับปกติ
ภายหลังจากครบกำหนดโครงการลดภาษีสรรพสามิตตามมาตรการ 9 เดือนกู้วิกฤต
- หนี้สินจากสัญญาประกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 236 ล้านบาท เนื่องจากการตีมูลค่าสัญญาป้องกันความ
เสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง
- หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 1,193 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 78.8% ส่วนใหญ่มาจากรายการตั้งค้าง
จ่ายค่าใช้จ่ายโครงการ PQI จำนวน 971 ล้านบาท
- เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน (รวมที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี) เพิ่มขึ้น 907 ล้านบาท
เนื่องจากการเบิกเงินกู้ลงทุนโครงการ PQI จำนวน 1,510 ล้านบาท แต่มีการจ่ายคืนเงินกู้ระยะยาว
ตามกำหนดระยะเวลา 603 ล้านบาท
- หุ้นกู้แปลงสภาพลดลง 725 ล้านบาท หรือลดลง 26.3% เนื่องจากมีผู้ถือตราสารหุ้นกู้ BCP141A
ขอใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพไปเป็นหุ้นสามัญได้จำนวน 51 ล้านหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2552 รวมจำนวน 25,953 ล้านบาท เป็นส่วน
ของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ 25,832 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 38
ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล 293 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกัน 210 ล้านบาท
2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ เพิ่มขึ้น 6,091 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2551 เนื่องจาก
- บริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับปี 2552 จำนวน 7,475 ล้านบาท
- มีผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ BCP141A ใช้สิทธิแปลงสภาพจากหุ้นกู้มูลค่า 725 ล้านบาท เป็นหุ้นสามัญ
ที่อัตราการใช้สิทธิ 14.30 บาทต่อ 1 หุ้นสามัญ ทำให้มีหุ้นสามัญเพิ่มขึ้นจำนวน 51 ล้านบาท (ราคา
พาร์หุ้นละ 1 บาท) และส่วนเกินมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น 674 ล้านบาท
- มีการจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายน 2552 ในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท และ
(ยังมีต่อ)