ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
คำอธิบายและคำวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 3/2552
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2552
ภาพรวมธุรกิจปี 2552
ด้านราคาน้ำมัน
สำหรับไตรมาส 3 ปี 2552 นี้ระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 1
และ 2 ปี 2552 สวนทางกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง โดยปัจจัยหลักที่สนับสนุน
ราคาน้ำมันในไตรมาสนี้ ได้แก่ มาตรการควบคุมปริมาณการผลิตของกลุ่ม OPEC ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง
อย่างมาก และการเก็งกำไรในตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์
น้ำมันและน้ำมันดิบยังคงทรงตัวในระดับต่ำเนื่องจากปัจจัยความต้องการบริโภคน้ำมันที่ลดลงอย่างมากตามภาวะ
เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันมีอัตราการเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของน้ำมันดิบ อีกทั้งโรง
กลั่นมีกำลังการกลั่นที่มากกว่าอุปสงค์ของน้ำมันสำเร็จรูป อย่างไรก็ตามส่วนต่างของราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดิบ
ปรับตัวดีขึ้นจากอุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคตึงตัวอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มว่าอุปทานน้ำมันเตาจะตึงตัวต่อไปจนถึง
สิ้นปี โดยมีอุปสงค์จากแถบตะวันออกกลางและความต้องการใช้น้ำมันเตาสำหรับเดินเรือของสิงคโปร์อยู่ในระดับสูง อีก
ทั้งปริมาณ Arbitrage จากตะวันตกมายังภูมิภาคเอเชียลดลง ตารางแสดงราคาน้ำมันดิบและส่วนต่างราคาน้ำมัน
เปรียบเทียบ เป็นดังนี้
หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ปี 2552 (ไตรมาส 3) ปี 2552 ปี 2551 ผลแตกต่าง
สูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย เฉลี่ยไตรมาส 2 เฉลี่ยไตรมาส 3 (A)-(B) (A)-(C)
ราคา (A) (B) (C)
DB 73.00 60.50 68.02 59.22 113.52 +8.80 -45.50
UNL95/DB 12.73 2.83 8.84 9.58 6.06 -0.74 +2.78
GO/DB 8.89 1.14 6.88 7.07 25.87 -0.19 -18.99
FO/DB -1.03 -8.16 -3.11 -5.95 -10.91 +2.84 +7.80
คาดการณ์แนวโน้มของราคาน้ำมันในไตรมาส 4 ปี 2552 อาจปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องโดยมีปัจจัยพื้นฐานทาง
เศรษฐกิจเป็นแรงสนับสนุน รวมถึงการเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวทำให้อุปสงค์น้ำมันเพื่อทำความอบอุ่นเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังมีแนวโน้มอ่อนตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายแห่งแม้จะมี
มุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกแล้วแต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณการบริโภคน้ำมันที่อาจฟื้น
ตัวอย่างช้าๆ ในขณะที่ปริมาณสำรองน้ำมันสำเร็จรูปยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งสถานการณ์ค่าการกลั่นตกต่ำอาจทำให้
ผู้ประกอบการโรงกลั่นลดอัตราการใช้กำลังการผลิตลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมันดิบไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นมาก
ด้านการผลิตและการจำหน่าย
ในไตรมาส 3 ปี 2552 มีการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 81.7 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าปีก่อนที่ใช้กำลังการผลิตอยู่
74.3 พันบาร์เรลต่อวัน ในด้านการบันทึกบัญชีสำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2552 นี้ บริษัทฯได้รับรู้
ผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงกลั่นเฉพาะส่วนที่เป็นของหน่วยผลิตเดิม (แบบ Hydro-skimming) ทั้งไตรมาส
เนื่องจากบริษัทฯยังมิได้รับมอบหน่วยกลั่น PQI จากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง
สำหรับการจำหน่ายน้ำมันผ่านธุรกิจการตลาดในไตรมาส 3 ปี 2552 นี้มีปริมาณการจำหน่ายโดยรวมสูงขึ้น
จากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 47.8 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มเป็น 60.6 พันบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 ซึ่งเพิ่มขึ้นใน
ทุกช่องทางการจัดจำหน่าย ทั้งตลาดสถานีบริการน้ำมัน ตลาดน้ำมันเครื่องบิน และตลาดอุตสาหกรรม จากข้อมูลของ
กรมธุรกิจพลังงาน พบว่าอุปสงค์ในประเทศของตลาดน้ำมันใสรวมทุกช่องทางในช่วงเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม 2552
ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนอย่างมาก
1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2552 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 6,446 ล้านบาท คิดเป็น
กำไรต่อหุ้น 5.68 บาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 6,399 ล้านบาท บริษัทย่อย ได้แก่
บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล มีผลกำไรสุทธิรวม 46 ล้านบาท และมีรายการ
ระหว่างกัน 1 ล้านบาท
2) ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 ปี 2552 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 2,151 ล้านบาท คิดเป็นกำไร
สุทธิต่อหุ้น 1.84 บาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัท ฯมีกำ ไรสุท ธิจำ นวน 2,141 ล้า นบาท บริษัท ย่อ ย ได้แ ก่
บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล มีผลกำไรสุทธิรวม 9 ล้านบาท และมีรายการ
ระหว่างกัน 1 ล้านบาท
3) ผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท บางจากฯ ในไตรมาส 3 ปี 2552 มี EBITDA จากผลประกอบการจริง
จำนวน 2,078 ล้านบาท เมื่อรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 1,208 ล้านบาท ทำให้มี EBITDA
รวม 3,286 ล้านบาท ผลประกอบการแยกตามประเภทธุรกิจเป็นดังนี้
EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 เพิ่ม + / ลด -
(หน่วย : ล้านบาท) ปี 2552 (A) ปี 2551 (B) (A) - (B)
EBITDA (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) 2,078 1,568 +510
- โรงกลั่น 1,704 909 +795
- ตลาด 374 659 -285
บวก กำไร (ขาดทุน) จากสต๊อกน้ำมัน 1,208 (1,245) +2,453
EBITDA รวม 3,286 323 +2,963
- โรงกลั่น 2,912 (336) +3,248
- ตลาด 374 659 -285
- EBITDA จากผลประกอบการจริงของธุรกิจโรงกลั่นจำนวน 1,704 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่
ระดับ 909 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน)
จำนวน 8.52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มีการใช้กำลังการผลิตที่ 81.7 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่า
ช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีค่าการกลั่น 5.38 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และใช้กำลังการผลิตเพียง
74.3 พันบาร์เรลต่อวัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังนี้
หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 ผลแตกต่าง
ค่าการกลั่นจาก
ปี 2552 ปี 2551 +/-
ค่าการกลั่นพื้นฐาน 3.32 5.62 -2.30
8.52 5.38 +3.14
GRM Hedging 5.20 (0.24) +5.44
สต๊อกน้ำมัน 4.71 (1.27) +5.98
4.71 (5.36) +10.07
LCM - (4.09) +4.09
รวม 13.23 0.02 +13.21
ค่าการกลั่นพื้นฐาน ปรับตัวลดลง 2.30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทั้งนี้เนื่องจากส่วนต่างราคาน้ำมัน
สำเร็จรูปและน้ำมันดิบปรับตัวแคบลงเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซล(บริษัทฯ
ผลิตน้ำมันชนิดนี้ในสัดส่วนที่สูง) ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 3/2551 ที่อยู่ที่เฉลี่ย 25.87 เหรียญ
สหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 6.88 เหรียญสหรัฐต่อบาร์ เรล ในไตรมาสนี้ สาเหตุห ลักมาจากความ
ต้องการใช้น้ำมันดีเซลที่ยังไม่ฟื้นตัว และปริมาณน้ำมันสำรองในภูมิภาคที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่ง
เป็นปัจจัยกดดันราคาอย่างต่อเนื่องในขณะที่ราคาน้ำมันดิบค่อนข้างแข็งแกร่งจึงทำให้
ผู้ประกอบการโรงกลั่นประสบภาวะค่าการกลั่นตกต่ำ
สำหรับส่วนต่างราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดิบดูไบ (FO/DB) ปรับตัวแคบลงด้วยเช่นกันจากเฉลี่ย
-10.91 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ -3.11 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในขณะที่บริษัทฯมี
Premium จากการส่งออกน้ำมันเตาประมาณ 6.2 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเมื่อรวมในราคา
จำหน่ายแล้วทำให้การจำหน่ายน้ำมันเตาในไตรมาสนี้ดีกว่าปีก่อนมาก
ส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบอ้างอิง เป็นดังนี้
หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 ผลแตกต่าง
ส่วนต่างราคาเฉลี่ย ปี 2552 ปี2551 +/-
UNL95/DB 8.84 6.06 +2.78
IK/DB 7.20 28.68 -21.48
GO/DB 6.88 25.87 -18.99
FO/DB -3.11 -10.91 +7.80
ค่าการกลั่นจาก GRM Hedging เพิ่มขึ้น 5.44 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากบริษัทฯได้
เข้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงไว้ในช่วงที่ค่าการกลั่นค่อนข้างสูง (ราวไตรมาสที่ 1-2 ปี 2551)
จึงทำให้สามารถขายส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และน้ำมันดิบล่วงหน้าสำหรับปี 2552 ได้ในระดับที่
สูง ดังนั้นเมื่อการปรับตัวของส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นจริงในงวดนี้ต่ำกว่าราคาที่บริษัทฯได้ทำสัญญา
ไว้ บริษัทฯจึงได้รับกำไรจากการทำ GRM Hedging ดังกล่าว โดยไตรมาสนี้มีปริมาณธุรกรรมที่
บริษัทฯได้ทำไว้ล่วงหน้าคิดเป็นประมาณ 50% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย (ปีก่อนมีปริมาณการทำ
ธุรกรรมเฉลี่ย 21% ของปริมาณกลั่น)
ค่าการกลั่นจากสต๊อกน้ำมันและ LCM ในงวดนี้มีผลกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 4.71 เหรียญสหรัฐต่อ
บาร์เรล เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ปี 2552 สวน
ทางกับทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง
อย่างรุนแรงโดยเฉพาะในช่วงปลายไตรมาส 3 ปี 2551 ส่งผลให้เกิดผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันคิด
เป็นค่าการกลั่นประมาณ -1.27 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อีกทั้งได้รับรู้ผลขาดทุนจากการการปรับ
มูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง (Lower of cost or market - LCM) คิดเป็นค่าการกลั่นประมาณ -4.09
เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
- EBITDA จากธุรกิจการตลาด 374 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 659 ล้านบาท
เนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดโลกมีทิศทางต่างกัน โดยช่วงไตรมาส 3 ปีก่อน
ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงรุนแรงมาก ทำให้มีค่าการตลาดในระดับที่สูง ส่วนไตรมาส 3
ปีนี้การปรับตั วของราคาน้ำมันเป็นทิศทางขาขึ้น ทำให้ไ ด้รับค่าการตลาดลดลง โดยไตรมาสนี้
บริษัทฯ มีค่าการตลาด (ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 0.59 บาทต่อลิตร (คิดเป็นประมาณ 2.76
เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) ต่ำกว่าไตรมาส 3 ปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 1.19 บาทต่อลิตร (คิดเป็นประมาณ
5.55 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) ส่วนปริมาณการจำหน่ายรวมสูงขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 47.8 พัน
บาร์เรลต่อวัน เพิ่มเป็น 60.6 พันบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 ซึ่งเพิ่มขึ้นในทุกช่องทาง
การจัดจำหน่าย ทั้งตลาดสถานีบริการน้ำมัน ตลาดน้ำมันเครื่องบิน และตลาดอุตสาหกรรม
การวิเคราะห์รายได้
1) สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2552 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และ
บริษัทย่อยมีจำนวน 79,177 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน
78,418 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 11,755 ล้านบาท ใน
รายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 10,996 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขายน้ำมัน
สำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท
2) สำหรับไตรมาส 3 ปี 2552 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และ
บริษัทย่อยมีจำนวน 30,542 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน
30,247 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 4,580 ล้านบาท ใน
รายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,285 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการจำหน่ายน้ำมัน
สำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับรายได้ต่างๆ ในส่วนของบริษัท บางจากฯ ที่
มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่
- รายได้จากการขายลดลง 6,622 ล้านบาท หรือ 18.0% เนื่องจากระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก
ปรับตัวลดลงมาอย่างมากส่งผลให้ราคาจำหน่ายน้ำมันเฉลี่ยลดลง 28.0% ในขณะที่ปริมาณการ
จำหน่ายรวมเพิ่มขึ้น 13.9%
- กำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 1,388 ล้านบาท เป็นผลจาก
ที่บริษัทฯได้เข้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงไว้ ดังที่ได้วิเคราะห์ไว้ในเรื่องค่าการกลั่นจาก GRM
Hedging
- ในงวดนี้มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 145 ล้านบาท เนื่องจากค่าเงินบาทในไตรมาสนี้แข็งค่า
ขึ้นเมื่อเทียบจากสิ้นไตรมาส 2 ปี 2552 ทำให้หนี้สินสุทธิที่อยู่ในรูปเงินสกุลเหรียญสหรัฐมีมูลค่า
เป็นเงินสกุลบาทลดลง เพื่อให้สมดุลกับกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันที่มีมูลค่าลดลงจากเงินบาทที่
แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบาย Natural Hedge เพื่อป้องกันความเสี่ยงและลดผลกระทบจาก
ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
1) สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2552 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน
72,617 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 72,294 ล้านบาท และต้นทุนของ
บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 11,246 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกันจำนวน 10,923 ล้านบาท
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท
2) ไตรมาส 3 ปี 2552 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 28,134
ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 27,991 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท
บางจากกรีนเนท จำนวน 4,410 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,267 ล้านบาท ซึ่งส่วน
ใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับค่าใช้จ่าย
ต่างๆ ในส่วนของบริษัทบางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่
- ต้นทุนขายลดลง 7,164 ล้านบาท หรือ 20.4% สอดคล้องกับรายได้จากการขายที่ลดลงเนื่องจาก
ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงมาอย่างมาก
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น 85 ล้านบาท หรือ 61.6% ส่วนใหญ่เนื่องมาจากค่าโฆษณาด้าน
ภาพลักษณ์ และมีการจ่ายเงินโบนัสระหว่างกาล
การวิเคราะห์อัตรากำไร
งบรวม งบบริษัท
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 ไตรมาส 3
ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551
รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท 30,542 37,121 30,247 36,870
กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 2,151 (252) 2,141 (220)
อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 7.04 (0.68) 7.08 (0.60)
กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 1.84 (0.22) 1.83 (0.20)
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE), ร้อยละ 8.94 (1.08) 8.90 (0.95)
ROE(ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน), ร้อยละ 7.40 3.63 7.34 3.81
อัตรากำไรสุทธิมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ
กลั่นและค่าการตลาด โดยไตรมาส 3 ปี 2552 งบการเงินรวมและงบเฉพาะบริษัทฯมีอัตรากำไรสุทธิ 7.04% และ
7.08% ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ -0.68% และ -0.60% สาเหตุหลักมาจากการ
เปลี่ยนแปลงของค่าการกลั่นรวมและค่าการตลาดดังที่ไ ด้ก ล่า วไว้ในการวิเคราะห์กำไรขาดทุน ทำ ให้อัตรา
ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (งบการเงินรวม) ปรับเพิ่มขึ้นจาก -1.08% ในไตรมาส 3 ปี 2551 เป็น 8.94% ในไตรมาสนี้
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2551
สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2552 มีจำนวน 52,578 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ
จำนวน 51,836 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 633 ล้านบาท และบริษัท
บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 810 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกัน 701 ล้านบาท โดย
ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้การค้าจำนวน 494 ล้านบาท
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2552 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2551 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
จำนวน 9,543 ล้านบาท หรือประมาณ 22.6% โดยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่
- สินค้าคงเหลือมูลค่า 12,172 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,428 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 111.9% เนื่องจาก
ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และบริษัทฯ ได้จัดซื้อน้ำมันดิบไว้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับปริมาณการกลั่นที่
จะเพิ่มสูงขึ้นจากโครงการ PQI จึงทำให้ ณ วันสิ้นงวดมีปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม
เมื่อโครงการ PQI สามารถดำเนินการกลั่นได้อย่างเต็มที่แล้วปริมาณสินค้าคงเหลือจะลดลงมาอยู่ใน
ระดับที่เหมาะสม
- ลูกหนี้การค้ามูลค่า 5,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,361 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 30.6% เนื่องจากระดับ
ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจากในช่วงสิ้นปี 2551
- บริษัทฯ มีเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น 89 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 111.8% เนื่องจากได้ชำระเงิน
เพิ่มทุนใน บริษัท บางจากไบโอฟูเอลตามสัดส่วนที่บริษัทฯได้ลงทุนไว้ ณ 30 กันยายน 2552
บริษัทฯ มีมูลค่าเงินลงทุนในบริษัท บางจากไบโอฟูเอล แล้วจำนวน 167 ล้านบาท จากมูลค่าเงิน
ลงทุนที่ต้องชำระทั้งสิ้น 197 ล้านบาท
- สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีลดลง 320 ล้านบาท หรือลดลง 67.5% เนื่องจากบริษัทฯได้ใช้
สิทธิประโยชน์จากผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2551 ไปใช้เครดิตภาษีได้นิติบุคคล
สำหรับครึ่งปี 2552 จึงทำให้ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ลดจำนวนลง
หนี้สิน
1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2552 จำนวน 27,624 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน
26,987 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 593 ล้านบาท และบริษัท
บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 564 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกันจำนวน 520 ล้านบาท โดย
ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าจำนวน 500 ล้านบาท
2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2552 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2551 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4,435
ล้านบาท หรือประมาณ 19.7% หนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 3,422 ล้านบาท หรือ 76.7% เนื่องจากระดับราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น กอปร
กับปริมาณการจัดซื้อเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปี 2551
- ภาษีสรรพสามิตและเงินนำส่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงค้างจ่าย เพิ่มขึ้น 409 ล้านบาท หรือ 286.6%
เนื่องจากครบกำหนดโครงการลดภาษีสรรพสามิตตามมาตรการ 9 เดือนกู้วิกฤตแล้ว รวมทั้งในช่วง
ที่ผ่านมารัฐได้เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตและเงินนำส่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในอัตราที่สูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง
- หนี้สินจากสัญญาประกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 280 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากการ Mark to market
สัญญาป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
- หุ้นกู้แปลงสภาพลดลง 725 ล้านบาท หรือ 26.3% เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ (CD-DR) ใช้
สิทธิแปลงสภาพจากหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ ที่อัตราการใช้สิทธิ 14.30 บาทต่อ 1 หุ้นสามัญ มีผลทำให้
หุ้นสามัญมีจำนวนเพิ่มขึ้น 51 ล้านหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2552 รวมจำนวน 24,954 ล้านบาท
เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 24,849 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 40
ล้านบาท และบริษัทบางจากไบโอฟูเอล จำนวน 246 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกัน 181 ล้านบาท
2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ ณ 30 กันยายน 2552 มีจำนวน 24,849 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่า
ตามบัญชีต่อหุ้น 21.24 บาท เพิ่มขึ้น 5,108 ล้านบาท หรือประมาณ 25.9% รายการที่เปลี่ยนแปลง
ได้แก่
- บริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2552 จำนวน 6,399 ล้านบาท
- มีผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ (CD-DR) ใช้สิทธิแปลงสภาพจากหุ้นกู้มูลค่า 725 ล้านบาท เป็นหุ้นสามัญ
ที่อัตราการใช้สิทธิ 14.30 บาทต่อ 1 หุ้นสามัญ ทำให้มีหุ้นสามัญเพิ่มขึ้นจำนวน 51 ล้านบาท (ราคา
พาร์หุ้นละ 1 บาท) และส่วนเกินมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น 674 ล้านบาท
- มีการจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายน 2552 ในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท และ
จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลอีกครั้งในเดือนกันยายน 2552 อัตราหุ้นละ 1.00 บาท รวมมูลค่าเงินปัน
ผลที่จ่ายไปทั้งสิ้น 1,729 ล้านบาท
- มีการตัดจำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เป็นจำนวน 287 ล้านบาท
3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 มี
จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 143 ล้านหุ้น เมื่อคิด Full Dilution แล้วมีสัดส่วนประมาณ
15.3% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด อนึ่งเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552 ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญที่
ออกใหม่ของบริษัทฯ แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน (โครงการ ESOP) จำนวน 24 ล้านหน่วย ได้
หมดอายุลงโดยไม่มีผู้ใดสามารถใช้สิทธิได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิ
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2552
3.1 สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2552 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา
2,322 ล้านบาท โดยในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ จำนวน 661 ล้านบาท ประกอบด้วย
เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 5,028 ล้านบาท แต่ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 2,843 ล้าน
บาท และใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 1,524 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2552 งบการเงินรวม
มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 2,983 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน
2,672 ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 270 ล้านบาท และของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล
จำนวน 41 ล้านบาท
3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากเงินสดต้นงวดจำนวน 2,095 ล้านบาท (เป็นเงินทุนโครงการ PQI 187
ล้านบาท และสำหรับดำเนินงานทั่วไปจำนวน 1,908 ล้านบาท) และในระหว่างงวดบริษัทฯได้เงินสดสุทธิ
เพิ่มขึ้น 577 ล้านบาท จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) บริษัทฯ ได้เงินสดมาจากกิจกรรมดำเนินงาน 4,908 ล้านบาท ได้แก่
- มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานที่เป็นเงินสด
9,554 ล้านบาท
(ยังมีต่อ)