คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 2/2552

คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน และ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ภาพรวมธุรกิจปี 2552 ด้านราคาน้ำมัน สำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก ไตรมาส 1 ปี 2552 โดยเฉพาะจากความพยายามของกลุ่ม OPEC ที่ใช้นโยบายควบคุมปริมาณการผลิตเพื่อรักษาระดับ ราคาน้ำมันดิบให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันทุกชนิดมีการปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันดิบเช่นกัน แต่ด้วยปัจจัยความต้องการบริโภคน้ำมันที่ลดลงอย่างมากจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมัน มีอัตราการเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบ จึงทำให้ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปและ น้ำมันดิบอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามส่วนต่างของราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดิบ ปรับตัวดีขึ้นจากอุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคตึงตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีอุปสงค์จากแถบตะวันออกกลางและความ ต้องการใช้น้ำมันเตาสำหรับเดินเรือของสิงคโปร์อยู่ในระดับสูง อีกทั้งปริมาณ Arbitrage จากตะวันตกมายังภูมิภาค เอเชียลดลง เนื่องจากโรงกลั่นในยุโรปลดอัตราการกลั่นลง ตารางแสดงราคาน้ำมันดิบและส่วนต่างราคาน้ำมัน เปรียบเทียบ เป็นดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปี 2552 (ไตรมาส 2) ปี 2552 ปี 2551 ผลแตกต่าง สูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย เฉลี่ยไตรมาส 1 เฉลี่ยไตรมาส 2 ราคา (A)-(B) (A)-(C) (A) (B) (C) DB 71.55 47.18 59.22 44.31 116.59 +14.91 -57.37 UNL95/DB 13.35 5.99 9.58 10.69 12.87 -1.11 -3.29 GO/DB 9.39 5.09 7.07 8.81 37.47 -1.74 -30.40 FO/DB -3.36 -10.08 -5.95 -6.69 -24.09 +0.74 +18.14 การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันแกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบๆขึ้นลงตามปัจจัยพื้นฐานและข่าวที่ส่งผลกระทบต่อ จิตวิทยารายวัน ปัจจัยลบที่จะส่งผลให้ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงในไตรมาสที่ 3 ได้แก่ สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันอันดับ 1 ของโลกยังไม่ชัดเจน และโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามให้จับตามองทิศทางเศรษฐกิจโลก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบ ต่ออุปสงค์น้ำมันโดยตรง รวมทั้งปัจจัยสภาพอากาศ และการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุนในตลาดน้ำมัน อาจส่งผลให้ ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ด้านการผลิตและการจำหน่าย ในไตรมาส 2 ปี 2552 มีการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 83.9 พันบาร์เรลต่อวัน ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ใช้กำลังการ ผลิตอยู่ 83.6 พันบาร์เรลต่อวัน ไตรมาสนี้บริษัทฯได้ทดลองเดินเครื่องหน่วยกลั่น PQI ในช่วงเดือนเมษายน- พฤษภาคม 2552 อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้หยุดการทดลองเดินเครื่องหน่วยแตกตัวโมเลกุล (Hydro-cracking Unit) ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ PQI เพื่อซ่อมแซมระบบควบคุมอัตโนมัติในการเปิดปิดและสูบถ่ายน้ำมันของหน่วยดังกล่าว ที่เกิดความเสียหายขึ้นระหว่างการทดลองเดินเครื่อง ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นมา โดยขณะนี้การ ซ่อมแซมได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการเริ่มทดลองเดินเครื่องอีกครั้ง อนึ่ง บริษัทฯยังมิได้รับมอบหน่วย กลั่น PQI จากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง ดังนั้น ในด้านการบันทึกบัญชีสำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2552 นี้ บริษัทฯได้รับรู้ผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงกลั่นเฉพาะส่วนที่เป็นของหน่วยผลิตเดิม (แบบ Hydro- skimming) ทั้งไตรมาส บริษัทฯขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ความเสียหายของหน่วยแตกตัวโมเลกุลที่เกิดขึ้นอยู่ในความดูแลและความ รับผิดชอบของบริษัทผู้รับเหมาทั้งหมด อีกทั้งได้มีการทำประกันคุ้มครองความเสียหายระหว่างก่อสร้าง (Construction All Risks) ของโครงการไว้แล้ว ซึ่งรวมถึงการคุ้มครองความเสียหายจากการเดินเครื่องล่าช้า (Delay in Start-Up) อีกด้วย ทั้งนี้การหยุดทดลองเดินเครื่องหน่วยแตกตัวโมเลกุลดังกล่าว จะไม่กระทบต่อปริมาณการจำหน่ายน้ำมันของ สถานีบริการของบริษัทฯ เนื่องจากหน่วยกลั่นเดิมยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ สำหรับการจำหน่ายน้ำมันผ่านธุรกิจการตลาดในไตรมาส 2 ปี 2552 นี้มีปริมาณการจำหน่ายโดยรวมสูงขึ้น จากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 57.5 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มเป็น 63.6 พันบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ส่วนใหญ่เป็น การเพิ่มขึ้นในตลาดน้ำมันเครื่องบินและตลาดอุตสาหกรรมที่ขยายตลาดไปในช่องทางขนส่งและส่งออกไปประเทศ เพื่อนบ้าน ส่วนในตลาดสถานีบริการน้ำมันนั้นมีปริมาณการจำหน่ายลดลงตามอุปสงค์ของตลาดสถานีบริการน้ำมันที่ ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงานอุปสงค์ของตลาดรวมน้ำมันใสทุกช่องทางในช่วงเดือน เมษายน-มิถุนายน 2552 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์กำไรขาดทุน 1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 6 เดือน ปี 2552 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 4,295 ล้านบาท คิดเป็น กำไรต่อหุ้น 3.84 บาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 4,258 ล้านบาท บริษัทย่อย ได้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล มีผลกำไรสุทธิ 37 ล้านบาท 2) ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 2,704 ล้านบาท คิดเป็นกำไร สุทธิต่อหุ้น 2.42 บาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 2,677 ล้านบาท บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล มีผลกำไรสุทธิรวม 26 ล้านบาท และมีรายการ ระหว่างกัน 1 ล้านบาท 3) ผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท บางจากฯ ในไตรมาส 2 ปี 2552 มี EBITDA จากผลประกอบการจริง จำนวน 2,568 ล้านบาท เมื่อรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 1,453 ล้านบาท ทำให้มี EBITDA รวม 4,021 ล้านบาท ผลประกอบการแยกตามประเภทธุรกิจเป็นดังนี้ EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 เพิ่ม + / ลด - (หน่วย : ล้านบาท) ปี 2552 (A) ปี 2551 (B) (A) - (B) EBITDA (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) 2,568 1,017 +1,551 - โรงกลั่น 2,182 1,589 +593 - ตลาด 386 (572) +958 บวก กำไรจากสต๊อกน้ำมัน 1,453 1,748 -295 EBITDA รวม 4,021 2,765 +1,256 - โรงกลั่น 3,635 3,337 +298 - ตลาด 386 (572) +958 - EBITDA จากผลประกอบการจริงของธุรกิจโรงกลั่นจำนวน 2,182 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ ระดับ 1,589 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) จำนวน 9.90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (หรือประมาณ 2.17 บาทต่อลิตร) มีการใช้กำลังการผลิต ที่ 83.9 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีค่าการกลั่น 7.97 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล (หรือประมาณ 1.63 บาทต่อลิตร) และใช้กำลังการผลิตเพียง 83.6 พันบาร์เรลต่อวัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ผลแตกต่าง ค่าการกลั่นจาก ปี 2552 ปี 2551 +/- ค่าการกลั่นพื้นฐาน 4.26 9.40 -5.14 9.90 7.97 +1.93 GRM Hedging 5.64 (1.43) +7.07 สต๊อกน้ำมัน 5.40 7.09 -1.69 รวม 15.30 15.06 +0.24 ค่าการกลั่นพื้นฐาน ปรับตัวลดลง 5.14 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ น้ำมันเกือบทุกชนิดเมื่อเทียบกับน้ำมันดิบมีการปรับตัวลดลงอย่างมากตามระดับราคาน้ำมันดิบ โดยเฉพาะส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซล(บริษัทฯผลิตน้ำมันชนิดนี้ในสัดส่วนที่สูงประมาณร้อยละ 35) ได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากจากไตรมาส 2/2551 ที่อยู่ที่เฉลี่ย 37.47 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มา อยู่ที่ 7.07 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในไตรมาสนี้ สาเหตุหลักมาจากอุปทานจากโรงกลั่นใหม่ๆเข้ามา ในตลาดมากขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตของโรงกลั่นอยู่ในระดับที่เกินกว่าความต้องการใช้น้ำมันที่ ลดลงอย่างมากจากปัจจัยความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก สำหรับส่วนต่างของราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดิบดูไบ (FO/DB) ปรับตัวแคบลงตามระดับราคา น้ำมันดิบเช่นกัน จากเฉลี่ย -24.09 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ -5.95 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล ทำให้แม้ว่า Premium ของน้ำมันเตาที่บริษัทฯส่งออกจะต่ำกว่าปีก่อนเล็กน้อย (ไตรมาส 2/2552 มี Premium ประมาณ 8.6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในขณะที่ไตรมาส 2/2551 มี Premium ประมาณ 9.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) แต่เมื่อรวม Premium ในราคาจำหน่ายแล้วทำให้การ จำหน่ายน้ำมันเตาในไตรมาสนี้ได้ราคาที่ดีกว่าปีก่อนมาก ส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบอ้างอิง เป็นดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ผลแตกต่าง ส่วนต่างราคาเฉลี่ย ปี 2552 ปี2551 +/- UNL95/DB 9.58 12.87 -3.29 IK/DB 7.32 37.86 -30.54 GO/DB 7.07 37.47 -30.40 FO/DB -5.95 -24.09 +18.14 ค่าการกลั่นจาก GRM Hedging เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.07 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล เนื่องจากบริษัทฯได้เข้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงไว้ในช่วงที่ค่าการกลั่นค่อนข้างสูงคือ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 จึงทำให้สามารถขายส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และน้ำมันดิบล่วงหน้าได้ ในระดับที่สูง ดังนั้นเมื่อการปรับตัวของส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นจริงต่ำกว่าราคาที่บริษัทฯได้เข้าทำ สัญญาธุรกรรมไว้ บริษัทฯจึงมีกำไรจากการทำ GRM Hedging ดังกล่าว โดยไตรมาสนี้มีปริมาณ ธุรกรรมที่บริษัทฯได้ทำไว้ล่วงหน้าประมาณ 51% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย (ปีก่อนมีปริมาณการ ทำธุรกรรมเฉลี่ย 23% ของปริมาณกลั่น) ค่าการกลั่นจากสต๊อกน้ำมัน ในงวดนี้มีผลกำไรจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 5.40 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มปรับตัวสูงขึ้น แต่เนื่องจากปีก่อนราคาน้ำมันมีการ ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงกว่าจึงทำให้มีผลกำไรจากสต๊อกน้ำมันสูงถึง 7.09 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบโดยเฉพาะน้ำมันดิบจากแหล่งตะวันออกกลางนั้นมีเสถียรภาพมากขึ้น จากความ พยายามของกลุ่ม OPEC ที่ใช้มาตรการควบคุมปริมาณการผลิตเพื่อรักษาราคาน้ำมันดิบให้อยู่ใน ระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามหากสถานการณ์ค่าการกลั่นพื้นฐานยังไม่ดีขึ้นอาจทำให้โรงกลั่น หลายแห่งตัดสินใจลดปริมาณการผลิตลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาน้ำมันดิบต่อไป - EBITDA จากธุรกิจการตลาด 386 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ -572 ล้านบาท เนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดโลกค่อยๆปรับตัวสูงขึ้น ต่างจากปีก่อนที่ราคา น้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง ในไตรมาสนี้จึงสามารถควบคุมและกำหนดค่า การตลาดได้สอดคล้องกับต้นทุนจริงได้ดีขึ้น ส่งผลให้ไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการตลาด (ไม่รวม น้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 48.9 สตางค์ต่อลิตร (คิดเป็นประมาณ 2.23 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) สูง กว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ -51.9 สตางค์ต่อลิตร (คิดเป็นประมาณ -2.54 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรล) รวมทั้งปริมาณการจำหน่ายโดยรวมสูงขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 57.5 พันบาร์เรลต่อ วัน เพิ่มเป็น 63.6 พันบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในตลาด น้ำมันเครื่องบินและตลาดอุตสาหกรรม ส่วนในตลาดสถานีบริการน้ำมันนั้นมีปริมาณการจำหน่าย ลดลงตามอุปสงค์ของตลาดรวมที่ปรับตัวลดลง การวิเคราะห์รายได้ 1) สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2552 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และ บริษัทย่อยมีจำนวน 48,635 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 48,171 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 7,175 ล้านบาท ในรายได้ ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 6,711 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขายน้ำมันสำเร็จรูปจาก บริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท 2) สำหรับไตรมาส 2 ปี 2552 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และ บริษัทย่อยมีจำนวน 27,114 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 26,852 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 4,007 ล้านบาท ในรายได้ ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 3,745 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการจำหน่ายน้ำมัน สำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับรายได้ต่างๆ ในส่วนของบริษัท บางจากฯ ที่ มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ - รายได้จากการขายลดลง 12,516 ล้านบาท หรือ 31.8% เนื่องจากระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก ปรับตัวลดลงมาอย่างมากส่งผลให้ราคาจำหน่ายน้ำมันเฉลี่ยลดลงกว่า 34.1% ในขณะที่ปริมาณการ จำหน่ายรวมเพิ่มขึ้น 3.5% โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าลงประมาณ 7.3% (อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย ไตรมาส 2/2552 อยู่ที่ 34.82 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับ ไตรมาส 2/2551 ที่อยู่ที่ 32.45 บาท/ ดอลลาร์สหรัฐ) - กำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 1,870 ล้านบาท เป็นผลจาก ที่บริษัทฯได้เข้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงไว้ ดังที่ได้วิเคราะห์ไว้ในเรื่องค่าการกลั่นจาก GRM Hedging - ในงวดนี้มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 232 ล้านบาท เนื่องจากค่าเงินบาทในไตรมาสนี้แข็งค่า ขึ้นเมื่อเทียบจากสิ้นไตรมาส 1 ปี 2552 ทั้งนี้ตามที่บริษัทฯมีนโยบายปรับสัดส่วนสินทรัพย์และ หนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ในระดับสมดุลกับรายได้ที่อ้างอิงสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ (Natural Hedge) เพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้รับผลกระทบจากความผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยน โดยทำการเปลี่ยนเงินกู้สกุลเงินบาทให้เป็นเงินกู้สกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ (Cross Currency Swap) มูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น บริษัทฯจึงมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อมาชดเชยกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันที่มีมูลค่าลดลง จากเงินบาทที่แข็งขึ้น การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย 1) ไตรมาส 2 ปี 2552 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 24,215 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 24,119 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 3,818 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกันจำนวน 3,722 ล้านบาท ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับค่าใช้จ่าย ต่างๆ ในส่วนของบริษัทบางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ - ต้นทุนขายลดลง 11,377 ล้านบาท หรือ 32.1% สอดคล้องกับรายได้จากการขายที่ลดลงเนื่องจาก ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงมาอย่างมาก - ค่าใช้จ่ายในการขายลดลง 62 ล้านบาท หรือ 14.2% ส่วนใหญ่มาจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งลดลง เนื่องมาจากระดับราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งจากปริมาณน้ำมันที่ส่งออกมี จำนวนลดลง - ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น 61 ล้านบาท หรือ 39.2% ส่วนใหญ่เนื่องมาจากค่าจ้างที่ปรึกษา และ เงินเดือน/สวัสดิการพนักงานเพิ่มขึ้น การวิเคราะห์อัตรากำไร งบรวม งบบริษัท ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551 รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท 27,114 39,587 26,852 39,367 กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 2,704 1,846 2,677 1,818 อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 9.97 4.66 9.96 4.62 กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 2.42 1.65 2.39 1.62 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE), ร้อยละ 12.15 8.13 12.04 8.03 ROE(ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน), ร้อยละ 7.57 2.66 7.45 2.51 อัตรากำไรสุทธิมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ กลั่นและค่าการตลาด โดยไตรมาส 2 ปี 2552 งบการเงินรวมและงบเฉพาะบริษัทฯมีอัตรากำไรสุทธิ 9.97% และ 9.96% ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 4.66% และ 4.62% สาเหตุหลักมาจากค่าการกลั่น รวมและค่าการตลาดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นดังที่ได้กล่าวไว้ในการวิเคราะห์กำไรขาดทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนผู้ถือ หุ้นปรับเพิ่มขึ้นจาก 8.13% ในไตรมาส 2 ปี 2551 เป็น 12.15% ในไตรมาสนี้ สำหรับงบการเงินรวม และเพิ่มขึ้น จาก 8.03% เป็น 12.04% สำหรับงบเฉพาะบริษัทฯ 2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 สินทรัพย์ 1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2552 มีจำนวน 52,864 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน 52,225 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 639 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 656 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกัน 656 ล้านบาท โดย ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้การค้าจำนวน 500 ล้านบาท 2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2552 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2551 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จำนวน 9,932 ล้านบาท หรือประมาณ 23.5% โดยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ - สินค้าคงเหลือมูลค่า 12,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,325 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 110.1% เนื่องจาก ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และบริษัทฯ ได้จัดซื้อน้ำมันดิบไว้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับปริมาณการกลั่นที่ จะเพิ่มสูงขึ้นจากโครงการ PQI จึงทำให้ ณ วันสิ้นงวดมีปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการ PQI สามารถดำเนินการกลั่นได้อย่างเต็มที่แล้วปริมาณสินค้าคงเหลือจะลดลงมาอยู่ใน ระดับที่เหมาะสม - ลูกหนี้การค้ามูลค่า 5,682 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,232 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 27.7% เนื่องจากราคา น้ำมันอยู่ในระดับที่สูงขึ้นจากในช่วงสิ้นปี 2551 - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 891 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 69.2% ส่วนใหญ่มาจากลูกหนี้ค้างรับ จากธุรกรรม Oil Hedging ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระในเดือนมิถุนายน 2552 เพิ่มสูงขึ้นจำนวน 487 ล้านบาท เมื่อเทียบจากสิ้นปี 2551 และมีรายการ VAT ค้างรับเพิ่มขึ้นจำนวน 393 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณการจัดซื้อน้ำมันดิบเพื่อเตรียมเข้ากลั่นสูงขึ้น - บริษัทฯ มีเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น 40 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 49.7% เนื่องจากได้จ่ายชำระ เงินเพิ่มทุนใน บริษัท บางจากไบโอฟูเอลตามสัดส่วนที่บริษัทฯได้ลงทุนไว้ ณ 30 มิถุนายน 2552 บริษัทฯ มีมูลค่าเงินลงทุนในบริษัท บางจากไบโอฟูเอล แล้วจำนวน 119 ล้านบาท จากมูลค่าเงิน ลงทุนที่ต้องชำระทั้งสิ้น 197 ล้านบาท หนี้สิน 1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2552 จำนวน 29,542 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน 28,978 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 613 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 476 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกันจำนวน 525 ล้านบาท โดย ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าจำนวน 500 ล้านบาท 2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2552 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2551 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 6,426 ล้านบาท หรือประมาณ 28.5% หนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ - เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 630 ล้านบาท หรือ 49.6% เพื่อเตรียมไว้เป็นเงินทุน สำรองสำหรับใช้หมุนเวียนในช่วงของการเริ่มหน่วยผลิต PQI - เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 3,175 ล้านบาท หรือ 71.1% เนื่องจากระดับราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น กอปร กับปริมาณการจัดซื้อเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปี 2551 - ภาษีสรรพสามิตและเงินนำส่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงค้างจ่าย เพิ่มขึ้น 210 ล้านบาท หรือ 147.4% เนื่องจากครบกำหนดโครงการลดภาษีสรรพสามิตตามมาตรการ 6 เดือนกู้วิกฤตแล้ว รวมทั้งในช่วง ที่ผ่านมารัฐได้เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตและเงินนำส่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในอัตราที่สูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง - หนี้สินจากการประกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 310 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากการ Mark to market สัญญาป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อ เทียบสิ้นไตรมาส 2/2552 กับสิ้นปี 2551 ผลของการ Mark to market นี้ทำให้เกิดผลขาดทุนจาก อัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดจริง ซึ่งรับรู้ไว้แล้วในงบกำไรขาดทุนตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ส่วนของผู้ถือหุ้น 1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2552 รวมจำนวน 23,322 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 23,247 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 26 ล้านบาท และบริษัทบางจากไบโอฟูเอล จำนวน 180 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกัน 131 ล้านบาท 2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ เพิ่มขึ้น 3,506 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2551 หรือประมาณ 17.7% เนื่องจากบริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับงวด 6 เดือน ปี 2552 จำนวน 4,258 ล้านบาท แต่มีการตัด จำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เป็นจำนวน 192 ล้านบาท และจ่ายเงินปันผลประจำปีให้แก่ ผู้ถือหุ้นจำนวน 560 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 30 มิถุนายน 2552 มีจำนวน 23,247 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น 20.77 บาท 3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 มี จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 287 ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็น 20.4% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด อนึ่งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 มีผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพใช้สิทธิแปลงสภาพเป็น หุ้นสามัญจำนวน 51 ล้านหุ้น ปัจจุบันจึงคงเหลือจำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้จำนวน 236 ล้านหุ้น (ยังมีต่อ)