คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 3/2551

คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน และ 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551 ภาพรวมธุรกิจปี 2551 ด้านราคาน้ำมัน ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 ราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 140.77 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในวันที่ 4 ก.ค. 2551 (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบ) จากนั้นราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลง อย่างรวดเร็วจนกระทั่งสิ้นสุดไตรมาส 3 ราคาน้ำมันดิบดูไบมีราคาปิดที่ 87.66 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งต่ำกว่า ราคาปิดสิ้นไตรมาส 2 ที่อยู่ที่ 136.30 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจด้านโรงกลั่นน้ำมันทั้งในและ ต่างประเทศได้รับผลกระทบด้านลบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน สาเหตุที่สถานการณ์ราคาน้ำมันใน ตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วนั้น มาจากความกังวลต่อปัญหาด้านตลาดการเงินและอสังหาริมทรัพย์ของ สหรัฐอเมริกาซึ่งเริ่มขยายวงกว้างไปสู่ยุโรปและทั่วโลก กอปรกับราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงมาเป็นเวลานานเริ่มส่ง ผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันของโลกให้ชะลอตัวลง นอกจากนั้นตัวเลขปริมาณสำรองน้ำมันของสหรัฐอเมริกาที่ ยังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นธุรกิจโรงกลั่นจะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทฯต้องนำกำไรดังกล่าวไปซื้อ น้ำมันดิบในราคาที่สูงขึ้น ในทางกลับกันเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางลดลงธุรกิจโรงกลั่นก็จะมีผลขาดทุนจาก สต๊อกน้ำมัน แต่บริษัทฯจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดหาน้ำมันดิบที่ต่ำลงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้ให้ความสำคัญ ในเรื่องดังกล่าวและมีการบริหารปริมาณสินค้าคงเหลือให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและคงที่เพื่อลดความเสี่ยงของ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ผลจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้ที่ประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบ (OPEC) ในวันที่ 24 ต.ค. 2551 มี มติลดกำลังการผลิตลง 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันเพื่อพยุงราคาน้ำมัน โดยมีเพดานการผลิตอยู่ที่ระดับ 27.3 ล้านบาร์เรล ต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่า ผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจโลก เข้าสู่สภาวะถดถอยภายหลังเกิดปัญหาวิกฤตการเงินจะส่งผลให้อุปสงค์การใช้น้ำมันของโลกลดลงประมาณ 2.5 ล้าน บาร์เรลต่อวัน ดังนั้นการตัดสินใจลดกำลังการผลิตในครั้งนี้ของ OPEC จึงไม่เอื้อประโยชน์ต่อระดับราคาน้ำมันเท่าใด นัก โดย ณ ปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความเป็นไปได้ว่ากลุ่ม OPEC อาจ พิจารณาปรับลดอัตราการผลิตน้ำมันดิบลงอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก่อนการประชุมที่จะมีขึ้นในเดือนธันวาคม 2551 รวมทั้งอุปสงค์น้ำมันที่อาจจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว ต่างเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันสามารถปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ ด้านการผลิตและการจำหน่าย ในไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทฯ สามารถกลั่นน้ำมันได้เฉลี่ย 74.3 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่ง อยู่ที่ 83.6 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากเป็นช่วง Low Season แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 71.3 พันบาร์เรล ต่อวัน ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการส่งออกน้ำมันเตาประเภทกำมะถันต่ำเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากบริษัทฯสามารถผลิตน้ำมันเตา ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า จึงทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ดีกว่าน้ำมันเตาทั่วไป ปัจจุบันน้ำมันเตาที่ บริษัทฯผลิตได้เกือบทั้งหมดจะทำการจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ โดยในไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทฯมีปริมาณ การส่งออกรวมทั้งสิ้น 430 ล้านลิตร เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปีก่อนที่อยู่ที่ 309 ล้านลิตร สำหรับการจำหน่ายน้ำมันผ่านสถานีบริการน้ำมันในช่วงไตรมาส 3 นี้ บริษัทฯมียอดจำหน่ายลดลง 1.2% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มีส่วนแบ่งการตลาดผ่านสถานีบริการเฉลี่ยเดือนมกราคม - สิงหาคม 2551 อยู่ในอันดับ 4 ที่ 14.0% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 12.6% 1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน 1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน 1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2551 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 2,445 ล้านบาท คิดเป็น กำไรต่อหุ้น 2.19 บาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 2,439 ล้านบาท บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล มีผลกำไรสุทธิ 38 ล้านบาท แต่มีรายการ ระหว่างกัน 32 ล้านบาท 2) ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2551 งบการเงินรวมมีผลขาดทุนสุทธิ 252 ล้านบาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯมี ผลขาดทุนสุทธิจำนวน 220 ล้านบาท และบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสุทธิ 27 ล้านบาท มีรายการระหว่างกัน 5 ล้านบาท 3) ผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท บางจากฯ ในไตรมาส 3 ปี 2551 มี EBITDA จากผลประกอบการจริง จำนวน 1,568 ล้านบาท เมื่อรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันจำนวน -1,245 ล้านบาท (ประกอบด้วยผล ขาดทุนจากสต๊อก 295 ล้านบาท และการปรับมูลค่าสินค้าลดลง-LCM จำนวน 950 ล้านบาท) จึงทำให้มี EBITDA รวม 323 ล้านบาท ผลประกอบการแยกตามประเภทธุรกิจเป็นดังนี้ EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ ไตรมาส 3 ปี 51 ไตรมาส 3 ปี 50 เพิ่ม + / ลด - (หน่วย : ล้านบาท) (A) (B) (A) - (B) 1,568 681 +887 EBITDA (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) - โรงกลั่น 909 536 +373 - ตลาด 659 145 +514 - 279 -279 บวก กำไรจากสต๊อกน้ำมัน (295) - -295 (หัก) ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน (950) - -950 (หัก) LCM 323 960 -637 EBITDA รวม - โรงกลั่น (336) 815 -1,151 - ตลาด 659 145 +514 - EBITDA จากผลประกอบการจริงของธุรกิจโรงกลั่นจำนวน 909 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของ ปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 536 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกระทบจาก สต๊อกน้ำมันและ LCM) 5.38 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (หรือประมาณ 1.15 บาทต่อลิตร) มีการ ใช้กำลังการผลิตที่ 74.3 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีค่าการกลั่น 3.65 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (หรือประมาณ 0.78 บาทต่อลิตร) และใช้กำลังการผลิตที่ระดับ 71.3 พันบาร์เรลต่อวัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังนี้ หน่วย : ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 ผลแตกต่าง ค่าการกลั่นจาก ปี 2551 ปี 2550 +/- ค่าการกลั่นพื้นฐาน 5.62 3.80 +1.82 GRM Hedging (0.24) (0.15) -0.09 รวม 5.38 3.65 +1.73 ค่าการกลั่นพื้นฐาน ปรับตัวสูงขึ้น 1.82 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทฯสามารถ เลือกน้ำมันดิบที่ให้ค่าการกลั่นสูงเข้ากลั่น อีกทั้งส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลและ น้ำมันดิบดูไบ (GO/DB) ในไตรมาสนี้ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ที่เฉลี่ย 25.87 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าในช่วงไตรมาส 3 ปีก่อนที่อยู่ที่เฉลี่ย 16.40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล โดยมีสาเหตุมาจาก ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งมี ความต้องการน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจากทวีปเอเซียส่งไปยังยุโรป เนื่องจากอุปทานในยุโรปค่อนข้างตึง ตัวจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นหลายแห่ง ส่วนต่างราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดิบดูไบ (FO/DB) เฉลี่ยใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ราคาน้ำมันเตาที่ บริษัทฯส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศนั้นสามารถจำหน่ายได้ที่ราคารวม Premium ในระดับสูง จึงทำ ให้ค่าการกลั่นพื้นฐานที่บริษัทฯได้รับในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบอ้างอิง เป็นดังนี้ หน่วย : ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 ผลแตกต่าง ส่วนต่างราคาเฉลี่ย ปี 2551 ปี2550 +/- UNL95/DB 6.06 11.65 -5.59 IK/DB 28.68 17.26 +11.42 GO/DB 25.87 16.40 +9.47 FO/DB -10.91 -10.42 -0.49 ค่าการกลั่นจาก GRM Hedging ลดลง 0.09 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบจากงวด เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และน้ำมันดิบที่เกิดขึ้นจริงในไตรมาสนี้ใกล้เคียง กันกับราคาที่บริษัทฯได้ทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าไว้ บริษัทฯจึงได้รับผลขาดทุนจากการ ทำ GRM Hedging เล็กน้อยประมาณ 0.24 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล โดยในไตรมาสนี้มีปริมาณ ธุรกรรมที่บริษัทฯได้ทำไว้ล่วงหน้าประมาณ 21% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย (ปีก่อนมีปริมาณการทำ ธุรกรรมเฉลี่ย 52% ของปริมาณกลั่น) - EBITDA จากธุรกิจการตลาด 659 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 145 ล้านบาท เนื่องจากไตรมาสนี้บริษัทฯ ได้รับค่าการตลาด(ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 118.7 สตางค์ต่อ ลิตร สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 36.7 สตางค์ต่อลิตร ทั้งนี้เนื่องจากการที่ไตรมาส 3 ปีนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มปรับตัวในทิศทางขาลง แต่เนื่องจากที่ผ่านมาราคาน้ำมันในตลาดโลก มีการปรับตัวขึ้นลงผันผวนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ผู้ค้าน้ำมันใช้ความระมัดระวังในการปรับราคาหน้า สถานีบริการจึงทำให้สะท้อนต้นทุนได้ช้ากว่าในไตรมาสนี้ ส่วนปริมาณการจำหน่ายในตลาดบางจาก โดยรวมเป็น 47.8 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 49.7 พันบาร์เรล ต่อวัน คิดเป็นอัตราที่ลดลง 3.8% ซึ่งดีกว่ายอดจำหน่ายรวมทั้งประเทศที่ลดลง โดยเปรียบเทียบ ข้อมูลของสำนักการค้าฯ กรมธุรกิจพลังงาน เฉลี่ยเดือนก.ค.-ส.ค. 2551 เทียบกับเดือนก.ค.-ส.ค. 2550 อุปสงค์ตลาดโดยรวมลดลงประมาณ 12.0% ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายของธุรกิจตลาด ในช่วงเดียวกันลดลง 8.1% - จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากนั้น ส่งผลให้ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ได้รับผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันในไตรมาสนี้ประมาณ 295 ล้านบาท (คิดเป็นค่าการกลั่นประมาณ -1.27 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล) เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทาง ขาขึ้นจึงทำให้มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 279 ล้านบาท (คิดเป็นค่าการกลั่นประมาณ 1.24 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล) อีกทั้งในไตรมาสนี้บริษัทฯยังได้รับรู้การปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง (Lower of Cost or Market-LCM) อีกจำนวน 950 ล้านบาท เนื่องจากสินค้าคงเหลือปลายงวดของ บริษัทฯมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะจำหน่ายได้ 1.2 การวิเคราะห์รายได้ 1) สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2551 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และ บริษัทย่อยมีจำนวน 106,527 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 105,801 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 14,982 ล้านบาท ใน รายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 14,256 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขายน้ำมัน สำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท 2) สำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 37,121 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 36,870 ล้านบาท และรายได้จาก การขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 4,658 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,407 ล้านบาท โดยรายได้ต่างๆของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ได้แก่ - รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 14,054 ล้านบาท หรือ 61.6% เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายที่เพิ่ม สูงขึ้น 12.0% และราคาขายน้ำมันเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 44.3% - รายได้จากดอกเบี้ยรับลดลง 29 ล้านบาท หรือ 73.0% เนื่องจากในปีก่อนบริษัทฯ นำเงินที่ได้รับ จากการขายหุ้นเพิ่มทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ส่วนหนึ่งที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระไป ลงทุนในเงินฝากประเภทประจำ - รายได้อื่นลดลง 32 ล้านบาท หรือ 46.2% ทั้งนี้เนื่องจากในปีก่อนมีการบันทึกรายได้พิเศษจาก การเคลมค่าเสียหายกรณีเรือชนท่าน้ำมันจำนวน 26 ล้านบาท และรายได้จากการชนะคดีการขอคืน เงินภาษีพร้อมดอกเบี้ยประจำปีภาษี 2530 จำนวน 20 ล้านบาท ทั้งนี้หากไม่รวมรายการดังกล่าวจะ มีรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 14 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกำไรจากการจำหน่ายก๊าซ NGV 1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย 1) สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2551 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 99,108 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 98,753 ล้านบาท และต้นทุนของ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 14,544 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกันจำนวน 14,189 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท 2) ไตรมาส 3 ปี 2551 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 35,334 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 35,156 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 4,559 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,381 ล้านบาท สำหรับ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของบริษัทบางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ - ขาดทุนจากการตีราคาสินค้าคงเหลือลดลง (LCM) จำนวน 950 ล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำมันใน ตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าคงเหลือปลายงวดของบริษัทฯมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่า สุทธิที่คาดว่าจะจำหน่ายได้ - ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 418 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 160 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯได้รับรู้ ค่าใช้จ่ายจากการ Refinance เงินกู้เดิม ซึ่งประกอบด้วย ค่าค่าธรรมเนียมการจ่ายคืนเงินกู้ก่อน กำหนดและค่าธรรมเนียมการยกเลิกการใช้สินเชื่อของเงินกู้เดิม รวมถึงการตัดจ่ายค่าใช้จ่ายในการ กู้เงินรอตัดบัญชีของวงเงินกู้เดิมเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนี้ด้วย 1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร งวด 9 เดือนปี 2551 งวด 9 เดือนปี 2550 งบรวม งบบริษัท งบรวม งบบริษัท รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท 106,527 105,801 67,086 66,471 กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 2,445 2,439 1,346 1,289 6.96 6.66 5.23 4.76 อัตรากำไรขั้นต้น, ร้อยละ 2.30 2.30 2.01 1.94 อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 2.19 2.18 1.20 1.15 กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น ไตรมาส 3 ปี 2551 ไตรมาส 3 ปี 2550 งบรวม งบบริษัท งบรวม งบบริษัท รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท 37,121 36,870 23,008 22,815 กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท (252) (220) 508 498 4.82 4.65 6.20 5.77 อัตรากำไรขั้นต้น, ร้อยละ -0.68 -0.60 2.21 2.18 อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ -0.22 -0.20 0.45 0.44 กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น อัตรากำไรขั้นต้นมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ กลั่นและค่าการตลาด โดยงวด 9 เดือน บริษัทฯมีอัตรากำไรขั้นต้น 6.66% เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่อยู่ที่ 4.76% ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นสำหรับไตรมาส 3 ปี 2551 อยู่ที่ 4.65% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 5.77% สาเหตุหลักมาจากผลของราคาน้ำมันที่กระทบต่อค่าการกลั่นและค่าการตลาด ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วใน 1.1 ข้อ 3) ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2551 เมื่อเทียบกับปี 2550 ปรับตัวลดลงจาก 2.18% เป็น -0.60% อย่างไรก็ตามอัตรากำไรสุทธิงวด 9 เดือน ปี 2551 เมื่อเทียบกับปี 2550 ยังคงปรับเพิ่มขึ้นจาก 1.94% เป็น 2.30% 2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 สินทรัพย์ 1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 มีจำนวน 52,100 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน 51,903 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 617 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 144 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกัน 564 ล้านบาท โดย ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้การค้าจำนวน 481 ล้านบาท 2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จำนวน 7,063 ล้านบาท หรือประมาณ 15.7% ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลง 3,910 ล้านบาท หรือ 64.2% ส่วนหนึ่งใช้ไปในกิจกรรม ดำเนินงาน โดยเฉพาะสินค้าคงเหลือที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น อีกส่วนหนึ่งเป็นเงินทุนโครงการ PQI ที่ใช้ จ่ายไปในระหว่างการก่อสร้าง รายละเอียดสามารถดูได้จากการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด - สินค้าคงเหลือมูลค่าเพิ่มขึ้น 2,633 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 24.5% เนื่องจากราคาน้ำมันที่มีการ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนกันยายน 2551 ที่ 95.74 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ บาร์เรล สูงขึ้น 11.4% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคมปี 2550 ที่อยู่ที่ 85.98 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล) ส่วนปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.06 ล้านบาร์เรล เนื่องจาก ปริมาณการกลั่นเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น มูลค่าสินค้าคงเหลือดังกล่าวได้รวมการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือ ลดลง (LCM) จำนวน 950 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าที่ปรับลดลงประมาณ 6.6% สาเหตุจากการที่ ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าคงเหลือมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าสุทธิที่ คาดว่าจะจำหน่ายได้ - เงินชดเชยกองทุนน้ำมันค้างรับเพิ่มขึ้น 504 ล้านบาท หรือ 256.3% เนื่องจากรัฐประกาศให้เงิน อุดหนุนผ่านกองทุนน้ำมันสำหรับบรรเทาภาวะน้ำมันแพงในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยจ่ายเป็นเงิน ชดเชยราคาให้กับโรงกลั่นน้ำมัน โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อีกทั้งบริษัทฯยังได้ ผลิตและออกจำหน่ายน้ำมันดีเซลมาตรฐาน EURO IV ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเพิ่มเติม ด้วย จึงทำให้ ณ สิ้นงวดไตรมาส 3 นี้มีเงินชดเชยกองทุนน้ำมันที่จะได้รับคืนทั้งสิ้นจำนวน 701 ล้านบาท - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 851 ล้านบาท หรือ 596.5% ส่วนใหญ่มาจากรายการ VAT ค้าง รับเพิ่มขึ้น เนื่องจากมูลค่าการขายส่งออกซึ่งไม่มี VAT มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการที่ราคาน้ำมัน ปรับตัวลดลงทำให้ภาษีซื้อที่จ่ายไปล่วงหน้ามีมูลค่าสูงกว่าภาษีขาย - เงินลงทุนระยะยาวอื่นเพิ่มขึ้น 112 ล้านบาท ส่วนใหญ่จำนวน 80 ล้านบาท เป็นการจ่ายลงทุนซื้อ หุ้นในบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 6.56% - บริษัทฯ มีที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 จำนวน 24,847 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,440 ล้านบาท หรือ 35.0% โดยเป็นการลงทุนสำหรับโครงการ PQI จำนวน 6,877 ล้านบาท และ การลงทุนประจำปีอื่นประมาณ 301 ล้านบาท และมีการปรับปรุงการด้อยค่าจำนวน 31 ล้านบาท แต่มีการตัดจำหน่ายค่าเสื่อมราคาสำหรับงวด 9 เดือน จำนวน 769 ล้านบาท - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ ลดลง 281 ล้านบาท หรือ 29.7% ส่วนใหญ่บริษัทฯได้รับคืนเงินค้ำ ประกันการทำธุรกรรม Hedging จากคู่สัญญา เนื่องจากผลของราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงทำให้ส่วน ต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และน้ำมันดิบปรับตัวลดลงด้วย ส่งผลให้บริษัทฯมีภาระที่ต้องฝากค้ำ ประกันตามสัญญาลดลง หนี้สิน 1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 จำนวน 29,013 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน 28,896 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 570 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 55 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกัน จำนวน 507 ล้านบาท โดย ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าจำนวน 481 ล้านบาท 2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 5,255 ล้านบาท หรือประมาณ 22.2% ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ - เงินกู้ระยะยาวเพิ่มขึ้น 4,551 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ลงทุนโครงการ PQI - หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 1,092 ล้านบาท หรือ 239.4% ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้ค่าก่อสร้างและ เงินค้ำประกันสัญญาโครงการ PQI - ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทฯไม่ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย เนื่องจากได้ชำระภาษีเงินได้ สำหรับงวดครึ่งปีแรกปี 2551 ไปแล้วในเดือนส.ค. 2551 อีกทั้งงวดไตรมาส 3 ปีนี้บริษัทมีผล ขาดทุนสุทธิจึงไม่มีภาษีเงินได้ค้างจ่าย - หนี้สินจากการประกันความเสี่ยงลดลง 853 ล้านบาท หรือลดลง 91.9% เนื่องจากการจ่ายชำระ เจ้าหนี้ตามสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนของผู้ถือหุ้น 1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 รวมจำนวน 23,087 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 23,007 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 47 ล้านบาท และบริษัทบางจากไบโอฟูเอล จำนวน 89 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกัน 57 ล้านบาท 2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ เพิ่มขึ้น 1,808 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2550 เนื่องจากบริษัทฯ มี กำไรสุทธิสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2551 จำนวน 2,439 ล้านบาท แต่ได้จ่ายเงินปันผลสำหรับผล ประกอบการปี 2550 ไปจำนวน 336 ล้านบาท (จำนวน 1,119 ล้านหุ้น ปันผลหุ้นละ 0.30 บาท) และตัด จำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์จำนวน 295 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นไตร มาส 3 นี้มีจำนวน 23,007 ล้านบาท 3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 มี จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 287 ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็น 20.4% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551 3.1 สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2551 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา 6,450 ล้านบาท โดยในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิลดลงจากกิจกรรมต่างๆ จำนวน 3,996 ล้านบาท ประกอบด้วย (ยังมีต่อ)