แจ้งแก้ไขเพิ่มเติมขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

F 24-1 แจ้งแก้ไขเพิ่มเติมขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 8/2551 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ได้มีมติแก้ไขเพิ่มเติมขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการตรวจสอบ จากเดิม คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมี ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษั ท ดังต่อไปนี้ 1) สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดย กฎหมายอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2) สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (INTERNAL CONTROL) และการตรวจสอบ ภายใน (INTERNAL AUDIT) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และสอบทานประสิทธิผล และความพอเพียงของกระบวนการบริหารความเสี่ยง 3) สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4) พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่ อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน 5) สอบทานและพิจารณาร่วมกับฝ่ายบริหารในเรื่องข้อบกพร่องสำคัญที่ตรวจพบ และการ สนองตอบจากฝ่ายบริหาร 6) มีอำนาจในการตรวจสอบ และสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการตรวจสอบ และมีอำนาจในการว่าจ้างหรือนำเอาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมา ช่วยงานตรวจสอบและสอบสวน โดยปฏิบัติตามระเบียบของบริษัท 7) จัดทำรายงานกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงาน ประจำปีของบริษัทซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 8) พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งและเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัท 9) พิจารณาขอบเขตการตรวจสอบและแผนการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและสำนัก ตรวจสอบภายในให้มีความสัมพันธ์และเกื้อกูลกัน และลดความซ้ำซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับ การตรวจสอบด้านการเงิน 10) ให้ความเห็นชอบกฎบัตร แผนงาน งบประมาณ และอัตรากำลังของสำนักตรวจสอบ ภายใน 11) พิจารณา แต่งตั้ง โยกย้าย และประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของผู้อำนวยการสำนัก ตรวจสอบภายใน 12) สอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการ ควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง 13) ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยไม่มีผู้อื่นเข้าร่วม 14) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย แก้ไขเพิ่มเติมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อ คณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ 1) สอบทานให้ บริษัทมีการรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดย กฎหมายอย่าง ถูกต้องและเพียงพอ 2) สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบ ภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และสอบทานประสิทธิผล และความพอเพียงของกระบวนการบริหารความเสี่ยง 3) สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4) พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ 5) สอบทานและพิจารณาร่วมกับฝ่ายจัดการในเรื่องข้อบกพร่องสำคัญที่ตรวจพบและการ สนองตอบจากฝ่ายจัดการ 6) มีอำนาจในการตรวจสอบและสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการตรวจสอบ และมีอำนาจในการว่าจ้างหรือนำเอาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมา ช่วยงานตรวจสอบและสอบสวนโดยปฏิบัติตามระเบียบของบริษัท 7) จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ใ น รายงานประจำปีของบริษัทซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการ ตรวจสอบ 8) พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง บุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชี ของบริษัท และเสนอค่า ตอบแทนของบุค คลดังกล่าว รวมทั้ง เข้าร่วมประชุมกับผู้สอบ บัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 9) พิจารณาขอบเขตการตรวจสอบและแผนการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีและสำนัก ตรวจสอบภายในให้มีความสัมพันธ์และเกื้อกูลกัน และลดความซ้ำซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับ การตรวจสอบด้านการเงิน 10) ให้ความเห็นชอบกฎบัตร แผนงาน งบประมาณ และอัตรากำลังของสำนักตรวจสอบ ภายใน 11) พิจารณา แต่งตั้ง โยกย้าย และประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของผู้อำนวยการสำนัก ตรวจสอบภายใน รวมทั้งพิจารณาความเป็นอิสระของสำนักตรวจสอบภายใน 12) สอบทานความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง กับการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง 13) ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือ การกระทำซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของ บริษัท ได้แก่ (1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (2) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน (3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาด หลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร หากคณะกรรมการของบริษัทหรือ ผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่สมควร กรรมการตรวจสอบ รายใดรายหนึ่ง อาจรายงานว่า มีรายการหรือการกระทำดังกล่าวต่อสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ 14) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจาก คณะกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม 2551 จึงเรียนมาเพื่อทราบ พลเอก -ลงนามแล้ว- ประธานกรรมการ (ธวัช เกษร์อังกูร) -ลงนามแล้ว- กรรมการผู้จัดการใหญ่ (นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล)