MD&A ไตรมาส 1 ปี 2551

คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2551 ภาพรวมธุรกิจปี 2551 ด้านราคาน้ำมัน สำหรับไตรมาส 1 ปี 2551 สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนและแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง แนวโน้มราคายังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2550 โดยสาเหตุหลักยังคงอยู่ที่ปัจจัยความกังวลถึงภาวะ อุปทานขาดแคลน ทั้งจากสถานการณ์ความตึงเครียดในประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันดิบยังคงเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และการที่กลุ่ม OPEC ยืนยันที่จะไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในการประชุมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมา ท่าทีของเวเนซูเอลาและสหรัฐอเมริกา ต่อกรณีข้อพิพาทบริษัท ExxonMobil รวมถึงการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อน ค่าลงอย่างต่อเนื่องทำให้ราคา Commodities มีการปรับตัวสูงขึ้นเพื่อชดเชยมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ส่งผลให้ Traders และ Hedge Fund เข้าซื้อเก็งกำไรในตลาด Commodities มากขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นใน ไตรมาสนี้ (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ 91.09 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สูงขึ้น 64.3% เมื่อ เทียบกับราคาเฉลี่ยไตรมาส 1 ปี 2550 ที่อยู่ที่ 55.43 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และสูงขึ้น 9.3% เมื่อเทียบกับราคา เฉลี่ยไตรมาส 4 ปี 2550 ที่อยู่ที่ 83.35 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล) ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันนี้เองทำให้ธุรกิจ โรงกลั่นมีค่าการกลั่นจากสต๊อกน้ำมันสูงขึ้น การที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ใหม่หลายครั้ง (น้ำมันดิบอ้างอิง เช่น WTI ล่าสุดมีราคาปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 125.96 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2551) และความกังวล เกี่ยวกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและความ ต้องการใช้น้ำมัน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯได้ปรับตัวลดลงทำสถิติต่ำสุดในขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้ม สูงขึ้น คาดว่าด้วยราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูงเช่นนี้และเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัว อาจส่งผลให้อัตราเติบโตของ อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกลดลง ด้านการผลิต ในไตรมาส 1 ปี 2551 บริษัทฯ หยุดการเดินเครื่องหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (CDU) และหน่วยประกอบอื่นๆ เพื่อ การตรวจซ่อมบำรุงรักษาครั้งใหญ่ตามวาระ (Major Turnaround) ในระหว่างวันที่ 25 มกราคม - 7 มีนาคม 2551 โดยบริษัทฯถือโอกาสเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันของหน่วยกลั่นเดิมกับส่วนต่อขยายของโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (Product Quality Improvement : PQI) เข้าด้วยกัน อีกทั้งได้ทำการปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเพิ่มเติมประสิทธิภาพ การกลั่นให้สามารถขยายรอบระยะเวลาในการทำ Major Turnaround ออกไปได้จากเฉลี่ยทุกๆ 18 เดือน เป็นทุกๆ 24 เดือน และเพื่อให้โรงกลั่นสามารถดำเนินการกลั่นได้เต็มที่ภายหลังจากที่โครงการ PQI ได้เริ่มเดินเครื่องแล้ว ซึ่ง หลังจากการซ่อมบำรุงแล้วเสร็จบริษัทฯได้ทดสอบเดินเครื่องหน่วยผลิตโดยสามารถกลั่นได้สูงสุดที่ 125 พันบาร์เรลต่อวัน ต่อเนื่องแล้วจึงลดการกลั่นลงมาในระดับปกติ ส่งผลให้ปริมาณการกลั่นเฉลี่ยในช่วงไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 60.6 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าที่เคยแจ้งตลาดหลักทรัพย์ไว้ว่าจะกลั่นเฉลี่ยประมาณ 52 พันบาร์เรลต่อวัน 1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ไตรมาส 1 ปี 2551 ไตรมาส 1 ปี 2550 งบรวม งบบริษัท งบรวม งบบริษัท รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท 29,819 29,564 19,985 19,790 กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 853 841 (42) (54) อัตรากำไรขั้นต้น, ร้อยละ 5.30 4.95 2.18 1.67 อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 2.86 2.85 (0.21) (0.27) กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 0.76 0.75 (0.04) (0.05) การวิเคราะห์กำไรขาดทุน 1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน ปี 2551 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 853 ล้านบาท ซึ่งงบ เฉพาะบริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 841 ล้านบาท บริษัทย่อย ได้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท และ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล มีผลกำไรสุทธิ 8 ล้านบาท และมีรายการระหว่างกัน +4 ล้านบาท 2) ผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท บางจากฯ มี EBITDA 1,559 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ อยู่ที่ 277 ล้านบาท อยู่ 1,282 ล้านบาท สำหรับผลประกอบการแยกตามประเภทธุรกิจมีดังนี้ EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ ไตรมาส 1 ปี 51 ไตรมาส 1 ปี 50 เพิ่ม + / ลด - (หน่วย : ล้านบาท) (A) (B) (A) - (B) EBITDA 1,559 277 +1,282 - โรงกลั่น 1,457 86 +1,371 - ตลาด 102 191 -89 (หัก) กำไรจากสต๊อกน้ำมัน (810) - -810 บวก ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและ Write Down - 297 -297 Adjusted EBITDA 749 574 +175 - โรงกลั่น 647 383 +264 - ตลาด 102 191 -89 - EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 1,457 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 86 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่นรวม 10.17 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (รวมผลกำไร จากสต๊อกน้ำมันเนื่องจากราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น) มีการใช้กำลังการผลิตที่ 60.6 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีค่าการกลั่นรวม 2.05 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และใช้กำลังการผลิตที่ระดับ 52.3 พันบาร์เรลต่อวัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังนี้ หน่วย : ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ผลแตกต่าง ค่าการกลั่นจาก ปี 2551 ปี 2550 +/- ค่าการกลั่นพื้นฐาน 5.15 3.39 +1.76 GRM Hedging 0.51 0.42 +0.09 สต๊อกน้ำมัน 4.51 (1.76) +6.27 รวม 10.17 2.05 +8.12 ค่าการกลั่นพื้นฐาน ปรับตัวสูงขึ้น 1.76 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทั้งนี้เนื่องจากในไตรมาสนี้ส่วน ต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมื่อเทียบกับน้ำมันดิบเฉลี่ยมีการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะส่วนต่างราคา น้ำมันดีเซลและน้ำมันดิบดูไบ (GO/DB) ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 22.84 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สาเหตุจากจากความต้องการใช้น้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นจากประเทศในแถบยุโรป เนื่องจากฤดูหนาวที่ ล่าช้า และความต้องการจากประเทศจีนที่นำเข้าน้ำมันดีเซลเพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงแข่งขันกีฬา โอลิมปิก รวมไปถึงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในแถบเอเชียทำให้ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปในตลาด ลดลง สำหรับส่วนต่างราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดิบดูไบ (FO/DB) ที่ติดลบมากขึ้นสาเหตุจากราคา น้ำ มั นเตาไม่สามารถปรับตั วได้ ในอัตราเดียวกับการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ดิบเนื่ องจากมีข้อ เปรียบเทียบด้านราคาจากพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ เช่น ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเตาที่บริษัทฯจำหน่ายไปต่างประเทศนั้นไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากสัญญาใหม่ สำหรับปี 2551 ที่บริษัทฯได้ทำไว้มีการปรับสูตรราคาขายดีขึ้นกว่าปี 2550 ส่วนต่างราคาน้ำมัน สำเร็จรูปและน้ำมันดิบอ้างอิง เป็นดังนี้ หน่วย : ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ผลแตกต่าง ส่วนต่างราคาเฉลี่ย ปี 2551 ปี2550 +/- UNL95/DB 13.70 12.92 +0.78 IK/DB 23.13 16.72 +6.41 GO/DB 22.84 14.54 +8.30 FO/DB -17.10 -10.40 -6.70 TP(Appi)/DB 4.80 7.68 -2.88 ค่าการกลั่นจาก GRM Hedging เพิ่มขึ้น 0.09 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล เนื่องจากการปรับตัว ของค่าการกลั่นเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับราคาที่บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาธุรกรรมป้องกัน ความเสี่ยงล่วงหน้าไว้ บริษัทจึงไม่ได้รับกำไรจากการทำ GRM Hedging มากนัก โดยไตรมาสนี้มี ปริมาณธุรกรรมที่บริษัทฯได้ทำไว้ล่วงหน้าประมาณ 30% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย ในขณะที่ปี ก่อนมีปริมาณการทำธุรกรรมประมาณ 25% ของปริมาณกลั่น ค่าการกลั่นจากสต๊อกน้ำมัน ในงวดนี้มีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 4.51 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สูง กว่าปีก่อนที่มีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันอยู่ 1.76 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (รวมกลับรายการ Write Down) เนื่องจากราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวในทิศทางขาขึ้นตรงข้ามกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ ปรับตัวในทิศทางขาลงจากปัจจัยดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิดมี การปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ - EBITDA จากธุรกิจการตลาด 102 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 191 ล้านบาท เนื่องจากไตรมาสนี้ค่าการตลาดในตลาดค้าปลีกอยู่ในระดับต่ำจากภาวะราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงเป็น ประวัติการณ์ ทำให้ไม่สามารถปรับราคาขายหน้าสถานีบริการได้สอดคล้องกับต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับค่าการตลาด (ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 28.2 สตางค์ต่อลิตร ต่ำกว่าปี ก่อนที่อยู่ที่ระดับ 36.9 สตางค์ต่อลิตร อย่างไรก็ดีปริมาณการจำหน่ายในตลาดบางจากฯโดยรวม เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 52.5 พันบาร์เรลต่อวัน เป็น 53.8 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องจาก ประชาชนนิยมใช้น้ำมันพลังงานทดแทนมากขึ้น ทั้งน้ำมันแก๊ซโซฮอล์95 แก๊ซโซฮอล์91 และ น้ำมันไบโอดีเซล B5 เนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำมันชนิดปกติ และจากการที่บริษัทได้เร่งขยายสถานี บริการที่จำหน่ายน้ำมันพลังงานทดแทนดังกล่าวให้ครอบคลุมผู้ใช้มากขึ้น การวิเคราะห์รายได้ 1) สำหรับไตรมาส 1 ปี 2551 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 29,819 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 29,564 ล้านบาท และรายได้จาก การขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 4,610 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,355 ล้านบาท โดยรายได้ต่างๆของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ได้แก่ - รายได้จากการขาย 29,564 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,774 ล้านบาท หรือ 49.4% เนื่องจาก ปริมาณการ จำหน่ายที่เพิ่มสูงขึ้น 13.4% ราคาน้ำมันในรูปสกุลเงินดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 59.7% ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นประมาณ 8.9% (อ้างถึงอัตราขายถัวเฉลี่ยไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ 32.30 บาท/ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเฉลี่ยไตรมาส 1 ปี 2550 ที่ระดับ 35.48 บาท/ดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนขายในทิศทางเดียวกันด้วย - รายได้จากดอกเบี้ยรับจำนวน 24 ล้านบาท ลดลง 40 ล้านบาท หรือ 62.1% เนื่องจากในปีก่อน บริษัทฯ นำเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ส่วนหนึ่งที่ยังไม่ถึง กำหนดชำระไปลงทุนในเงินฝากประจำ - ไตรมาสนี้มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 285 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาส 1 ปีก่อนมีผล ขาดทุน 23 ล้านบาท เนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกว่า 8.9% ทำให้มีกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจาก เจ้าหนี้การค้าค่าน้ำมันดิบที่บริษัทฯจัดหามาเพื่อการผลิต อีกทั้งบริษัทฯ ได้รับกำไรจากการทำ ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงของค่าการกลั่นจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นไว้ล่วงหน้าจำนวนหนึ่ง การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย 1) ไตรมาส 1 ปี 2551 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 28,239 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 28,102 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 4,468 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,331 ล้านบาท สำหรับ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของบริษัทบางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสูงขึ้น 85 ล้านบาท หรือ 20.2% เนื่องจากค่าขนส่งเพื่อการจำหน่าย สูงขึ้นจากราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการส่งออกน้ำมันจากปริมาณการ จำหน่ายที่สูงขึ้น - บริษัทฯ มีค่าตอบแทนกรรมการสูงขึ้นเนื่องจากปีนี้บริษัทฯจ่ายเงินโบนัสให้แก่คณะกรรมการบริษัท จำนวน 9 ล้านบาท จากผลประกอบการของปี 2550 - บริษัทฯ รับรู้ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 139 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 38 ล้านบาท หรือ 21.4% เนื่องจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.7% ต่อปี และผลจากยอดหนี้เงินกู้เฉลี่ยที่ลดลง จำนวน 1,358 ล้านบาท การวิเคราะห์อัตรากำไร อัตรากำไรขั้นต้นมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ กลั่นและค่าการตลาด โดยไตรมาส 1 ปี 2551 งบการเงินรวมและงบเฉพาะบริษัทฯมีอัตรากำไรขั้นต้น 5.3% และ 4.9% ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 2.2% และ 1.7% สาเหตุหลักมาจากค่าการกลั่นรวมที่ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วตาม 1.1 ข้อ 2) ทำให้อัตรากำไรสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2551 เทียบกับ 2550 ปรับเพิ่มขึ้นจาก -0.2% เป็น 2.9% สำหรับงบการเงินรวม และเพิ่มขึ้นจาก -0.3% เป็น 2.8% สำหรับงบเฉพาะ บริษัทฯ 2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 สินทรัพย์ 1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551 มีจำนวน 46,879 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน 46,694 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 728 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 97 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกัน 640 ล้านบาท โดย ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้การค้าจำนวน 586 ล้านบาท 2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จำนวน 1,846 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ - สินค้าคงเหลือมูลค่า 14,128 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,384 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 31.5% เนื่องจากราคา น้ำมันที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนมีนาคม 2551 ที่ 96.63 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สูงขึ้น 12.4% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคมปี 2550 ที่อยู่ที่ 85.98 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล) รวมทั้งปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นประมาณ 1.0 ล้านบาร์เรล เพื่อ รองรับปริมาณการกลั่นที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนเมษายน 2551 ที่ระดับ 88 พันบาร์เรลต่อวัน - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 355 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากรายการ VAT ค้างรับเพิ่มขึ้น จำนวน 331 ล้านบาท เนื่องจากไตรมาส 1 ปี 2551 นี้บริษัทฯมีปริมาณการกลั่นต่ำกว่าระดับปกติ เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุง จึงจำเป็นต้องซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปมาจำหน่ายทำให้มีมูลค่า VAT ซื้อเพิ่มขึ้น - บริษัทฯ มีเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น 49 ล้านบาท เนื่องจากไตรมาสนี้บริษัทฯได้จัดตั้งบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด เพื่อผลิตและจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล โดยร่วมทุนกับบริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด ซึ่งบริษัทฯมีสัดส่วนการถือหุ้น 70% ของทุนที่ออกแล้ว เรียกชำระแล้ว (ทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 2.815 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 100 บาทต่อหุ้น เรียกชำระ แล้ว 25% ของมูลค่าหุ้นทั้งหมด) ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานมีขนาดกำลังการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน มูลค่าโครงการทั้งสิ้นประมาณ 1,018 ล้านบาท เงินทุนโครงการมาจากส่วน ของเงินกู้และส่วนทุน (D/E 2.3 เท่า) หนี้สิน 1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551 จำนวน 24,855 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน 24,753 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 688 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 5 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกัน จำนวน 591 ล้านบาท โดย ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าจำนวน 586 ล้านบาท 2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 1,104 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ - เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,218 ล้านบาท หรือ 13.6% เนื่องจากเดือนมีนาคม 2551 มีปริมาณซื้อ น้ำมันเพิ่มสูงขึ้น 0.9 ล้านบาร์เรล เมื่อเทียบจากเดือนธันวาคม 2550 ทั้งนี้เพื่อรองรับปริมาณการ กลั่นที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนเมษายน 2551 ที่ระดับ 86 พันบาร์เรลต่อวัน - หนี้สินจากการประกันความเสี่ยงลดลง 487 ล้านบาท หรือลดลง 52.4% เนื่องจากการจ่ายชำระ เจ้าหนี้ตามสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ส่วนของผู้ถือหุ้น 1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551 รวมจำนวน 22,024 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 21,941 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 40 ล้านบาท และบริษัทบางจากไบโอฟูเอล จำนวน 92 ล้านบาท และเป็นรายการระหว่างกัน 49 ล้านบาท 2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ เพิ่มขึ้น 742 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2550 เนื่องจากบริษัทฯ มี กำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2551 จำนวน 841 ล้านบาท แต่มีการตัดจำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตี ราคาสินทรัพย์เป็นจำนวน 99 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 31 มีนาคม 2551 มีจำนวน 21,941 ล้านบาท 3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 มี จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 287 ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็น 20.4% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวด 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2551 3.1 สำหรับงวด 3 เดือน ปี 2551 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา 6,450 ล้านบาท โดยในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิลดลงจากกิจกรรมต่างๆ จำนวน 3,610 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินสดที่ใช้ไปใน กิจกรรมดำเนินงาน 1,833 ล้านบาท เงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 2,150 ล้านบาท แต่ได้เงินสดจากกิจกรรม จัดหาเงิน 373 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551 งบการเงินรวมจึงมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 2,840 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 2,490 ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 254 ล้านบาท และของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 96 ล้านบาท 3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากเงินสดต้นงวดจำนวน 6,088 ล้านบาท ในระหว่างงวดบริษัทฯใช้เงินไป 3,598 ล้านบาท ในกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมดำเนินงาน 1,838 ล้านบาท ได้แก่ - มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานที่เป็นเงินสด 1,407 ล้านบาท - ใช้เงินสดไปเพื่อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 3,581 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 3,383 ล้าน บาท ลูกหนี้การค้าและสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 198 ล้านบาท - มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 506 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1,206 ล้านบาท แต่ได้จ่ายชำระหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นจำนวน 700 ล้านบาท - บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ไปเป็นเงินสดจำนวนรวม 170 ล้านบาท 2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 2,085 ล้านบาท ได้แก่ - มีการจ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 1,936 ล้านบาท ในจำนวนนี้ เป็นส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดไปจำนวน 1,748 ล้านบาท - บริษัทฯใช้เงินสดไปในกิจกรรมการลงทุนอื่นๆอีก 149 ล้านบาท 3) บริษัทฯ ได้เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 325 ล้านบาท ได้แก่ - กู้เงินระยะสั้นจากธนาคารกรุงไทยจำนวน 410 ล้านบาท - ชำระคืนเงินกู้ระยะยาวแก่ธนาคารกรุงไทยจำนวน 85 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือจำนวน 2,490 ล้านบาท ซึ่ง เป็นเงินสดที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 1,170 ล้านบาท และเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 1,320 ล้านบาท 4. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ในส่วนของ ค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจากการขึ้นลง ของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่โรงกลั่นของ บริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery ซึ่งมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯ ถูกจำกัดไว้ ซึ่งบริษัทฯ มี ความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียม กับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุล น้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่ง สามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทฯคาด ว่าโครงการฯดังกล่าวจะสามารถเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ ได้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2551 และคาดว่าจะทำให้บริษัทฯสามารถ เพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ย 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท หลังจากที่โครงการฯ ดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะราคาน้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ โครงการ PQI มีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ สัญญาก่อสร้างโครงการ PQI นี้เป็นลักษณะราคาก่อสร้าง คงที่ มีกำหนดเวลาก่อสร้างที่แน่นอน และรับประกันผลงาน โดยบริษัทได้จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand Co., Ltd.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ในส่วนของการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการแล้วเสร็จครบถ้วนตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ขณะนี้การก่อสร้างโครงการมีความคืบหน้าเป็นอย่าง มาก สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2551 คิดเป็นร้อยละ 82.2 โดยบริษัทฯ ได้ร่วมทำงานกับผู้รับเหมาและดูแลการก่อสร้างอย่าง ใกล้ชิด บริษัทฯ คาดว่าโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จได้ในปลายปี 2551 นอกจากระดับราคาน้ำมันที่ผันผวนจะส่งผลกระทบสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯแล้ว ปัจจัยอีก ประการหนึ่งที่อาจมีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทฯคือ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้นบริษัทฯ จะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้าโดยมีการอ้างอิง ราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ แต่ทั้งนี้ (ยังมีต่อ)