ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
MD&A งวด 31 ธันวาคม 50
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550
ภาพรวมธุรกิจปี 2550
ด้านราคาน้ำมัน
ในปี 2550 สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความกังวลต่อความเพียงพอ
ของอุปทาน ทั้งจากการก่อการร้ายแหล่งผลิตน้ำมันดิบหลายแห่งในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบหลายแห่งทั้งใน
ประเทศไนจีเรียและเม็กซิโก การรายงานปริมาณน้ำมันสำรองของสหรัฐอเมริกาที่ลดต่ำลงต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และ
การที่กลุ่ม OPEC พยายามคงกำลังการผลิตไว้ รวมถึงค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องจากปัญหา
เศรษฐกิจในประเทศ ล้วนเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น(อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 2550
อยู่ที่ 68.41 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สูงขึ้น 11.3% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยปี 2549 ที่อยู่ที่ 61.48 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาร์เรล) ส่งผลต่อสถานการณ์การค้าปลีกน้ำมันในประเทศซึ่งต้นทุนได้ถูกปรับขึ้นตามราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาด
สิงคโปร์แต่การปรับราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการน้ำมันจะกระทำได้ช้ากว่า
ราคาน้ำมันดิบดูไบได้ปรับตัวสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 90.13 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน
2550 โดยมีการคาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะยังคงตึงตัวในปี 2551 จากความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น
อีกทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ส่งผลให้ Hedge Funds เพิ่มการลงทุนในตลาด
Commodities มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามด้วยระดับราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงเช่นนี้อาจทำให้นักลงทุนหันไปลงทุนใน
ตลาด Commodities ประเภทอื่นได้ อีกทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งหากเข้าสู่ช่วงภาวะ
เศรษฐกิจถดถอยแล้วอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการใช้น้ำมันและเป็นเหตุทำให้ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงได้
ด้านการผลิต
บริษัทฯ มีปริมาณการกลั่นเฉลี่ย 66.3 พันบาร์เรลต่อวันในปี 2550 เทียบกับปี 2549 ที่อยู่ที่ 56.3 พันบาร์เรล
ต่อวัน ทั้งนี้เป็นผลจากการที่บริษัทฯ ได้บรรลุสัญญาขายเทอมน้ำมันเตาชนิด FOVS (Fuel Oil Very Low Sulfur) ใน
การส่งออกไปยังโรงกลั่นในประเทศจีนเพื่อนำไปกลั่นต่อให้เป็นน้ำมันดีเซลและเบนซิน ทั้งนี้บริษัทฯได้จำหน่ายน้ำมัน
ดังกล่าวในระดับเฉลี่ย 100 -120 ล้านลิตรต่อเดือน ซึ่งบริษัทฯได้ต่อสัญญาไปจนถึงสิ้นปี 2551 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ด้านการตลาด
แม้ว่าในปี 2550 ที่ผ่านมา ตลาดน้ำมันค้าปลีกประสบภาวะค่าการตลาดตกต่ำเนื่องจากราคาต้นทุนที่ปรับ
สูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นโอกาสทำให้บริษัทฯสามารถการขยายการจำหน่ายน้ำมัน
พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยเฉพาะ น้ำมันไบโอดีเซล B5 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 เนื่องจากมีราคาจำหน่ายถูกกว่า
น้ำมันชนิดปกติ ประกอบกับได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลร่วมกับการให้ความมั่นใจจากผู้ผลิตรถยนต์และการรับประกัน
จากผู้จำหน่ายน้ำมัน จึงทำให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นเป็นลำดับ
1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ปี 2550 ปี 2549
งบรวม งบบริษัท งบรวม งบบริษัท
รายได้รวม, ล้านบาท 95,456 94,593 95,377 94,600
กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 1,764 1,691 196 248
อัตรากำไรขั้นต้น, ร้อยละ 6.41 5.96 2.25 1.94
อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 1.85 1.80 0.21 0.27
กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 1.58 1.51 0.20 0.26
1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวดปี 2550 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 1,764 ล้านบาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯ
มีกำไรสุทธิจำนวน 1,691 ล้านบาท และบริษัทย่อย ได้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท มีผลกำไรสุทธิ 71 ล้าน
บาท และมีรายการระหว่างกัน +2 ล้านบาท
2) ผลการดำเนินงานบริษัท บางจากฯ มี EBITDA 3,977 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 1,613 ล้านบาท
สามารถแยกตามประเภทธุรกิจเป็นดังนี้
EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ
ปี 50 (A) ปี 49 (B) เพิ่ม + / ลด -
(หน่วย : ล้านบาท)
(ตรวจสอบแล้ว) (ปรับปรุงใหม่) (A) - (B)
3,977 1,613 +2,364
EBITDA
- โรงกลั่น 3,768 1,141 +2,627
- ตลาด 209 472 -263
(1,857) -1,857
(หัก) กำไรจากสต๊อกน้ำมัน
710 -710
บวก ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน
2,120 2,323 -203
Adjusted EBITDA
- โรงกลั่น 1,911 1,851 +60
- ตลาด 209 472 -263
- EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 3,768 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 1,141 ล้านบาท โดยในปี
2550 นี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่นรวม 5.10 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล โดยใช้กำลังการผลิตที่ 66.3 พัน
บาร์เรลต่อวัน สูงกว่าปีก่อนซึ่งมีค่าการกลั่นรวม 2.29 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และใช้กำลังการ
ผลิตที่ระดับ 56.3 พันบาร์เรลต่อวัน กรณีไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันจะมีค่าการกลั่น 3.19
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 3.05 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล รายละเอียดการ
วิเคราะห์ดังนี้
หน่วย : ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
ผลแตกต่าง
ค่าการกลั่นจาก
ปี 2550 ปี 2549 +/-
ค่าการกลั่นพื้นฐาน 3.13 2.01 +1.12 0.31
Improvement Program 0.02 3.19 0.31 3.05 -0.29 0.14
GRM Hedging 0.04 0.73 -0.69
สต๊อกน้ำมัน 1.85 (0.70) +2.55
1.91 (0.76) 2.67
Write Down 0.06 (0.06) +0.12
รวม 5.10 2.29 +2.81
ค่าการกลั่นพื้นฐานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.12 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล เนื่องจากส่วนต่าง
ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมื่อเทียบกับน้ำมันดิบดูไบมีการปรับตัวดีขึ้นแทบทุกชนิด โดยเฉพาะ
ส่วนต่างราคาน้ำมันเตาเมื่อเทียบกับน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้น 2.29 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
เมื่อเทียบจากปี 2549 จากความต้องการน้ำมันเตาที่เพิ่มสูงขึ้นหลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่
ญี่ปุ่นมีปัญหาต้องปิดซ่อมแซมเป็นเวลาหลายเดือน เนื่องจากได้รับความเสียหายจาก
เหตุการณ์แผ่นดินไหว ส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบอ้างอิงดังนี้
หน่วย : ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
ผลแตกต่าง
ส่วนต่างราคาเฉลี่ย ปี 2550 ปี 2549
+/-
UNL95/DB 14.55 11.74 +2.81
IK/DB 16.17 16.51 -0.34
GO/DB 16.72 15.22 +1.50
FO/DB -10.40 -12.69 +2.29
TP/DB 8.44 6.95 +1.49
ในปีนี้บริษัทฯไม่มี Improvement Program จากการส่งน้ำมันเตาไป Crack ที่โรงกลั่นไทย
ออยล์ แต่ได้ทำการส่งออกน้ำมันเตาชนิด FOVS ไปยังโรงกลั่นในประเทศจีนแทน ทำให้
บริษัทฯสามารถใช้กำลังการผลิตได้สูงขึ้นในระดับ 66.3 พันบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปี
ก่อนที่ใช้กำลังการผลิตอยู่ 56.3 พันบาร์เรลต่อวัน
ค่าการกลั่นจากการทำ GRM Hedging นั้นปรับตัวลดลง 0.69 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
จาก 0.73 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในปีก่อนลดลงเป็น 0.04 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
เนื่องจากการปรับตัวของค่าการกลั่นเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับที่บริษัทได้เข้าทำ
สัญญาธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าไว้ บริษัทจึงไม่ได้รับกำไรจากการทำ GRM
Hedging มากนัก สำหรับปีนี้มีปริมาณธุรกรรมที่บริษัทฯได้ทำไว้ล่วงหน้าประมาณ 37%
ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย ในขณะที่ปีก่อนมีระดับการทำธุรกรรมประมาณ 41% ของ
ปริมาณการกลั่นเฉลี่ย
ปีนี้บริษัทมีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 1.85 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สูงกว่าปีก่อนที่มีผล
ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันที่ 0.70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล เนื่องจากปีนี้ราคาน้ำมันมีการ
ปรับตัวในทิศทางขาขึ้นโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น
อย่างรุนแรง ซึ่งสาเหตุที่สำคัญมาจากความวิตกกังวลต่อความเพียงพอของอุปทานดังที
กล่าวมาข้างต้น
-EBITDA จากธุรกิจการตลาด 209 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 472 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้ราคา
น้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวในทิศทางขาขึ้นทำให้ราคาขายปลีกปรับตัวได้ช้ากว่าต้นทุนที่สูงขึ้น
อย่างมาก ซึ่งตรงข้ามกับเมื่อปีก่อนที่ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงในช่วงปลายไตรมาส 3 จึงทำให้ในปีนี้
บริษัทฯ มีค่าการตลาด(ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 26.1 สตางค์ต่อลิตร ต่ำกว่าปีก่อนที่อยู่ที่
ระดับ 38.5 สตางค์ต่อลิตร ส่วนปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากระดับ 51.2 พันบาร์เรลต่อวัน เป็น
51.9 พันบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะปริมาณจำหน่ายในช่องทางสถานีบริการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจาก
34.8 พันบาร์เรลต่อวัน เป็น 36.1 พันบาร์เรลต่อวัน จนทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
12.1 เป็นร้อยละ 12.7 เนื่องจากบริษัทฯผลักดันการจำหน่ายน้ำมันพลังงานทดแทนมากขึ้น ได้แก่
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91, 95 และน้ำมันไบโอดีเซล B5
1.2 การวิเคราะห์รายได้
1) สำหรับปี 2550 รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีจำนวน 95,456 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ของ
บริษัท บางจากฯ จำนวน 94,593 ล้านบาท และรายได้ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 14,246 ล้านบาท
ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 13,383 ล้านบาท โดยรายได้ของบริษัท บางจากฯ ที่มีการ
เปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่
- รายได้จากการขาย 94,134 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 595 ล้านบาท หรือ 0.6% เนื่องจาก ปริมาณขายที่
เพิ่มสูงขึ้น 1.0% ราคาน้ำมันในรูปสกุลเงินดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 9.9% ในขณะที่อัตรา
แลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นประมาณ 8.8% (อ้างถึงอัตราขายถัวเฉลี่ยปี 2550 ที่ 34.69 บาท/ดอลลาร์
สรอ. เทียบกับเฉลี่ยปี 2549 ที่ระดับ 38.03 บาท/ดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนขายในทิศทาง
เดียวกันด้วย
- รายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 118 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจาก 1)ค่าพรีเมียมจากสัญญาขายเงินตรา
ต่างประเทศล่วงหน้า 44 ล้านบาท 2)รายได้ค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น 26 ล้านบาท 3)กำไรจากการขาย
แก๊ส NGV เพิ่มขึ้นจำนวน 24 ล้านบาท 4)การคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลปีบัญชี 2530 จาก
กรมสรรพากรจำนวน 20 ล้านบาท
1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
1) สำหรับ ปี 2550 ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 93,692 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าใช้จ่าย
ของบริษัท บางจากฯ จำนวน 92,902 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 14,176
ล้านบาท ในค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 13,386 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท บาง
จากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่
- ในปีนี้ไม่มีการ Write Down สินค้าคงเหลือ เนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ปี
ก่อนในช่วงปลายปีราคาน้ำมันเริ่มมีการปรับตัวลดลงมาก ทำให้ต้องตั้งสำรองมูลค่าสินค้าคงเหลือ
ลดลงไว้จำนวน 55 ล้านบาท เนื่องจาก ณ วันสิ้นงวด ปี 2549 สินค้าคงเหลือมีมูลค่าสูงกว่าราคา
สุทธิที่บริษัทฯคาดว่าจะได้รับ
- บริษัทฯ รับรู้ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 47 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนมีกำไรอยู่ที่ 120 ล้าน
บาท จากการรับรู้ผลต่างจากการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในอัตราต่ำกว่าอัตราแลกเปลี่ยน
เฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริง
- บริษัทฯ รับรู้ดอกเบี้ยจ่าย 655 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 90 ล้านบาท หรือ 12% เนื่องจากการ
ลดลงของอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.1% ต่อปี รวมถึงเป็นผลจากยอดเงินต้นเฉลี่ยที่ลดลงจำนวน
1,425 ล้านบาท
- ในปี 2550 นอกจากการบันทึกภาษีในอัตราปกติแล้ว บริษัทยังได้บันทึกภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอีก
จำนวน 102 ล้านบาท จากการพิจารณาปรับปรุงการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2549 เฉพาะ
สิทธิประโยชน์ส่วนที่ได้จากเงินลงทุนในโครงการ PQI ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ
ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 156 ) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติ
บุคคลให้แก่ บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่า
ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเพื่อการลงทุน หรือการต่อเติม
เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม
ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้เพื่อรอผลการตรวจสอบการขอคืนภาษีเงินได้
สำหรับปี 2549 จากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร บริษัทเชื่อว่าการดำเนินการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ดังกล่าวเป็นไปตามประกาศฯโดยถูกต้อง
1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร
อัตรากำไรขั้นต้นมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการกลั่น
และค่าการตลาด สำหรับปี 2550 บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้น 6.41% เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่อยู่ที่ 2.25% สาเหตุ
หลักมาจากค่าการกลั่นรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วตาม 1.1 ข้อ 2) ทำให้อัตรากำไรสุทธิงวด ปี
2550 และ 2549 เป็น 1.85% และ 0.21% ตามลำดับ
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2549
2.1 สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2550 มีจำนวน 44,987 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน 44,848
ล้านบาท และบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 740 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกัน 601
ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชีลูกหนี้จำนวน 599 ล้านบาท
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2550 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2549 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจำนวน 6,905
ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- ลูกหนี้การค้า-สุทธิ เพิ่มขึ้น 2,853 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 91% เนื่องจากบริษัทมีการจำหน่ายน้ำมัน
ส่งออกมากขึ้นซึ่งเป็นลูกหนี้กลุ่มที่มีเทอมชำระเงินเฉลี่ย 30 วันรวมถึงปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
- สินค้าคงเหลือ เพิ่มขึ้น 2,104 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 24% จากราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนธันวาคม 2550 อยู่ที่ 85.98 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สูงขึ้น
46.5% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคมปี 2549 ที่อยู่ที่ 58.70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
ในขณะที่ปริมาณสินค้าคงเหลือมีใกล้เคียงกัน (จำนวนประมาณ 3.62 ล้านบาร์เรล)
- สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ลดลง 478 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากรายการขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับปี 2549 จากกรมสรรพากรจำนวน 369 ล้านบาท โดยการวางหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร
ไว้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบการขอคืนภาษี
- ณ สิ้นปี 2550 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น 2,720 ล้านบาท รายการที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ การ
ลงทุนเพิ่มขึ้นรวม 2,373 ล้านบาท แบ่งได้เป็นการลงทุนสำหรับโครงการ PQI จำนวน 2,063 ล้าน
บาท และเป็นการลงทุนประจำปีอื่นประมาณ 316 ล้านบาท และ ณ สิ้นปี 2550 นี้บริษัทฯมีการตี
ราคาสินทรัพย์ถาวรประเภทเครื่องจักร/อุปกรณ์หอกลั่น และแพลตินั่มใหม่(ตามนโยบายจะกระทำ
ทุกๆ 5 ปี) เพิ่มขึ้นจำนวน 1,225 ล้านบาท ส่วนที่ทำให้สินทรัพย์ลดลง ได้แก่ การตัดค่าเสื่อมราคา
จำนวน 858 ล้านบาท รวมถึงการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเพิ่มขึ้นด้วยจำนวน 26 ล้านบาท
2.2 หนี้สิน
1) หนี้สินรวม ณ สิ้นปี 2550 จำนวน 23,762 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน 23,649 ล้านบาท
และของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 712 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกัน จำนวน 599 ล้าน
บาท
2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2550 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2549 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 4,398 ล้านบาท
ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- ณ 31 ธันวาคม 2550 เจ้าหนี้การค้ามีจำนวน 8,960 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,814 ล้านบาท หรือ 116%
เนื่องจากช่วงสิ้นปี 2549 มีการจ่ายชำระหนี้ค่าน้ำมันดิบล่วงหน้า 2 เที่ยวเรือ ปริมาณ 0.73 ล้าน
บาร์เรล เป็นจำนวนเงิน 1,725 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2550 นี้มีวันครบกำหนดจ่ายชำระเงินเจ้าหนี้
การค้าที่ตรงกับวันหยุดสิ้นปีจำนวนเงิน 1,306 ล้านบาท ซึ่งได้จ่ายชำระในวันทำการถัดไป รวมถึง
ราคาน้ำมันได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นด้วย ทำให้ราคาซื้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 31.5% (เดือนธันวาคม
2550 ราคาซื้อเฉลี่ยประมาณ 21.7 บาท/ลิตร ในขณะที่เดือนธันวาคม 2549 เฉลี่ยอยู่ที่ 16.5 บาท/
ลิตร)
2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2550 รวมจำนวน 21,225 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือ
หุ้นบริษัทฯ 21,199 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทบางจากกรีนเนท จำนวน 28 ล้านบาท และเป็น
รายการระหว่างกัน -2 ล้านบาท
2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2550 เพิ่มขึ้น 2,507 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2549 เนื่องจาก
บริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับปี 2550 จำนวน 1,691 ล้านบาท มีการจ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการปี 2549
จำนวน 190 ล้านบาท มีการตัดจำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์สำหรับปี 2550 เป็นจำนวน 219
ล้านบาท และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทได้ตีราคาสินทรัพย์ถาวรประเภทเครื่องจักร/อุปกรณ์หอกลั่น
และแพลตินั่มใหม่ (ตามนโยบายจะมีการตีราคาใหม่ทุกๆ 5 ปี) เพิ่มขึ้นจำนวน 1,225 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วน
ของผู้ถือหุ้น ณ 31 ธันวาคม 2550 มีจำนวน 21,199 ล้านบาท
3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน
ข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 มีจำนวนหุ้นที่
สามารถแปลงสภาพได้รวม 287 ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 20.4 ของจำนวน
หุ้นทั้งหมด
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550
3.1 สำหรับงวดปี 2550 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา 2,705 ล้านบาท
โดยในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมต่างๆจำนวน 3,745 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินสดที่ได้มาจาก
กิจกรรมดำเนินงาน 4,386 ล้านบาท เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมลงทุนจำนวน 1,235 ล้านบาท และใช้เงินสดไปใน
กิจกรรมจัดหาเงิน 1,876 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นปี 2550 จึงมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 6,450
ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 6,088 ล้านบาท และเป็นเงินสดของบริษัท บางจากกรี
นเนท จำนวน 362 ล้านบาท
3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากกำไรสุทธิสำหรับปี 2550 จำนวน 1,691 ล้านบาท บวกกลับค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช้
เงินสดจำนวน 1,100 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทฯ มีกำไรที่เป็นเงินสดจำนวน 2,791 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้และใช้
เงินสดในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) บริษัทฯ ได้เงินสดสุทธิจากสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานจำนวน 1,330 ล้านบาท โดยที่
- ใช้เงินสดไปเพื่อซื้อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 4,510 ล้านบาท ได้แก่ ลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้น 2,819
ล้านบาท สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 2,104 ล้านบาท และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นลดลงจำนวน 413 ล้าน
บาท
- มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 5,840 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 4,824
ล้านบาท หนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 1,016 ล้านบาท
2) บริษัทฯ ได้เงินสดจากกิจกรรมลงทุน 1,244 ล้านบาท ได้แก่
- จากรายการเงินลงทุนชั่วคราวจำนวน 3,804 ซึ่งเป็นการโอนเปลี่ยนประเภทจากเงินฝากประจำเกิน
กว่า 3 เดือน มาเป็นเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
- การจ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 2,306 ล้านบาท ในจำนวนนี้
เป็นส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดไปในปีจำนวน 1,673 ล้านบาท
- บริษัทฯใช้เงินสดเพื่อซื้อสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 254 ล้านบาท
3) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 1,876 ล้านบาท โดย
- มีการจ่ายคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นคืนให้ธนาคารกรุงไทยบางส่วนจำนวน 320 ล้านบาท
- จ่ายคืนหุ้นกู้และตั๋วแลกเงิน(ออกไว้ก่อนที่จะมีการปรับโครงสร้างหนี้) จำนวน 945 ล้านบาท และจ่าย
คืนเงินกู้ระยะยาวให้แก่ธนาคารกรุงไทยจำนวน 421 ล้านบาท
- ในเดือนพฤษภาคม 2550 ได้จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น 190 ล้านบาท (จำนวน 1,119 ล้านหุ้น อัตรา
หุ้นละ 17 สตางค์)
ดังนั้น บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้น 3,489 ล้านบาท เมื่อรวมเงินสดต้นงวดจำนวน
2,599 ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นปี 2550 มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เป็นจำนวน 6,088 ล้านบาท ซึ่งเป็น
เงินสดที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 2,918 ล้านบาท และเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 3,170
ล้านบาท อนึ่งเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานที่มีจำนวนสูงในช่วงสิ้นปี 2550 นั้น ส่วนหนึ่งบริษัทฯได้เตรียมไว้
เพื่อจ่ายชำระเจ้าหนี้การค้าถึงกำหนดชำระในวันหยุดทำการสิ้นปีจำนวน 1,306 ล้านบาท โดยได้จ่ายชำระใน
วันทำการถัดไป กรณีไม่รวมรายการนี้บริษัทฯจะมีเงินสดเพื่อใช้ดำเนินงานเท่ากับ 1,864 ล้านบาท
4. สรุปผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
บริษัทฯ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึกบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทจากวิธี
ส่วนได้เสีย (Equity Method) เป็นวิธีราคาทุน (Cost Method) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไป
ตามข้อกำหนดใหม่ของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 ประกาศโดยสภาวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 26/2549 ทั้งนี้เงินลงทุนใน
บริษัทย่อยที่แสดงอยู่ในงบเฉพาะบริษัทนั้นบันทึกโดยใช้ราคาทุนเดิม (Historical Cost) เป็นราคาทุนเริ่มต้น ซึ่งการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวทำให้กำไร (ขาดทุน) สุทธิ ในงบการเงินเฉพาะบริษัทจะไม่เท่ากับงบการเงินรวมอีก
ต่อไป และบริษัทฯ ได้ปรับปรุงย้อนหลังงบการเงินปี 2549 ที่แสดงเปรียบเทียบด้วย ส่งผลให้กำไรสะสม ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2549 เพิ่มขึ้นจำนวน 0.49 ล้านบาท เท่ากับมูลค่าหุ้นที่บริษัทฯลงทุนในบริษัท บางจากกรีนเนท เพื่อให้สะท้อน
มูลค่าเงินลงทุนตามวิธีราคาทุนเดิมตามที่มาตรฐานได้กำหนดไว้ ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีนี้ได้แสดง
ไว้ใน "ผลสะสมจากการเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย" ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้นเฉพาะ
บริษัท
หน่วย : ล้านบาท
งบกำไรขาดทุน ปี 2550 ปี 2549
(งบเฉพาะบริษัท) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด)
ส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน)จาก - 27 (27) - (10) 10
บริษัทย่อย
(ยังมีต่อ)