ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์
MD&A ไตรมาส 2 (30 มิ.ย.50)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1/8
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน และงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2550
ภาพรวมธุรกิจปี 2550
ด้านราคาน้ำมัน
สำหรับไตรมาส 2 ปี 2550 สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงมีการปรับตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสที่แล้ว
จากปัจจัยความกังวลถึงภาวะอุปทานขาดแคลน ทั้งจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ กรณีข้อ
พิพาทการทดลองพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศอิหร่านยังคงยืดเยื้อ กอปรกับมีการคาดการณ์ว่าความต้องการใช้
น้ำมันของโลกในปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ประธานกลุ่ม OPEC ยืนยันจะไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจนกว่าจะมี
การประชุมอีกครั้งในวันที่ 11 กันยายน 2550 จึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสนี้ (อ้างอิงราคา
น้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยไตรมาส 2 ปี 2550 ที่ 64.82 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล สูงขึ้น 16.9% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ย
ไตรมาส 1 ปี 2550 ที่อยู่ที่ 55.43 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล) ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันนี้เองทำให้ธุรกิจโรงกลั่น
มีค่าการกลั่นจากสต๊อกน้ำมันสูงขึ้น
ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 11 เดือน ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากเกือบเทียบเท่าสถิติสูงสุด
เมื่อปีที่แล้ว ทำให้มีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีการปรับเพิ่มเพดานการผลิตของกลุ่มประเทศ OPEC ในการประชุมที่จะ
มีขึ้นครั้งถัดไป และการขายทำกำไรของ Hedge Fund อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงได้ในช่วงครึ่ง
ปีหลัง ดังนั้นบริษัทฯจึงใช้วิธีบริหารระดับสินค้าคงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันให้มาก
ที่สุด
ด้านการผลิต
บริษัทฯ สามารถเพิ่มปริมาณการกลั่นสูงขึ้นเป็น 73.8 พันบาเรลต่อวัน ในไตรมาส 2 ทำให้ในรอบ 6 เดือน
แรกของปีมีปริมาณการกลั่นเฉลี่ย 63.1 พันบาเรลต่อวัน เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่อยู่ที่ 54.5 พันบาเรลต่อวัน และ 60.1
พันบาเรลต่อวัน ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลจากการที่บริษัทฯ ได้บรรลุสัญญาขายเทอมน้ำมันเตาชนิด FOVS (Fuel Oil
Very Low Sulfur) เพื่อส่งออกให้แก่โรงกลั่นในประเทศจีนเพื่อนำไปกลั่นต่อให้เป็นน้ำมันดีเซลและเบนซินโดยมี
ปริมาณขายเฉลี่ย 100 -120 ล้านลิตรต่อเดือน สัญญาดังกล่าวมีผลถึงสิ้นปี 2550 และขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการ
พิจารณาทำสัญญาสำหรับปี 2551 อีกทั้งในช่วงนี้ราคาน้ำมันเตาปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากปัญหาโรงไฟฟ้าพลัง
นิวเคลียร์ของญี่ปุ่น จึงทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันเตาเพิ่มสูงขึ้นและคาดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นต่อโรงไฟฟ้าพลังงาน
นิวเคลียร์อาจต้องใช้เวลาถึง 12 เดือนในการแก้ไข
1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
งวด 6 เดือนปี 2550 งวด 6 เดือนปี 2549
งบรวม งบบริษัท งบรวม งบบริษัท
รายได้รวม, ล้านบาท 44,561 44,129 51,874 51,455
กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 839 791 908 919
อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 1.90 1.81 1.78 1.82
กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 0.75 0.71 1.14 1.15
สิ่งที่ส่งมาด้วย 2/8
ไตรมาส 2 ปี 2550 ไตรมาส 2 ปี 2549
งบรวม งบบริษัท งบรวม งบบริษัท
รายได้รวม, ล้านบาท 24,370 24,138 25,166 24,945
กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 881 845 393 385
อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 3.66 3.54 1.58 1.56
กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 0.79 0.76 0.43 0.42
1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 6 เดือน ปี 2550 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 839 ล้านบาท ซึ่งงบ
เฉพาะบริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 791 ล้านบาท และบริษัทย่อย ได้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท มีผล
กำไรสุทธิ 45 ล้านบาท และรายการระหว่างกัน 3 ล้านบาท
2) ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2550 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 881 ล้านบาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯมี
กำไรสุทธิจำนวน 845 ล้านบาท และบริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิ 34 ล้านบาท มีรายการระหว่างกัน 2 ล้าน
บาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มี EBITDA 1,444 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 958 ล้าน
บาท อยู่ 486 ล้านบาท หรือคิดเป็น 50.7% สำหรับผลประกอบการไตรมาสที่ 2 แยกตามประเภทธุรกิจ
มีดังนี้
EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ
ไตรมาส 2 ปี 50 ไตรมาส 2 ปี 49 เพิ่ม + / ลด -
(หน่วย : ล้านบาท) (A) (B) (A) - (B)
(สอบทานแล้ว) (ปรับปรุงใหม่)
EBITDA 1,444 958 +486
- โรงกลั่น 1,362 1,190 +172
- ตลาด 82 -232 +314
(หัก) กำไรจากสต๊อกน้ำมัน (849) (358) -491
Adjusted EBITDA 595 600 -5
- โรงกลั่น 513 832 -319
- ตลาด 82 -232 +314
- EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 1,362 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 1,190 ล้าน
บาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่นรวม 6.27 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล (รวมผลกำไรจากสต๊อก
น้ำมันเนื่องจากราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น) มีการใช้กำลังการผลิตที่ 73.8 พันบาเรลต่อวัน
สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีค่าการกลั่นรวม 6.03 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล และใช้กำลังการ
ผลิตที่ระดับ 54.5 พันบาเรลต่อวัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังนี้
สิ่งที่ส่งมาด้วย 3/8
หน่วย : U$/Barrel
ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ผลแตกต่าง
ค่าการกลั่นจาก
ปี 2550 ปี 2549 +/-
ค่าการกลั่นพื้นฐาน 2.47 3.45 -0.98
Improvement Program 0.001 2.97 0.27 4.54 -0.27 (1.57)
Oil Hedging 0.50 0.82 -0.32
สต๊อกน้ำมัน 3.30 1.49 +1.81
รวม 6.27 6.03 +0.24
ค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) 2.97 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 4.54 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล จากค่าการกลั่นพื้นฐานมีการปรับตัวลดลง
0.98 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เนื่องจากส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบมีการปรับตัว
ลดลงโดยเฉพาะส่วนต่างของราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลเทียบกับน้ำมันดิบดูไบปรับลดลง 3.15 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาเรล อีกทั้งส่วนต่างราคาน้ำมันดิบทาปีสและน้ำมันดิบดูไบก็ปรับตัวสูงขึ้นด้วย กำไรจาก
การทำ Improvement Program ลดลง 0.27 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เนื่องจากบริษัทลดการส่ง
น้ำมันเตาไป Crack ที่โรงกลั่นไทยออยล์ลง และกำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์
น้ำมันล่วงหน้า (Oil Hedging) ลดลง 0.32 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เนื่องจากบริษัทฯได้มีโอกาสเข้า
ทำสัญญาธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าสำหรับไตรมาส 2 ปี 2549 ไว้ในปริมาณที่สูงถึง 54%
ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ยไตรมาส เนื่องจากภาวะตลาดในขณะนั้นเอื้ออำนวยจึงทำให้ได้รับกำไร
จากการทำสัญญาดังกล่าวเป็นมูลค่าสูงกว่าไตรมาส 2 ปี 2550 นี้ที่มีปริมาณการทำ Hedging คิด
เป็นประมาณ 23% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย
ไตรมาสนี้มีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 3.30 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนมี
กำไรจากสต๊อกน้ำมัน 1.49 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ทั้งนี้เนื่องมาจากอัตราการปรับตัวขึ้นของราคา
น้ำมันเฉลี่ยในปีนี้สูงกว่าปีก่อน (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยไตรมาส 2 ต่อไตรมาส 1 ปี 2550
ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 16.9% ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยไตรมาส 2 ต่อไตรมาส 1 ปี 2549 มี
การปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 11.7%)
- EBITDA จากธุรกิจการตลาด 82 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ -232 ล้านบาท
เนื่องจากไตรมาสนี้การปรับราคาขายปลีกทำได้ดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าค่าการตลาด
โดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำก็ตาม ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับค่าการตลาด (ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่
ระดับ 27.4 สตางค์ต่อลิตร ปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ -11.5 สตางค์ต่อลิตร และมีปริมาณการจำหน่าย
52.7 พันบาเรลต่อวัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 52.3 พันบาเรลต่อวัน
1.2 การวิเคราะห์รายได้
1) สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2550 รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 44,561 ล้านบาท เป็นรายได้
ของบริษัท บางจากฯ จำนวน 44,129 ล้านบาท และรายได้ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 6,345
ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 5,913 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขาย
น้ำมันสำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้กับบริษัท บางจากกรีนเนท
สิ่งที่ส่งมาด้วย 4/8
2) สำหรับไตรมาส 2 ปี 2550 รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีจำนวน 24,370 ล้านบาท ประกอบด้วย
รายได้ของบริษัท บางจากฯ จำนวน 24,138 ล้านบาท และรายได้ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน
3,446 ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 3,214 ล้านบาท โดยรายได้ของบริษัท
บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
- รายได้จากดอกเบี้ยรับจำนวน 57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32 ล้านบาท หรือ 129% เนื่องจากบริษัทฯ มี
การนำเงินสดส่วนเกินและเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ส่วน
หนึ่งที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระไปลงทุนในเงินฝากประจำประเภทมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-14 เดือน ณ
วันที่ 30 มิถุนายน 2550 มีเงินฝากประเภทประจำอยู่จำนวน 3,859 ล้านบาท ส่วนหนึ่งจำนวน
1,029 ล้านบาท คงอยู่ในรายการเงินลงทุนชั่วคราว อีกส่วนจำนวน 2,830 ล้านบาท อยู่ในรายการ
เทียบเท่าเงินสดเนื่องจากมีระยะเวลาฝากคงเหลือน้อยกว่า 3 เดือน
- กำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าจำนวน 127 ล้านบาท ลดลง 70 ล้านบาท
หรือลดลง 36% เนื่องจากปริมาณธุรกรรมการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าลดลงจากประมาณ 54% ของ
ปริมาณการกลั่นเฉลี่ยไตรมาส 2/2549 เป็น 23% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ยไตรมาส 2/2550 อีกทั้ง
ราคาซื้อขายล่วงหน้ายังขึ้นอยู่กับสภาพของตลาดในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละปี
- รายได้อื่นๆจำนวน 72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46 ล้านบาท หรือ 180% ส่วนใหญ่มาจากรายได้เคลมค่า
ความเสียหายจากเรือชนท่าจำนวน 26 ล้านบาท และค่าพรีเมียมจากสัญญาขายเงินตราต่าง
ประเทศล่วงหน้า 24 ล้านบาท
1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
1) สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2550 ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 43,722 ล้านบาท
ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 43,337 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของบริษัท บาง
จากกรีนเนท จำนวน 6,299 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 5,914 ล้าน
บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ แก่บริษัท บางจากกรีนเนท
2) สำหรับไตรมาส 2 ปี 2550 ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 23,489 ล้านบาท
ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 23,293 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของบริษัท บาง
จากกรีนเนท จำนวน 3,412 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 3,216 ล้าน
บาท โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ได้แก่
- บริษัทฯ มีดอกเบี้ยจ่าย 167 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 20 ล้านบาท หรือ 11%
เนื่องจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.5% ต่อปี โดยบริษัทฯ มีต้นทุนเงินกู้ยืมเฉลี่ย
ไตรมาส 2/2550 อยู่ที่ 5.7%
- ภาษีเงินได้จำนวน 273 ล้านบาท สูงขึ้น 84 ล้านบาท เนื่องจากผลการดำเนินงานที่มีกำไรใน
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 อย่างไรก็ดีบริษัทฯ ได้ตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีไว้ด้วยจำนวน
51 ล้านบาท เนื่องจากการใช้สิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 460 เพื่อส่งเสริมการ
ลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าให้ดีขึ้น (เงินได้ที่จ่ายเพื่อลงทุนในงวดนี้ประมาณ 678
ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนสำหรับโครงการ PQI)
สิ่งที่ส่งมาด้วย 5/8
1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร
อัตรากำไรขั้นต้นมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ
กลั่นและค่าการตลาด โดยงวด 6 เดือน และไตรมาส 2 ปี 2550 มีอัตรากำไรขั้นต้น 4.2% และ 6.4% ตามลำดับ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่อยู่ที่ 3.2% และ 3.9% ตามลำดับ สาเหตุหลักมาจากค่าการกลั่นรวมที่
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วตาม 1.1 ข้อ 2) ทำให้อัตรากำไรสุทธิในไตรมาส 2 ปี 2550/2549 ปรับเพิ่มขึ้น
เป็น 3.5% จาก 1.6% ส่วนอัตรากำไรสุทธิงวด 6 เดือน ปี 2550/2549 เท่ากันที่ 1.8%
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2549
2.1 สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2550 มีจำนวน 39,951 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ
จำนวน 39,871 ล้านบาท และบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 472 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมี
สินทรัพย์ระหว่างกัน 392 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชีลูกหนี้จำนวน 389 ล้านบาท
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2550 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2549 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
จำนวน 1,928 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- ณ 30 มิถุนายน 2550 บริษัทฯมีลูกหนี้การค้า-สุทธิ 4,274 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,146 ล้านบาท หรือ
เพิ่มขึ้น 37% เนื่องจากมีการขายน้ำมันส่งออกมากขึ้นซึ่งเป็นลูกหนี้กลุ่มที่มีเทอมชำระเงินเฉลี่ย
นาน 30 วัน
- สินค้าคงเหลือ 9,791 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,150 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 13% เนื่องจากปริมาณสินค้า
เพิ่มขึ้นตามปริมาณการกลั่นที่เพิ่มสูงขึ้น
2.2 หนี้สิน
1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2550 จำนวน 20,763 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน
20,687 ล้านบาท และของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 465 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่าง
กัน จำนวน 389 ล้านบาท
2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2550 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2549 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 1,436
ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- ณ 30 มิถุนายน 2550 เจ้าหนี้การค้ามีจำนวน 6,048 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,902 ล้านบาท หรือ 46%
เนื่องจากในไตรมาส 2 มีปริมาณการกลั่นสูงขึ้นทำให้มีการซื้อน้ำมันดิบมากขึ้นประกอบกับช่วงสิ้นปี
ที่แล้วมีการจ่ายชำระหนี้ค่าน้ำมันล่วงหน้า 2 เที่ยวเรือ ปริมาณ 0.73 ล้านบาเรล มูลค่า 1,725 ล้าน
บาท
2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2550 รวมจำนวน 19,188 ล้านบาท
เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 19,184 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทบางจากกรีนเนท จำนวน
7 ล้านบาท และเป็นรายการระหว่างกัน 3 ล้านบาท
สิ่งที่ส่งมาด้วย 6/8
2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2550 เพิ่มขึ้น 492 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี
2549 เนื่องจากบริษัทฯ มีกำไรสุทธิครึ่งปีแรกปี 2550 จำนวน 791 ล้านบาท แต่มีการจ่ายเงินปันผล
ประจำปีจำนวน 190 ล้านบาท และได้มีการตัดจำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เป็นจำนวน
109 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 30 มิถุนายน 2550 มีจำนวน 19,184 ล้านบาท
3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 มี
จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 287 ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็นร้อยละ
20.4 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2550
3.1 สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2550 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดต้นงวดยกมา 2,705 ล้านบาท โดยใน
ระหว่างงวดมีเงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมต่างๆจำนวน 2,105 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินสดที่ได้มาจาก
กิจกรรมดำเนินงาน 615 ล้านบาท เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมลงทุนจำนวน 2,231 ล้านบาท และใช้เงินสดไป
ในกิจกรรมจัดหาเงิน 741 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2550 จึงมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
จำนวน 4,810 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 4,676 ล้านบาท และเป็นเงินสดของ
บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 134 ล้านบาท
3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากกำไรสุทธิงวด 6 เดือน จำนวน 791 ล้านบาท บวกกลับค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช้
เงินสดจำนวน 546 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทฯ มีกำไรที่เป็นเงินสดจำนวน 1,337 ล้านบาท มีเงินสดต้นงวด
จำนวน 2,599 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้และใช้เงินสดในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานจำนวน 754 ล้านบาท โดยที่
- ใช้เงินสดไปเพื่อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 2,067 ล้านบาท ได้แก่ ลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้น 1,103
ล้านบาท สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 1,150 ล้านบาท และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นลดลงจำนวน 186 ล้าน
บาท
- มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 1,313 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1,914
ล้านบาท แต่ได้จ่ายชำระหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นจำนวน 601 ล้านบาท
2) บริษัทฯ ได้เงินสดมาจากกิจกรรมลงทุน 2,235 ล้านบาท ได้แก่
- ได้เงินสดจากเงินลงทุนชั่วคราว 3,016 ล้านบาท ตามที่ได้ฝากเงินประเภทประจำมีระยะเวลาตั้งแต่
3-14 เดือน ไว้ ณ 30 มิถุนายน 2550 เงินฝากส่วนหนึ่งได้แปลงสภาพเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด
เนื่องจากมีระยะเวลาฝากคงเหลือไม่เกิน 3 เดือน
- มีการจ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 876 ล้านบาท ในจำนวนนี้
เป็นส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดไปจำนวน 750 ล้านบาท
- บริษัทฯได้เงินสดจากกิจกรรมการลงทุนอื่นๆอีก 95 ล้านบาท
3) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 741 ล้านบาท
- ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น(ธนาคารกรุงไทย)จำนวน 300 ล้านบาท
สิ่งที่ส่งมาด้วย 7/8
- ชำระคืนเงินกู้ระยะยาว(ธนาคารกรุงไทย)จำนวน 251 ล้านบาท
- จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น 190 ล้านบาท (จำนวน 1,119 ล้านหุ้น อัตราหุ้นละ 17 สตางค์)
ดังนั้น บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 2,077 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินสดต้นงวดจำนวน
2,599 ล้านบาทแล้ว ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2550 บริษัทฯมีเงินสดคงเหลือจำนวน 4,676 ล้านบาท โดยเป็นเงินสด
เพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 1,480 ล้านบาท และเงินสดที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 3,196 ล้าน
บาท
4. สรุปผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
บริษัทฯ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึกบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทจากวิธี
ส่วนได้เสีย (Equity Method) เป็นวิธีราคาทุน (Cost Method) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไป
ตามข้อกำหนดใหม่ของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 ประกาศโดยสภาวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 26/2549 ทั้งนี้เงินลงทุนใน
บริษัทย่อยที่แสดงอยู่ในงบเฉพาะบริษัทนั้นบันทึกโดยใช้ราคาทุนเดิม (Historical Cost) เป็นราคาทุนเริ่มต้น ซึ่งการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวทำให้กำไร (ขาดทุน) สุทธิ ในงบการเงินเฉพาะบริษัทจะไม่เท่ากับงบการเงินรวมอีก
ต่อไป และบริษัทฯ ได้ปรับปรุงย้อนหลังงบการเงินปี 2549 ที่แสดงเปรียบเทียบด้วย ส่งผลให้กำไรสะสม ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2549 เพิ่มขึ้นจำนวน 0.49 เท่ากับมูลค่าหุ้นที่บริษัทฯลงทุนในบริษัท บางจากกรีนเนท เพื่อให้สะท้อนมูลค่าเงิน
ลงทุนตามวิธีราคาทุนเดิมตามที่มาตรฐานได้กำหนดไว้ ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีนี้ได้แสดงไว้ใน "ผล
สะสมจากการเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย" ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้นเฉพาะบริษัท
หน่วย : ล้านบาท
งบกำไรขาดทุน ไตรมาส 2 ปี 2550 ไตรมาส 2 ปี 2549
(งบเฉพาะบริษัท) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด)
ส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน)จาก - 35 -35 - 3 -3
บริษัทย่อย
งบดุล 30 มิถุนายน 2550 31 ธันวาคม 2549
(งบเฉพาะบริษัท) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด)
เงินลงทุนบริษัทย่อย 0.49 - +0.49 0.49 - +0.49
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวส่งผลต่อการแสดงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงิน
ลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อการจัดทำงบการเงินรวมและ
ปัจจัยพื้นฐานการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯแต่อย่างใด
5. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ในส่วนของ
ค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจากการขึ้นลง
ของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่โรงกลั่นของ
บริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery ซึ่งมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงกลั่นประเภท
Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯ ถูกจำกัดไว้ ซึ่งบริษัทฯ มี
ความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียม
กับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุล
สิ่งที่ส่งมาด้วย 8/8
น้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่ง
สามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทฯคาด
(ยังมีต่อ)