การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุค Energy Transition
Executive Talk ครั้งนี้เราได้รับเกียรติจาก
คุณธรรมรัตน์ ประยูรสุข
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน
Executive Talk ครั้งนี้คุณธรรมรัตน์ ประยูรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ได้ให้วิสัยทัศน์เรื่องการรับมือกับการ Disrupt ในยุค Energy Transition กับเรานะคะ
- Disrupt ในยุค Energy Transition คืออะไร? เป็นมาอย่างไรคะ?
-
ในโลกแห่งวงการอุตสาหกรรมน้ำมันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นช่วงการก้าวผ่านที่สำคัญทั้งเกิดจากปัจจัยทางตรงและปัจจัยทางอ้อม หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า ‘Energy Transition’ ซึ่งทั้งหมดก็เกิดจากฝีมือมนุษย์ในอดีตที่เราขุด Fossil ขึ้นมาใช้เยอะมากโดยไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา เช่น Climate Change หรือภาวะโลกร้อน จนมาถึงจุดที่เราเริ่มหันมาดูแลโลกกันมากขึ้น พอถึงจุดนี้ก็ทำให้ธุรกิจน้ำมันถูก Disrupt
การเกิดการ Disrupt ในธุรกิจน้ำมัน ทำให้นักกลั่นน้ำมันอย่างพวกเราต้องคิดตลอดเวลา ทั้งเอาเชื้อเพลิงชีวภาพมาผสมใน Fossil เรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกวันคือการถูก Disrupt เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้ประสบความสำเร็จทันที เราดีใจได้แค่วันเดียว แต่ทุกวันในการทำงานเรายังต้องคิดต่อไปทุกวัน เราเลยต้องหันมาถามตัวเราเองว่า แล้วจะทำอย่างไร จริง ๆ อยากจะบอกกับเราทุกคนแม้กระทั่งตัวผมเองว่าให้คิดเสมอว่า ‘ถ้าตื่นเช้ามา แล้วน้ำมันโดน Disrupt ด้วยไฟฟ้า’ เราต้องทำอะไร ทำอย่างไร ซึ่งมันทำให้คนในโรงกลั่นคิดแล้วลงมือทำทันทีที่มีโอกาส
- ในฐานะที่บางจากฯ เป็นบริษัทที่มีธุรกิจหลักในอุตสาหกรรมน้ำมัน ทางองค์กรมีแนวทางปฏิบัติหรือการปรับตัวอย่างไรบ้างต่อการเกิดการ Disrupt นี้คะ?
-
เรามองบางจากเป็นครอบครัว เมื่อมีอะไรมากระทบ สิ่งแรกที่เราทำคือ ทำให้ครอบครัวรู้ว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นกับบ้านของเรา ต่อมาก็ชวนคนในครอบครัวเรามาแก้ไข หรือก็คือการสื่อสาร และทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เราเผชิญอยู่คือเรื่องอะไร
การทำทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในวันเดียว ทางบางจากฯ มีการปรับโครงสร้าง ซึ่งส่วนหนึ่งที่สำเร็จได้ก็มาจากคนภายในบ้านของเราเองที่ช่วยกันคิดช่วยกันทำ อย่างเช่น ‘BCP 316 NET’ ที่มาช่วยกันลดการปล่อย CO2 นอกจากนี้เรายังตั้งสำนักยุทธศาสตร์โรงกลั่น ซึ่งหลักๆ ก็เพื่อมา Disruptive Fossil และเราก็ต้องมีพันธมิตรที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง Fossil ด้วย อย่าง ‘Sustainable Aviation Fuel: SAF’ หรือน้ำมันอากาศยานยั่งยืนก็เป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้
อีกสิ่งหนึ่งที่ตอกย้ำความคิดนี้คือ ‘รางวัล TQA’ โดยคณะกรรมการตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ถามเราว่า หากไม่มีผู้บริหารในยุคปัจจุบัน โรงกลั่นยังคงดำเนินธุรกิจเหล่านี้ได้หรือไม่? คำตอบคือได้ เพราะการทำงานไม่ได้อยู่ที่บุคคล แต่เรามีระบบ และวัฒนธรรมที่ดี ซึ่งสุดท้ายแล้ว คำตอบและผลลัพธ์ที่เราได้แสดงให้กรรมการเห็นเป็นหลักฐานยืนยันคำพูดข้างต้นได้ว่า สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นจนเป็น Culture ของคนโรงกลั่น และเป็นระบบ (system) ที่จะอยู่กับเราตลอดไปและพัฒนาต่อเนื่อง
- สุดท้ายนี้ คุณธรรมรัตน์มีอะไรอยากฝากไว้ไหมคะ?
-
มนุษย์เราต้องการสิ่งที่ดีกว่าเสมอ ตัวเรายังต้องการการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจก็ต้องการการเปลี่ยนแปลง ผมบอกเสมอว่า การกล้าคิดมันเป็นของฟรี ดังนั้น การที่เราคิดว่าเราจะเปลี่ยนแปลงยังไง จะทำอะไรให้ดีขึ้น การเรียนรู้และกล้าคิดว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรดีขึ้นมันเป็นของฟรี แต่หลังจากคิดแล้วก็ต้องกล้าทำ ซึ่งถ้าเราไตร่ตรองมาดีพอสมควร รวมทั้งมีหลาย ๆ ส่วนเข้ามาช่วยดู การเปลี่ยนแปลงมันก็สามารถเกิดขึ้นได้
ผมอยากฝากเรื่องการพัฒนาตัวเองในยุคนี้ไว้ว่า ไม่มีทฤษฎีไหนมาสำคัญไปกว่ากฎธรรมชาติ ซึ่งหนึ่งในความสามารถของมนุษย์ก็คือ การฝึกฝน ปรับตัว และพัฒนาตัวเอง เช่น ทุกวันนี้เราสามารถใช้ Smartphone ได้อย่างคล่องแคล่วและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้มันเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เพียงแต่เราต้องสนใจกับสิ่งนั้น เริ่มง่าย ๆ จากสนใจบนงานของตัวเราเอง เมื่อเราสนใจ การ Learning ก็เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
คุณธรรมรัตน์ ประยูรสุข
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน