SET Announcements
) ความเห็นที่ปรึกษาอิสระเรื่องรายการที่เกี่ยวโยงกัน
กู้แปลงสภาพด้อยสิทธิ 0 0.00% 0 0.00% 182,596,153 11.92%
กรรมการ/ผู้บริหาร/
พนักงาน ของบริษัทฯ
และบริษัทย่อยผู้ถือ
ใบแสดงสิทธิ 0 0.00% 0 0.00% 25,200,000 1.65%
ผู้ถือหุ้นเพิ่มทุนใหม่และ
หุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิ
ใหม่ของบริษัทฯ 0 0.00% 444,000,000 39.60% 579,000,000 37.80%
รวม 677,146,946 100.00% 1,121,146,946 100.00% 1,531,657,793 100.00%
ทั้งนี้ การคำนวณผลกระทบสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นมีสมมติฐาน ดังนี้:
1. จำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จะเสนอขายแก่ปตท.เท่ากับ 283 ล้านหุ้น
2. จำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จะเสนอขายแก่นักลงทุนประเภทสถาบันเท่ากับ 161 ล้านหุ้น
3. จำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่รองรับการแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิใหม่เท่ากับ 135 ล้านหุ้น
4. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม(รวมถึงผู้ถือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิด
จากหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิ
ที่ได้แปลงเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯแล้ว ณ ก่อนวันที่จะได้รับสิทธิ
ในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะจัดสรรใหม่นี้) มีอัตราส่วนการจัดสรร คือ 10 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1
ใบสำคัญแสดงสิทธิ
5. จำนวนหุ้นสามัญที่รองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิในส่วนที่ถือโดยกรรมการ/ผู้บริหาร/
พนักงานของ บริษัทฯ และบริษัทย่อยที่อาจจะมีการใช้สิทธิได้ในส่วนแรก (ประมาณ 45%)
เท่ากับ 1.2 ล้านหุ้น
2.3 ผลประโยชน์และผลกระทบของการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับการทำรายการกับบุคคลภายนอก
2.3.1 ผลประโยชน์จากการเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิของบริษัทฯโดยปตท.
- เพื่อสร้างความมั่นใจของการได้มาซึ่งเงินเพิ่มทุนเพื่อไปใช้ลงทุนในโครงการ PQI
โดยยังคงรักษาสัดส่วนหนี้สินต่อทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- การเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของปตท.ในบริษัทฯซึ่งในโยบายที่จะลงทุนในระยะยาว ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดี
และสร้างความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นให้กับนักลงทุนที่ถือหุ้นของบริษัทฯ และ นักลงทุนทั่วไป
- ก่อให้เกิดผลประโยชน์จากการลงทุนในโครงการ PQI ร่วมกัน กล่าวคือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
และ เพิ่มรายได้ให้กับบริษัทฯ ซึ่งส่งผลในรูปของผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้น
สอดคล้องกับสัดส่วนที่ถือเพิ่มขึ้นของปตท.
- สามารถคงสถานะความเป็นเจ้าของโดยคนไทยในธุรกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ และ เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ
- การเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นโดยปตท.ก็เสมือนการเพิ่มสัดส่วนโดยกระทรวงการคลังเนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในปตท.
ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ให้ความช่วยเหลือบริษัทฯ มาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกันเงินกู้กับธนาคาร
หรือ การประกันเงินต้นของใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญของบริษัท
ซึ่งได้ทำการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเมื่อต้นปี 2547
- การเจรจาต่อรองในการทำรายการการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนและ/หรือหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิ
ในครั้งนี้ จะสามารถทำได้รวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นกว่า
- ปตท. คาดว่าการลงทุนในครั้งนี้ จะต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิด
Synergy โดยสรุปได้ดังนี้
o บริหารการจัดหาและการขนส่งน้ำมันดิบให้กับ บางจาก ซึ่งจะลดต้นทุนการจัดหาน้ำมันดิบให้กับ บางจาก
เนื่องจาก ปตท. มีปริมาณจัดหาน้ำมันดิบโดยรวมที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิด Economies of scale
o จัดระบบบริหารการจัดจ่ายน้ำมันสำเร็จรูปร่วมกันแล้วให้โรงกลั่นบางจากเป็นศูนย์กลางในการจัดจ่าย
น้ำมันสำเร็จรูปสำหรับกรุงเทพและปริมณฑล และ ปตท.จะมีการแลกเปลี่ยน น้ำมันในส่วนกลางและ
ภูมิภาคกับบางจาก โดยที่บางจากไม่ต้องขนส่งน้ำมันไปภูมิภาค ทั้งนี้
เพื่อสนองต่อภาครัฐที่มีนโยบายสนับสนุนให้ใช้คลังน้ำมันของบางจากและคลังพระโขนงของ ปตท.
เป็นศูนย์กลางในการจัดจ่ายน้ำมันในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในอนาคต
ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนด้านระบบขนส่งและจัดจ่ายน้ำมันของ ปตท. บางจาก และของประเทศโดยรวมได้
o เป็นการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของ บางจากในระยะยาว โดยการลงทุนเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเตา
ด้วยการติดตั้งหน่วยกลั่น Hydro Cracker เพื่อ
ให้สามารถผลิตน้ำมันดีเซลและเบนซินที่มีคุณภาพตามข้อกำหนดคุณภาพในปัจจุบัน
ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต
โดยจะมีการจัดทำสัญญา//บันทึกความร่วมมือทางธุรกิจ 3 ฉบับ โดยสรุปเงื่อนไขหลักในร่างสัญญา มีดังนี้
สัญญาการรับผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป (Product Offtake Agreement)
o การรับผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป
ก่อนโครงการ PQI แล้วเสร็จ (before the commercial operation date of
the PQI Project) ปตท. จะรับผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปดังนี้
- ผลิตภัณฑ์น้ำมันอื่นนอกจาก แอลพีจี และ Fuel Oil High Pour ปตท.จะรับรวมกันทั้งหมดในปริมาณ
ประมาณร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิต (ทั้งนี้ปริมาณที่ ปตท.
จะรับรวมกันดังกล่าวจะไม่เกินปริมาณการผลิตที่เหลือหลังหักปริมาณการจำหน่ายในส่วนของตลาด
ขายปลีกของบางจาก)
- ปตท. ขอรับผลิตภัณฑ์ แอลพีจี และน้ำมันเตา High Pour จากบางจากไม่เกินปริมาณที่ผลิตได้
โดยที่ทั้ง ปตท. และบางจากจะร่วมกันพิจารณากำหนดปริมาณการรับผลิตภัณฑ์แอลพีจี และน้ำมันเตา
High Pour ที่แน่นอนต่อไป
- ราคาที่ ปตท. จะรับซื้อคือ ราคา Ex-Refinery
หลังโครงการ PQI แล้วเสร็จ (from the commercial operation date of the PQI Project) ปตท.
จะรับผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปดังนี้
- ไม่น้อยกว่า 5-10 ล้านลิตรต่อเดือน สำหรับน้ำมันอากาศยาน Jet A-1
- ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิต สำหรับน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล
- ปตท. ขอสิทธิในการรับผลิตภัณฑ์ส่วนเกินจากตลาดขายปลีกของบางจากทั้งหมด
- ปตท. ขอรับผลิตภัณฑ์ แอลพีจี จากบางจากไม่เกินปริมาณที่ผลิตได้ โดยที่ทั้ง ปตท.
และบางจากจะร่วมกันพิจารณากำหนดปริมาณการรับผลิตภัณฑ์ แอลพีจี ที่แน่นอนต่อไป
- ในกรณี บางจากไม่สามารถส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันดังกล่าวได้ตามปริมาณแต่ละผลิตภัณฑ์ข้างต้น และ ปตท.
ต้องจัดหาผลิตภัณฑ์จากแหล่งอื่นที่มีต้นทุนสูงกว่า บางจากต้องชดเชยส่วนต่างราคาที่สูงขึ้นสำหรับปริมาณที่
บางจากไม่สามารถจัดส่งให้แก่ ปตท.
ยกเว้นในกรณีที่การไม่สามารถจัดส่งดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างที่โรงกลั่นบางจากหยุดการผลิต
(Refinery Shutdown Period)
- ราคาที่ ปตท. จะรับซื้อคือ ราคา Ex-Refinery
ทั้งนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะตกลงร่วมกันเพื่อทำ Product swap และ/หรือ ลดการขนส่งระหว่างคลัง
สัญญาจัดหาน้ำมันดิบ (Feedstock Supply Agreement)
o สัญญาจัดหาน้ำมันดิบระหว่าง ปตท. และบางจาก มีข้อกำหนด เงื่อนไข และโครงสร้างราคา
ในรูปแบบเดียวกับที่ ปตท. จัดทำกับโรงกลั่นในเครือ ปตท. ทั้งหมด
o ปตท. พิจารณาจัดหาน้ำมันดิบนำเข้าให้กับบางจากทั้งหมด เนื่องจาก ปตท. สามารถบริหารการจัดหาน้ำมันดิบ
ด้วยการร่วมขนส่งน้ำมันดิบกับโรงกลั่นอื่นในเครือ ปตท. และการใช้ ประโยชน์จากถังเก็บผลิตภัณฑ์
และ Facilities อื่นๆร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดต้นทุนในการจัดหาน้ำมันดิบให้กับบางจากต่ำที่สุด
o หลักการกำหนดราคาน้ำมันดิบที่ ปตท. จัดหาให้กับ บางจาก
ราคาตลาดตามที่ตกลงกัน (Agreed Market Price) บวกค่าบริหารจัดการ
บันทึกความเข้าใจเพื่อศึกษาแนวทางความร่วมมือทางด้าน Logistics
o ปตท. และ บางจาก จะร่วมกันศึกษา แนวทางการทำ Product Swap ระหว่างกันเพื่อให้บางจากและปตท.
เป็นศูนย์กลางการกระจายน้ำมันในกรุงเทพและปริมณฑล
o ปตท. และ บางจาก จะร่วมกันศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากท่อ Thappline ท่อ FPT คลังน้ำมัน ท่าเรือ
และ Facilities ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์โดยรวมสูงสุด
2.3.2 ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงจากการเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิของบริษัทฯโดยปตท.
o การเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิของบริษัทฯในครั้งนี้จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของปตท.
เพิ่มขึ้นจาก 7.71% (เป็นการถือทางอ้อมจากการถือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญของ
บริษัทฯผ่านบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด จำนวน 52,240,000 หน่วย ตั้งแต่ ณ วันที่ 5 ก.ค.2548)
เป็นสัดส่วนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 42.94
o ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ โดยปัจจุบันปตท.ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงกลั่นน้ำมันโดยตรง แต่มีการถือหุ้น
ในบริษัทฯ ที่ดำเนินธุรกิจการกลั่นน้ำมัน คือ (1) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (สัดส่วนการถือหุ้น
49.54%) (2) บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (สัดส่วนการถือหุ้น 100.00%)และ (3) บริษัท สตาร์
ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (สัดส่วนการถือหุ้น 36.00%)
ซึ่งอาจทำให้เกิดการแข่งขันกันในแง่ของปริมาณการสั่งซื้อจากแต่ละโรงกลั่น อย่างไรก็ตาม ปตท.
มีนโยบายในการทำรายการระหว่างกันกับบริษัทในเครือกลุ่มธุรกิจการกลั่นน้ำมัน โดย ปตท.
ได้ทำสัญญาจัดหาน้ำมันดิบและรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปจากบริษัทโรงกลั่นน้ำมันในเครือในลักษณะที่ปตท.
จะจัดหาน้ำมันดิบและรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปตามสัดส่วนการถือหุ้นที่ ปตท. ถือหุ้นอยู่ในโรงกลั่นน้ำมันนั้นๆ
โดยลักษณะของสัญญาสามารถสรุปแยกในแต่ละโรงกลั่นน้ำมันได้ดังนี้
ลักษณะของสัญญากับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
ปตท. จะจัดหาน้ำมันดิบและรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นไทยออยล์ในสัดส่วนร้อยละ 49.99
ของกำลังการกลั่นในราคาตลาด โดยคู่สัญญาสามารถที่จะขอยกเลิกสัญญาได้ตั้งแต่ครบรอบปีที่ 13 เป็นต้นไป
นับจากวันที่ ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ โดยส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 12 เดือน
หรือคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ทั้งนี้ ปตท.
สามารถรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปส่วนที่เกินร้อยละ 49.99 ได้ในราคาตลาด
ลักษณะของสัญญากับบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด
ผู้ถือหุ้นของโรงกลั่นระยองจะรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปที่ได้จากโรงกลั่นในปริมาณขั้นต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
ของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ตามราคาตลาดในประเทศ สัญญารับซื้อผลิตภัณฑ์มีระยะเวลา 12 ปี
นับจากวันที่เริ่มผลิตอย่างเป็นทางการ หลังจาก 12 ปี ให้ถือว่าสัญญามีผลต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เว้นแต่จะมีการบอกกล่าวล่วงหน้า
ลักษณะของสัญญากับบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด
ผู้ถือหุ้นของโรงกลั่นสตาร์จะจัดหาน้ำมันดิบทั้งหมด และรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปที่ได้จากโรงกลั่นในปริมาณ
ขั้นต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของกำลังการกลั่นที่ 126,000 บาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 88,200 บาร์เรลต่อวัน
ตามราคาตลาดในประเทศ ปริมาณส่วนเกินจากการผลิตดังกล่าวโรงกลั่นสตาร์จะให้สิทธิ ปตท. และบริษัท
น้ำมันคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นในการพิจารณารับซื้อส่วนเกินตามราคาตลาดภายในประเทศ
ก่อนที่จะนำไปเสนอขายแก่บุคคล ที่สาม
นอกจากนี้ ปตท.ยังได้ดำเนินธุรกิจสถานีน้ำมันซึ่งจะเป็นการแข่งขันโดยตรงกับบริษัทฯ โดยปตท.ได้มีนโยบายดังนี้ ปตท.
จะยังคงนโยบายการดำเนินธุรกิจ สถานีบริการน้ำมันของแต่ละบริษัทเหมือนเดิม
โดยการดำเนินงานมีการเติบโตอย่างเหมาะสมตามภาวการณ์ขยายตัวของธุรกิจ มีการลงทุนที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม
และให้ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ รวมถึงเพิ่มความสามารถในการแข่งขันตามศักยภาพของบริษัท
2.3.3 ผลกระทบจากการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิให้กับบุคคลภายนอก
o ถ้าเป็นกรณีที่ต้องการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิในปริมาณเทียบเท่าให้กับบุคคล
ในวงจำกัดไม่ว่าจะเป็นในรูปของนักลงทุนที่ต้องการร่วมบริหาร (Strategic Partner) หรือ
นักลงทุนที่ไม่ต้องการร่วมบริหาร (Financial Partner)
บริษัทฯต้องมีภาระในการหาผู้ร่วมทุนดังกล่าวโดยที่ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- จำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิที่สามารถรับซื้อในแต่ละผู้ร่วมลงทุน
เพื่อให้ได้ปริมาณเงินทุนที่พอเพียงเพื่อที่จะไปลงทุนในโครงการ PQI
- การดำเนินธุรกิจที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน (Synergy)
- เงื่อนไข และ ประสบการณ์ในการเข้าร่วมบริหารงาน ในกรณีของนักลงทุนที่ต้องการร่วมบริหาร
- ระยะเวลาที่นักลงทุนดังกล่าวจะร่วมลงทุน)
- ผู้ลงทุนที่ต้องการร่วมบริหารไม่ควรมีมากกว่า 2 ราย เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบริหารงาน
แต่ถ้าเป็นการเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไปอาจไม่ต้องมีตัวแทนเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร
o ถ้าเป็นกรณีที่ต้องการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิในปริมาณเทียบเท่าให้กับบุคคลในวงกว้าง
จะเกิดผลกระทบดังนี้
- บริษัทฯจะต้องจะต้องดำเนินการเสนอขายหุ้นโดยผ่านขั้นตอนของสำนักงานก.ล.ต. และ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (?ตลาดหลักทรัพย์?) ซึ่งจะกระทบต่อเงื่อนเวลาของการดำเนินการก่อสร้างโครงการ
PQI
- ความไม่แน่นอนในการรับซื้อจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิที่เสนอขายทั้งหมด
เพื่อให้ได้มาซึ่งปริมาณเงินทุนที่พอเพียงเพื่อที่จะไปลงทุนในโครงการ PQI
- เนื่องจากเป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งจะมีราคาซื้อ-ขายในตลาดฯ
การตั้งราคาเสนอขายของหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่โดยทั่วไปจะกำหนดราคาโดยดูเทียบกับราคาตลาด ณ วันใกล้ๆ
กับวันทำการเสนอขาย และ ราคาที่เสนอขายจะเป็นราคาส่วนลดจากราคาตลาด
ซึ่งอัตราส่วนลดนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาะการณ์ของตลาดทุนในขณะนั้นๆ
o เนื่องจากข้อบังคับของบริษัทฯได้กำหนดเพดานการถือครองหุ้นของบริษัทฯโดยผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยไว้ไม่เกิน 10%
ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด ดังนั้นการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนและหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิซึ่งมีสิทธิแปลงสภาพ
เป็นหุ้นสามัญต่อบุคคลภายนอกจึงต้องคำนึงถึงข้อจำกัดดังกล่าวนี้ด้วย
2.4 ข้อคำนึงอื่นๆ
o ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกันในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทฯซึ่งในที่นี้ ได้แก่ กระทรวงการคลัง ปตท. และ
กองทุนรวมวายุภักษ์ 1 โดยสามารถแสดงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯทั้ง ณ ปัจจุบัน ภายหลังจากเพิ่มทุนใหม่ให้กับปตท.
รวมทั้งสมมติฐานการแปลงสภาพหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิทั้งหมดโดยกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 และการแปลงสภาพเป็น
หุ้นสามัญของหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิใหม่โดยปตท. (ทั้งนี้ ไม่ได้รวมผลของ (1)
การแปลงสภาพหุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิชุดปัจจุบันโดยบุคคลอื่น และ (2)
การใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯโดยกรรมการ/ผู้บริหาร/พนักงาน ของบริษัทฯและบริษัทย่อย ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิ)
ได้ดังนี้
ผู้ถือหุ้น ณ 30 ส.ค. 48 ภายหลังจากเสนอขายหุ้นสามัญ ภายหลังจากแปลงสภาพของหุ้น
ใหม่ให้กับปตท. กู้แปลงสภาพ (CDDR)(3)
จำนวนหุ้น ร้อยละ จำนวนหุ้น ร้อยละ จำนวนหุ้น ร้อยละ
ปตท. (BCP-DR1) 52,240,000 7.71% 52,240,000 4.66% 52,240,000 4.62%
ปตท. (หุ้นสามัญ) 0 0.00% 283,000,000(1) 25.24% 283,000,000 25.02
กระทรวงการคลัง
(BCP-DR1) 124,947,970 18.45% 124,947,970 11. 14% 124,947,970 11.04%
กองทุนวายุภักษ์ 1
(BCP-DR1) 20,831,400 3.08% 20,831,400 1. 86% 30,993,006 2.74%
รวมกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกัน 198,019,370 29.24% 481,019,370 42. 90% 491,180,976 43.42%
บุคคลอื่น 479,127,576 70.76% 640,127,576(2) 57.10% 640,127,576 56.58%
รวม 677,146,946 100.00% 1,121,146,946 100.00% 1,131,308,552 100.00%
หมายเหตุ :
(1) บนสมมติฐานจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จะเสนอขายแก่ปตท.เท่ากับ 283 ล้านหุ้น
(2) บนสมมติฐานจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่จะเสนอขายแก่นักลงทุนประเภทสถาบันเท่ากับ 161 ล้านหุ้น
(3) บนสมมติฐานการแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพ (CDDR) โดยกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 เท่านั้น
o หาก ปตท. ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ตามการทำรายการในครั้งนี้ จนเป็นผลให้ ปตท. ถือหุ้นในบริษัทฯเกินกว่าร้อยละ
25 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ปตท. จะมีสิทธิเพิ่มจำนวนกรรมการเพื่อเป็นตัวแทนของ ปตท.
ในบริษัทฯตามสัดส่วนภายหลังการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ในครั้งนี้ ไม่ว่า จาก การเพิ่มจำนวน
กรรมการของกิจการหรือแทนกรรมการคนใดที่ลาออก โดยจะดำเนินการให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัทฯ
และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท
3. ความเป็นธรรมของราคา และเงื่อนไขของรายการ
ตามที่ บางจาก มีความประสงค์ในการลงทุนโครงการลงทุนใหม่ (Product Quality Improvement หรือ
PQI) ซึ่งประกอบด้วยการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยสนับสนุนต่างๆ ณ
บริเวณที่ตั้งปัจจุบันของบางจาก ด้วยจำนวนเงินลงทุนประมาณ 250-350 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 11,250-15,750
ล้านบาท โดยแหล่งเงินในการลงทุนแบ่งเป็นจากการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงประมาณ
ไม่เกิน150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6,750 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย 1) ปตท. ประมาณ100-120
ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 4,500-5,400 ล้านบาท แบ่งเป็น ก) หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 283 ล้านหุ้น
ในราคาเสนอขายหุ้นละ 14-16 บาทต่อหุ้น ข) หุ้นกู้แปลงสภาพด้อยสิทธิมูลค่าไม่เกิน 41.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งสามารถใช้สิทธิได้ไม่เกิน 135 ล้านหุ้น 2) สถาบันการเงินไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือไม่เกิน 161
ล้านหุ้น ในราคาเสนอขายไม่ต่ำกว่า 14 บาทต่อหุ้น และเป็นเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในส่วนที่เหลือ
หุ้นสามัญ
1.1 การเปรียบเทียบมูลค่าซื้อกับมูลค่าตามวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นต่างๆ
ด้วยเหตุดังกล่าวทางบริษัทฯจึงให้ทางที่ปรึกษาทางการเงินอิสระแสดงความคิดเห็นในการประเมินมูล
ค่าหุ้นสามัญของบางจากที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นต่อไป
ในการประเมินมูลค่าครั้งนี้ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระได้พิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจและโครงการลงทุน PQI
ของบางจาก ตามวิธีการประเมินมูลค่าต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย วิธีมูลค่าทางบัญชี (Book Value), วิธีราคาตลาด
(Market Value), วิธีส่วนลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow หรือ DCF),
อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E Ratio : PER), อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (Price to Book
Ratio or P/BV) และอัตราส่วนมูลค่ากิจการต่อกระแสเงินสด (Enterprise Value to EBITDA or
EV/EBITDA) ทั้งนี้แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันโดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1.1 วิธีมูลค่าทางหุ้นตามบัญชี (Book Value)
จากงบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548* ของบางจากมีส่วนของผู้ถือหุ้นดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
ทุนจดทะเบียน ออกจำหน่าย และชำระเต็มมูลค่าแล้ว 663.16
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 1,627.67
ส่วนเกินทุนจากการลดทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 189.62
ส่วนเกินจากการตีราคาสินทรัพย์ 4,613.39
กำไรสะสม
จัดสรรแล้ว - สำรองตามกฎหมาย 86.71
ยังไม่ได้จัดสรร (ขาดทุน) 4,280.98
รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ 11,461.53
จำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด (ล้านหุ้น) 663.16
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาทต่อหุ้น) 17.28
รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ,CDDR ที่เหลือและแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญและESOP 14,155.30
จำนวนหุ้นที่จดทะเบียนทั้งหมด (ล้านหุ้น) 867.14
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นปรับลดเต็มที่ (Fully Diluted Book Value) (บาทต่อหุ้น)** 16.32
หมายเหตุ: * งบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 เป็นงบที่รับการสอบทาน จากผู้สอบบัญชี
คือ บริษัท สำนักงาน เอ.เอ็ม.ที. แอสโซซิเอท จำกัด
** มูลค่าตามบัญชีดังกล่าวรวมการแปลง CDDR เป็นหุ้นและหุ้นESOP
การประเมินโดยวิธีดังกล่าวจะได้มูลค่าหุ้นสามัญตามบัญชีของบริษัทฯ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 เท่ากับ
17.28 บาทต่อหุ้น สำหรับมูลค่าหุ้นสามัญตามบัญชีต่อจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด และ 16.32 บาทต่อหุ้น
สำหรับมูลค่าหุ้นสามัญตามบัญชีต่อจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนแล้วทั้งหมดหลังผู้ถือหุ้น CDDR และ ESOP ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญ
แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้เป็นการแสดงให้เห็นมูลค่าตามบัญชีของกิจการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประกอบการในอนาคต, ไม่ได้คำนึงถึงแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโดยรวม
นอกจากนี้จากระบบบัญชีของบริษัทฯที่เป็นแบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)
ก็จะส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯสูงมากในกรณีที่ราคาน้ำมันขาขึ้น
เนื่องจากต้นทุนที่นำมาใช้จะเป็นราคาน้ำมันย้อนหลังประมาณ 1-2 เดือน ที่มีราคาต่ำกว่า
แต่ในทางกลับกันในกรณีที่ราคาน้ำมันขาลงก็จะทำให้ผลการดำเนินงานลดลงมากเช่นกัน
จากเหตุผลดังกล่าวจึงอาจกล่าวได้ว่าการประเมินราคาตามมูลค่าทางบัญชีจึงมีความผันผวนค่อนข้างสูง
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันที่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคาค่อนข้างสูง
1.1.2 วิธีราคาตลาดของหุ้นในอดีต (Historical Market Value)
วิธีการตลาดเป็นการประเมินมูลค่าหุ้นตามราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลังของหุ้นสามัญของบริษัทฯที่ซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์ฯโดยเป็นการตัดสินใจซื้อขายโดยรวมปัจจัยต่างๆ ที่สะท้อนออกมาเป็นราคาตลาด
บริษัทฯมีมติคณะกรรมการในการขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้ ในวันที่ 29 สิงหาคม 2548 เพื่อระดมทุนในการลงทุน
ในโครงการ PQI ที่ปรึกษาทางการเงินวิเคราะห์ราคาปิดในวันที่ 26 สิงหาคม 2548
ซึ่งเป็นวันก่อนวันที่คณะกรรมการมีมติ และช่วงวันก่อนที่คณะกรรมการมีมติในช่วง 7 วันทำการ 15 วันทำการ
30 วันทำการ 60 วันทำการ และ 90 วันทำการก่อนคณะกรรมการมีมติ ดังนี้
ตารางสรุปราคาเฉลี่ยหุ้นสามัญของบางจาก (BCP)
26ส.ค48 เฉลี่ย7วันทำการ เฉลี่ย15วันทำการ เฉลี่ย30วันทำการ เฉลี่ย 60 วันทำการ เฉลี่ย90วันทำการ
18-26 ส.ค.48 5-26 ส.ค.48 14 ก.ค.47- 1มิ.ย.48- 12 เม.ย48-
26 ส.ค.48 26 ส.ค.48 26 ส.ค.48
ราคาBCP 14.90 14.11 13.67 13.55 13.64 13.38
(บาทต่อหุ้น)
ปริมาณการ
ซื้อขายเฉลี่ย
ต่อวัน 4.69 4.44 2.31 1.48 1.13 1.08
(ล้านหุ้น)
ตารางสรุปราคาเฉลี่ยของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ (BCP-DR1)
26ส.ค48 เฉลี่ย7วันทำการ เฉลี่ย15วันทำการ เฉลี่ย30วันทำการ เฉลี่ย 60 วันทำการ เฉลี่ย90วันทำการ
18-26 ส.ค.48 5-26 ส.ค.48 14 ก.ค.47- 1มิ.ย.48- 12 เม.ย48-
26 ส.ค.48 26 ส.ค.48 26 ส.ค.48
ราคาBCP-DR1 15.10 14.61 14.26 14.13 14.25 14.11
(บาทต่อหุ้น)
ปริมาณการ
ซื้อขายเฉลี่ย
ต่อวัน 2.00 4.65 2.46 1.86 1.94 2.28
(ล้านหุ้น)
จากตารางข้างต้นจะเห็นว่าราคาของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ (BCP-DR1)
มีมูลค่าสูงกว่าราคาหุ้นสามัญของบางจากเนื่องจาก BCP-DR1 ถูกรับประกันโดยกระทรวงการคลังที่จะซื้อ
BCP-DR1 คืนในราคาที่เสนอขายแก่ประชาชนครั้งแรกหรือ 13 บาทต่อหน่วย หาก ผู้ถือหน่วย BCP-DR1
ที่มีอายุครบกำหนด 10 ปี แล้วมีความประสงค์ที่จะขายคืนให้แก่กระทรวงการคลัง
แต่อย่างไรก็ตามในการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงในครั้งนี้เป็นการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน
ของบางจาก มิใช่ เป็นการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะ BCP-DR1
ซึ่งได้รับการประกันต้นเงินจากกระทรวงการคลัง เพราะฉะนั้นควรพิจารณาเปรียบเทียบเฉพาะราคา
ซื้อขายหุ้นสามัญเท่านั้น
ช่วงก่อนมีมติคณะกรรมการหากนำราคาเฉลี่ยของหุ้นสามัญมาเปรียบเทียบกับราคาเสนอขายที่อยู่ใน
ช่วงระหว่าง 14-16 บาทต่อหุ้น พบว่าราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลังช่วง 15 ถึง 90 วันทำการ
ต่ำกว่าราคาเสนอขายหุ้นสามัญนอกจากนี้ราคาตลาดเฉลี่ยดังกล่าวได้สะท้อนถึงโครงการ PQI -
ของบริษัทฯไปแล้วบางส่วนเนื่องจากทางบริษัทฯได้เปิดเผยโครงการดังกล่าวในแบบรายงานประจำปี
(แบบ 56-1)
1.1.3 วิธีส่วนลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow หรือ DCF)
การประเมินมูลค่าโดยวิธี DCF เป็นการหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่บริษัทฯจะได้รับจากการ
ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯในอนาคต (Free Cash Flow หรือ FCF) บนสมมติฐานทั้งปัจจุบัน
และอนาคตสำคัญที่สมเหตุสมผล ทั้งนี้ที่ปรึกษาทางการเงินได้ทำการประเมินมูลค่า บางจากและโครงการ
PQI โดยใช้มูลค่าปัจจุบันของ FCF ที่ได้จากประมาณการงบการเงินภายใต้สมติฐานที่เหมาะสมที่จัดทำขึ้น
จากการสอบถามข้อมูลจากผู้บริหารและที่ปรึกษาทางการเงินของ บางจาก และงบการเงินในอดีตของบางจาก
โดยเป็นไปตามโครงสร้างรายได้และต้นทุนในการผลิตน้ำมันที่ประสิทธิภาพสูงสุดของบางจากโดยพิจารณา
จากความสามารถของเครื่องจักร ราคาต้นทุนของน้ำมันดิบ และราคาขายน้ำมันสำเร็จรูป
นอกจากนี้การประมาณการทางการเงินที่จัดทำขึ้นได้สะท้อนถึงแนวโน้มของรายได้และต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ
ในการดำเนินงาน ตลอดจนงบลงทุนและต้นทุนทางการเงินต่างๆ ในอนาคต
การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญด้วยวิธี DCF มีความเหมาะสมกับ บางจาก เนื่องจากเป็นการสะท้อนถึงการ
ดำเนินธุรกิจของบางจากเนื่องจากธุรกิจของบางจากเป็นธุรกิจกลั่นน้ำมัน (Hydoskimming) และขายน้ำมันเพียง
อย่างเดียวซึ่งหาบริษัทจดทะเบียนเพื่อมาเปรียบเทียบค่อนข้างยาก นอกจากนี้รายได้ของบางจากหลังปี 2551
จะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากเนื่องจากโครงการ PQI สามารถใช้ดำเนินการได้และจะทำให้โครงสร้างราย
ได้ของบางจากมีส่วนผสมที่ดีขึ้นและมีค่าการกลั่นที่ดีขึ้น (Gross Refinery Margin และ GRM)
เนื่องจากสามารถผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีมูลค่ามากขึ้น กล่าวคือสามารถผลิตน้ำมันดีเซลและเบนซินซึ่งเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงได้มากขึ้นและลดการผลิตน้ำมันเตาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าต่ำได้เป็นต้น
นอกจากนี้ต้นทุนหลักของ บางจาก จะเป็นต้นทุนค่าน้ำมันดิบซึ่งจะต้องนำเข้าจากแหล่งต่างๆ
ตามความเหมาะสมทั้งด้านราคาและประสิทธิภาพในการผลิตโดยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 80
(ยังมีต่อ)