SET Announcements
) คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 2/2553
2,136 ล้านบาท โดยในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิลดลงจากกิจกรรมต่างๆ จำนวน 282 ล้านบาท ประกอบด้วย
เงินสดได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 759 ล้านบาท เงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 362 ล้านบาท และ
เงินสดใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 679 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2553 งบการเงินรวมจึงมี
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 1,854 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน
1,452 ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 279 ล้านบาท และของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล
จำนวน 123 ล้านบาท
3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากเงินสดต้นงวดจำนวน 1,711 ล้านบาท (เป็นเงินทุนของโครงการ PQI
299 ล้านบาท และสำหรับดำเนินงานทั่วไปจำนวน 1,412 ล้านบาท) และในระหว่างงวดบริษัทฯใช้เงินไป
259 ล้านบาท จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) บริษัทฯ ได้เงินสดมาจากกิจกรรมดำเนินงาน 750 ล้านบาท ได้แก่
- มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานที่เป็นเงินสด
2,684 ล้านบาท
- ใช้เงินสดไปในสินทรัพย์ดำเนินงาน 1,783 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 1,403 ล้าน
บาท ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 844 ล้านบาท และสินทรัพย์อื่นๆลดลง 464 ล้านบาท
- ได้เงินสดจากหนี้สินดำเนินงาน 1,604 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้นจำนวน 1,774
ล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นลดลงจำนวน 170 ล้านบาท
- บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ไปเป็นเงินสดจำนวนรวม 1,755 ล้านบาท
2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 330 ล้านบาท ได้แก่
- บริษัทฯจ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 273 ล้านบาท
- จ่ายชำระค่าหุ้นสำหรับการลงทุนในบริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเชียน จำกัด (มหาชน) จำนวน 93
ล้านบาท
- ได้เงินปันผลรับจากบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด จำนวน 18 ล้านบาท และได้เงินจาก
กิจกรรมลงทุนอื่นอีก 18 ล้านบาท
3) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 679 ล้านบาท ได้แก่
- จ่ายคืนเงินกู้ระยะยาวตามกำหนดเวลาจำนวน 444 ล้านบาท
- จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท รวมเป็นเงิน 935 ล้านบาท
- เบิกเงินกู้ระยะสั้นจำนวน 700 ล้านบาท
ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2553 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือจำนวน 1,452 ล้านบาท ซึ่ง
เป็นเงินสดที่เป็นเงินทุนของโครงการ PQI จำนวน 166 ล้านบาท และเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน
1,286 ล้านบาท
4. การบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environment Cost Accounting)
เพื่อแสดงให้เห็นความรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา บริษัทฯ จึงได้
จัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม (เฉพาะในสายการผลิต) และเผยแพร่สู่สาธารณะในรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป็นประจำทุกปี บัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม ถือเป็นบัญชีการบริหารด้านสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องมือ
ที่ทำให้บริษัทฯ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น
และยังช่วยให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและลดต้นทุนการผลิต ได้รับประโยชน์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและ
การเงินซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป สรุปบัญชีค่าใช้จ่ายสิ่งแวดล้อมไตรมาส 2 ปี 2553 เทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552
ดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท) ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 เปลี่ยนแปลง
ปี 2553 ปี 2552 +/-
ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ (Material Costs of Product Outputs) 20,675 15,774 +4,901
: ประกอบด้วย น้ำมันดิบ สารเคมี ส่วนผสมต่างๆ ในการผลิต และพลังงานที่ใช้ใน
การผลิด
ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ ( Material Costs of Non-Product 38 32 +6
Outputs)
: ประกอบด้วย น้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพ น้ำทิ้ง สารเคมีที่ใช้เกินจำเป็น และส่วนผสม
อื่นที่เกินจำเป็น
ค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษ (Waste and Emission Control Costs ) 25 20 +5
: ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายบำบัดหรือกำจัดของเสีย รวมถึงค่าบำรุงรักษา และค่าเสื่อม
ของอุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อม ( Prevention and Other Environmental 2 2 -
Management Costs)
: ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายการติดตาม ป้องกัน ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ประโยชน์ของผลผลิตพลอยได้และการนำของเสียมาใช้ใหม่ ( Benefit from -5 0.1 -5
by-product and waste recycling)
: ประกอบด้วย รายได้ของการใช้ประโยชน์จากของเสีย (เครื่องหมายลบหมายถึง
รายได้)
จากตารางด้านบน พบว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมในไตรมาส 2 ปีนี้ สูงกว่าไตรมาส 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วน
ใหญ่กว่า 99% เป็นค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ ปัจจัยหลักมาจากระดับราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นประมาณ
4.58 บาทต่อลิตร เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปีที่แล้ว ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นประมาณ 6 ล้าน
บาท หรือ 18.8% ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายจากน้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนด (Slop oil) ซึ่งผันแปรตามราคา
น้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณ Slop Oil ลดลงจากไตรมาส 2 ปีที่แล้วถึง 54% ส่วนค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุม
มลพิษ เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท หรือ 25.0% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าเสื่อม
ราคาของอุปกรณ์ควบคุมมลพิษตามระยะเวลา สำหรับค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับเดียวกับปีที่แล้ว
โดยบริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการติดตามและตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง