SET Announcements
) คำอธิบายและคำวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 3/2552
- ใช้เงินสดไปเพื่อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 6,777 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 5,486 ล้าน
บาท ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,372 ล้านบาท แต่สินทรัพย์อื่นๆลดลง 81 ล้านบาท
- มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 4,276 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 3,446
ล้านบาท และได้มาจากหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 830 ล้านบาท
- บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ไปเป็นเงินสดจำนวนรวม 2,145 ล้านบาท
2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 2,398 ล้านบาท ได้แก่
- จ่ายเงินเพิ่มทุนในบริษัท บางจากไบโอฟูเอล 89 ล้านบาท
- จ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 2,310 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็น
ส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดในปีนี้จำนวน 1,309 ล้านบาท
- ได้เงินสดจากสินทรัพย์อื่นๆ อีกจำนวน 1 ล้านบาท
3) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 1,933 ล้านบาท ได้แก่
- ชำระคืนกู้เงินระยะสั้นจำนวน 1,270 ล้านบาท
- เบิกเงินกู้ระยะยาวเพื่อใช้จ่ายสำหรับโครงการ PQI จำนวน 1,350 ล้านบาท
- จ่ายคืนเงินกู้ระยะยาวตามกำหนดจำนวน 284 ล้านบาท
- จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,729 ล้านบาท
ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2552 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือจำนวน 2,672 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงิน
สดที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 229 ล้านบาท และเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 2,443 ล้านบาท
4. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต
4.1 โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI)
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ใน
ส่วนของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจาก
การขึ้นลงของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่
โรงกลั่นของบริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery จึงมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับ
โรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯถูกจำกัด
ไว้ บริษัทฯจำเป็นต้องหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่
ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้ดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วย
แตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท
Complex Refinery ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ และคาดว่าจะทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ยปีละ 2,000-4,000 ล้านบาท เป็น
ประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท หลังจากที่โครงการดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับภาวะราคาน้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ โครงการ PQI มีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลง
รายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ
สัญญาก่อสร้างโครงการ PQI นี้เป็นลักษณะราคาก่อสร้างคงที่ มีกำหนดเวลาก่อสร้างที่แน่นอน และรับประกันผลงาน
โดยบริษัทฯได้จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand) Company Limited เป็น
ผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งงานก่อสร้างได้แล้วเสร็จ และได้ดำเนินการทดสอบอุปกรณ์และหน่วยผลิต 3 หน่วยหลัก ได้แก่
หน่วยกลั่นสุญญากาศ (Vacuum Distillation Unit - VDU) หน่วยผลิตไฮโดรเจน (Hydrogen Plant Unit - HPU) และ
หน่วยแตกโมเลกุล (Hydro-cracking Unit - HCU) และผ่านขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพตามเงื่อนไขหลักที่ตกลง
กับกลุ่มธนาคารผู้ให้กู้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552
อย่ งไรก็ ตามเมื่ อวัน ที่ 21 พฤษภาคม 2552 บริษั ท ฯได้ ห ยุด เดิน เครื่ อ งหน่ว ยแตกตัว โมเลกุล (Hydro-
cracking Unit) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ PQI เพื่อซ่อมแซมระบบควบคุมอัตโนมัติในการเปิดปิดและสูบถ่ายน้ำมัน
ของหน่วยดังกล่าวที่เกิดความเสียหายขึ้นในช่วงเตรียมดำเนินการทดสอบขั้นสุดท้าย อนึ่งบริษัทฯยังมิได้รับมอบหน่วย
กลั่น PQI จากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง ดังนั้นความเสียหายของหน่วยแตกตัวโมเลกุลที่เกิดขึ้นยังอยู่ในความดูแลและ
ความรั บ ผิ ด ชอบของบริ ษั ท ผู้ รั บ เหมาทั้ ง หมด ซึ่ ง ได้ มี ก รทำ ประกั น คุ้ ม ครองความเสี ย หายระหว่ งก่ อ สร้ ง
(Construction All Risks) ของโครงการไว้แล้ว และรวมถึงบริษัทฯจะได้รับการคุ้มครองความเสียหายจากการ
เดินเครื่องล่าช้า (Delay in Start-Up) ด้วย โดยขณะนี้การซ่อมแซมได้ดำเนินการแล้วเสร็จและอยู่ระหว่างทดลอง
เดินเครื่อง บริษัทฯคาดว่าจะดำเนินการทดสอบขั้นสุดท้ายตามข้อกำหนดที่ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องปฏิบัติให้ได้ตาม
เงื่อนไขในสัญญาก่อสร้างเพื่อพิจารณาปลดภาระหลักประกันให้แก่ผู้รับเหมาและโอนความรับผิดชอบของโรงงานคืน
แก่บริษัทฯได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2552 นี้
4.2 อัตราแลกเปลี่ยน
ปัจ จัย อีกประการหนึ่งที่มีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทฯคือ ความผันผวนของอัตรา
แลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้นบริษัทฯ จะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้าโดย
มีการอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ
และส่งผลกระทบต่อกำไร (Margin) ของบริษัทฯด้วย ปัจจุบันนอกจากบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยง
โดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดแล้วบางส่วน อีกทั้งเมื่อบริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างเงินกู้ใหม่เมื่อวันที่ 2
กรกฎาคม 2551 แล้ ว บริ ษั ท ฯ ยั ง ได้ ดำ เนิ น การเปลี่ ยนเงิ นกู้ สกุ ลเงิ นบาทให้ เป็ นเงิ นกู้ สกุ ลเหรี ยญสหรั ฐฯ (Cross
Currency Swap) มูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามนโยบายที่จะปรับสัดส่วนหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญ
สหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน และสมดุลกับรายได้ (Natural Hedge) เพื่อบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตรา
แลกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงบริษัทฯจะมีรายได้ในรูปของเงินบาทเพิ่มขึ้นแต่ก็จะมีผลขาดทุนจากอัตรา
แลกเปลี่ยนด้วยเช่นกัน แต่ในทางกลับกันเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นรายได้ในรูปของเงินบาทจะลดลง แต่บริษัทฯก็จะมีผล
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนมาชดเชยเช่นกัน สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2552 และจะครบกำหนด
ในวันที่ 30 กันยายน 2556
4.3 สัญญาป้องกันความเสี่ยงค่าการกลั่น (GRM Hedging)
แม้ว่า โครงการ PQI จะแล้ว เสร็จ และสามารถเพิ่ม ค่า การกลั่น ให้แ ก่บริษัท ฯได้ใ นระยะยาว แต่ด้ว ย
สถานการณ์ราคาน้ำ มันในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามปัจจัยพื้นฐานทั้งด้านอุปสงค์และอุป ทาน ด้วย
ปัจจัยดังกล่าวทำให้โรงกลั่นต่างๆได้รับผลกระทบโดยตรงต่อค่าการกลั่น บริษัทฯได้ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว
มาโดยตลอด จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านราคาและการเงินขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งประกอบไปด้วย
ผู้บริหารระดับสูงทุกสายงานและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการบริหาร
ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน มีการติดตามสถานการณ์ในตลาดค้าน้ำมันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความผัน
ผวนในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อกิจการน้อยที่สุด โดยเลือกใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่
ในตลาดอย่างเหมาะสม เช่น การซื้อตราสารอนุพันธ์เพื่อกำหนดส่วนต่างราคาของน้ำมันสำเร็จรูปกับราคาน้ำมันดิบ
อ้างอิงล่วงหน้า และการซื้อน้ำมันดิบ/ขายน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังล่วงหน้า เป็นต้น บริษัทฯมีสัญญาประกันราคาซื้อขาย
น้ำมันล่วงหน้าคงเหลือสำหรับเดือนตุลาคม 2552 - ธันวาคม 2553 กับบริษัทคู่สัญญาในต่างประเทศจำนวนทั้งสิ้น
5.03 ล้านบาร์เรล
5. การบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environment Management Accounting-EMA)
เพื่อแสดงให้เห็นความรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา บริษัทฯ จึงได้
จัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม (เฉพาะในสายการผลิต) และเผยแพร่สู่สาธารณะในรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป็นประจำทุกปี บัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม ถือเป็นบัญชีการบริหารด้านสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องมือ
ที่ทำให้บริษัทฯ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น
และยังช่วยให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและลดต้นทุนการผลิต ได้รับประโยชน์ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและ
การเงินซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป สรุปบัญชีค่าใช้จ่ายสิ่งแวดล้อมในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ได้ดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท) ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 3 เปลี่ยนแปลง
ปี 2552 ปี 2551 +/-
ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ (Material Costs of Product Outputs)
: ประกอบด้วย น้ำมันดิบ สารเคมี ส่วนผสมต่างๆ ในการผลิต และพลังงานที่ใช้ใน
การผลิด 18,022 28,463 -10,441
ค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ ( Material Costs of Non-Product
Outputs)
: ประกอบด้วย น้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพ น้ำทิ้ง สารเคมีที่ใช้เกินจำเป็น และส่วนผสม
อื่นที่เกินจำเป็น 23 3 +20
ค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษ (Waste and Emission Control Costs )
: ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายบำบัดหรือกำจัดของเสีย รวมถึงค่าบำรุงรักษา และค่าเสื่อม
ของอุปกรณ์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ 26 23 +3
ค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อม ( Prevention and Other Environmental
Management Costs)
: ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายการติดตาม ป้องกัน ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ 2 1 +1
ประโยชน์ของผลผลิตพลอยได้และการนำของเสียมาใช้ใหม่ ( Benefit from
by-product and waste recycling)
: ประกอบด้วย รายได้ของการใช้ประโยชน์จากของเสีย (เครื่องหมายลบหมายถึง
รายได้) -1 -4 +3
จากตารางด้านบน พบว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมในไตรมาส 3 ปีนี้ ต่ำกว่าไตรมาส 3 ปีก่อนมาก จากค่าใช้จ่าย
วัตถุดิบที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยที่เข้ากลั่นในไตรมาส 3 ปีนี้ต่ำกว่าไตรมาส 3 ปีที่
แล้วประมาณ 9.98 บาทต่อลิตร แม้ว่าจะมีการใช้กำลังการกลั่นในไตรมาสนี้สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ
7.4 พันบาร์เรลต่อวันก็ตาม สำหรับค่าใช้จ่ายวัตถุดิบที่ไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นประมาณ 20 ล้านบาท หรือ
ประมาณ 6.7 เท่า ส่วนใหญ่มาจากน้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพต้องนำเข้าสู่กระบวนการกลั่นใหม่มีปริมาณสูงขึ้นเนื่องจากยัง
อยู่ในช่วงทดลองหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ค่าใช้จ่ายเพื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษเพิ่มขึ้น 3 ล้านบาท หรือร้อยละ
13.0 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการใช้สารเคมีเพื่อการบำบัดน้ำทิ้งมากขึ้นตามปริมาณการ
ผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการป้องกันสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 100 เนื่องจาก
บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังโดยการเพิ่มความถี่ในการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมมากขึ้น