) คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานไตรมาส1/2552

ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2552 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือจำนวน 2,032 ล้านบาท ซึ่ง เป็นเงินสดที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 147 ล้านบาท และเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 1,885 ล้านบาท อนึ่งบริษัทฯยังมีเงินสดที่ลงทุนในตั๋ว B/E ระยะสั้นไว้ ณ สิ้นไตรมาสมียอดค้างอยู่จำนวน 3,550 ล้านบาท 4. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต 4.1 โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ใน ส่วนของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจาก การขึ้นลงของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่ โรงกลั่นของบริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery จึงมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับ โรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯถูกจำกัด ไว้ บริษัทฯจำเป็นต้องหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้ดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วย แตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ บริษัทฯคาดว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2552 และคาด ว่าจะทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ยปีละ 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000-8,000 ล้าน บาท หลังจากที่โครงการดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะราคาน้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ โครงการ PQI มีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ สัญญาก่อสร้าง โครงการ PQI นี้เป็นลักษณะราคาก่อสร้างคงที่ มีกำหนดเวลาก่อสร้างที่แน่นอน และรับประกันผลงาน โดยบริษัทฯได้ จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand Co., Ltd.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ขณะนี้ งานก่อสร้างแล้วเสร็จ และได้ดำเนินการทดสอบอุปกรณ์และหน่วยผลิต 3 หน่วยหลัก ได้แก่ หน่วยกลั่นสุญญากาศ (Vacuum Distillation Unit - VDU) หน่วยผลิตไฮโดรเจน (Hydrogen Plant Unit - HPU) และหน่วยแตกโมเลกุล (Hydro-cracking Unit - HCU) และผ่านขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพตามเงื่อนไขหลักที่ตกลงกับกลุ่มธนาคารผู้ให้ กู้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552 ขณะนี้บริษัทฯ ได้เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน การผลิตจากหน่วยผลิต PQI นี้ให้แก่ลูกค้าแล้ว อนึ่งในราวปลายเดือนพฤษภาคม 2552 บริษัทฯจะดำเนินการทดสอบ ขั้นสุดท้ายตามข้อกำหนดที่ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องปฏิบัติให้ได้ตามเงื่อนไขในสัญญาก่อสร้างเพื่อพิจารณาปลดภาระ หลักประกันให้แก่ผู้รับเหมาและโอนความรับผิดชอบของโรงงานคืนแก่บริษัทฯ 4.2 อัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทฯคือ ความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้นบริษัทฯ จะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้าโดย มีการอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ และส่งผลกระทบต่อกำไร (Margin) ของบริษัทฯด้วย ปัจจุบันนอกจากบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงโดย ใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดแล้วบางส่วน อีกทั้งเมื่อบริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างเงินกู้ใหม่เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 แล้ว บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการเปลี่ยนเงินกู้สกุลเงินบาทให้เป็นเงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐฯ (Cross Currency Swap) มูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามนโยบายที่จะปรับสัดส่วนหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญ สหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน และสมดุลกับรายได้ (Natural Hedge) เพื่อบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตรา แลกเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงบริษัทฯจะมีรายได้ในรูปของเงินบาทเพิ่มขึ้นแต่ก็จะมีผลขาดทุนจากอัตรา แลกเปลี่ยนด้วยเช่นกัน แต่ในทางกลับกันเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นรายได้ในรูปของเงินบาทจะลดลง แต่บริษัทฯก็จะมีผล กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนมาชดเชยเช่นกัน สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2552 และจะครบกำหนด ในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 4.3 สัญญาป้องกันความเสี่ยงค่าการกลั่น (GRM Hedging) แม้ว่าโครงการ PQI จะแล้วเสร็จและสามารถเพิ่มค่าการกลั่นให้แก่บริษัทฯได้ในระยะยาว แต่ด้วย สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามปัจจัยพื้นฐานทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ด้วย ปัจจัยดังกล่าวทำให้โรงกลั่นต่างๆได้รับผลกระทบโดยตรงต่อค่าการกลั่น บริษัทฯได้ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว มาโดยตลอด จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านราคาและการเงินขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้บริหารระดับสูงทุกสายงานและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการบริหาร ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน มีการติดตามสถานการณ์ในตลาดค้าน้ำมันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความผัน ผวนในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อกิจการน้อยที่สุด โดยเลือกใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ ในตลาดอย่างเหมาะสม เช่น การซื้อตราสารอนุพันธ์เพื่อกำหนดส่วนต่างราคาของน้ำมันสำเร็จรูปกับราคาน้ำมันดิบ อ้างอิงล่วงหน้า และการซื้อน้ำมันดิบ/ขายน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังล่วงหน้า เป็นต้น บริษัทฯมีสัญญาประกันราคาซื้อขาย น้ำมันล่วงหน้าคงเหลือสำหรับเดือนเมษายน 2552 ถึง เดือน ธันวาคม 2552 กับบริษัทคู่สัญญาในต่างประเทศจำนวน ทั้งสิ้น 11.31 ล้านบาร์เรล