) คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ 31 ธ.ค.2549 (MD&A)

บาท ดังนั้น ณ สิ้นปี 2549 มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 2,705 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 2,599 ล้านบาท และเป็นเงินสดของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 106 ล้านบาท 3.2 กำไรสุทธิ เฉพาะบริษัทฯ จำนวน 239 ล้านบาท บวกกลับค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช้เงินสดจำนวน 841 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทฯ มีกำไรที่เป็นเงินสดจำนวน 1,080 ล้านบาท และมีเงินสดต้นงวดจำนวน 1,561 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้ใช้เงินสดดังกล่าวไปในกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) บริษัทฯ ได้เงินสดสุทธิจากสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานจำนวน 1,347 ล้านบาท โดยที่ * บริษัทฯมีเงินรับจากสินค้าคงเหลือ 2,070 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณสินค้าคงเหลือลดลง 129 ล้าน ลิตร(ลดลงประมาณ 0.81 ล้านบาเรล จากระดับ 4.32 ล้านบาเรล เป็น 3.51 ล้านบาเรล) * มีเงินสดรับเพิ่มขึ้นจากลูกหนี้การค้าที่ลดลง 911 ล้านบาท * ได้จ่ายชำระเจ้าหนี้การค้าจำนวน 1,332 ล้านบาท เนื่องจากมีการจ่ายหนี้ค่าน้ำมันก่อนถึงกำหนด ชำระ อีกทั้งปริมาณการซื้อในเดือนธันวาคม 2549 ลดลง 0.30 ล้านบาเรล จากช่วงเดียวกันของปี ก่อน * จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2548 จำนวน 261 ล้านบาท * จ่ายเงินสดเพื่อซื้อสินทรัพย์และจ่ายหนี้สินดำเนินงานอื่นจำนวน 41 ล้านบาท 2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 6,416 ล้านบาท ได้แก่ * การนำเงินสดไปลงทุนชั่วคราว ในบัญชีเงินฝากประเภทประจำมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-14 เดือน ณ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทฯ มีเงินฝากประจำอยู่ 4,045 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินจากบัญชีสำรองเพื่อ การชำระหนี้ธนาคารกรุงไทยจำนวน 229 ล้านบาท และเป็นเงินลงทุนที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระสำหรับ โครงการ PQI จำนวน 3,816 ล้านบาท * มีการจ่ายเงินสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 2,292 ล้านบาท ในจำนวนนี้ เป็นส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดไปในปีจำนวน 2,066 ล้านบาท * บริษัทฯใช้เงินสดไปในกิจกรรมการลงทุนอื่นๆอีก 79 ล้านบาท 3) บริษัทฯ มีเงินสดได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน 5,027 ล้านบาท * เป็นเงินที่ได้รับสุทธิจากการออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อใช้ในโครงการ PQI จำนวน 5,935 ล้านบาท และ การออกหุ้นกู้แปลงสภาพให้แก่ปตท.จำนวน 585 ล้านบาท * จากการเบิกเงินกู้ระยะยาวสำหรับโครงการ PQI จำนวน 38 ล้านบาท และมีการชำระคืนเงินกู้ ระยะยาวให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำนวน 525 ล้านบาท (เป็นส่วนที่ถึงกำหนดชำระ 319 ล้านบาท และเป็นการจ่ายคืนเงินกู้ก่อนกำหนดเนื่องจากจ่ายเงินปันผลจำนวน 206 ล้านบาท) * ได้ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น(ธนาคารกรุงไทย) 800 ล้านบาท จากเดิมที่มีหนี้เงินกู้ระยะสั้นอยู่ จำนวน 2,000 ล้านบาท บริษัทฯ จึงมีหนี้เงินกู้ระยะสั้นคงเหลือจำนวน 1,200 ล้านบาท ณ 31 ธันวาคม 2549 * ในเดือนพฤษภาคม 2549 ได้จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสามัญทั้ง BCP และ BCP-DR1 จำนวน 206 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 1,038 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินสดต้นงวดจำนวน 1,561 ล้านบาทแล้ว ณ สิ้นปี 2549 จะมีเงินสดจำนวน 2,599 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 1,799 ล้านบาท และเงินสดที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 800 ล้านบาท 4. สรุปผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนนโยบายการบัญชีสินค้าคงเหลือจากเกณฑ์เข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO) เป็นเกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วง น้ำหนัก (Weighted Average) ทำให้บริษัทฯ ต้องปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2548 ซึ่ง มีผลต่องบการเงินที่ได้เคยแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไว้ ดังนี้ กำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 2549 2548 (หน่วย : ล้านบาท) WA FIFO +/- WA FIFO +/- * กำไร(ขาดทุน)ก่อนภาษี 131 (404) +535 3,250 3,205 +45 * ภาษีเงินได้ 107 268 -161 (292) (278) -14 * กำไร(ขาดทุน)สุทธิ 239 (136) +375 2,958 2,927 +32 อนึ่งนอกจากบริษัทฯ ได้ปรับปรุงผลต่างจากเกณฑ์เข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO) เป็นเกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวดปี 2548 แล้ว บริษัทฯ ยังได้ปรับปรุงผลต่างในงบดุลด้วย ซึ่ง ทำให้บริษัทฯ มีกำไรสะสมต้นปี 2548 ยกมาลดลง 9 ล้านบาท เมื่อรวมกับกำไรสุทธิปี 2548 ที่ปรับปรุงใหม่เพิ่มขึ้น จำนวน 32 ล้านบาท จะทำให้มีกำไรสะสมรวมเพิ่มขึ้น 23 ล้านบาท 5. คำอธิบายและการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน สำหรับปี 2549 เปรียบเทียบกับปี 2548 ปี 2549 ปี 2549 ปี 2548 (ไม่ได้ตรวจสอบ) (ตรวจสอบแล้ว) (ปรับปรุงใหม่) อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) เท่า 1.9 2.5 1.9 อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (Quick Ratio) เท่า 0.7 1.3 0.7 อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า เท่า 29.5 24.8 (Receivable Turnover) ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (Collection Period) วัน 12.4 14.7 อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ เท่า 9.3 7.6 (Inventory Turnover) ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย วัน 39.3 47.8 (Inventory Turnover Period) อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้ เท่า 18.9 12.2 (Account Payable Turnover) ระยะเวลาชำระหนี้ (Payment Period) วัน 19.3 29.9 Cash Cycle วัน 32.4 32.6 อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ร้อยละ 2.3 6.2 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ร้อยละ 0.2 3.4 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ร้อยละ 1.5 1.2 26.1 (Return on Equity) 1/ อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Efficiency Ratio) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ร้อยละ 0.6 0.5 8.6 (Return on Total Assets) 1/ อัตราการหมุนของสินทรัพย์ (Assets Turnover) เท่า 2.6 2.5 อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Financial Policy Ratio) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น เท่า 0.8 0.7 1.0 (Debt to Equity) 1/? 2/ หมายเหตุ : คำนวณจากงบการเงินรวม 1/ อัตราส่วนลดลงมากเนื่องจากกำไรสุทธิที่ลดลงและส่วนของผู้ถือหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น 2/ คำนวณจากหนี้สินเฉพาะในส่วนที่มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย (Interest Bearing debt) เนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ค่าการกลั่นและค่าการตลาดมีความผันแปร ส่งผลต่อ อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ลดต่ำลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สาเหตุมาจากค่า การกลั่นที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาสต๊อกน้ำมันที่ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่มีกำไรจากสต๊อก น้ำมันจำนวนมาก ดังสาเหตุที่ได้กล่าวไว้แล้วตาม 1.1 ข้อ 2) อนึ่ง ในปี 2549 บริษัทฯ ได้จัดหาเงินทุนสำหรับดำเนินโครงการ PQI โดยได้มีการออกหุ้นเพิ่มทุน และหุ้นกู้ แปลงสภาพ รวมถึงทำการกู้เงินแล้วบางส่วนจากกลุ่มธนาคารผู้ให้กู้ ดังนั้น จึงมีอัตราส่วนบางรายการที่ได้รวมรายการ ของโครงการ PQI ซึ่งอยู่ในระหว่างก่อสร้างไว้ด้วย ได้แก่ อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว อัตรา ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น กรณีไม่รวมรายการ PQI จะมี อัตราส่วนสภาพคล่อง 1.9 เท่า อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว 0.7 เท่า อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นร้อยละ 1.5 อัตรา ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ร้อยละ 0.6 และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 0.8 เท่า 6. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ในส่วน ของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจากการขึ้น ลงของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่โรงกลั่น ของบริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery ซึ่งมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงกลั่น ประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯ ถูกจำกัดไว้ แต่จากการที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการส่งน้ำมันเตาของบริษัทฯ ไปเพิ่มมูลค่าที่โรงกลั่นอื่นก็สามารถลดผลกระทบจาก เหตุการณ์ดังกล่าวได้บางส่วน ซึ่งบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัท ฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ โรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทฯคาดว่าโครงการฯดังกล่าวจะสามารถเริ่มการผลิตได้สิ้นปี 2551 และคาดว่าจะทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ย 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000- 8,000 ล้านบาท หลังจากที่โครงการฯดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะราคา น้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ ซึ่งโครงการ PQI ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วโดยมีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทได้จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand Co., Ltd.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาส 4 ปี 2551 ในส่วนของการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการแล้วเสร็จครบถ้วนตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 นอกจากนี้ ระดับราคาน้ำมันที่ผันผวนได้ส่งผลกระทบสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยราคาน้ำมันได้ ปรับตัวสูงขึ้นมากตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546 เป็นต้นมา จนมาถึงในช่วงต้นไตรมาส 3 ปี 2549 ราคาน้ำมันจึงได้ปรับตัวลด ลง บริษัทฯคาดว่าระดับราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปกำลังอยู่ในช่วงการปรับฐานราคา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในปี 2550 ยังมีความผันผวนของระดับราคาอยู่ต่อไป ซึ่งบริษัทฯมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงที่คอยติดตาม และบริหารความเสี่ยงดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่อาจมีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทฯคือ ความผันผวนของ อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้น บริษัทฯจะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้า โดยมีการอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์ สุทธิ แต่ทั้งนี้บริษัทฯก็มีนโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้ เคียงกันเมื่อมีความพร้อม โดยปัจจุบันบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่มี อยู่ในตลาดแล้วบางส่วน