SET Announcements
งบการเงินไตรมาส 2 ปี 2542
1.8 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
ค่าใช้จ่ายภาษีหรือรายได้ภาษีของบริษัทฯ ประกอบด้วย ภาษีงวดปัจจุบันซึ่งคำนวณ
ตามภาษีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร และภาษีเงินได
รอการตัดบัญชี ซึ่งคำนวณจากผลแตกต่างชั่วคราว
( Temporary Differences ) ระหว่างสินทรัพย์สุทธิทางบัญชีและทางภาษี
1.9 รายจ่ายรอการตัดบัญชี
ค่าเช่าที่ดินในสถานีบริการ ตัดจ่ายตามอายุสัญญาเช่า ปีละเท่า ๆ กัน
ส่วนเกินมูลค่าสินทรัพย์จากการแลกเปลี่ยนอาคารระหว่างบริษัทฯ กับกรมการพลังงานทหาร
กระทรวงกลาโหม ตัดจ่ายภายใน 20 ปี ปีละเท่า ๆ กัน เริ่มตั้งแต่ปี 2531
รายจ่ายรอการตัดบัญชีอื่น ตัดจ่ายภายใน 5 ปี ปีละเท่า ๆ กัน
1.10 เงินตราต่างประเทศ
1.10.1 บันทึกบัญชีเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการและจะปรับมูลค่า
เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้เป็นอัตรา
อ้างอิง ณ วันสิ้นงวดบัญชี ผลต่างจากการปรับมูลค่า รับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่าย
ทั้งจำนวน ยกเว้นผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนรอตัดบัญชีก่อนปี 2539
ตัดจ่ายตามอายุหนี้ที่เหลือ
1.10.2 กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการชำระหนี้ในแต่ละงวดบัญชี
บันทึกเป็นรายได้ หรือค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้นทั้งจำนวน
1.10.3 ในกรณีบริษัทฯ ซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตรา
แลกเปลี่ยนของหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทฯ ได้บันทึกบัญชีโดยใช
อัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา สำหรับค่าธรรมเนียมการซื้อเงินตราต่างประเทศ
ล่วงหน้าตัดจำหน่ายตามระยะเวลาในสัญญา
1.11 รายได้รอการรับรู้
รายได้รับล่วงหน้าจากการให้เช่าสินทรัพย์และอื่นๆ รับรู้เป็นรายได้ตามอายุสัญญา
ปีละเท่า ๆ กัน
1.12 สำรองเงินบำเหน็จสงเคราะห์
การสำรองเงินบำเหน็จสงเคราะห์ถือเกณฑ์ดังนี้ พนักงานที่ทำงานครบ 5 ปี
ตั้งสำรองฯ ร้อยละ 5 และพนักงานที่จะเกษียณอายุอีก 5 ปีถัดไป ตั้งสำรองฯ
ร้อยละ 100 ของเงินบำเหน็จที่พึงได้รับ ณ วันสิ้นงวดบัญชีของแต่ละปี
1.13 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานที่จดทะเบียนแล้ว
บริษัทฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประเภทจ่ายสมทบสำหรับพนักงาน
โดยพนักงานที่เป็นสมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 5
หรือ 10 ของเงินเดือน ทั้งนี้เป็นไปตามความสมัครใจของพนักงาน และบริษัทฯ
จ่ายสมทบเป็นรายเดือนในอัตราเดียวกัน
1.14 ต้นทุนการกู้ยืม
1.14.1 ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างสินทรัพย์ถาวร
ถือเป็นต้นทุนสินทรัพย์ จนกว่าสินทรัพย์ถาวรนั้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ตามประสงค์
เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จถือเป็นค่าใช้จ่าย
1.14.2 ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากเงินกู้เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป แต่นำมาใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ถาวร
ถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ถาวร เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ ถือเป็นค่าใช้จ่าย
1.15 ค่าใช้จ่ายเพิ่มทุน
ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเพิ่มทุน ค่าจัดการและประกันการจำหน่ายหุ้นและ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายหุ้นเพิ่มทุน ถือเป็นรายการปรับปรุงทุนโดยนำไป
ลดยอดส่วนเกินมูลค่าหุ้น
1.16 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน
กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณจากกำไร(ขาดทุน)สุทธิหารด้วยจำนวนถัวเฉลี่ย
ถ่วงน้ำหนักของหุ้นที่ได้ออกจำหน่ายและเรียกชำระแล้ว
1.17 รายจ่ายในการพัฒนาหรือแก้ไขปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์
รายจ่ายการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เพิ่มกำลังความสามารถ หรือประสิทธิภาพ
อย่างเป็นสาระสำคัญบันทึกเป็นสินทรัพย์
สำหรับรายจ่ายที่เกิดจากการแก้ไขปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขปัญหา ปี ค.ศ. 2000
บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในงวดบัญชีที่เกิดรายการ
2. ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า - สุทธิ ( นโยบายการบัญชี 1.2 )
หน่วย : ล้านบาท
2542 2541
ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า 1,993.30 2,276.55
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 75.41 53.62
ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า-สุทธิ 1,917.89 2,222.93
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 บริษัท ฯ มีลูกหนี้การค้าที่มีปัญหาในการชำระหนี้ แยกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
เกินกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน 4.14
เกินกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน 14.51
เกินกว่า 12 เดือนขึ้นไป 83.35
รวม 102.00
บริษัทฯ ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้จำนวน 75.41 ล้านบาท
3. สินค้าคงเหลือ ( นโยบายการบัญชี 1.3 )
การเปลี่ยนวิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือน้ำมันหล่อลื่นจากราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้
รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่าโดยใช้เกณฑ์เข้าก่อนออกก่อน มาเป็นเกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
มีผลให้มูลค่าน้ำมันหล่อลื่นคงเหลือ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 สูงขึ้น 0.84 ล้านบาท
และกำไรสุทธิสำหรับไตรมาสที่สองต่ำลง 0.94 ล้านบาทและงวดหกเดือนสูงขึ้น 0.59 ล้านบาท
4. เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ( นโยบายการบัญชี 1.6 )
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 บริษัทฯ มีเงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมในกิจการที่เกี่ยวข้องกันจำนวน
449.30 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 252.25 ล้านบาท
( วิธีราคาทุน 211.75 ล้านบาท และวิธีส่วนได้เสีย 40.50 ล้านบาท )
และเงินจ่ายล่วงหน้าแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 197.05 ล้านบาท มีรายละเอียดประกอบดังนี้
4.4 เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
ชื่อบริษัท ประเภทกิจการ ลักษณะ ทุนชำระแล้ว สัดส่วน เงินลงทุน เงินปันผล
ความสัมพันธ์ (ล้านบาท ) เงินลงทุน (ล้านบาท)
(ร้อยละ) ณ วันที่ 30 มิถุนายน
วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย
2542 2541 2542 2541
บริษัทร่วม
บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด บริหารเครือข่าย ถือหุ้น 1.00 49.00 - - 21.39 18.65 -
การจำหน่าย
สินค้าอุปโภค บริโภค
บริษัท บางจากกรีนไลน์ จำกัด ธุรกิจขนส่ง บริการ ถือหุ้น 0.10 49.00 - - 3.13 2.63 -
บริษัท มงคลชัยพัฒนา จำกัด บริหารเครือข่าย ถือหุ้น 3.00 48.98 - - - 1.86 -
การจำหน่ายสินค้า
อุปโภค บริโภค
บริษัท บางจากเพาเวอร์ จำกัด ผลิตและจำหน่าย ถือหุ้น 40.00 39.99 - - 15.98 14.59 -
ไฟฟ้าและไอน้ำ
บริษัทที่เกี่ยวข้อง
บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ธุรกิจขนส่งบริการ ถือหุ้น 1,592.00 11.42 181.75 133.00 - - -
บริษัท โอชอง เชียงใหม่ จำกัด ค้าปลีก ค้าส่ง ถือหุ้น 300.00 10.00 30.00 30.00 - - -
สินค้าอุปโภค บริโภค
รวม 211.75 163.00 40.50 37.73 -
หมายเหตุ บริษัท ฯ ไม่ได้ถือหุ้นใน บริษัท มงคลชัยพัฒนา จำกัด ตั้งแต่เดือน เมษายน 2542
ในไตรมาสนี้ บริษัทฯ ได้บันทึกส่วนแบ่งผลกำไรจากเงินลงทุนซึ่งคำนวณจากผล
การดำเนินงานที่ได้รับแจ้งจากบริษัทต่างๆ คือ บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด (0.11) ล้านบาท
บริษัท บางจากกรีนไลน์ จำกัด 0.09 ล้านบาท และบริษัท บางจากเพาเวอร์ จำกัด 0.20 ล้านบาท
4.2 เงินค่าขนส่งจ่ายล่วงหน้าให้บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ( FPT )
บริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ FPT โดยจ่ายเงินค่าขนส่งน้ำมันล่วงหน้า
( Tariff Prepayment ) ตามบันทึกข้อตกลงเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 ต่อมาบริษัทฯ
ร่วมกับเจ้าหนี้รายอื่นของ FPT ตกลงทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2542
โดยหนี้ค่าขนส่งจ่ายล่วงหน้าก่อนปรับโครงสร้างหนี้เท่ากับ 245.80 ล้านบาท
ได้ดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุน (หุ้นบุริมสิทธิ์) จำนวน 48.75 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 และหนี้ส่วนที่เหลือจะได้รับชำระคืนโดยการหักกลบกับ
ค่าบริการขนส่งน้ำมันเป็นรายเดือน เริ่มมีนาคม 2543
4.3 รายการค้ากับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542
หน่วย : ล้านบาท
ลูกหนี้ 103.64
เจ้าหนี้ 13.10
รายได้จากการขายและอื่นๆ 532.56
ค่าอุปกรณ์มินิมาร์ทและค่าบริหารการจัดส่ง 42.78
ค่าขนส่งน้ำมันทางท่อ 42.53
5. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ ( นโยบายการบัญชี 1.7 และ 1.14 ) ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ณ 31 ธ.ค.41 เพิ่มขึ้น ลดลง ณ 30 มิ.ย 42 ค่าเสื่อม ราคาสุทธิ
ระหว่างงวด ระหว่างงวด ราคาสะสม
ที่ดิน 1,344.78 - - 1,344.78 - 1,344.78
อาคาร 467.01 - - 467.01 175.06 291.95
ท่าเทียบเรือ เขื่อน และรั้ว 189.25 - - 189.25 109.00 80.25
เครื่องจักร อุปกรณ์ และหอกลั่น 18,568.57 23.66 0.02 18,592.21 8,002.46 10,589.75
อุปกรณ์จำหน่ายและอุปกรณ 1,546.46 616.24 33.12 2,129.58 459.02 1,670.56
สำนักงาน
แพลตินั่ม แคตตาลีส 213.75 - - 213.75 - 213.75
ยานพาหนะ 366.14 4.39 6.85 363.68 160.10 203.58
สิทธิการเช่า 1,475.01 18.31 - 1,493.32 264.46 1,228.86
ค่าธรรมเนียมการโอนสินทรัพย์ 41.80 - - 41.80 39.57 2.23
งานระหว่างก่อสร้าง 3,302.73 231.20 667.77 2,866.16 - 2,866.16
รวม 27,515.50 893.80 707.76 27,701.54 9,209.67 18,491.87
งานระหว่างก่อสร้างจำนวน 2,866.16 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากดอกเบี้ยจ่าย
ที่ถือเป็นต้นทุนงานระหว่างก่อสร้างจำนวน 45.77 ล้านบาท
ในงวดนี้มีค่าเสื่อมราคาจำนวน 437.09 ล้านบาท บันทึกเป็นต้นทุนการผลิต
269.42 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 167.67 ล้านบาท
6. ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (นโยบายการบัญชี 1.8 )
ในงวดปี 2540 บริษัทฯ ได้บันทึกรับรู้ผลประโยชน์จากผลขาดทุนทางภาษี
โดยคาดว่าจะนำไปใช้ได้ภายในห้าปีตามหลักเกณฑ์นั้น หากสภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น
อาจเป็นผลให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากผลประโยชน์
ทางภาษีได้หมดเมื่อครบกำหนดเวลาตามกฎหมาย
7. เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
บริษัท ฯ มีเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน จำนวน 5,685.50
ล้านบาท ส่วนใหญ่จำนวน 4,810.12 ล้านบาท (130 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
เป็นเงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้ระหว่างธนาคารในลอนดอน (LIBOR) บวกด้วยส่วนเพิ่มตามที่ตกลงกัน
8. เงินกู้ระยะยาว ( นโยบายการบัญชี 1.10 ) ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
2542 2541
เงินกู้ต่างประเทศ
INTERNATIONAL BANK FOR RECONSTRUCTION AND DEVELOPMENT
1,521.33 1,356.40
เงินกู้ภายในประเทศ
ธนาคารออมสิน 5,000.00 5,000.00
หุ้นกู้ 1,370.00 -
รวมเงินกู้ระยะยาว 7,891.33 6,356.40
หัก ส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่ง ปี
1,812.85 362.01
คงเหลือ 6,078.48 5,994.39
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ระหว่างร้อยละ 5.15 ถึงร้อยละ 11.75 ต่อปี
9. ดอกเบี้ยจ่าย (นโยบายการบัญชี 1.14 )
ในงวดนี้มีดอกเบี้ยจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 611.00 ล้านบาท ถือเป็นต้นทุนงาน
ระหว่างก่อสร้างจำนวน 45.77 ล้านบาท ส่วนที่เหลือถือเป็นค่าใช้จ่ายจำนวน
565.23 ล้านบาท
10. การบริหารความเสี่ยงด้านเงินตราต่างประเทศ ( นโยบายการบัญชี 1.10.3 )
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 บริษัทฯ มีเงินกู้ต่างประเทศ ประกอบด้วยเงินกู้ยืม
ระยะสั้นจำนวน 130 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ
ในหนึ่งปี จำนวน 8.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ บริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายเงินตรา
ต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Foreign Exchange Contract) เพื่อลดความเสี่ยง
จากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศจำนวน 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ค่าธรรมเนียมในการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ตัดจำหน่ายตามระยะเวลาในสัญญา
11. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541 บริษัทฯ มีภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
11.1 ภาระผูกพัน
บริษัทฯ มีภาระการค้ำประกันโดยธนาคาร ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542
และ 2541 เป็นเงิน 139.16 ล้านบาทและ 187.83 ล้านบาท ตามลำดับ
11.2 คดีที่ถูกฟ้องร้อง
กระทรวงการคลัง (จำเลยที่ 1) ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย (จำนวนทุนทรัพย์
1,055 ล้านบาท) ต่อศาลแพ่งในข้อหาละเมิดขับไล่ที่ราชพัสดุบริเวณท่าเรือโรงกลั่น
ซึ่งบริษัทฯ เช่าจากกระทรวงการคลัง โดยบริษัทฯ ในฐานะผู้เช่าที่ถูกฟ้องร้องเป็น
จำเลยร่วม (จำเลยที่ 5) สำนักกฎหมายของบริษัทฯให้ความเห็นว่าถึงแม้ผลคดีจะเป็น
ประการใด บริษัทฯ ในฐานะผู้เช่าตามสัญญาย่อมไม่มีภาระรับผิดเกี่ยวกับจำนวนทุนทรัพย
ที่ฟ้องร้องดังกล่าวข้างต้น คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่ง
12. การแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ. 2000 (Y2K)
( สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินในฐานะผู้ตรวจสอบงบการเงิน
ไม่ได้สอบทานข้อมูลตามหมายเหตุข้อนี้ )
บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ.2000 (Y2K)
โดยได้เริ่มดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2540
ตามแผนงานการแก้ไขปรับปรุงระบบจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่สาม ปี 2542
บริษัทฯ ได้จัดเตรียมงบประมาณไว้จำนวน 49 ล้านบาท มีรายจ่ายเกิดขึ้นแล้วทั้งสิ้น
39.62 ล้านบาท การแก้ไขปรับปรุงระบบเป็นไปตามแผนงานแล้วเสร็จประมาณร้อยละ
99 ของการแก้ไขปรับปรุงทั้งหมดแม้ว่าบริษัทฯ จะสามารถแก้ไขปรับปรุงระบบแล้วเสร็จ
เป็นไปตามแผนงาน แต่ยังคงมีความเสี่ยงต่อการที่บริษัทอื่นๆ ซึ่งบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วย
อาจไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงระบบได้ทันกาล อย่างไรก็ดี บริษัทฯ คาดว่าผลกระทบ
ดังกล่าวจะไม่มีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ปี 2540
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
***