นำส่งงบการเงินตรวจสอบแล้ว และชี้แจงผลการดำเนินงานปี 46

ที่ 1600 / 026 / 2547 1 มีนาคม 2547 เรื่อง นำส่งงบการเงินตรวจสอบแล้ว และชี้แจงผลการดำเนินงาน ปี 2546 เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. งบการเงินตรวจสอบแล้ว ปี 2546 ฉบับภาษาไทย 1 ฉบับ 2. งบการเงินตรวจสอบแล้ว ปี 2546 ฉบับภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การจัดทำและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยว กับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน กำหนดให้บริษัทฯ นำส่งงบการเงินประจำงวด การบัญชีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้นสุดงวดการบัญชี (เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ได้จัด ส่งงบการเงินไตรมาสที่สี่) และ ให้บริษัทฯ ชี้แจงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงต่อตลาดหลักทรัพย์ กรณีผลการ ดำเนินงานตามงบกำไรขาดทุนเปลี่ยนแปลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนเกินร้อยละ 20 นั้น บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขอนำส่งงบการเงินและรายงานผู้สอบบัญชี สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 และขอชี้แจงผลการดำเนินงานเพิ่มเติมจากคำอธิบายงบการเงิน ก่อนตรวจสอบและชี้แจงผลต่างระหว่างงบการเงินก่อนตรวจสอบและตรวจสอบแล้ว ดังนี้ 1. ผลการดำเนินงานบริษัทปี 2546 บริษัทฯ มีรายได้รวม 61,262 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9,325 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและค่าเสื่อม (EBITDA ไม่รวมกำไรจากสต๊อกน้ำมันและรายการอื่นๆ ที่เกิดจากการปรับโครงสร้างธุรกิจและการเงิน) +1,502 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน 289 ล้านบาท เป็นผลมาจากปัจจัยหลักดังต่อไปนี้ 1.1 ในปี 2546 ค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกำไรจากสต๊อกน้ำมัน) ปรับเพิ่มขึ้น 0.18 $/BBL เป็น ประมาณ 1.49 $/BBL จาก 1.31 $/BBL ในปี 2545 เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันที่ปรับตัว สูงขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ประกอบกับบริษัทฯ ได้ทำการเพิ่มรายได้และลดต้นทุนร่วม กับบริษัทน้ำมันอื่นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการกลั่นยังคงอยู่ในระดับ 74 KBD ใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากบริษัทฯ มีนโยบายเน้นการขายเฉพาะตลาดที่มีกำไรสูง เช่น ตลาด สถานีบริการ ตลาดอุตสาหกรรม เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ในปี 2546 บริษัทฯ มีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน (FX &Price Effects) จำนวน 52 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2545 ที่มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 1,609 ล้านบาท อีกทั้งมีการตั้ง สำรองหนี้ค่าขนส่งจ่ายล่วงหน้าและผลต่างดอกเบี้ยค้างรับของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) และการตัดจ่ายภาษีจ่ายล่วงหน้าจากการนำเข้าน้ำมันรีฟอร์เมทจำนวนรวม 233 ล้านบาท ซึ่งถูกบันทึกอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้กำไรเบื้องต้นตาม บัญชีของบริษัทฯ ลดลง 1.2 ในปี 2546 ยอดขายน้ำมันผ่านสถานีบริการของบริษัทฯ ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 17% ส่วนยอด ขายน้ำมันเตาผ่านตลาดอุตสาหกรรมก็เพิ่มขึ้นประมาณ 7% แต่มียอดขายลดลงในตลาดขาย ผ่าน Jobber ที่มีกำไรต่ำ และตลาดน้ำมันเครื่องบินที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค SARS ส่วนค่าการตลาดน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลดลงประมาณ 0.03 บาท/ ลิตร ซึ่งเป็นผลมา จากสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง 1.3 จากการที่บริษัทฯ ได้ทำการขยายอายุสัญญาการเช่าใช้ที่ดินที่ตั้งโรงกลั่นน้ำมันจาก 12 ปี เป็น 30 ปี บริษัทฯ จึงได้ทำการยืดอายุการตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์โรงกลั่นออกไปให้สอด คล้องกับอายุสัญญาที่ดิน ซึ่งส่งผลทำให้ค่าเสื่อมราคาในปี 2546 ปรับลดลงประมาณ 300 ล้าน บาท ซึ่งค่าเสื่อมราคาส่วนนี้จะถูกบันทึกไว้ในต้นทุนขาย 2. ตามแนวทางการปรับโครงสร้างธุรกิจและการเงิน ณ สิ้นปี 2546 บริษัทฯ ได้ทำการด้อยค่าสินทรัพย์ใน ส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และตั้งสำรองหนี้ค่าขนส่งล่วงหน้าและอื่นๆ จำนวน 987 ล้านบาท (Non-Cash Item) ซึ่งจะถูกบันทึกเป็นรายการขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์จำนวน 754 ล้านบาท (การด้อยค่าที่ดินที่ ไม่ได้ใช้ในการดำเนินงานและสถานีบริการที่ปิดให้บริการ) และบันทึกอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จำนวน 233 ล้านบาท (การตั้งสำรองหนี้ค่าขนส่งจ่ายล่วงหน้าและผลต่างดอกเบี้ยค้างรับของบริษัท ขนส่ง น้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) และการตัดจ่ายภาษีจ่ายล่วงหน้าจากการนำเข้าน้ำมันรีฟอร์เมท) นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ทำการไถ่ถอนหุ้นกู้เดิมที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกันก่อนกำหนด เพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่าย ส่งผลทำให้มีค่าธรรมเนียมไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดจำนวน 212 ล้านบาท รวมบริษัทฯ มีรายการอื่นๆ ที่ เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างธุรกิจและการเงินจำนวน 1,199 ล้านบาท 3. ตามแนวทางการปรับโครงสร้างธุรกิจและการเงิน บริษัทฯ ได้ดำเนินการ Consolidate งบการเงินของ บริษัทย่อยรวมเข้ากับงบการเงินของบริษัทฯ ในงวดบัญชีปี 2546 โดยในงบการเงินก่อนตรวจสอบ เฉพาะบริษัทได้รับรู้ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนของบริษัทย่อยทั้งจำนวน (รับรู้ผลขาดทุนจำนวน 26,625,905 บาท ซึ่งเท่ากับผลขาดทุนของบริษัทย่อยทั้งหมด) ซึ่งผู้สอบบัญชีได้แนะนำให้บริษัทฯ รับรู้ผลขาดทุนของ บริษัทย่อยดังกล่าวไม่เกินเงินลงทุนในหุ้นสามัญที่บริษัทฯ ถืออยู่ คือ 2,386,161 บาท เนื่องจากบริษัทฯ มิได้มีภาระผูกผันที่จะต้องชำระเงินแทนบริษัทย่อย ดังนั้นในส่วนความรับผิดชอบของบริษัทฯ จะถูก จำกัดไว้ไม่เกินเงินลงทุนในหุ้นสามัญที่บริษัทฯ ถืออยู่ ซึ่งบริษัทฯ ก็ได้ดำเนินการตามที่ผู้สอบบัญชีแนะนำ 4. ดังนั้น ในปี 2546 บริษัทฯ มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและค่าเสื่อมราคา (EBITDA ไม่รวมกำไรจากสต๊อกน้ำ มันและรายการอื่นๆ ที่เกิดจากการปรับโครงสร้างธุรกิจและการเงิน) จำนวน +1,502 ล้านบาท มีกำไร จากสต๊อกน้ำมัน 52 ล้านบาท มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนของเงินกู้และอื่นๆ จำนวน 103 ล้านบาท มีดอกเบี้ยจ่ายก่อนการปรับโครงสร้างการเงิน 1,028 ล้านบาท มีดอกเบี้ยรับ 36 ล้านบาท และมีค่าเสื่อม ราคาและค่าตัดจำหน่าย 740 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนก่อนรายการอื่นๆ 74 ล้านบาท โดยมีรายการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามแผนการดำเนินการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและการเงิน 1,199 ล้านบาท (ตามข้อ 2) ส่งผลให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ 1,275 ล้านบาท 5. ขณะนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างทางการเงินแล้วเสร็จ โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นกู้ แปลงสภาพให้กับนักลงทุน โดยอยู่ในรูปของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงของ บริษัทฯ ซึ่งออกโดยบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด จำนวนรวม 7,000 ล้านบาท โดยได้จำหน่ายหมดทั้ง จำนวนแล้วตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546 นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดหาวงเงินกู้จำนวน 12,500 ล้านบาท จากธนาคารพาณิชย์ เพื่อนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินกู้ระยะยาวเพื่อใช้ชำระ คืนหุ้นกู้เดิมที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งบริษัทฯ จะดำเนินการเบิกเงินกู้งวดแรกในต้นเดือนมีนาคม 2547 นี้ จากการดำเนินการดังกล่าวบริษัทฯ จะสามารถลดภาระดอกเบี้ยจ่ายลงจากประมาณ 1,100 ล้านบาทต่อปี เหลือประมาณ 700 ล้านบาท อีกทั้ง ภาระการจ่ายคืนเงินต้นก็จะลดลงเหลือประมาณปีละ 600 - 700 ล้านบาท ซึ่งส่งผลทำให้บริษัทฯ มีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งขึ้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการปรับ โครงสร้างเงินทุนที่วางไว้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ (นายวัชรพงศ์ ใสสุก) ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักแผนกิจการ สำนักแผนกิจการ โทร. 0 -2335-4583