SET Announcements
คำอธิบายงบการเงินไตรมาสที่ 1
ที่ 1600 / 088 / 2546
22 พฤษภาคม 2546
เรื่อง คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงาน
งวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2546
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สิ่งที่ส่งมาด้วย คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการ
ดำเนินงานงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2546
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ได้สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีการจัดทำคำอธิบายและการ
วิเคราะห์ของฝ่ายจัดการทุกไตรมาส เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจฐานะการเงิน
และผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดียิ่งขึ้นนอกเหนือจากข้อมูลตัวเลขในงบการเงิน
อีกทั้งเพื่อให้ผู้ลงทุนได้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของ
บริษัท ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (GOOD GOVERNANCE) ในเรื่องการให้
ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูล นั้น
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นบริษัท
จดทะเบียนหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจการอย่าง
โปร่งใสตามแนวนโยบายบรรษัทภิบาล จึงได้จัดทำและใคร่ขอนำส่งคำอธิบายและ
การวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานงวดสามเดือน
สิ้นสุด 31 มีนาคม 2546 ดังรายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์)
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักแผนกิจการ
สำนักแผนกิจการ
โทร. 0 -2335-4583
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2546
ข้อมูลทั่วไป
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดย
รัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยมุ่งหมายให้ดำเนินการแบบเอกชน และ
เป็นบริษัทน้ำมันของคนไทยที่ดำเนินกิจการสอดคล้องกับประโยชน์ของคนไทยและสังคมไทย
ปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง
และบริหารกิจการโรงกลั่นน้ำมันขนาด 120,000 บาเรลต่อวัน ซึ่งก่อสร้างใหม่
ทดแทนหน่วยเดิม โดยหน่วยล่าสุดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542 การออกแบบกระบวน
การกลั่นเน้นการผลิตได้น้ำมันสะอาด ประหยัดพลังงาน และให้ผลผลิตสูง อีกทั้ง
บริษัทฯ มีการขยายเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันออกไปมากกว่า 1,000 แห่ง
ทั่วประเทศ โดยเป็นสถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ประมาณ 600 แห่ง และปั๊มชุมชน
ขนาดเล็กประมาณ 500 แห่ง
ภาพรวมธุรกิจ
สำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2546 บริษัทฯ ดำเนินกิจการภายใต้ความไม่แน่นอน
ของสภาวะสงครามระหว่างสหรัฐและอิรัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อระดับราคาน้ำมันดิบและ
น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลก ดังนั้นบริษัทฯ จึงพยายามลดความเสี่ยงดังกล่าว
ด้วยการลดปริมาณน้ำมันคงคลังให้อยู่ในระดับต่ำ โดยมุ่งเน้นจำหน่ายเฉพาะในตลาด
ที่มีกำไรสูง อีกทั้งได้ทำสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า(FORWARDS)
ในบางส่วนเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้
มุ่งเน้นการร่วมมือกับบริษัทน้ำมันอื่นในการหารายได้เพิ่มและลดต้นทุน และดำเนิน
กลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผลของการพัฒนาคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ทั้งน้ำมันและผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและการเพิ่มกิจกรรมและการบริการใน
สถานีบริการน้ำมัน ทำให้ในไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 422 ล้านบาท
โดยมีรายละเอียดดังนี้
ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
1. อัตราส่วนทางการเงิน
ไตรมาส 1/2546 ไตรมาส 1/2545
(สอบทานแล้ว) (สอบทานแล้ว)
อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) เท่า 0.72 1.06
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (Quick Ratio) เท่า 0.35 0.52
อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสด
(Cash Flow Liquidity) เท่า 0.11 0.04
ไตรมาส 1/2546 ไตรมาส 1/2545
(สอบทานแล้ว) (สอบทานแล้ว)
อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า
(Receiveable Turnover) เท่า 4.54 4.92
ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (Collection Period) วัน 19.81 18.31
อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ
(Inventory Turnover) เท่า 2.28 2.55
ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย
(Inventory Turnover Period) วัน 39.54 35.25
อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้
(Account Payable Turnover) เท่า 3.54 6.44
ระยะเวลาชำระหนี้ (Payment Period) วัน 25.42 13.98
Cash Cycle วัน 33.93 39.58
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio)
อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ร้อยละ 7.19 7.48
อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Net Profit Margin) ร้อยละ 2.93 2.69
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) ร้อยละ 8.91 12.07
อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Efficiency Ratio)
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์
(Return on Total Assets) ร้อยละ 1.43 1.16
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ (Assets Turnover) เท่า 0.49 0.43
อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Financial Policy Ratio)
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Debt to Equity) เท่า 5.19 9.05
ในไตรมาส 1 ปี 2546 แม้ว่าบริษัทฯ จะเร่งดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้
ทรัพย์สิน และเพิ่มการใช้ประโยชน์จากเจ้าหนี้การค้า เพื่อเสริมสภาพคล่องให
กับบริษัทฯ แต่จากการที่หนี้สินกว่าร้อยละ 70 มากระจุกตัวในปี 2546 และปี 2547
ส่งผลทำให้อัตราส่วนสภาพคล่องของบริษัทฯ ลดลง แต่อย่างไรก็ตามทางกระทรวง
การคลังซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวแล้ว และอยู่ระหว่าง
การพิจารณาวิธีการและเงื่อนไขการปรับโครงสร้างทางการเงิน พร้อมทั้งรูปแบบ
การให้การสนับสนุนของรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะทราบผลการพิจารณาในช่วงปลายไตรมาส 2
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1/2546 เปรียบเทียบ
ไตรมาส 1/2545
การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนสำหรับสำหรับไตรมาส 1/2546 เปรียบเทียบไตรมาส 1/2545
งบกำไรขาดทุน
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2546 และ 2545
หน่วย : ล้านบาท
ไตรมาส 1
2546 2545 เปลี่ยนแปลง
รายได้จากการขาย 14,397 11,399 2,998
รายได้อื่น 77 88 -11
รายได้รวม 14,474 11,487 2,987
ต้นทุนขาย -13,361 -10,547 -2,814
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร -302 -243 -59
ค่าใช้จ่ายอื่น -117 -70 -47
ดอกเบี้ยจ่าย -274 -321 47
ค่าใช้จ่ายรวม -14,054 -11,181 -2,873
กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงาน 421 306 114
ภาษีเงินได้ 1.7 0.4 1.3
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 422 307 116
2.1 การวิเคราะห์รายได้
ในไตรมาส 1/2546 บริษัทฯ มีรายได้รวม 14,474 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันปีก่อน 2,987 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) รายได้จากการขาย 14,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545
จำนวน 2,998 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.3 เนื่องจากราคาขายต่อหน่วยได้ปรับตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 แต่ปริมาณขายรวมลดลงร้อยละ 3.7 ซึ่งลดลงในตลาดขายส่ง
ที่มีกำไรต่ำ แต่เพิ่มขึ้นในตลาดขายปลีกผ่านสถานีบริการถึงร้อยละ 17
2) รายได้อื่น 77 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน จำนวน 11 ล้านบาท
เนื่องจาก
- ในไตรมาส 1 ปี 2546 บริษัทฯ ได้มีการทำสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์
น้ำมันล่วงหน้าเป็นระยะๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุนที่เกิดจากความ
ผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงภาวะสงครามระหว่างสหรัฐและอิรัก แต่ราคาน้ำมัน
ในช่วงต้นปียังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้มีรายจ่ายในการทำธุรกรรมดังกล่าว
ซึ่งปรากฏอยู่ในค่าใช้จ่ายอื่น
- ในไตรมาส 1 ปี 2546 บริษัทฯ มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
25 ล้านบาท จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเฉลี่ย 0.4 บาท/ดอลลาร์สรอ. จาก
ณ สิ้นปี 2545
- ดอกเบี้ยรับของไตรมาส 1 ปี 2546 จำนวน 11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท
เนื่องจากบริษัทฯ มีการลดปริมาณสินค้าคงเหลือ เพื่อลดความเสี่ยงจากราคา
น้ำมันดิบที่สูงขึ้นมาก ส่งผลให้บริษัทฯ มีเงินสด เงินฝากธนาคารเพิ่มขึ้น
- ส่วนรายได้อื่นๆ ของไตรมาส 1 ปี 2546 จำนวน 41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21
ล้านบาท จากการขายซากวัสดุจากการซ่อมแซมหน่วยกลั่นที่ 2
2.2 ค่าใช้จ่ายรวม
ในไตรมาสที่ 1/2546 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 14,054 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน 2,873 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.7 โดย
ค่าใช้จ่ายรวมประกอบด้วย ต้นทุนขายร้อยละ 95.07 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ร้อยละ 2.15 ดอกเบี้ยจ่ายร้อยละ 1.95 และค่าใช้จ่ายอื่นร้อยละ 0.82 ซึ่ง
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจาก
1) ต้นทุนขาย 13,361 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน 2,814
ล้านบาท หรือร้อยละ 26.7 เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันต่อหน่วยปรับเพิ่มร้อยละ 31.7
และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหน่วยกลั่นที่ 2 เพิ่มขึ้นประมาณ 107 ล้านบาท
2) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 302 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน
จำนวน 59 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.3 ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการขายเพิ่มขึ้น 34
ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาปรับโครงสร้างการเงินและอื่นๆ 25 ล้านบาท
3) ดอกเบี้ยจ่าย 274 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน 47 ล้านบาท
หรือร้อยละ 14.7 เนื่องจากบริษัทฯ ได้ทำการ Refinance เงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนด
ชำระในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทฯลดลง
เฉลี่ยร้อยละ 0.3 อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้รับการต่ออายุเงินกู้ระยะสั้นภายใต้ EURO
COMMERCIAL PAPER PROGRAMME (ECP) จากกระทรวงการคลังต่อไปอีกเป็นระยะ
เวลา 6 เดือน ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 เพื่อ BRIDGE
FINANCING ช่วงสั้นระหว่างการจัดหาเงินกู้ระยะยาวสกุลเงินบาทมาทดแทน ซึ่งม
อัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1.5 ต่อปี เป็นผลให้บริษัทฯ สามารถลดดอกเบี้ยเงินกู้
ในส่วนนี้ได้ถึงปีละประมาณ 85 ล้านบาท
4) ค่าใช้จ่ายอื่น 117 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน
47 ล้านบาท ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากบริษัทฯ มีรายจ่ายจากการทำสัญญาซื้อขาย
น้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้า (FORWARDS) เพื่อพยายามลดความเสี่ยง
จากการขาดทุนที่เกิดจากความผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงภาวะสงครามระหว่าง
สหรัฐและอิรัก แต่ราคาน้ำมันในช่วงต้นปียังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้มี
รายจ่ายในการทำธุรกรรมดังกล่าว
2.3 กำไร(ขาดทุน)สุทธิ
บริษัทฯ มีกำไรสุทธิในไตรมาสนี้ 422 ล้านบาท โดยเป็นการกำไรจาก
อัตราแลกเปลี่ยน 25 ล้านบาท ซึ่งกำไรสุทธิดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของ
ปีก่อน 116 ล้านบาท โดยมีผลกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและค่าเสื่อมราคา (EBITDA)
+952 ล้านบาท ซึ่งเมื่อจ่ายดอกเบี้ยแล้วยังมีกำไรเป็นเงินสดเหลือ ทั้งนี้
เป็นผลมาจาก
1) ค่าการกลั่น
ในช่วงไตรมาสนี้ ค่าการกลั่นได้ปรับตัวดีขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก
การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน เนื่องจากการประท้วงในประเทศเวเนซุเอล่าที่
ยืดเยื้อและความกังวลต่อภาวะสงครามระหว่างสหรัฐฯ และอิรัก
2) ด้านการจำหน่าย
บริษัทฯ มียอดจำหน่ายผ่านสถานีบริการเฉลี่ยในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายที่มีค่าการตลาดสูงสุด
โดยเป็นผลมาจากการออกผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซลเกรดพิเศษ ภายใต้ชื่อ "POWER D"
ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากผู้ใช้รถ นอกจากนี้บริษัทฯ ได้ทำการปรับปรุง
ภาพลักษณ์และการบริการของสถานีบริการน้ำมันและร้านสะดวกซื้อ ให้เป็นที่พอใจ
สูงสุดแก่ผู้บริโภค
3) ด้านการผลิต
บริษัทฯ ได้ทำการหยุดซ่อมบำรุงหน่วยกลั่นที่ 2 ชั่วคราวในช่วงกลาง
เดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม จึงทำให้ปริมาณการกลั่นเฉลี่ยทั้งไตรมาสลดลง
แต่อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ได้นำน้ำมันคงคลังมาจำหน่ายเพื่อลดความเสี่ยงต่อความ
ผันผวนของราคาและทำการจัดหาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมทดแทนกำลังกลั่นที่ลดลงเพื่อ
รักษาส่วนแบ่งการตลาด อีกทั้งยังคงขยายความร่วมมือกับบริษัทน้ำมันอื่น
ในการลดต้นทุนและการเพิ่มรายได้ โดยมีปริมาณน้ำมันที่ถูกส่งไปเพิ่มมูลค่าที่
โรงกลั่นอื่นเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 143 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินสำหรับ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2546 เปรียบเทียบ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2545
3.1 สินทรัพย์
การวิเคราะห์งบดุล
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2546 และวันที่ 31 ธันวาคม 2545
หน่วย : ล้านบาท
ณ วันที่
31 มี.ค. 46 31 ธ.ค. 45 เปลี่ยนแปลง
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 2,763 1,374 1,388
เงินลงทุนชั่วคราว 153 153 0
ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 3,323 2,725 599
สินค้าคงเหลือ 5,652 6,089 -437
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
พัสดุคงเหลือ-สุทธิ 352 365 -12
อื่นๆ 437 371 66
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 12,681 11,076 1,604
เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย 1 1 0
เงินลงทุนระยะยาวอื่น 5 5 0
ค่าขนส่งจ่ายล่วงหน้า 181 183 -2
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ 15,320 15,638 -318
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1,040 1,056 -17
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
เงินลงทุนในสถานีบริการน้ำมัน 633 634 -1
ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 61 60 2
อื่นๆ 348 248 101
รวมสินทรัพย์ 30,270 28,901 1,369
สินทรัพย์รวม ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2545 มีมูลค่า
เพิ่มขึ้น 1,369 ล้านบาท โดยรายการสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงมากคือ
1) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 2,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน
1,388 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2545 ซึ่งเป็นผลมาจากการลดสินค้าคงเหลือ
เพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นมาก
2) ลูกหนี้การค้า 3,323 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 599 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ
ณ สิ้นปี 2545 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมากและยอดขาย
น้ำมันที่สูงขึ้นจากการนำน้ำมันเตาและน้ำมันองค์ประกอบเบนซินไปผลิตเป็นน้ำมัน
สำเร็จรูปที่โรงกลั่นฯ อื่น โดยระบบบัญชีจะบันทึกเป็นการขาย ทำให้มูลค่าของ
ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น
3) สินค้าคงเหลือ 5,652 ล้านบาท ลดลงจำนวน 437 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2545 ซึ่งเป็นผลมาจากการลดปริมาณสินค้าคงคลังลงประมาณ
0.7 ล้านบาเรล
3.2 หนี้สิน
การวิเคราะห์งบดุล
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2546 และวันที่ 31 ธันวาคม 2545
หน่วย : ล้านบาท
ณ วันที่
31 มี.ค.46 31 ธ.ค.45 เปลี่ยนแปลง
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน 3,034 1,000 2,034
เงินกู้ยืมระยะสั้น 2,470 2,481 -10
เจ้าหนี้การค้า 4,410 3,137 1,273
เงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 6,755 6,380 375
ภาษีสรรพสามิตและเงินนำส่งกองทุนน้ำมันฯ
ค้างจ่าย 205 144 61
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย / อื่นๆ 718 791 -73
รวมหนี้สินหมุนเวียน 17,592 13,933 3,660
เงินกู้ยืมระยะยาว 7,395 9,973 -2,578
หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น 396 409 -14
รวมหนี้สิน 25,383 24,315 1,068
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนที่ออกและชำระแล้ว 5,220 5,220
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 2,008 2,008
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย 5,057 5,178 -121
กำไร (ขาดทุน) สะสม -7,398 -7,820 422
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 4,887 4,586 301
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 30,270 28,901 1,369
หนี้สิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2545 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
1,068 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เพิ่มขึ้น คือ
1) เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 3,034 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,034
ล้านบาท เพื่อใช้ชำระเงินกู้ระยะยาวที่ครบกำหนดชำระในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2546
2) เจ้าหนี้การค้า 4,410 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,273 ล้านบาท
ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและจากการรับน้ำมันสำเร็จรูป
ที่ได้จากการร่วมมือผลิตกับโรงกลั่นอื่นคืนกลับมา ซึ่งบันทึกเป็นการซื้อ
3) เงินกู้ระยะยาว 7,395 ล้านบาท ลดลง 2,578 ล้านบาท จากการ
Refinance ด้วยเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
3.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 จำนวน 4,887 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
301 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2545 เนื่องจากบริษัทฯ มีกำไรสุทธิจำนวน 422 ล้านบาท
แต่หักลบกับส่วนเกินทุนจากการตีมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลงจำนวน 121 ล้านบาท
4. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับไตรมาส 1/2546 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2545
งบกระแสเงินสด
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2546 และ 2545
หน่วย : ล้านบาท
ไตรมาส 1
2546 2545 เปลี่ยนแปลง
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 422 307 116
ค่าเสื่อมราคา / ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย / อื่นๆ 273 252 21
กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงาน 695 559 136
สินทรัพย์ดำเนินงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง (199) (1,161) 962
หนีสินดำเนินงาน เพิ่มขึ้น (ลดลง) 1,211 897 314
เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมดำเนินงาน 1,707 295 1,413
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
ลงทุนในที่ดิน อาคารและอุปกรณ์/อื่นๆ (เพิ่มขึ้น)ลดลง (35) (45) 10
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ (เพิ่มขึ้น)ลดลง (115) (31) -84
เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมลงทุน (150) (76) -74
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น (ลดลง) 2,034 (51) 2,085
เงินกู้ยืมระยะยาวเพิ่มขึ้น (ลดลง) (2,203) (822) -1,381
เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมจัดหาเงิน (169) (873) 704
เงินสดและเงินฝากธนาคารเพิ่มขึ้น(ลดลง) สุทธิ 1,388 (655) 2,043
ในไตรมาสแรกปี 2546 บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 1,388
ล้านบาท เป็นผลมาจากกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 695 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียน
ที่ลดลง จำนวน 1,012 ล้านบาท เนื่องจากมีการลดน้ำมันคงคลังและเจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น
โดยนำเงินชำระเงินกู้ที่ครบกำหนดและไปลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์และอื่นๆ
จำนวน 35 ล้านบาท และทรัพย์สินไม่หมุนเวียนอื่นๆ 115 ล้านบาท