งบการเงินไตรมาสสองปี 2541 ทีแก้ไขปรับปรุงแล้ว

ที่ 1600 / 065 / 2541 25 กันยายน 2541 เรื่อง นำส่งงบการเงินไตรมาสสอง ปี 2541 ที่แก้ไขปรับปรุงแล้ว เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อ้างถึง 1. หนังสือตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ บจ./ร 371/2541 วันที่ 26 สิงหาคม 2541 2. หนังสือบริษัทฯ ที่ 2000/019/2541 วันที่ 16 กันยายน 2541 3. หนังสือตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ บจ./ร 381/2541 วันที่ 22 กันยายน 2541 สิ่งที่ส่งมาด้วย งบการเงินและรายงานผู้สอบบัญชี สำหรับไตรมาสสอง สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ที่แก้ไขปรับปรุงแล้ว จำนวน 1 ชุด ตามที่บริษัทฯ ได้นำส่งงบการเงินและรายงานผู้สอบบัญชีสำหรับไตรมาสสองปี 2541 สิ้นสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2541 และต่อมาตลาด หลักทรัพย์ฯ มีหนังสือแจ้งให้บริษัทฯ แก้ไขปรับปรุงงบการเงินฉบับดังกล่าว ตามความเห็นของผู้สอบบัญชี ที่แสดงในรายงานงบการเงินว่า การที่บริษัทฯ บันทึกผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้ส่วนที่ใช้ในการ ก่อสร้างสินทรัพย์เป็นส่วนของต้นทุนของงานระหว่างก่อสร้างแทนการรับรู้เป็นรายได้ มีผลทำให้กำไร สุทธิสำหรับงวด 6 เดือนต่ำไป 84.01 ล้านบาท (หนังสือที่อ้างถึง 1) ในเรื่องนี้บริษัทฯ ได้เรียนชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แล้ว ถึงเหตุผลของการบันทึกบัญชีดังกล่าว ที่บริษัทฯ มีความเห็นในการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่แตกต่างกับผู้สอบบัญชี (หนังสือที่อ้างถึง 2) อย่างไรก็ตาม ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทฯ ควรบันทึกผลกำไรหรือขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้ส่วนที่ใช้ในการก่อสร้างสินทรัพย์เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่เกิดผล ต่างขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 30 เรื่องผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (หนังสือที่อ้างถึง 3) บริษัทฯ ได้แก้ไขปรับปรุงการบันทึกบัญชีดังกล่าว ตามที่ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พิจารณาเห็นสมควรแล้ว ซึ่งมีผลทำให้ในครึ่งปีแรก 2541 บริษัทฯ มี กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 84.01 ล้านบาทเป็น 116.85 ล้านบาท บริษัทฯ บางจากฯ ขอนำส่งงบการเงินและรายงานผู้สอบบัญชีสำหรับไตรมาสสองสิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ที่แก้ไขปรับปรุงแล้ว ขอแสดงความนับถือ (นายระบิล พรพัฒน์กุล) ผู้จัดการอาวุโสสำนักงานแผนกิจการ สำนักงานแผนกิจการ โทร. 301-2842 รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) สำหรับไตรมาสที่สองและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ ผู้ถือหุ้น บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด ( มหาชน ) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้สอบทานงบดุล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 และ 2540 และงบกำไรขาดทุน สำหรับไตรมาสที่สองและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน ) ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แห่งประเทศไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขต จำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินมาก ดังนั้นสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้ จากการสอบทานดังกล่าวข้างต้น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่พบสิ่งที่เป็นสาระ สำคัญซึ่งควรนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลนี้ ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ( นายนนทพล นิ่มสมบุญ ) ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ( นางดวงตา จานทอง ) นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน 8 วันที่ 22 กันยายน 2541 ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) งบดุล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 และ 2540 2541 2540 บาท บาท สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและเงินฝากธนาคาร 90,855,134 28,026,924 เงินลงทุนระยะสั้น 267,895,675 8,370,095,181 ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า-สุทธิ( หมายเหตุ 2 ) 2,222,931,856 2,573,483,629 สินค้าคงเหลือ 3,183,945,310 3,258,170,574 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น พัสดุคงเหลือ 455,159,784 559,292,145 อื่น ๆ 539,906,064 548,519,823 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 6,760,693,823 15,337,588,276 เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน( หมายเหตุ 3 ) 424,360,985 415,127,424 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 18,729,517,840 12,870,517,942 สินทรัพย์อื่น ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 1,546,210,390 - รายจ่ายรอการตัดบัญชี 201,978,427 178,407,651 เงินลงทุนในอุปกรณ์สถานีบริการ 213,493,011 272,325,731 อื่น ๆ 163,113,033 86,866,103 รวมสินทรัพย์ 28,039,367,509 29,160,833,127 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ (นายสมชัย ฤชุพันธุ์) (นายโสภณ สุภาพงษ์) ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) งบดุล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 2541 2540 บาท บาท หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 1,995,244,042 11,711,098,014 เจ้าหนี้การค้า 8,148,814,829 4,228,991,724 ส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 362,012,450 219,640,000 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 6,250,000 - หนี้สินหมุนเวียนอื่น ภาษีสรรพสามิตและเงินนำส่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงค้างจ่าย 255,027,660 244,898,050 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 459,911,544 245,269,123 อื่นๆ 349,129,561 190,668,247 รวมหนี้สินหมุนเวียน 11,576,390,086 16,840,565,158 เงินกู้ระยะยาว 5,994,393,011 3,112,697,358 หนี้สินอื่น รายได้รอการรับรู้ 83,043,033 90,651,250 อื่น ๆ 38,102,176 17,411,868 รวมหนี้สิน 17,691,928,306 20,061,325,634 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน 5,220,409,400 5,220,409,400 หุ้นสามัญ 522,040,940 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ทุนที่ออกและชำระแล้ว หุ้นสามัญ 522,040,940 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท 5,220,409,400 5,220,409,400 ส่วนเกินทุน ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 2,007,950,671 2,007,950,671 ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน 4,916,542,076 - กำไร (ขาดทุน) สะสม จัดสรรแล้ว สำรองตามกฎหมาย 547,594,555 547,594,555 ยังไม่ได้จัดสรร (2,303,378,180) 1,386,977,917 ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนก่อนปี 2539 รอการตัดบัญชี (41,679,319) (63,425,050) รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 10,347,439,203 9,099,507,493 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 28,039,367,509 29,160,833,127 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) งบกำไรขาดทุน สำหรับไตรมาสที่สองและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และ 2540 สะสมถึงไตรมาสนี้ ไตรมาสที่สอง งวดหกเดือน 2541 2540 2541 2540 บาท บาท บาท บาท รายได้ รายได้จากการขาย 8,952,945,401 8,918,734,073 18,853,432,232 17,695,810,806 รายได้อื่น ดอกเบี้ยรับ 35,124,271 277,219,001 99,376,530 472,973,957 อื่น ๆ 71,856,602 112,594,951 133,886,338 203,034,234 รวมรายได้ 9,059,926,274 9,308,548,025 19,086,695,100 18,371,818,997 ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขาย 9,056,414,627 8,604,576,588 17,839,629,213 17,201,911,013 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 288,079,456 259,420,021 556,048,073 504,202,037 ดอกเบี้ยจ่าย 173,382,543 324,759,849 399,065,792 621,663,076 ค่าตอบแทนกรรมการ 118,800 1,046,750 250,200 1,211,750 ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ 80,610,601 61,397 126,022,281 15,379,725 รวมค่าใช้จ่าย 9,598,606,027 9,189,864,605 18,921,015,559 18,344,367,601 กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้ (538,679,753) 118,683,420 165,679,541 27,451,396 ภาษีเงินได้ (162,660,645) 4,753,327 48,832,017 4,753,327 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (376,019,108) 113,930,093 116,847,524 22,698,069 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (0.7) 0.22 0.22 0.04 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด ( มหาชน ) หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับไตรมาสที่สองและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2541 1. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ 1.1 การบันทึกบัญชีถือตามเกณฑ์คงค้าง ( Accrual Basis ) 1.2 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประมาณจากจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บจากลูกหนี้ไม่ได้ โดยวิเคราะห์จากฐานะปัจจุบันของลูกหนี้แต่ละรายที่หยุดซื้อ-ขายนานกว่า 1 ปี ทั้งจำนวน 1.3 สินค้าคงเหลือ ผลิตภัณฑ์น้ำมันคงเหลือ บันทึกบัญชีในราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า ราคาทุนต่อ หน่วยคำนวณโดยถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการผลิตของแต่ละเดือนกับ ปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมัน แต่ละประเภท ซึ่งถ่วงน้ำหนักราคา ณ โรงกลั่น (Ex-refinery) โดยใช้เกณฑ์เข้า ก่อนออกก่อนน้ำมันดิบคงเหลือ บันทึกบัญชีในราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า ราคาทุน ต่อหน่วยคำนวณโดยถัวเฉลี่ยต้นทุนซื้อน้ำมันดิบกับปริมาณที่ซื้อในแต่ละเดือน โดยใช้เกณฑ์ เข้าก่อนออกก่อน 1.4 พัสดุคงเหลือ บันทึกบัญชีในราคาทุนโดยวิธีถัวเฉลี่ย 1.5 เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 1.5.1 กรณีที่บริษัทฯ ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป ของทุนที่ชำระแล้ว จะบันทึกตามวิธีส่วน ได้เสีย 1.5.2 กรณีที่บริษัทฯ ถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 บันทึกตามราคาทุน 1.6 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ บันทึกบัญชีในราคาทุนที่ซื้อหรือได้มา ดอกเบี้ยจ่ายที่ใช้เพื่อให้ ได้มาซึ่งสินทรัพย์ถาวรถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ถาวร ค่าเสื่อมราคา คำนวณโดยวิธีเส้นตรง ตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ แต่ละประเภท ซึ่งอยู่ระหว่างอัตราร้อยละ 5 - 20 ต่อปี บริษัทฯ จะตีราคาสินทรัพย์ตามสภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและมี ผลกระทบต่อสินทรัพย์โดยตรง มูลค่าส่วนเพิ่มจากการตีราคาสินทรัพย์บันทึกไว้ในบัญชีส่วน เกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์โดยแสดงไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น และจำนวนนี้จะไม่สามารถ นำไปจ่ายเป็นเงินปันผล ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ส่วนที่ตีราคาจะนำไปหักออกจากบัญชีส่วนเกินทุนจากการตี ราคาสินทรัพย์ 1.7 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี บริษัทฯ บันทึกผลต่างของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากงบการเงินกับภาษีเงินได้นิติ บุคคลที่คำนวณตามประมวลรัษฎากรเป็นภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และแสดงรายการไว้ ในงบดุล จะตัดบัญชีเมื่อรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่บันทึกไว้เกิดขึ้นจริง หรือถือหักเป็นค่าใช้จ่าย ได้แล้วในการคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร 1.8 รายจ่ายรอการตัดบัญชี ค่าเช่าที่ดินในสถานีบริการ ตัดจ่ายตามอายุสัญญาเช่า ส่วนเกินมูลค่าสินทรัพย์จากการแลกเปลี่ยนอาคารระหว่างบริษัทฯ กับกรมการพลังงาน ทหาร กระทรวงกลาโหม ตัดจ่ายภายใน 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2531 รายจ่ายรอการตัดบัญชีอื่น ตัดจ่ายภายใน 5 ปี 1.9 เงินตราต่างประเทศ 1.9.1 บันทึกบัญชีเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการและจะปรับมูลค่า เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้เป็นอัตราอ้าง อิง ณ วันสิ้นงวดบัญชี ผลต่างจากการปรับมูลค่า รับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน ยกเว้นผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนรอตัดบัญชีก่อนปี 2539 ตัดจ่ายตามอายุหนี้ที่เหลือ 1.9.2 กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการชำระหนี้ในปีใด บันทึกเป็น รายได้ หรือค่าใช้จ่ายในปีนั้นทั้งจำนวน 1.10 รายได้รอการรับรู้ รายได้รับล่วงหน้าจากการให้เช่าสินทรัพย์และอื่นๆ รับรู้เป็นรายได้ตามอายุสัญญา 1.11 ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากเงินกู้ซึ่งใช้ในการก่อสร้างสินทรัพย์ถาวรถือเป็นส่วนหนึ่งของ ต้นทุนงานระหว่างก่อสร้าง เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ ดอกเบี้ยจ่ายถือเป็นค่าใช้จ่าย 1.12 กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น กำไร(ขาดทุน)สุทธิต่อหุ้นคำนวณจากกำไร(ขาดทุน)สุทธิหารด้วยจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วง น้ำหนักของหุ้นที่ได้ออกจำหน่ายและเรียกชำระแล้ว 2. ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า - สุทธิ บริษัท ฯ มีลูกหนี้การค้าที่มีปัญหาในการชำระหนี้ แยกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้ ( ล้านบาท ) มากกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน 7.88 มากกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน 11.79 มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป 40.09 รวม 59.76 บริษัท ฯ ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้จำนวน 53.62 ล้านบาท 3. เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืม เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 424.36 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 200.73 ล้านบาท ( วิธีราคาทุน 163.00 ล้านบาท และวิธีส่วนได้เสีย 37.73 ล้านบาท ) และเงินจ่ายล่วงหน้าแก่กิจการที่เกี่ยว ข้องกัน 223.63 ล้านบาท ดังนี้ 3.1 เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ชื่อบริษัท ประเภทกิจการ ลักษณะความ ทุนชำระแล้ว สัดส่วนเงิน เงินลงทุน เงินปันผล สัมพันธ์ ลงทุน (ล้านบาท) (ล้านบาท) (ร้อยละ) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย บริษัทร่วม บริษัท บริหารเครือข่าย ถือหุ้น 1.00 49.00 - 18.65 - บางจาก การจำหน่ายสินค้า กรีนเนท อุปโภค บริโภค จำกัด บริษัท ธุรกิจขนส่ง ถือหุ้น 0.10 49.00 - 2.63 - บางจาก บริโภค กรีนไลน์ จำกัด บริษัท บริหารเครือข่าย ถือหุ้น 3.00 48.98 - 1.86 - มงคลชัย การจำหน่ายสินค้า พัฒนา อุปโภค บริโภค จำกัด บริษัท ผลิตและจำหน่าย ถือหุ้น 40.00 39.99 - 14.59 - บางจาก ไฟฟ้าและไอน้ำ เพาเวอร์ จำกัด บริษัทที่เกี่ยวข้อง บริษัท ธุรกิจขนส่ง ถือหุ้น 796.00 16.71 133.00 - - ขนส่ง บริการ น้ำมัน ทางท่อ จำกัด บริษัท ค้าปลีกค้าส่ง ถือหุ้น 300.00 10.00 30.00 - - โอชอง สินค้าอุปโภค เชียงใหม่ บริโภค จำกัด รวม 163.00 37.73 - 3.2 เงินค่าขนส่งจ่ายล่วงหน้าให้บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด 223.63 ล้านบาท ในไตรมาสนี้ บริษัทฯ ได้บันทึกส่วนแบ่งผลกำไรจากเงินลงทุนซึ่งคำนวณจากผลการ ดำเนินงานที่ได้รับแจ้งจากบริษัทฯต่างๆ ตามนโยบายการบัญชีข้อ 1.5.1 ดังนี้ บริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด บริษัท บางจากกรีนไลน์ จำกัด บริษัท มงคลชัยพัฒนา จำกัด และบริษัท บางจากเพาเวอร์ จำกัด จำนวน 7.14 ล้านบาท 0.34 ล้านบาท 0.25 ล้านบาท และ 1.35 ล้านบาท ตามลำดับ 4. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 บริษัทฯ มีภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ 4.1 ภาระผูกพัน บริษัทฯ มีภาระการค้ำประกันโดยธนาคาร เป็นเงิน 187.83 ล้านบาท 4.2 คดีที่ถูกฟ้องร้อง กระทรวงการคลัง ( จำเลยที่ 1 ) ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย ( จำนวนทุนทรัพย์ 1,055 ล้านบาท ) ต่อศาลแพ่งในข้อหาละเมิดขับไล่ที่ราชพัสดุบริเวณท่าเรือโรงกลั่น ซึ่งบริษัทฯ เช่าจากกระทรวงการคลัง โดยบริษัทฯ ในฐานะผู้เช่าที่ถูกฟ้องร้องเป็นจำเลย ร่วม ( จำเลยที่ 5 ) สำนักกฎหมายของบริษัทฯให้ความเห็นว่าถึงแม้ผลคดีจะเป็นประการ ใด บริษัทฯ ในฐานะผู้เช่าตามสัญญาย่อมไม่มีภาระรับผิดเกี่ยวกับจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องร้อง ดังกล่าวข้างต้น คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแพ่ง 5. การเตรียมการเพื่อรองรับผลกระทบปัญหาปี ค.ศ. 2000 ที่มีต่อกิจการ บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ.2000 ตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2540 ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 การแก้ไขปรับปรุงดังกล่าวเสร็จประมาณ ร้อยละ 65 ของการแก้ไขปรับปรุงทั้งหมด อนึ่ง บริษัทฯ ยังคงมีความเสี่ยงต่อการที่บริษัทอื่นที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วย อาจจะไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงระบบได้ทันกาล อย่างไรก็ดี บริษัทฯ คาดว่าผลกระทบ ดังกล่าวจะไม่มีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ