คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 1/2553

คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 ภาพรวมธุรกิจปี 2553 ด้านราคาน้ำมัน สำหรับไตรมาส 1 ปี 2553 น้ำมันในตลาดโลกมีระดับราคาที่ทรงตัวใกล้เคียงกับช่วงไตรมาส 4 ปี 2552 แต่สูง กว่ามากเมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 โดยได้แรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง และสภาพ อากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่องในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชียเหนือ ส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ ตามนักลงทุนก็ยังมีความกังวลต่อมาตรการเศรษฐกิจที่เข้มงวดของจีนว่าอาจทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจน ส่งผลต่อภาวะหดตัวของอุปสงค์ด้านพลังงานได้ ตารางแสดงราคาและส่วนต่างราคาน้ำมันเปรียบเทียบเป็นดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปี 2553 (ไตรมาส 1) ปี 2552 ผลแตกต่าง สูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย เฉลี่ยไตรมาส 1 เฉลี่ยไตรมาส 4 ราคา (A)-(B) (A)-(C) (A) (B) (C) DB 81.30 69.40 75.78 44.31 75.35 +31.47 +0.43 UNL95/DB 15.13 8.42 12.52 10.69 5.08 +1.83 +7.44 GO/DB 11.52 6.68 8.96 8.81 6.19 +0.15 +2.77 FO/DB 0.11 -6.37 -3.04 -6.69 -4.48 +3.65 +1.44 สำหรับไตรมาส 2 ปี 2553 คาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบๆขึ้นลง ตามปัจจัยพื้นฐานและข่าวที่ส่งผลกระทบต่อจิตวิทยารายวัน ปัจจัยที่จะกดดันราคาน้ำมันให้อ่อนตัวลงได้แก่ การแข็ง ค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเงินยูโรอันเป็นผลจากปัญหาของประเทศกรีซซึ่งมีผลกระทบต่อเสถียรภาพทาง การเงินของสหภาพยุโรป และผลกระทบจากสถานการณ์ภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศไอซแลนด์ต่อธุรกิจภาคการบินและ การท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของโลกที่ฟื้นตัวและความเชื่อมั่นต่อผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ที่แข็งแกร่งขึ้นซึ่งส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันโดยตรงจะเป็นตัวผลักดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นได้ ด้านการผลิตและการจำหน่าย ไตรมาส 1 ปี 2553 บริษัทฯกลั่นน้ำมันเฉลี่ย 86.3 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2552 ที่อยู่ที่ 81.6 พันบาร์เรลต่อวัน โดยเป็นการกลั่นในรูปแบบ Complex Refinery จากโครงการ PQI ที่เริ่มดำเนินการผลิตเชิง พาณิชย์แล้วตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2552 เป็นต้นมา ด้านการจำหน่ายสำหรับไตรมาส 1 ปี 2553 บริษัทฯมีปริมาณจำหน่ายรวม (ไม่รวมน้ำมันดิบและ น้ำมันหล่อลื่น) เฉลี่ย 101.9 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 96.5 พันบาร์เรลต่อวัน โดย เป็นการจำหน่ายผ่านธุรกิจการตลาด 69.0 พันบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ที่อยู่ที่ 58.3 พันบาร์เรล ต่อวัน เมื่อพิจารณาการจำหน่ายน้ำมันผ่านสถานีบริการน้ำมันในไตรมาส 1 ปี 2553 จากข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 พบว่าภาพรวมตลาดสถานีบริการน้ำมันมีปริมาณการจำหน่ายรวมทุกยี่ห้อลดลง ถึง 7.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 อย่างไรก็ตามบริษัทฯมียอดจำหน่ายผ่านสถานีบริการลดลงเพียง 3.7% ทำให้บริษัทฯมีส่วนแบ่งการตลาดผ่านสถานีบริการเฉลี่ยเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 3 โดยมีส่วนแบ่งการตลาดที่ 13.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 13.1% 1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ไตรมาส 1 เปลี่ยนแปลง งบการเงินรวม (หน่วย : ล้านบาท) ปี 2553 ปี 2552 เพิ่ม(+)/ลด(-) % รายได้จากการขายและให้บริการ 33,980 21,522 +12,458 57.9 ต้นทุนขาย (32,410) (20,268) +12,142 59.9 กำไรเบื้องต้น 1,570 1,254 +316 +25.2 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (698) (644) +54 +8.4 รายได้จากการดำเนินงานอื่น 56 54 +2 +3.7 กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย 928 664 +264 +39.8 ต้นทุนทางการเงิน (209) (141) +68 +48.2 กำไรจากการดำเนินงานหลังหักดอกเบี้ย 719 523 +196 +37.5 บวก (หัก) รายได้/ค่าใช้จ่ายอื่น กลับรายการ LCM - 930 -930 N/A กำไรจาก Hedging น้ำมัน 25 1,307 -1,282 -98.1 กำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน 219 (503) +722 +143.5 กลับรายการด้อยค่าทรัพย์สิน 114 - +114 N/A กำไรก่อนภาษีเงินได้ 1,077 2,257 -1,180 -52.3 ภาษีเงินได้ (283) (666) -383 -57.5 กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ 794 1,591 -797 -50.1 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 11 (0.62) +11 N/A ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท 783 1,591 -808 -50.8 1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน 1) ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2553 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 794 ล้านบาท ประกอบด้วย ผลกำไรของบริษัทฯ จำนวน 752 ล้านบาท กำไรของบริษัท บางจากกรีนเนท จำกัด จำนวน 5 ล้านบาท กำไรของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด จำนวน 38 ล้านบาท หักกำไรระหว่างกันจำนวน 1 ล้านบาท เมื่อแบ่งกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (Minority Interests) จำนวน 11 ล้านบาท คงเหลือกำไร สุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ จำนวน 783 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.67 บาท กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทลดลงจาก 1,591 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2552 เป็น 783 ล้าน บาท ในไตรมาส 1 ปี 2553 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดลงของรายการกำไรจาก Hedging น้ำมัน ซึ่งโดยปกติบริษัทฯจะพิจารณาเข้าทำธุกรรม Hedging ล่วงหน้าไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ในปี 2552 สภาวะ ตลาดซื้อขายล่วงหน้าไม่เอื้ออำนวยในการเข้าทำธุรกรรม Hedging สำหรับปี 2553 ทำให้ในปีนี้บริษัทฯ จะไม่ได้รับกำไรจากการ Hedging มากดังเช่นปีก่อน อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณากำไรจากการดำเนินการ ตามปกติจะเห็นได้ว่ามีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยมีกำไรจากการดำเนินงานหลังจากหักดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 37.5% 2) ผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท บางจากฯ มี EBITDA พื้นฐานจำนวน 1,362 ล้านบาท เมื่อรวมผลกำไร จาก Hedging จำนวน 25 ล้านบาท และผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 145 ล้านบาท จึงทำให้มี EBITDA รวม 1,532 ล้านบาท โดยมาจากกำไรขั้นต้นรวมธุรกิจโรงกลั่นและตลาด (Gross Integrated Margin-GIM) จำนวน 8.18 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตารางแสดงผลประกอบการแยกตามประเภทธุรกิจ เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นดังนี้ EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 เพิ่ม + / ลด - (หน่วย : ล้านบาท) ปี 2553 (A) ปี 2552 (B) (A) - (B) EBITDA (จากการดำเนินงานพื้นฐาน) 1,362 1,917 -555 - โรงกลั่น 976 1,346 -370 - ตลาด 386 571 -185 กำไรจาก Hedging 25 1,307 -1,282 กำไร (ขาดทุน) จากสต๊อกน้ำมัน 145 (179) +324 EBITDA รวม (ตามบัญชี) 1,532 3,045 -1,513 - โรงกลั่น 1,146 2,474 -1,328 - ตลาด 386 571 -185 - EBITDA จากผลประกอบการของธุรกิจโรงกลั่นรวมจำนวน 1,146 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 2,474 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่นรวม 6.21 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มีการใช้ กำลังการผลิตที่ 86.3 พันบาร์เรลต่อวัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีค่าการกลั่น 10.81 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และมีการใช้กำลังการผลิต 81.6 พันบาร์เรลต่อวัน ตารางแสดงรายละเอียด การวิเคราะห์ค่าการกลั่นเป็นดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ผลแตกต่าง ค่าการกลั่นจากปี 2553 ปี 2552 +/- ค่าการกลั่นพื้นฐาน 5.54 6.50 -0.96 GRM Hedging 0.10 4.99 -4.89 สต๊อกน้ำมันและ LCM 0.57 (0.68) +1.25 รวม 6.21 10.81 -4.60 ค่าการกลั่นพื้นฐาน ปรับตัวลดลง 0.96 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากปีก่อนบริษัทฯได้ทำ สัญญาขายน้ำมันเตาไปต่างประเทศโดยมี Premium ในระดับสูงประมาณ 8.9 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล ในขณะที่ปีนี้จากการกลั่นแบบ Complex ทำให้มีปริมาณการผลิตน้ำมันเตาลดลงโดยมี Premium ที่ได้จากตลาด Spot เพียงประมาณ 2.4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อันเป็นผลจาก โครงสร้างน้ำมันเตาที่เปลี่ยนไป และส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดิบปรับตัวติดลบแคบ ลง อนึ่งสำหรับส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบชนิดอื่นๆในไตรมาสนี้อยู่ในระดับ ใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่ายังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับน้ำมันดิบมี ระดับราคาที่สูงกว่าปีก่อนมาก ตารางแสดงส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบอ้างอิงเป็น ดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ผลแตกต่าง ส่วนต่างราคาเฉลี่ย ปี2553 ปี2552 +/- UNL95/DB 12.52 10.69 +1.83 IK/DB 9.35 11.14 -1.79 GO/DB 8.96 8.81 +0.15 FO/DB -3.04 -6.69 +3.65 ค่าการกลั่นจาก GRM Hedging ลดลง 4.89 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากในช่วงปี 2552 ที่ ผ่านมาส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบอยู่ในระดับต่ำ จากสภาวะตลาดดังกล่าวทำให้ ไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าทำธุรกรรมการป้องกันความเสี่ยงในการขายส่วนต่างราคาน้ำมันล่วงหน้า ดังนั้นในไตรมาส 1 ปี 2553 นี้จึงมีปริมาณธุรกรรมที่บริษัทฯทำไว้เพียง 7% ของปริมาณการกลั่น เฉลี่ย (ปี 2552 มีปริมาณการทำธุรกรรมประมาณ 54% ของปริมาณกลั่นเฉลี่ย) และในไตรมาสนี้ ทิศทางการปรับตัวของส่วนต่างราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นจริงใกล้เคียงกับราคาที่ได้ทำสัญญาไว้ ล่วงหน้า บริษัทฯจึงไม่ได้รับกำไรจากการทำธุรกรรมการป้องกันความเสี่ยงนี้มากนัก ค่าการกลั่นจากสต๊อกน้ำมัน ในงวดนี้มีผลกำไรจากสต็อกน้ำมัน 0.57 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงสิ้นปี 2552 ซึ่งเป็นไปในทิศทาง ตรงกันข้ามกับการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันเมื่อปลายปี 2551 ที่ราคาน้ำมันปรับตัวลงอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันต่อเนื่องในไตรมาส 1 ปี 2552 จำนวน 0.68 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล (สุทธิการกลับรายการ LCM แล้ว) - EBITDA จากธุรกิจการตลาด 386 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 571 ล้านบาท เนื่องจากในช่วงไตรมาส 1 ปี 2553 ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการเคลื่อนไหวในทิศทางที่ค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น ไม่ผันผวนมากนักทำให้การควบคุมและกำหนดค่าการตลาดค้าปลีกสามารถทำได้ สอดคล้องกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ในขณะที่ปีก่อนมีค่าการตลาดที่สูงกว่าเนื่องจากการเคลื่อนไหว ของราคาน้ำมันมีความผันผวนมากกว่า การปรับราคาหน้าสถานีบริการจึงทำได้ช้ากว่า ส่งผลให้ ไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการตลาดสุทธิ (ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 51 สตางค์ต่อลิตร (คิดเป็น ประมาณ 2.46 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) ต่ำกว่าปีก่อนที่มีค่าการตลาดสุทธิประมาณ 80 สตางค์ต่อ ลิตร (หรือคิดเป็นประมาณ 3.58 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล) สำหรับปริมาณการจำหน่ายผ่านธุรกิจ การตลาดโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 58.3 พันบาร์เรลต่อวัน (หรือคิดเป็นประมาณ 278 ล้านลิตรต่อเดือน) เพิ่มเป็น 69.0 พันบาร์เรลต่อวัน (หรือคิดเป็นประมาณ 329 ล้านลิตรต่อ เดือน) 1.2 การวิเคราะห์รายได้ 1) สำหรับไตรมาส 1 ปี 2553 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และ บริษัทย่อยมีจำนวน 33,980 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 33,224 ล้านบาท รายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 4,842 ล้านบาท และรายได้ จากการขายของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 528 ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่าง กันจำนวน 4,615 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับรายได้ต่างๆ ในส่วนของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบ กับปีก่อน ได้แก่ - รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 11,905 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 55.8% เนื่องจากระดับราคาน้ำมันใน ตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาจำหน่ายน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 54.2% และมีปริมาณ การจำหน่ายรวมเพิ่มขึ้น 1.0% - กำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้าลดลง 1,282 ล้านบาท หรือลดลง 98.1% เป็นผลจากการลดลงของปริมาณธุรกรรมการป้องกันความเสี่ยงในการขายส่วนต่างราคา น้ำมันล่วงหน้า ดังที่ได้วิเคราะห์ไว้ในเรื่องค่าการกลั่นจาก GRM Hedging - ในงวดนี้มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 219 ล้านบาท เนื่องจากผลการ Mark to market รายการเงินกู้มูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่บริษัทฯ ได้ทำการเปลี่ยนเงินกู้สกุลเงินบาทให้ เป็นเงินกู้สกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ (Cross Currency Swap) ตามนโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์ และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ในระดับสมดุลกับรายได้ที่อ้างอิงสกุลเงินเหรียญ สหรัฐฯ (Natural Hedge) เพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้รับผลกระทบจากความ ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น บริษัทฯจะมีกำไรจากการจำหน่ายน้ำมันใน รูปของเงินบาทลดลง แต่จะมีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนมาชดเชย ในขณะที่ช่วงเดียวกันของปี ก่อนเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง บริษัทฯได้กำไรจากการจำหน่ายน้ำมันในรูปของเงินบาทมากขึ้น แต่มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 503 ล้านบาท - ในงวดนี้มีการกลับรายการค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าทรัพย์สินจำนวน 114 ล้านบาท โดย บริษัทฯได้ทบทวนมูลค่าที่ดินที่อำเภอบางปะอิน (จังหวัดอยุธยา) และที่ดินบริเวณถนนศรีนครินทร์ เนื่องจากมีข้อบ่งชี้ว่าที่ดินมีการด้อยค่าลดลงจากราคาประเมินของกรมที่ดิน 1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย 1) ไตรมาส 1 ปี 2553 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 32,410 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 31,845 ล้านบาท ต้นทุนของบริษัท บาง จากกรีนเนท จำนวน 4,679 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 476 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกันจำนวน 4,590 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของ บริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในส่วนของบริษัทบางจากฯ ที่มีการ เปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ - ต้นทุนขายและการให้บริการเพิ่มขึ้น 11,662 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 57.8% เนื่องจากต้นทุนราคา น้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยเป็นทิศทางเดียวกับอัตราการเพิ่มขึ้นของ รายได้จากการขาย - ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น 58 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 41.3% เนื่องจากบริษัทฯได้รับรู้ค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ยสำหรับโครงการ PQI เข้าในงบกำไรขาดทุนตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2552 1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร งบการเงินรวม งบเฉพาะบริษัท ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ปี 2553 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2552 รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท 33,980 21,522 33,224 21,319 กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 783 1,591 752 1,581 อัตรากำไรสุทธิ, % 2.30 7.39 2.26 7.42 กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 0.67 1.42 0.64 1.41 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE), % 2.99 7.77 2.87 7.72 ROE(ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน), % 3.10 10.96 2.99 10.89 อัตรากำไรสุทธิมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ กลั่นและค่าการตลาด โดยไตรมาส 1 ปี 2553 งบการเงินรวมและงบเฉพาะบริษัทฯมีอัตรากำไรสุทธิ 2.30% และ 2.26% ตามลำดับ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 7.39% และ 7.42% สาเหตุหลักมาจากการ เปลี่ยนแปลงของค่าการกลั่นรวมและค่าการตลาดดังที่ได้กล่าวไว้ในการวิเคราะห์กำไรขาดทุน ทำให้อัตรา ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (งบการเงินรวม) ในไตรมาส 1 ปี 2553 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ปรับตัวลงลงจาก 7.77% เป็น 2.99% 2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 งบการเงินรวม งบเฉพาะบริษัท 31 มี.ค.53 31 ธ.ค.52 31 มี.ค.53 31 ธ.ค.52 สินทรัพย์รวม, ล้านบาท 55,392 53,891 54,256 52,901 หนี้สินรวม, ล้านบาท 28,738 27,938 27,765 27,069 ส่วนของผู้ถือหุ้น, ล้านบาท 26,654 25,953 26,491 25,832 อัตราส่วนสภาพคล่อง, เท่า 1.82 1.78 1.84 1.80 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น,เท่า 0.57 0.61 0.55 0.59 มูลค่าตามบัญชี, บาท/หุ้น 22.79 22.11 22.65 22.08 2.1 สินทรัพย์ 1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2553 มีจำนวน 55,392 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน 54,256 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 739 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 1,304 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีรายการระหว่างกันอยู่ 907 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชีลูกหนี้การค้าที่บริษัท บางจากกรีนเนท ฃื้อน้ำมันจากบริษัทฯมูลค่าประมาณ 583 ล้านบาท 2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2553 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2552 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จำนวน 1,355 ล้านบาท หรือประมาณ 2.6% สินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 2,400 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 140.3% สาเหตุหลักมา จากการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน รายละเอียดสามารถดูได้จากการวิเคราะห์ งบกระแสเงินสด - พัสดุคงเหลือเพิ่มขึ้น 166 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 49.4% ส่วนใหญ่เนื่องจากบริษัทฯได้จัดหาพัสดุ สำรองอุปกรณ์สำคัญในหน่วยกลั่น PQI ซึ่งจะถูกใช้เปลี่ยนแทนกรณีที่อุปกรณ์ที่ใช้อยู่เกิดการชำรุด เพื่อบริหารความเสี่ยงไม่ให้การดำเนินการผลิตหยุดชะงักเป็นเวลานาน - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ลดลง 919 ล้านบาท หรือลดลง 82.0% ส่วนใหญ่มาจากลูกหนี้ค้างรับจาก การทำธุรกรรม Oil Hedging ลดลงจากการจ่ายชำระส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และน้ำมันดิบตาม สัญญาจำนวน 536 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิ่มค้างรับลดลงจำนวน 414 ล้านบาท เนื่องจากราคา น้ำมันในไตรมาส 1 ปี 2553 ไม่ผันผวนมากนัก บริษัทฯจึงบริหารภาษีซื้อได้สมดุลกับภาษีขายตาม แผนงานที่วางไว้ 2.2 หนี้สิน 1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2553 จำนวน 28,738 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน 27,765 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 695 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 973 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวมีรายการระหว่างกันอยู่ 695 ล้านบาท โดย ส่วนใหญ่เป็นบัญชีเจ้าหนี้การค้าของบริษัท บางจากกรีนเนท ที่ค้างจ่ายค่าซื้อน้ำมันให้บริษัทฯจำนวน 583 ล้านบาท 2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2553 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2552 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 696 ล้าน บาท หรือประมาณ 2.6% หนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ - เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินลดลงจากการชำระคืนเงินกู้จำนวน 800 ล้านบาท เนื่องจากมี สภาพคล่องทางการเงินในระดับสูงทำให้ความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนลดลง - เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,468 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 24.4% เนื่องจากน้ำมันในตลาดโลกมีระดับราคา ที่สูงขึ้น และปริมาณน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่บริษัทฯจัดซื้อในเดือนมีนาคม 2553 เพิ่มสูงขึ้น ประมาณ 0.5 ล้านบาร์เรล เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2552 เนื่องจากบริษัทฯมีแผนที่จะเพิ่ม ปริมาณการกลั่นในไตรมาส 2 ให้สูงขึ้น - ภาษีสรรพสามิตและเงินนำส่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงค้างจ่ายเพิ่มขึ้น 165 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 27.5% ตามปริมาณการผลิตในเดือนมีนาคม 2553 ที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนธันวาคม 2552 - หนี้สินจากสัญญาประกันความเสี่ยงลดลง 134 ล้านบาท หรือลดลง 54.2% เนื่องจากการตีมูลค่า สัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น 2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น 1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2553 รวมจำนวน 26,654 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 26,491 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 44 ล้านบาท และบริษัทบางจากไบโอฟูเอล จำนวน 331 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกัน 212 ล้านบาท 2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ เพิ่มขึ้น 659 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2552 หรือคิดเป็นประมาณ 2.6% เนื่องจากบริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2553 จำนวน 752 ล้านบาท แต่มีการตัด จำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เป็นจำนวน 93 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 31 มีนาคม 2553 มีจำนวน 26,491 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น 22.65 บาท 3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 มี จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 212 ล้านหุ้น เมื่อคิด Full Dilution แล้วจะมีสัดส่วนประมาณ 15.3% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2553 3.1 สำหรับไตรมาส 1 ปี 2553 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา 2,136 ล้านบาท โดยในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ จำนวน 2,489 ล้านบาท ประกอบด้วยเงิน (ยังมีต่อ)