SET Announcements
แจ้งแก้ไขเพิ่มเติมขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
F 24-1
แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่
26 มีนาคม 2553 ได้มีมติดังต่อไปนี้
o แต่งตั้ง/ต่อวาระ
o ประธานกรรมการตรวจสอบ
o กรรมการตรวจสอบ
คือ (1) ...................................................................
(2)....................................................................
(3) ....................................................................
(4) ....................................................................
โดยการแต่งตั้ง/ต่อวาระ ให้มีผล ณ วันที่ ???????????..?
/ กำหนด/เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
10. ให้ความเห็นชอบ กฎบัตร แผนงานตรวจสอบ งบประมาณ แผนการฝึกอบรม และอัตรากำลังคน
ของสำนักตรวจสอบภายใน
โดยการเปลี่ยนแปลงขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2553
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทประกอบด้วย:
1. ประธานกรรมการตรวจสอบ
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 1 ปี 3 เดือน
2. กรรมการตรวจสอบ
นายวิรัตน์ เอี่ยมเอื้อยุทธ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 1 ปี 3 เดือน
3. กรรมการตรวจสอบ
นายนิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 1 ปี 3 เดือน
4. กรรมการตรวจสอบ
นางสาวประนอม โฆวินวิพัฒน์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 1 ปี 3 เดือน
เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน
พร้อมนี้ได้แนบหนังสือรับรองประวัติของกรรมการตรวจสอบจำนวน?-?ท่านมาด้วย โดยกรรมการ
ตรวจสอบลำดับที่?-?มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือ
ของงบการเงิน
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท
ดังต่อไปนี้
1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงิน ตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยกฎหมายอย่าง ถูกต้อง
และเพียงพอ
2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal
Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และสอบทานประสิทธิผลและความพอเพียงของกระบวนการบริหาร
ความเสี่ยง
3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
4. พิจารณา รายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
5. สอบทานและพิจารณาร่วมกับฝ่ายจัดการในเรื่องข้อบกพร่องสำคัญที่ตรวจพบและการสนองตอบจาก
ฝ่ายจัดการ
6. มีอำนาจในการตรวจสอบและสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
ตรวจสอบ และมีอำนาจในการว่าจ้างหรือนำเอาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยงานตรวจสอบและ
สอบสวน โดยปฏิบัติตามระเบียบของบริษัท
7. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของ
บริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
8. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง บุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และ
เสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วม
ประชุมด้วย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
9. พิจารณาขอบเขตการตรวจสอบและแผนการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี และสำนักตรวจสอบภายในให้มี
ความสัมพันธ์และเกื้อกูลกัน และลดความซ้ำซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการเงิน
10.ให้ความเห็นชอบ กฎบัตร แผนงานตรวจสอบ งบประมาณ แผนการฝึกอบรม และอัตรากำลังคนของ
สำนักตรวจสอบภายใน
11.พิจารณา แต่งตั้ง โยกย้าย และประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ
ภายใน รวมทั้งพิจารณาความเป็นอิสระของสำนักตรวจสอบภายใน
12.สอบทานความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม
ภายในและการบริหารความเสี่ยง
13.ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำซึ่งอาจ
มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ได้แก่
(1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(2) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
(3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลา
ที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร หากคณะกรรมการของบริษัทหรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการ
ปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่สมควร กรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานว่า มีรายการหรือการ
กระทำดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์
14. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ตรวจสอบ
บริษัทขอรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ดังนี้
1. กรรมการตรวจสอบมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
2. ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้างต้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่
ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
พลเอก ประธานกรรมการ
(ธวัช เกษร์อังกูร)
กรรมการผู้จัดการใหญ่
(นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล)