SET Announcements
การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552
ที่ 1000/029/2553
19 กุมภาพันธ์ 2553
เรื่อง การจ่ายเงินปันผล และกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2553
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท บางจากฯ (มหาชน) ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์
2553 ได้มีมติที่ประชุมดังต่อไปนี้
1. ให้จ่ายเงินปันผลสำหรับงวด 6 เดือนหลังของปี 2552 ในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท คิดเป็นเงินประมาณ 936
ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินปันผลระหว่างกาลงวด 6 เดือนแรกของปี 2552 ในอัตราหุ้นละ 1 บาท จาก
กำไรสะสมของบริษัทฯ คิดเป็นเงินประมาณ 1,170 ล้านบาท (บริษัทฯ จ่ายเงินปันผลดังกล่าวแล้ว
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552) จะรวมเป็นเงินปันผลที่จ่ายสำหรับปี 2552 ในอัตราหุ้นละ 1.80 บาท รวมเป็น
เงินประมาณ 2,106 ล้านบาท โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 8 มีนาคม 2553 และ
ให้รวบรวมรายชื่อตามมาตรา 225 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (แก้ไข
เพิ่มเติม พ.ศ. 2551) โดยวิธีปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ในวันที่ 9 มีนาคม 2553 และกำหนด
จ่ายเงินปันผลในวันที่ 22 เมษายน 2553
หมายเหตุ - ผู้ถือหุ้นสามัญ (BCP) ประเภทบุคคลธรรมดาสามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ในอัตรา 30/70
ของเงินปันผล ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
- สำหรับผู้ถือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ (BCP-DR1) ที่ได้รับเงินเทียบเท่า
เงินปันผลผ่านบริษัท สยามดีอาร์ จำกัดนั้น เงินดังกล่าวถือเป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้
ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นผู้ที่ได้รับเงินเทียบเท่าเงินปันผลดังกล่าว จึงไม่สามารถ
ขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้
- ทั้งนี้ สิทธิในการรับเงินปันผลดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนเนื่องจากต้องรอการอนุมัติจากที่ประชุม
ผู้ถือหุ้นก่อน
2. กำหนดวันประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นประจำปี 2553 ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2553 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ โรงกลั่นน้ำมันบางจาก เลขที่ 210 ถนนสุขุมวิท 64 พระโขนง กรุงเทพฯ 10260 โดย
กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมในวันที่ 8 มีนาคม 2553 และให้รวบรวมรายชื่อตามมาตรา
225 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)
โดยวิธีปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ในวันที่ 9 มีนาคม 2553
3. กำหนดวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2553 ดังนี้
วาระที่ 1 พิจารณารับรองรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2552
วาระที่ 2 รับทราบรายงานของคณะกรรมการเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในรอบปี 2552
วาระที่ 3 พิจารณาอนุมัติงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และรายงาน
ของผู้สอบบัญชี
วาระที่ 4 พิจารณาจัดสรรกำไรเพื่อจ่ายเงินปันผล
วาระที่ 5 พิจารณาเลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระ
โดยในปีนี้มีกรรมการที่ออกจากตำแหน่งตามวาระ 5 ท่านคือ
1) พลเอก ธวัช เกษร์อังกูร (กรรมการอิสระ)
2) นายอนุสรณ์ ธรรมใจ (กรรมการอิสระ)
3) นายนิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ (กรรมการอิสระ)
4) นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ (กรรมการผู้แทน บมจ.ปตท.)
5) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช (กรรมการผู้แทน บมจ.ปตท.)
ทั้งนี้ เสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นแต่งตั้งกรรมการที่ออกตามวาระกลับเข้ารับตำแหน่งใหม่จำนวน 1 ท่าน ดังนี้
1) นายอนุสรณ์ ธรรมใจ (กรรมการอิสระ)
พร้อมด้วยเสนอแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกตามวาระ จำนวน 4 ท่าน ดังนี้
1) นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ (กรรมการผู้แทนจาก บมจ.ปตท.)
2) นายสรากร กุลธรรม (กรรมการผู้แทนจาก บมจ.ปตท.)
3) นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ (กรรมการอิสระ)
4) นายอิสสระ โชติบุรการ (กรรมการอิสระ)
ดังนั้นคณะกรรมการบริษัท จะประกอบด้วย
1) นายชัยอนันต์ สมุทวณิช (กรรมการอิสระ)
2) นายอนุสรณ์ ธรรมใจ (กรรมการอิสระ)
3) นายวิรัตน์ เอี่ยมเอื้อยุทธ (กรรมการอิสระ)
4) นางสาวประนอม โฆวินวิพัฒน์ (กรรมการอิสระ)
5) นายธนา พุฒรังษี (กรรมการอิสระ)
6) นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ (กรรมการอิสระ)
7) นายอิสสระ โชติบุรการ (กรรมการอิสระ)
8) นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา (กรรมการผู้แทนจาก กระทรวงการคลัง)
9) นางสาวสุภา ปิยะจิตติ (กรรมการผู้แทนจาก กระทรวงการคลัง)
10) นายพิชัย ชุณหวชิร (กรรมการผู้แทนจาก บมจ.ปตท.)
11) นายณัฐชาติ จารุจินดา (กรรมการผู้แทนจาก บมจ.ปตท.)
12) นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ (กรรมการผู้แทนจาก บมจ.ปตท.)
13) นายสรากร กุลธรรม (กรรมการผู้แทนจาก บมจ.ปตท.)
14) นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล (กรรมการผู้จัดการใหญ่และเลขานุการคณะกรรมการบริษัท)
วาระที่ 6 พิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการ
นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2553 ดังนี้
1. ค่าตอบแทนรายเดือนและค่าเบี้ยประชุม (เท่ากับปี 2552)
คณะกรรมการบริษัท
- ค่าตอบแทนรายเดือน เดือนละ 20,000 บาทต่อคน
- เบี้ยประชุม ครั้งละ 20,000 บาทต่อคน (เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม)
คณะกรรมการชุดย่อย
1) คณะกรรมการตรวจสอบ
- ค่าตอบแทนรายเดือน เดือนละ 10,000 บาทต่อคน
- เบี้ยประชุม ครั้งละ 5,000 บาทต่อคน(เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม)
2) คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนรายเดือน เดือนละ -ไม่มี-
- เบี้ยประชุม ครั้งละ 10,000 บาทต่อคน(เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม)
3) สำหรับค่าตอบแทนของคณะกรรมการชุดย่อยอื่นที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งขึ้นนั้น
กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริษัทโดยพิจารณาตามความเหมาะสมและ
สอดคล้องกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ
ทั้งนี้ประธานกรรมการบริษัท และประธานคณะกรรมการชุดย่อยจะได้รับค่าตอบแทน
รายเดือนและค่าเบี้ยประชุมสูงกว่ากรรมการในอัตราร้อยละ 25 รองประธานกรรมการบริษัท
จะได้รับค่าตอบแทนรายเดือนและค่าเบี้ยประชุมสูงกว่ากรรมการในอัตราร้อยละ 12.5
2. ค่าตอบแทนที่เป็นโบนัสคณะกรรมการ
ให้ปรับจากเดิมร้อยละ 1 ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 15,000,000 บาทต่อปี สำหรับกรรมการ
ทั้งคณะ เป็นร้อยละ 1 ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 20,000,000 บาทต่อปี สำหรับกรรมการทั้งคณะ
ทั้งนี้ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ จะได้รับค่าตอบแทนที่เป็นโบนัสสูงกว่ากรรมการ
ในอัตราร้อยละ 25 และ 12.5 ตามลำดับ
วาระที่ 7 พิจารณาแต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี
นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้แต่งตั้งนายไวโรจน์ จินดามณีพิทักษ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ทะเบียนเลขที่ 3565 หรือนายวินิจ ศิลามงคล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 3378 หรือ
นายเจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 4068 จาก บริษัท เคพีเอ็มจี
ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ โดยกำหนดค่าสอบบัญชีประจำปี 2553 เป็น
จำนวนเงิน 1,515,000 บาท
วาระที่ 8 พิจารณาอนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทฯ
นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทฯ ในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น
ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยรายใดรายหนึ่งจะถือหุ้นได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่
จำหน่ายแล้วทั้งหมด เพื่อป้องกันการครอบงำกิจการจากบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย และเป็นการ
เสริมสภาพคล่องการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
จึงเห็นควรเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย จากร้อยละ 20 เป็น ร้อยละ 25
ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด โดยขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทฯ ในหมวดที่ 3
การโอนหุ้น ข้อ 8. เป็นดังนี้
ข้อบังคับปัจจุบัน
ข้อ 8. หุ้นของบริษัทสามารถโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้บริษัทมี
หุ้นที่ถือโดยผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด
ในกรณีที่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้บริษัทมีหุ้นที่ถือโดยผู้ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่าร้อยละ
20 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด ให้บริษัทปฏิเสธการลงทะเบียนโอนหุ้นดังกล่าว
และมีหนังสือแจ้งให้ผู้โอนหุ้นโดยฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น ยกเลิกเพิกถอนการ
โอนหุ้นดังกล่าว หรือมีหนังสือแจ้งให้ผู้รับโอนหุ้นโดยฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น ให้
จำหน่ายหุ้นดังกล่าวให้แก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ที่
ไม่มีสัญชาติไทยในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด
เมื่อบริษัทได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับโอนหุ้นซึ่งบริษัทปฏิเสธการลงทะเบียนโอนหุ้นจำหน่าย
หุ้นดังกล่าวแล้ว ห้ามมิให้ผู้รับโอนหุ้นรายนั้นๆ ลงคะแนนออกเสียงในหุ้นจำนวนที่ถูก
เรียกให้จำหน่าย บริษัทจะระงับการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้รับโอนหุ้นสำหรับหุ้นจำนวนที่
ถูกเรียกให้จำหน่ายดังกล่าว ทั้งนี้ผู้รับโอนหุ้นไม่มีสิทธิเรียกให้บริษัทหรือคณะกรรมการ
หรือกรรมการคนหนึ่งคนใดชดใช้ดอกเบี้ย และ/หรือค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
อย่างใดๆ เนื่องจากการระงับจ่ายเงินปันผลหรือการที่ไม่อาจออกเสียงลงคะแนนเสียงใน
การประชุมผู้ถือหุ้นไม่ว่าทางใดๆ ทั้งสิ้น
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นซึ่งเดิมถือสัญชาติไทยแต่ได้แปลงสัญชาติเป็นสัญชาติต่างด้าวหรือ
ผู้ถือหุ้นซึ่งเดิมถือสัญชาติไทยแต่ต่อมามิได้ถือสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมาย ผู้ถือหุ้น
ดังกล่าวจะต้องมีหนังสือแจ้งต่อคณะกรรมการโดยพลัน ในกรณีที่ปรากฏว่าการที่ผู้ถือหุ้น
มิได้ถือสัญชาติไทยดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทมีหุ้นที่ถือโดยผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่า
ร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด บริษัทจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถือหุ้น
ดังกล่าวจำหน่ายหุ้นของตนให้แก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยอย่างน้อยในจำนวนที่ไม่ทำให้
บริษัทมีหุ้นที่ถือโดยผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด
ข้อบังคับที่เสนอใหม่
ข้อ 8. หุ้นของบริษัทสามารถโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้บริษัทมี
หุ้นที่ถือโดยบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่าย
ทั้งหมด หรือมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยรายใดรายหนึ่งถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวน
หุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด
ในกรณีที่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้บริษัทมีหุ้นที่ถือโดยบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่า
อัตราส่วนข้างต้น ให้บริษัทปฏิเสธการลงทะเบียนโอนหุ้นดังกล่าวและมีหนังสือแจ้งให้ผู้โอนหุ้น
โดยฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น ยกเลิกเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าว หรือมีหนังสือแจ้งให้
ผู้รับโอนหุ้นโดยฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น ให้จำหน่ายหุ้นดังกล่าวให้แก่บุคคลผู้มี
สัญชาติไทย ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้สัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยในบริษัทเกินกว่า
อัตราส่วนข้างต้น
เมื่อบริษัทได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับโอนหุ้นซึ่งบริษัทปฏิเสธการลงทะเบียนโอนหุ้นจำหน่าย
หุ้นดังกล่าวแล้ว ห้ามมิให้ผู้รับโอนหุ้นรายนั้นๆ ลงคะแนนออกเสียงในหุ้นจำนวนที่ถูก
เรียกให้จำหน่าย บริษัทจะระงับการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้รับโอนหุ้นสำหรับหุ้นจำนวนที่
ถูกเรียกให้จำหน่ายดังกล่าว ทั้งนี้ผู้รับโอนหุ้นไม่มีสิทธิเรียกให้บริษัทหรือคณะกรรมการ
หรือกรรมการคนหนึ่งคนใดชดใช้ดอกเบี้ย และ/หรือค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
อย่างใดๆ เนื่องจากการระงับจ่ายเงินปันผลหรือการที่ไม่อาจออกเสียงลงคะแนนเสียงใน
การประชุมผู้ถือหุ้นไม่ว่าทางใดๆ ทั้งสิ้น
ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นซึ่งซึ่งเดิมถือสัญชาติไทยแต่ต่อมามิได้ถือสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมาย
ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะต้องมีหนังสือแจ้งต่อคณะกรรมการโดยพลัน ในกรณีที่ปรากฏว่าการที่
ผู้ถือหุ้นมิได้ถือสัญชาติไทยดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทมีหุ้นที่ถือโดยบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยเกินกว่า
อัตราส่วนข้างต้น บริษัทจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจำหน่ายหุ้นของตนให้แก่
บุคคลผู้มีสัญชาติไทยอย่างน้อยในจำนวนที่ไม่ทำให้บริษัทมีหุ้นที่ถือโดยบุคคลผู้ไม่มี
สัญชาติไทยเกินกว่าอัตราส่วนดังกล่าวข้างต้น
ในกรณีที่บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยรายใดรายหนึ่งซึ่งถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 5
ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด อยู่ก่อนวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติแก้ไข
ข้อบังคับนี้ สามารถถือหุ้นในสัดส่วนดังกล่าวต่อไปได้ แต่ไม่อาจเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น
ของตนได้ เว้นแต่กรณีที่สัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยดังกล่าวได้ลด
ต่ำลงกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด และการได้หุ้นมาในภายหลังจะ
ไม่ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลนั้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่าย
ทั้งหมด
ทั้งนี้ "บุคคล" ตามข้างต้น ให้หมายถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
วาระที่ 9 พิจารณาอนุมัติแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 3 (วัตถุประสงค์ของบริษัท)
นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทฯ ข้อ 3
(วัตถุประสงค์ของบริษัท) เพื่อให้บริษัทฯ สามารถพัฒนาธุรกิจใหม่ทั้งที่เกี่ยวเนื่องและไม่เกี่ยวเนื่อง
กับธุรกิจปัจจุบันได้โดยไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ โดยขอแก้ไขเพิ่มเติมในข้อย่อย
ข้อ (1) (3) และ (13) เป็นดังนี้
วัตถุประสงค์ปัจจุบัน
(1) ประกอบธุรกิจปิโตรเลียม อันหมายความรวมถึง การสำรวจ พัฒนา ผลิต จัดหา กลั่น แปร
สภาพ สำรอง เก็บรักษา นำเข้า ส่งออก ขนส่ง ซื้อ ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม ซึ่ง
หมายความรวมถึง น้ำมันดิบ (รวมทั้งน้ำมันแร่ดิบ แอสฟัลท์ โอโซ เคอไรท์ ไฮโดรคาร์บอน
และบิทูเมน ทุกชนิดที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่ว่าในสภาพของแข็ง ของหนืด หรือของเหลว) ก๊าซ
ธรรมชาติ (รวมทั้งไฮโดรคาร์บอนที่มีสภาพเป็นก๊าซทุกชนิดไม่ว่าชื้นหรือแห้งที่ผลิตได้จากหลุม
น้ำมัน หรือหลุมก๊าซ และให้หมายความรวมถึงก๊าซที่เหลือจากการแยกไฮโดรคาร์บอนในสภาพ
ของเหลวหรือสารพลอยได้ออกจากก๊าซชื้นด้วย) ก๊าซธรรมชาติเหลว (รวมทั้งไฮโดรคาร์บอนที่มี
สภาพเป็นของเหลว หรือที่มีความดันไอสูงซึ่งผลิตขึ้นมาได้พร้อมกับก๊าซธรรมชาติ หรือได้มาจาก
การแยกออกจากก๊าซธรรมชาติ) สารพลอยได้ (รวมทั้งก๊าซฮีเลียม คาร์บอนไดออกไซด์
กำมะถัน และสารอื่นที่ได้จากการผลิตปิโตรเลียม) สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นโดย
ธรรมชาติ และอยู่ในสภาพอิสระ ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นของแข็ง ของหนืด ของเหลว หรือก๊าซและ
บรรดาไฮโดรคาร์บอนหนักที่อาจนำขึ้นจากแหล่งโดยตรง โดยใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี
ตลอดจนถ่านหิน หินน้ำมัน หรือหินอื่นที่สามารถนำมากลั่นเพื่อแยกเอาน้ำมันด้วยการใช้ความร้อน
หรือกรรมวิธีทางเคมี รวมทั้งเคมีภัณฑ์ และการประกอบอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม
วัตถุประสงค์ใหม่
(1) ประกอบธุรกิจปิโตรเลียม อันหมายความรวมถึง การสำรวจ พัฒนา ผลิต จัดหา กลั่น แปร
สภาพ สำรอง เก็บรักษา นำเข้า ส่งออก ขนส่ง ซื้อ ขาย และจำหน่ายปิโตรเลียม ซึ่ง
หมายความรวมถึง น้ำมันดิบ (รวมทั้งน้ำมันแร่ดิบ แอสฟัลท์ โอโซ เคอไรท์ ไฮโดรคาร์บอน
และบิทูเมน ทุกชนิดที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่ว่าในสภาพของแข็ง ของหนืด หรือของเหลว) ก๊าซ
ธรรมชาติ (รวมทั้งไฮโดรคาร์บอนที่มีสภาพเป็นก๊าซทุกชนิดไม่ว่าชื้นหรือแห้งที่ผลิตได้จากหลุม
น้ำมัน หรือหลุมก๊าซ และให้หมายความรวมถึงก๊าซที่เหลือจากการแยกไฮโดรคาร์บอนในสภาพ
ของเหลวหรือสารพลอยได้ออกจากก๊าซชื้นด้วย) ก๊าซธรรมชาติเหลว (รวมทั้งไฮโดรคาร์บอนที่มี
สภาพเป็นของเหลว หรือที่มีความดันไอสูงซึ่งผลิตขึ้นมาได้พร้อมกับก๊าซธรรมชาติ หรือได้มาจาก
การแยกออกจากก๊าซธรรมชาติ) สารพลอยได้ (รวมทั้งก๊าซฮีเลียม คาร์บอนไดออกไซด์ กำมะถัน
และสารอื่นที่ได้จากการผลิตปิโตรเลียม) สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
และอยู่ในสภาพอิสระ ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นของแข็ง ของหนืด ของเหลว หรือก๊าซและบรรดา
ไฮโดรคาร์บอนหนักที่อาจนำขึ้นจากแหล่งโดยตรง โดยใช้ความร้อนหรือกรรมวิธีทางเคมี ตลอดจน
ถ่านหิน หินน้ำมัน หรือหินอื่นที่สามารถนำมากลั่นเพื่อแยกเอาน้ำมันด้วยการใช้ความร้อนหรือ
กรรมวิธีทางเคมี รวมทั้งเคมีภัณฑ์ การประกอบอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม อุตสาหกรรมปิโตร
เคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเป็นวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์พลอยได้อื่นๆ
ของปิโตรเคมี
วัตถุประสงค์ปัจจุบัน
(3) ประกอบธุรกิจใดๆ หรือซื้อ หรือจัดหาให้ได้มาไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งสินค้าหรือทรัพย์สินทุกประเภท
หรือขาย หรือจำหน่ายไปไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งสินค้าหรือทรัพย์สินทุกประเภท ว่าจ้างหรือรับจ้าง
ประกอบธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวกับ เกี่ยวเนื่อง ต่อเนื่อง ใกล้เคียง จำเป็น หรือเป็นประโยชน์แก่การ
ประกอบธุรกิจตาม (1) และ หรือ (2)
วัตถุประสงค์ใหม่
(3) ประกอบกิจการ จัดหาให้ได้มาไม่ว่าด้วยวิธีใด ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ค้าหรือจำหน่ายไปไม่ว่าด้วย
วิธีใด นำเข้ามาในราชอาณาจักรและส่งออกนอกราชอาณาจักร ตลอดจนกิจการสนับสนุนในกิจการ
ใดๆ ซึ่งสินค้าหรือทรัพย์สินทุกประเภท รวมถึงสิ่งอื่นใดที่สามารถซื้อขายได้ เช่น คาร์บอนเครดิต
เป็นต้น ว่าจ้างหรือรับจ้าง ประกอบธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวกับ เกี่ยวเนื่อง ต่อเนื่อง ใกล้เคียง จำเป็น
หรือเป็นประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจตามวัตถุประสงค์ของบริษัท อาทิ
ก. กิจการโรงไฟฟ้าทุกประเภท อาทิ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าพลังปรมาณู และโรงไฟฟ้าอื่น ทุก
ประเภท รวมถึงการผลิต การจัดให้ได้มา การจัดส่ง การจำหน่ายไฟฟ้าหรือการควบคุมระบบ
ไฟฟ้า
ข. กิจการจัดหา ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ค้าหรือจำหน่ายพลังงาน กิจการพลังงาน ซึ่งรวมถึง
กิจการพลังงานทดแทน และกิจการสนับสนุนในธุรกิจพลังงานทุกประเภทในทุกรูปแบบ อาทิ
ไบโอดีเซล เอทานอล เมทานอล พลังงานจากพืช พลังงานจากสัตว์ พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานลม พลังงานคลื่น พลังงานไฮโดรเจน พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานจากก๊าซชีวภาพ
พลังงานความร้อนใต้พิภพ ไม่จำเพาะว่าจะเป็นพลังงาน หรือสารพลอยได้ก็ตาม
ค. กิจการเหมืองแร่ หิน กรวด ทราย ดิน ตลอดจนกิจการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งดังกล่าว
ซื้อ จำหน่ายแร่ หิน กรวด ทราย ดิน และผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมดังกล่าวรวมทั้งทรัพยากร
อย่างอื่น
ง. กิจการผลิตวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ สารเคมี วัสดุเคมี และเคมีภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ผลิตจากแร่ธาตุ
วัตถุธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ สารปรุงแต่งประสิทธิภาพ สารเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) หรือ
วัตถุเคมีภัณฑ์อื่นๆ โดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ วัตถุเคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ใหม่
ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะอยู่ในรูป สำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป หรือผลพลอยได้ก็ตาม ซึ่งผลิตภัณฑ์
นั้นอาจจะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับกิจการอุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรม
เกษตรกรรม หรือกิจการอื่นใดต่อไปก็ตาม
จ. กิจการผลิตและค้าพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งป่าไม้ อาทิ การทำไม้ ปลูกสวนป่า และกิจการ
เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากกิจการป่าไม้ ทำนา ทำนาเกลือ ทำไร่ ทำสวนยาง ปาล์มน้ำมัน
มันสำปะหลัง และพืชอย่างอื่น ผลิตผลสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปจากสิ่งดังกล่าว กิจการแปรรูป
ผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนกิจการต่างๆที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากกิจการดังกล่าว
หรือส่งเสริมการประกอบธุรกิจใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ซึ่งรวมถึงการประกอบกิจการ
ซื้อขายสินค้าทางการเกษตรล่วงหน้า อนุพันธ์ต่างๆ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ
ฉ. อุตสาหกรรมอาหาร ยา ยารักษาโรค เภสัชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ทาง
วิทยาศาสตร์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยาบำรุงพืชและสัตว์ทุกชนิด
ช. กิจการโรงงานสกัดน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ โรงงานกระดาษ โรงงานสุรา โรงงานน้ำตาล
โรงงานผลิตเครื่องใช้พลาสติก และโรงงานอื่นๆ เพื่อประโยชน์และหรือส่งเสริมวัตถุประสงค์ของ
บริษัท
ซ. ประกอบกิจการค้าส่ง และค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมทุกชนิด
และธุรกิจบริการทุกชนิดทุกประเภท
ฌ. ประกอบกิจการออกแบบ ผลิต ให้บริการด้านโสตทัศนูปกรณ์ อาทิ สไลด์มัลติวิชั่น ภาพนิ่ง
เทปบันทึกภาพยนต์และเสียง การล้างอัดภาพ การออกแบบผลิตวารสารสิ่งพิมพ์
สื่อสารสนเทศ และสื่อทางด้านการประชาสัมพันธ์ต่างๆ
ญ. ประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business) สำหรับธุรกิจทุกประเภท
ให้บริการค้นคว้าข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ให้บริการเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่
ผู้ประกอบการธุรกิจทั่วไปในการวางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้บริการพัฒนาระบบ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ วางระบบและจัดทำการบริหาร การจัดจำหน่าย การตลาด ระบบการ
ชำระเงิน การขนส่งสินค้าและการซื้อขายให้กับผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป ประกอบกิจการเป็น
ผู้นำเข้า ส่งออก จัดจำหน่าย สำรวจ วิจัย พัฒนา ผลิต จัดหา กลั่น สกัด แปรสภาพ ผสม บรรจุ
สะสม สำรอง เก็บรักษา ขนส่ง ท่าเรือ คลัง ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทน
ประเภทต่างๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ไฟฟ้า น้ำ ไอน้ำรวมถึงกิจการอื่นที่
เกี่ยวเนื่องกับ หรือ ต่อเนื่องกับ หรือ สนับสนุนการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมอื่นๆ และสินค้า
ทุกชนิดทุกประเภทผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ฎ. ทำการพัฒนา ปรับปรุงที่ดินเพื่อให้เหมาะสมสำหรับใช้เป็นที่ประกอบกิจการพาณิชยกรรม
อุตสาหกรรม เกษตรกรรม แล้วจัดจำหน่ายไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัททั้งหมด หรือ
แบ่งแยกออกเป็นแปลงๆ หรือเป็นส่วนๆ แล้วจัดจำหน่ายไปเฉพาะที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง หรือ
ทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ฏ. ประกอบกิจการ ให้บริการ รับเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ ศึกษาวิจัย รับจ้างทำของ หรือกระทำ
ด้วยประการอื่นซึ่งการวิเคราะห์น้ำ ดิน สารมลพิษและสารอื่นใด กิจการบำบัด ขนส่ง น้ำเสีย
อากาศเสีย กากอุตสาหกรรมที่อันตรายและไม่อันตราย การกำจัดของเสีย ซึ่งรวมถึง การแปร
รูปขยะ การกำจัดกากสารกัมมันตรังสี การปรับปรุงคุณภาพน้ำ ดิน และเตาเผาเพื่อปรับปรุง
คุณภาพของเสีย
ฐ. ประกอบกิจการรับจ้างผลิต ออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้งเกี่ยวกับงานวิศวกรรม สถาปัตยกรรม
อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งอำนวยความปลอดภัยและจัดการสิ่งแวดล้อม
(ยังมีต่อ)