คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานไตรมาส1/2552

คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552 ภาพรวมธุรกิจปี 2552 ด้านราคาน้ำมัน สำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงสิ้นปี 2551 โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบเริ่มทรงตัวจากความพยายามของกลุ่ม OPEC ที่จะควบคุมปริมาณการผลิตเพื่อรักษาราคา น้ำมันดิบให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ส่วนราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปได้ปรับฐานราคาลงมาค่อนข้างต่ำตามราคา น้ำมันดิบและปัจจัยความกังวลต่อความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงอย่างมากจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก แต่สำหรับ ส่วนต่างราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดิบดูไบในไตรมาสนี้มีการปรับตัวลดลงน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่นเมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินของสหรัฐอเมริกาและที่สิงคโปร์ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำมัน ชนิดอื่นอีกทั้งเริ่มที่จะเข้าสู่ช่วง Driving Season จึงคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันเบนซินจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น ตารางแสดงราคาและส่วนต่างราคาน้ำมันเปรียบเทียบ เป็นดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปี 2552 (ไตรมาส 1) ปี 2551 ผลแตกต่าง สูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย เฉลี่ยไตรมาส 1 เฉลี่ยไตรมาส 4 ราคา (A)-(B) (A)-(C) (A) (B) (C) DB 50.74 36.40 44.31 91.09 52.64 -46.78 -8.33 UNL95/DB 20.91 0.38 10.69 13.70 3.84 -3.01 +6.85 GO/DB 18.25 3.28 8.81 22.84 17.77 -14.03 -8.96 FO/DB -0.86 -12.89 -6.69 -17.10 -7.60 +10.41 +0.91 การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันแกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบๆขึ้นลงตามปัจจัยพื้นฐานและข่าวที่ส่งผลกระทบต่อ จิตวิทยารายวัน ปัจจัยลบที่จะส่งผลให้ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงในไตรมาสที่ 2 ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว และสายการบิน และผลจากการที่ค่าการ กลั่นลดต่ำลงอาจทำให้โรงกลั่นหลายแห่งพิจารณาลดอัตราการกลั่นลง อย่างไรก็ตามให้จับตามองทิศทางเศรษฐกิจโลก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน หากเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว จะทำให้ความต้องการ ใช้น้ำมันสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้นได้ ด้านการผลิตและการจำหน่าย บริษัทฯ สามารถกลั่นน้ำมันได้เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2551 ที่อยู่ที่ 60.6 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากปีก่อน มีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นตามวาระเป็นเวลา 45 วัน สำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 นี้บริษัทฯกลั่นได้เฉลี่ย 81.6 พัน บาร์เรลต่อวัน โดยยังคงเป็นการกลั่นในรูปแบบ Hydro-skimming เนื่องจากหน่วยผลิต PQI อยู่ในช่วงของการทดสอบ เดินเครื่อง อย่างไรก็ตามน้ำมันเตาที่ผลิตได้เป็นชนิดกำมะถันต่ำมากจึงทำให้สามารถส่งออกน้ำมันเตาที่ผลิตได้ ทั้งหมดไปจำหน่ายยังต่างประเทศในราคาที่สูงมากกว่าน้ำมันเตาโดยทั่วไปที่จำหน่ายในประเทศ สำหรับการจำหน่ายน้ำมันผ่านสถานีบริการน้ำมันในไตรมาส 1 ปี 2552 นี้ บริษัทฯ มียอดจำหน่ายรวม เพิ่มขึ้น 1.4% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีส่วนแบ่งการตลาดผ่านสถานีบริการเฉลี่ยเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2552 อยู่ในอันดับที่ 4 โดยมีส่วนแบ่งการตลาดที่ 13.0% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 13.7% เนื่องจากราคาจำหน่ายน้ำมันในประเทศปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับต่ำตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ความ ต้องการใช้น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมากแต่ในช่วงดังกล่าวโรงกลั่นในประเทศบางแห่งได้มีการหยุดการผลิตชั่วคราว จึงทำให้ อุปทานในตลาดค่อนข้างต่ำ น้ำมันที่บริษัทฯผลิตและจัดหาได้จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า เนื่องจาก ผลผลิตน้ำมันจากโครงการ PQI ยังไม่ได้ออกสู่ตลาดในไตรมาสนี้ 1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์กำไรขาดทุน 1) ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 1,591 ล้านบาท คิดเป็นกำไร สุทธิต่อหุ้น 1.42 บาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 1,581 ล้านบาท บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล มีผลกำไรสุทธิรวม 13 ล้านบาท แต่มีรายการ ระหว่างกัน 3 ล้านบาท 2) ผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท บางจากฯ มี EBITDA จากผลประกอบการจริงจำนวน 3,205 ล้านบาท เมื่อรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันจำนวน -179 ล้านบาท (ประกอบด้วยผลขาดทุนจาก สต๊อก 1,103 ล้านบาท และกลับรายการปรับมูลค่าสินค้าลดลงจำนวน 924 ล้านบาท) จึงทำให้มี EBITDA รวม 3,026 ล้านบาท ผลประกอบการแยกตามประเภทธุรกิจเป็นดังนี้ EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 เพิ่ม + / ลด - (หน่วย : ล้านบาท) ปี 2552 (A) ปี 2551 (B) (A) - (B) EBITDA (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) 3,205 749 +2,456 - โรงกลั่น 2,637 647 +1,990 - ตลาด 568 102 +466 บวก กำไรจากสต๊อกน้ำมัน - 810 -810 (หัก) ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน (179) - -179 EBITDA รวม 3,026 1,559 +1,467 - โรงกลั่น 2,458 1,457 +1,001 - ตลาด 568 102 +466 - EBITDA จากผลประกอบการจริงของธุรกิจโรงกลั่นจำนวน 2,637 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ ระดับ 647 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันและ LCM) 11.50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (หรือประมาณ 2.57 บาทต่อลิตร) มีการใช้กำลังการผลิต ที่ 81.6 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีค่าการกลั่น 5.66 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล (หรือประมาณ 1.16 บาทต่อลิตร) และใช้กำลังการผลิตเพียง 60.6 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากปีก่อนมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำปีเป็นเวลา 45 วัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ผลแตกต่าง ค่าการกลั่นจาก ปี 2552 ปี 2551 +/- ค่าการกลั่นพื้นฐาน 6.54 11.50 5.15 5.66 +1.39 5.84 GRM Hedging 4.96 0.51 +4.45 สต๊อกน้ำมันและ LCM (0.68) 4.51 -5.19 รวม 10.82 10.17 +0.65 ค่าการกลั่นพื้นฐาน ปรับตัวสูงขึ้น 1.39 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทั้งนี้แม้ว่าส่วนต่างราคา ผลิตภัณฑ์น้ำมันเกือบทุกชนิดเมื่อเทียบกับน้ำมันดิบมีการปรับตัวลดลงอย่างมากทั้งจากอุปสงค์ที่ ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกรวมถึงมีอุปทานใหม่ๆเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้น แต่สำหรับส่วนต่างราคา น้ำมันเตาและน้ำมันดิบดูไบ (FO/DB) กลับปรับตัวดีขึ้นจากเฉลี่ย -17.10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ -6.69 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในไตรมาสนี้ อีกทั้งน้ำมันเตาที่บริษัทฯส่งไปที่ประเทศ ญี่ปุ่นยังสามารถจำหน่ายได้ในราคา Premium ที่สูงขึ้นจากปีก่อนอีกด้วย ส่วนต่างราคาน้ำมัน สำเร็จรูปและน้ำมันดิบอ้างอิง เป็นดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ผลแตกต่าง ส่วนต่างราคาเฉลี่ย ปี 2552 ปี2551 +/- UNL95/DB 10.69 13.70 -3.01 IK/DB 10.99 23.13 -12.14 GO/DB 8.81 22.84 -14.03 FO/DB -6.69 -17.10 +10.41 ค่าการกลั่นจาก GRM Hedging เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.45 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล เนื่องจากบริษัทฯได้เข้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงสำหรับผลประกอบการปี 2552 ไว้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่ค่าการกลั่นค่อนข้างสูงจึงทำให้สามารถขายส่วนต่างราคา ผลิตภัณฑ์และน้ำมันดิบล่วงหน้าได้ในระดับสูง ดังนั้นเมื่อการปรับตัวของส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้น จริงต่ำกว่าราคาที่บริษัทฯได้เข้าทำสัญญาธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าไว้ บริษัทฯจึงได้รับ กำไรจากการทำ GRM Hedging ดังกล่าว โดยไตรมาสนี้มีปริมาณธุรกรรมที่บริษัทฯได้ทำล่วงหน้า ไว้คิดเป็นประมาณ 54% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย (ปีก่อนมีปริมาณการทำธุรกรรมเฉลี่ย 30% ของปริมาณกลั่น) ค่าการกลั่นจากสต๊อกน้ำมัน ในงวดนี้บริษัทฯได้รับผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน -0.68 เหรียญ สหรัฐต่อบาร์เรล (สุทธิผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ) ในขณะที่ปีก่อนเนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวในทิศทางขาขึ้นจึงทำให้มีผลกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 4.51 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล - EBITDA จากธุรกิจการตลาด 568 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 102 ล้านบาท เนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดโลกค่อนข้างทรงตัว จึงสามารถกำหนดค่า การตลาดได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนจริงได้ ส่งผลให้ไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่า การตลาด (ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 80.0 สตางค์ต่อลิตร (คิดเป็นประมาณ 3.58 เหรียญ สหรัฐต่อบาร์เรล) สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 28.3 สตางค์ต่อลิตร (คิดเป็นประมาณ 1.38 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) รวมทั้งการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ความต้องการใช้ภายในประเทศมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นมาก ปริมาณการจำหน่ายในตลาดบางจาก ฯ โดยรวมเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน จากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 53.8 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มเป็น 58.3 พัน บาร์เรลต่อวัน การวิเคราะห์รายได้ 1) สำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และ บริษัทย่อยมีจำนวน 21,522 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 21,319 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 3,166 ล้านบาท ในรายได้ ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 2,963 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการจำหน่ายน้ำมัน สำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับรายได้ต่างๆ ในส่วนของบริษัท บางจากฯ ที่ มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ - รายได้จากการขายลดลง 8,245 ล้านบาท หรือ 27.9% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัว ลดลงมาอย่างมากส่งผลให้ราคาจำหน่ายน้ำมันเฉลี่ยลดลงกว่า 36.7% ในขณะที่ปริมาณการ จำหน่ายรวมเพิ่มขึ้น 12.9% และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงประมาณ 9.0% (อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย ไตรมาส 1/2552 อยู่ที่ 35.49 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับ ไตรมาส 1/2551 ที่อยู่ที่ 32.55 บาท/ ดอลลาร์สหรัฐ) - กำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 1,250 ล้านบาท เป็นผลจาก ที่บริษัทฯได้เข้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงไว้ ดังที่ได้วิเคราะห์ไว้ในเรื่องค่าการกลั่นจาก GRM Hedging - จากที่บริษัทฯได้เคยตั้งสำรองการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือไว้เมื่อสิ้นปี 2551 ในไตรมาสนี้สินค้า ดังกล่าวได้ถูกจำหน่ายและรับรู้ผลขาดทุนจากมูลค่าทุนที่สูงกว่าราคาที่จำหน่ายได้จริง โดยบันทึก อยู่ในส่วนของต้นทุนขายแล้ว บริษัทฯจึงได้กลับรายการผลขาดทุนจากการตีราคาสินค้าคงเหลือ จำนวน 924 ล้านบาท การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย 1) ไตรมาส 1 ปี 2552 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 20,268 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 20,183 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 3,022 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกันจำนวน 2,937 ล้านบาท ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับค่าใช้จ่าย ต่างๆ ในส่วนของบริษัทบางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ - ต้นทุนขายลดลง 7,918 ล้านบาท หรือ 28.2% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงมา อย่างมาก - ค่าตอบแทนผู้บริหารลดลงส่วนใหญ่เนื่องมาจากเงินโบนัสของกรรมการ เนื่องด้วยในปี 2551 บริษัทฯ มีผลขาดทุนทางบัญชีจึงทำให้คณะกรรมการบริษัทไม่ได้รับเงินโบนัสในปีนี้ ในขณะที่ปีก่อนบริษัทฯ จ่ายเงินโบนัสให้แก่คณะกรรมการบริษัทจากผลประกอบการที่มีกำไรของปี 2550 - เนื่องจากบริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความ ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปและการซื้อน้ำมันดิบซึ่งอ้างอิงสกุล เงินเหรียญสหรัฐ รวมถึงเงินกู้มูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่บริษัทฯ ได้ทำการเปลี่ยน เงินกู้สกุลเงินบาทให้เป็นเงินกู้สกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ (Cross Currency Swap) ตามนโยบายที่จะ ปรับสัดส่วนหนี้สินให้อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ในระดับสมดุลกับรายได้ที่อ้างอิงสกุลเงิน เหรียญสหรัฐฯ (Natural Hedge) เพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯได้รับผลกระทบจาก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ในไตรมาส 1 ปี 2552 นี้สถานการณ์ค่าเงินบาทมีทิศทางที่อ่อน ค่าลงมาก ส่งผลให้เกิดผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 503 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทฯ ได้รับประโยชน์จากค่าการกลั่นในรูปของเงินบาทจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง ในจำนวน ผลขาดทุนดังกล่าวเป็นผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดจริงจำนวน 445 ล้านบาท และเป็นส่วนที่เกิดขึ้นจริง แล้วจำนวน 58 ล้านบาท การวิเคราะห์อัตรากำไร งบรวม งบบริษัท ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551 รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท 21,522 29,819 21,319 29,564 กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 1,591 853 1,581 841 อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 7.39 2.86 7.42 2.85 กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 1.42 0.76 1.41 0.75 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE), ร้อยละ 7.76 3.94 7.72 3.90 ROE(ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน), ร้อยละ 8.37 1.32 8.33 1.27 อัตรากำไรสุทธิมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ กลั่นและค่าการตลาด โดยไตรมาส 1 ปี 2552 งบการเงินรวมและงบเฉพาะบริษัทฯมีอัตรากำไรสุทธิ 7.39% และ 7.42% ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 2.86% และ 2.85% สาเหตุหลักมาจากค่าการกลั่น รวมและการใช้กำลังกลั่นที่สูงขึ้น รวมถึงค่าการตลาดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นดังที่ได้วิเคราะห์ไว้ในการวิเคราะห์กำไร ขาดทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นในไตรมาส 1 ปี 2552 เทียบกับ 2551 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.94% เป็น 7.76% สำหรับงบการเงินรวม และเพิ่มขึ้นจาก 3.90% เป็น 7.72% สำหรับงบเฉพาะบริษัทฯ 2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 สินทรัพย์ 1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2552 มีจำนวน 49,637 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน 49,238 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 566 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 458 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกัน 625 ล้านบาท โดย ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้การค้าจำนวน 468 ล้านบาท 2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2552 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2551 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จำนวน 6,945 ล้านบาท หรือประมาณ 16.4% สินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ - เนื่องจากบริษัทฯมีสภาพคล่องส่วนเกินเป็นจำนวนมากจึงนำไปลงทุนตั๋ว B/E เพิ่มขึ้น 2,950 ล้าน บาท ทำให้ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2552 มียอดเงินลงทุนชั่วคราวจำนวน 3,550 ล้านบาท - สินค้าคงเหลือมูลค่า 8,990 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,247 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 56.5% เนื่องจากบริษัทฯ ได้จัดซื้อน้ำมันดิบไว้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับปริมาณการกลั่นที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากโครงการ PQI จึงทำให้ ณ วันสิ้นงวดมีปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการ PQI สามารถดำเนินการ กลั่นได้อย่างเต็มที่แล้วปริมาณสินค้าคงเหลือจะลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 765 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 59.3% ส่วนใหญ่มาจากลูกหนี้ค้างรับ จากธุรกรรม Oil Hedging ในเดือนมีนาคม 2552 เพิ่มสูงขึ้นจำนวน 532 ล้านบาท เมื่อเทียบจากสิ้น ปี 2551 และมีรายการ VAT ค้างรับเพิ่มขึ้นจำนวน 219 ล้านบาท เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อ เตรียมเข้ากลั่นสูงขึ้น - บริษัทฯ มีเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น 40 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 49.7% เนื่องจากได้จ่ายชำระ เงินเพิ่มทุนใน บริษัท บางจากไบโอฟูเอลตามสัดส่วนที่บริษัทฯได้ลงทุนไว้ ณ 31 มีนาคม 2552 บริษัทฯ มีมูลค่าเงินลงทุนในบริษัท บางจากไบโอฟูเอล แล้วจำนวน 119 ล้านบาท จากมูลค่าเงิน ลงทุนที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 197 ล้านบาท หนี้สิน 1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2552 จำนวน 28,363 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน 28,012 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 569 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 275 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกันจำนวน 493 ล้านบาท โดย ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าจำนวน 468 ล้านบาท 2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2552 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2551 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 5,460 ล้านบาท หรือประมาณ 24.2% หนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ - เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 700 ล้านบาท หรือ 55.1% เพื่อเตรียมไว้เป็นเงินทุน สำรองสำหรับใช้หมุนเวียนในช่วงของการเริ่มหน่วยผลิต PQI - เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 2,736 ล้านบาท หรือ 61.3% เนื่องจากเดือนมีนาคม 2552 บริษัทฯได้นำเข้า น้ำมันดิบจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมไว้สำหรับรองรับการกลั่นที่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อโครงการ PQI แล้วเสร็จ - หนี้สินจากการประกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 366 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากการ Mark to market สัญญาป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ผลของการ Mark to market นี้ ทำให้เกิดผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดจริงซึ่งรับรู้ในงบกำไรขาดทุน - หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 549 ล้านบาท หรือ 36.3% ส่วนใหญ่เป็นเงินค้ำประกันที่บริษัทฯได้ เรียกจากคู่สัญญาที่ทำธุรกรรมการป้องกันความเสี่ยงจาก Oil Hedging เพื่อเป็นหลักประกันไว้ บางส่วน เนื่องจากแนวโน้มที่บริษัทฯจะได้รับกำไรจากสัญญาที่ทำไว้มีมูลค่าสูง ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2552 มีเงินฝากค้ำประกันจากคู่สัญญาค้างอยู่จำนวน 755 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2552 รวมจำนวน 21,274 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 21,226 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน -3 ล้านบาท และบริษัทบางจากไบโอฟูเอล จำนวน 184 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกัน 132 ล้านบาท 2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ เพิ่มขึ้น 1,485 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2551 หรือประมาณ 7.5% เนื่องจากบริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 จำนวน 1,581 ล้านบาท แต่มีการตัดจำหน่าย ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เป็นจำนวน 96 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 31 มีนาคม 2552 มีจำนวน 21,226 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น 18.97 บาท 3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 มี จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 287 ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็น 20.4% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับไตรมาส 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2552 3.1 สำหรับไตรมาส 1 ปี 2552 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา 1,682 ล้านบาท โดยในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ จำนวน 668 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 3,340 ล้านบาท เงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 4,061 ล้านบาท แต่ได้เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 1,389 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2552 งบการเงินรวมจึงมีเงิน สดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 2,351 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 2,032 ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 245 ล้านบาท และของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 74 ล้านบาท 3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากเงินสดต้นงวดจำนวน 1,495 ล้านบาท (เป็นเงินทุนโครงการ PQI 187 ล้านบาท และสำหรับดำเนินงานทั่วไปจำนวน 1,308 ล้านบาท) และในระหว่างงวดบริษัทฯได้เงินอีก 537 ล้านบาท จากกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) บริษัทฯ ได้เงินสดมาจากกิจกรรมดำเนินงาน 3,270 ล้านบาท ได้แก่ - มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานที่เป็นเงินสด 2,155 ล้านบาท - ใช้เงินสดไปเพื่อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 2,072 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 2,323 ล้าน บาท แต่ลูกหนี้การค้าและสินทรัพย์อื่นลดลงจำนวน 251 ล้านบาท - มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 3,453 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 2,750 ล้านบาท และได้มาจากหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 703 ล้านบาท - บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ไปเป็นเงินสดจำนวนรวม 266 ล้านบาท 2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 3,983 ล้านบาท ได้แก่ - ลงทุนซื้อตั๋ว B/E ระยะสั้นเพิ่มจำนวน 2,950 ล้านบาท - จ่ายเงินเพิ่มทุนในบริษัท บางจากไบโอฟูเอล 40 ล้านบาท - จ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 995 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็น ส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดในไตรมาสนี้จำนวน 590 ล้านบาท - ได้เงินสดจากสินทรัพย์อื่นๆ อีกจำนวน 2 ล้านบาท 3) บริษัทฯ ได้เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 1,250 ล้านบาท ได้แก่ - กู้เงินระยะสั้นจากธนาคารและออกตั๋ว B/E จำนวน 700 ล้านบาท - เบิกเงินกู้ระยะยาวเพื่อใช้จ่ายสำหรับโครงการ PQI จำนวน 550 ล้านบาท (ยังมีต่อ)