คำอธิบายและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน งวดปีสิ้นสุด 31 ธค. 51

คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานสำหรับงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ภาพรวมธุรกิจปี 2551 ด้านราคาน้ำมัน ช่วงต้นปี 2551 น้ำมันดิบมีระดับราคาประมาณ 90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบ) และ ได้ปรับตัวในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 140.77 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล ในวันที่ 4 ก.ค. 2551 จากนั้นราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งสิ้นสุดปี 2551 น้ำมันดิบดูไบมี ราคาปิดที่ 36.406 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นราคาต่ำที่สุดของปี ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจด้านโรงกลั่นน้ำมันทั้งในและ ต่างประเทศต่างก็ได้รับผลกระทบด้านลบจากการขาดทุนสต๊อกน้ำมันอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง เช่นเดียวกัน สาเหตุที่สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วนั้น มาจากความกังวลต่อ ปัญหาด้านตลาดการเงินและอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาที่ขยายวงกว้างไปสู่ทั่วโลก กอปรกับราคาน้ำมันที่อยู่ใน ระดับสูงมาเป็นเวลานานได้ส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่ชะลอตัวลงอย่างมาก นอกจากนั้นตัวเลข การว่างงานที่เพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นที่ลดต่ำลง และรายงานปริมาณสำรองน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ล้วนเป็นปัจจัยที่ กดดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าทางกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันดิบหรือ OPEC จะทำการลดโควต้า การผลิตลงหลายครั้งเพื่อพยายามรักษาระดับราคาน้ำมันดิบก็ตาม ในช่วงที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นธุรกิจโรงกลั่นจะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน ซึ่งบริษัทฯ ต้องนำกำไรดังกล่าวไป ซื้อน้ำมันดิบในราคาที่สูงขึ้น ในทางกลับกันเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางลดลงธุรกิจโรงกลั่นก็จะมีผลขาดทุนจาก สต๊อกน้ำมัน แต่บริษัทฯจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดหาน้ำมันดิบที่ต่ำลงด้วยเช่นกัน ซึ่งบริษัทฯได้ให้ความสำคัญในเรื่อง ดังกล่าวและมีการบริหารปริมาณสินค้าคงเหลือให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบที่อาจจะ เกิดขึ้นได้ ด้านการผลิตและการจำหน่าย ในปี 2551 บริษัทฯ สามารถกลั่นน้ำมันได้เฉลี่ย 74.2 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่อยู่ที่ 66.3 พัน บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้เนื่องมาจากบริษัทฯ สามารถส่งออกน้ำมันเตาได้เพิ่มสูงขึ้น และด้วยเป็นน้ำมันเตาที่มีคุณภาพดี ตรงตามความต้องการของลูกค้า จึงทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ดีกว่าน้ำมันเตาโดยทั่วไป ปัจจุบันน้ำมันเตาที่ บริษัทฯ ผลิตได้เกือบทั้งหมดจะทำการจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ โดยในปี 2551 บริษัทฯ มีปริมาณการ ส่งออกน้ำมันดังกล่าวเฉลี่ยประมาณ 133 ล้านลิตรต่อเดือน เมื่อเทียบกับปีก่อนที่อยู่ที่ 99 ล้านลิตรต่อเดือน สำหรับการจำหน่ายน้ำมันผ่านสถานีบริการน้ำมันในปี 2551 นี้ บริษัทฯ มียอดจำหน่ายรวมเพิ่มขึ้น 8.4% เมื่อเทียบจากปีก่อน และมีส่วนแบ่งการตลาดผ่านสถานีบริการเฉลี่ยเดือนมกราคม - ธันวาคม 2551 อยู่ในอันดับที่ 4 โดยมีส่วนแบ่งการตลาดที่ 14.0% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 12.7% 1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน 1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน 1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวดปี 2551 งบการเงินรวมมีผลขาดทุนสุทธิ 750 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อ หุ้น 0.67 บาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯมีขาดทุนสุทธิจำนวน 689 ล้านบาท บริษัทย่อย ได้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล มีผลขาดทุนสุทธิรวม 33 ล้านบาท และมีรายการ ระหว่างกัน 28 ล้านบาท 2) ผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท บางจากฯ ในปี 2551 มี EBITDA จากผลประกอบการจริงจำนวน 5,610 ล้านบาท เมื่อรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันจำนวน -5,080 ล้านบาท (ประกอบด้วยผลขาดทุนจาก สต๊อก 4,138 ล้านบาท และการปรับมูลค่าสินค้าลดลง-LCM จำนวน 942 ล้านบาท) จึงทำให้มี EBITDA รวม 530 ล้านบาท ผลประกอบการแยกตามประเภทธุรกิจเป็นดังนี้ EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ ปี 2551 (A) ปี 2550 (B) เพิ่ม + / ลด - (หน่วย : ล้านบาท) (A) - (B) EBITDA (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) 5,610 2,210 +3,490 - โรงกลั่น 4,419 1,911 +2,508 - ตลาด 1,191 209 +982 บวก กำไรจากสต๊อกน้ำมัน - 1,857 -1,857 (หัก) ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน (4,138) - -4,138 (หัก) LCM (942) - -942 EBITDA รวม 530 3,977 -3,447 - โรงกลั่น (661) 3,768 -4,429 - ตลาด 1,191 209 +982 - EBITDA จากผลประกอบการจริงของธุรกิจโรงกลั่นจำนวน 4,419 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ ระดับ 1,911 ล้านบาท โดยปี 2551 นี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน และ LCM) 6.54 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (หรือประมาณ 1.38 บาทต่อลิตร) มีการใช้กำลังการ ผลิตที่ 74.2 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าปีก่อนที่มีค่าการกลั่น 3.71 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (หรือ ประมาณ 0.81 บาทต่อลิตร) และใช้กำลังการผลิตที่ระดับ 66.3 พันบาร์เรลต่อวัน รายละเอียดการ วิเคราะห์ดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ผลแตกต่าง ค่าการกลั่นจาก ปี 2551 ปี 2550 +/- ค่าการกลั่นพื้นฐาน 6.79 3.64 +3.15 GRM Hedging (0.25) 0.07 -0.32 รวม 6.54 3.71 +2.83 ค่าการกลั่นพื้นฐาน ปรับตัวสูงขึ้น 3.15 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทฯ สามารถ ส่งออกน้ำมันเตาได้ในราคาที่สูงกว่าการจำหน่ายน้ำมันเตาทั่วไปในประเทศ อีกทั้งส่วนต่างราคา ผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลและน้ำมันดิบดูไบ (GO/DB) ในปีนี้ถือว่าอยู่ในระดับสูงโดยเฉลี่ย ประมาณ 25.98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่เฉลี่ย 16.72 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ส่วนต่างราคา GO/DB ปรับตัวขึ้นไปแตะระดับสูงสุด เป็นประวัติการณ์ที่ 45.66 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทั้งนี้นอกจากจะเป็นการปรับตัวตามราคา น้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นแล้ว ยังมีอุปสงค์จากประเทศจีนเพิ่มขึ้นในระดับสูงเพื่อใช้สำรองในช่วงการ แข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ผ่านมา ส่วนต่างราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดิบ (UNL95/DB) ปรับตัวลดลงกว่า 5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่กดดันราคา ได้แก่ ปริมาณน้ำมันเบนซินสำรองในระดับสูงที่ตลาด สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา การมีอุปทานส่วนเกินระดับสูงในตลาด ขณะที่ความต้องการใช้ น้ำมันเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ และ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ปี 2551 สัดส่วน (Yield) น้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันองค์ประกอบที่ได้จากกระบวนการผลิต มีน้ำมัน เตาสูงถึง 38% และน้ำมันดีเซล 35% ในขณะที่ได้น้ำมันเบนซินเพียง 14% ทำให้แม้ว่าส่วนต่าง ราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดิบจะปรับตัวลดลงก็ตาม แต่บริษัทฯ ยังได้รับค่าการกลั่นที่สูงกว่าจาก การผลิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาในสัดส่วนที่สูงกว่ามาก ส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบอ้างอิง เป็นดังนี้ หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ผลแตกต่าง ส่วนต่างราคาเฉลี่ย ปี 2551 ปี2550 +/- UNL95/DB 9.12 14.55 -5.43 IK/DB 27.90 18.44 +9.46 GO/DB 25.98 16.72 +9.26 FO/DB -14.93 -10.40 -4.53 ค่าการกลั่นจาก GRM Hedging ลดลง 0.32 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากปีก่อน เนื่องจากการ ปรับตัวของส่วนต่างราคาเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับที่บริษัทฯ ได้คาดการและเข้าทำสัญญา ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าไว้ บริษัทฯ จึงได้รับผลขาดทุนจากการทำ GRM Hedging เล็กน้อยประมาณ 0.25 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยปีนี้มีปริมาณธุรกรรมที่บริษัทฯ ได้ทำไว้ ประมาณ 23% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย (ปีก่อนมีปริมาณการทำธุรกรรมเฉลี่ย 37% ของปริมาณ การกลั่น) - EBITDA จากธุรกิจการตลาด 1,191 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 209 ล้านบาทเนื่องจากปี 2551 บริษัทฯ ได้รับค่าการตลาด(ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 59.6 สตางค์ต่อลิตร สูงกว่าปีก่อนที่มี ค่าการตลาดอยู่ที่ระดับ 26.1 สตางค์ต่อลิตร เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวค่อนข้าง ผันผวน โดยในช่วงครึ่งปีแรก 2551 ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากทำให้ผู้ค้ามี ค่าการตลาดติดลบในบางช่วง แต่ในช่วงครึ่งปีหลัง 2551 ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วจึง ทำให้การปรับราคาขายปลีกสะท้อนต้นทุนได้ดีขึ้น ส่วนปริมาณการจำหน่ายในตลาดบางจาก โดยรวมเป็น 53.2 พันบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 51.7 พันบาร์เรลต่อวัน คิดเป็น อัตราที่เพิ่มขึ้น 2.9% ในขณะที่ยอดจำหน่ายน้ำมันใสรวมทั้งประเทศลดลง 5.0% (ข้อมูลของสำนัก การค้าฯ กรมธุรกิจพลังงาน เฉลี่ยเดือนม.ค.-ธ.ค. 2551 เทียบกับปี 2550) - จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากนั้น ส่งผลให้ปี 2551 ธุรกิจโรงกลั่น น้ำมันได้รับผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 4,138 ล้านบาท (คิดเป็นค่าการกลั่นที่ลดลง ประมาณ 4.54 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) เทียบกับปีก่อนที่ราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางขาขึ้นจึงทำ ให้มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 1,857 ล้านบาท (คิดเป็นค่าการกลั่นประมาณ 2.16 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรล) อีกทั้งปีนี้บริษัทฯ ยังได้รับรู้การปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือลง (Lower of Cost or Market-LCM) อีกจำนวน 942 ล้านบาท (หรือคิดเป็นค่าการกลั่นเทียบเท่าประมาณ -1.03 เหรียญ สหรัฐต่อบาร์เรล) เนื่องจากสินค้าคงเหลือปลายงวดของบริษัทฯ มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าสุทธิที่คาดว่า จะจำหน่ายได้ 1.2 การวิเคราะห์รายได้ 1) สำหรับงวดปี 2551 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมี จำนวน 129,042 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 128,053 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 18,231 ล้านบาท ในรายได้ ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 17,242 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการจำหน่ายน้ำมัน สำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับรายได้ต่างๆ ของบริษัท บางจากฯ ที่มีการ เปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ - รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 33,920 ล้านบาท หรือ 36.0% เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายที่เพิ่ม สูงขึ้น 12.4% และราคาขายน้ำมันเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 21.1% (ราคาน้ำมันโดยเฉลี่ยปี 2551 สูงกว่าปี 2550 แต่ราคาน้ำมันปิดสิ้นปี 2551 เป็นราคาที่ต่ำสุดในรอบ 3 ปี) - รายได้จากดอกเบี้ยรับลดลง 133 ล้านบาท หรือ 69.0% เนื่องจากในปีก่อนบริษัทฯ นำเงินที่ได้รับ จากการขายหุ้นเพิ่มทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ส่วนที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระไปลงทุน ในเงินฝากประเภทประจำ 1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย 1) สำหรับงวดปี 2551 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 125,341 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 124,760 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 17,730 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกันจำนวน 17,149 ล้านบาท ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ ให้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท สำหรับค่าใช้จ่าย ต่างๆ ของบริษัทบางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ - ต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 36,236 ล้านบาท หรือ 40.9% เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายและต้นทุนราคา น้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เมื่อคิดเป็นอัตราการของการเพิ่มขึ้นพบว่าต้นทุนมีอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าเมื่อ เทียบกับอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นเพียง 36.0% สาเหตุหลักมาจากการ ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน ทั้งนี้จากช่วงที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงทำให้ต้นทุน สต๊อกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปมีมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับราคาจำหน่าย - เนื่องจากบริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความ ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปและการซื้อน้ำมันดิบซึ่งอ้างอิงสกุล เงินเหรียญสหรัฐ ในปี 2551 สถานการณ์ค่าเงินบาทมีทิศทางที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้เกิดผลขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 168 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทฯ ได้รับประโยชน์จากค่าการกลั่นในรูป ของเงินบาทจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง - ขาดทุนจากการลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ (LCM) มีจำนวน 942 ล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำมันใน ตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าคงเหลือปลายงวดของบริษัทฯ (ซึ่งใช้เกณฑ์ถัว เฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก) มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะจำหน่ายได้ ณ สิ้นงวดบัญชี - ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 854 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ 655 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้บริษัทฯ ได้ รับรู้ค่าใช้จ่ายจากการ Refinance เงินกู้เดิม ซึ่งประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการจ่ายคืนเงินกู้ก่อน กำหนดและค่าธรรมเนียมการยกเลิกการใช้สินเชื่อของเงินกู้เดิม รวมถึงการตัดจ่ายค่าใช้จ่ายในการ กู้เงินรอตัดบัญชีของวงเงินกู้เดิมเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนี้ด้วย 1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร งบการเงินรวม งบเฉพาะบริษัท ปี 2551 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2550 รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท 129,042 94,979 128,053 94,134 กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท (750) 1,764 (689) 1,691 อัตรากำไรขั้นต้น, ร้อยละ 2.87 6.42 2.57 5.96 อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ -0.58 1.86 -0.54 1.80 กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น -0.67 1.58 -0.62 1.51 อัตรากำไรขั้นต้นมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ กลั่นและค่าการตลาด โดยงวดปี 2551 บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้น 2.57% ลดลงจากปี 2550 ที่อยู่ที่ 5.96% สาเหตุหลักมาจากผลของราคาน้ำมันที่กระทบต่อค่าการกลั่นและค่าการตลาด ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วใน 1.1 ข้อ 2) ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิในปี 2551 เมื่อเทียบกับปี 2550 ปรับตัวลดลงจาก 1.80% เป็น -0.54% 2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 สินทรัพย์ 1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2551 มีจำนวน 42,540 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน 42,293 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 454 ล้านบาท และบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 273 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกัน 480 ล้านบาท โดย ส่วนใหญ่เป็นรายการลูกหนี้การค้าจำนวน 364 ล้านบาท 2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2551 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2550 มีมูลค่าลดลงจำนวน 2,546 ล้านบาท หรือประมาณ 5.7% สินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงหลักคือ - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลง 4,593 ล้านบาท หรือลดลง 75.4% ส่วนใหญ่เป็นเงินทุน โครงการ PQI ที่ใช้จ่ายไปในระหว่างการก่อสร้าง อีกส่วนใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน รายละเอียด สามารถดูได้จากการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด - ลูกหนี้การค้าลดลง 1,531 ล้านบาท หรือลดลง 25.6% จากสาเหตุที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเป็น อย่างมาก โดยราคาขายน้ำมันเฉลี่ยของบริษัทฯ ลดลง 43.5% จากราคา 22.41 บาทต่อลิตร ใน เดือนธันวาคม 2550 เป็น 12.67 บาทต่อลิตร ในเดือนธันวาคม 2551 ในขณะที่บริษัทฯ มียอดขาย รวมสูงขึ้น 10.0% - สินค้าคงเหลือมูลค่าลดลง 5,001 ล้านบาท หรือลดลง 46.6% เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนธันวาคม 2551 เฉลี่ยอยู่ที่ 40.05 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ต่ำลง 53.4% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคมปี 2550 ที่อยู่ที่ 85.98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ได้พยายามบริหารสินค้าคงเหลือให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมโดยปริมาณสินค้า คงเหลือ ณ สิ้นปี 2551 อยู่ที่ระดับ 3.09 ล้านบาร์เรล ลดลงจากสิ้นปี 2550 ที่อยู่ที่ 3.62 ล้านบาร์เรล มูลค่าสินค้าคงเหลือดังกล่าวได้รวมการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ (LCM) ไว้ด้วยจำนวน 942 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าที่ปรับลดลงประมาณ 14.1% สาเหตุจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลก ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าคงเหลือซึ่งใช้เกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่า สุทธิที่คาดว่าจะจำหน่ายได้ - เงินชดเชยกองทุนน้ำมันค้างรับเพิ่มขึ้น 480 ล้านบาท เนื่องจากรัฐประกาศให้เงินอุดหนุนผ่าน กองทุนน้ำมันสำหรับบรรเทาภาวะน้ำมันแพงในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยจ่ายเป็นเงินชดเชยราคา ให้กับโรงกลั่นน้ำมัน โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้ผลิตและ ออกจำหน่ายน้ำมันดีเซลมาตรฐาน EURO IV ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเพิ่มเติมด้วย จึง ทำให้ ณ สิ้นปี 2551 มีเงินชดเชยกองทุนน้ำมันที่จะได้รับคืนทั้งสิ้นจำนวน 676 ล้านบาท - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 1,140 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการตั้งรายการขอคืนภาษีเงินได้ นิติบุคคล ไว้จำนวน 1,115 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องมาจากบริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบปีบัญชี 2551 ดังนั้นจึงสามารถขอคืนภาษีในส่วนที่จ่ายชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ครึ่งปีแรกได้ทั้งจำนวน - เงินลงทุนระยะยาวอื่นเพิ่มขึ้น 145 ล้านบาท จากการลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท เหมืองแร่โปแตช อาเซียน จำกัด (มหาชน) จำนวน 80 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 6.56% และการลงทุน เพิ่มเติมใน MFC Energy Fund อีกจำนวน 65 ล้านบาท - บริษัทฯ มีที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น 6,614 ล้านบาท หรือ 35.9% ส่วนใหญ่เป็นการลงทุน สำหรับโครงการ PQI - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ ลดลง 418 ล้านบาท หรือลดลง 44.5% ส่วนใหญ่บริษัทฯได้รับคืนเงิน ค้ำประกันการทำธุรกรรม Hedging จากคู่สัญญา เนื่องจากผลของราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงทำให้ ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และน้ำมันดิบปรับตัวลดลงด้วย ส่งผลให้บริษัทฯมีภาระที่ต้องฝาก ค้ำประกันตามสัญญาลดลง อีกทั้งบริษัทฯ ได้เจรจาต่อรองเงื่อนไขการค้ำประกันการทำธุรกรรม Hedging จากคู่สัญญาใหม่เพื่อให้มีภาระแก่บริษัทฯ น้อยลง หนี้สิน 1) หนี้สินรวม ณ สิ้นปี 2551 จำนวน 22,777 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน 22,552 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 470 ล้านบาท และบริษัท บางจาก ไบโอฟูเอล จำนวน 144 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกัน จำนวน 389 ล้านบาท โดยส่วน ใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าจำนวน 364 ล้านบาท 2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2551 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2550 มีมูลค่าลดลง 1,088 ล้านบาท หรือ ประมาณ 4.6% หนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ - เจ้าหนี้การค้าลดลง 4,488 ล้านบาท หรือลดลง 50.1% ราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงอย่างมากทำให้ ราคาซื้อน้ำมันเฉลี่ยของบริษัทฯ ลดลง (เดือนธันวาคม 2551 ราคาซื้อเฉลี่ย 9.8 บาท/ลิตร หรือ ประมาณ 44.2 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในขณะที่เดือนธันวาคม 2550 อยู่ที่ 19.4 บาท/ลิตร หรือ ประมาณ 90.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) - เงินกู้ระยะยาวเพิ่มขึ้น 4,112 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเบิกเงินกู้ลงทุนโครงการ PQI - หนี้สินจากสัญญาประกันความเสี่ยงลดลง 853 ล้านบาท หรือลดลง 98.8% เนื่องจากการจ่ายชำระ เจ้าหนี้ตามสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยน - หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 645 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้ค่าก่อสร้างและเงินค้ำประกัน สัญญาโครงการ PQI ส่วนของผู้ถือหุ้น 1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2551 รวมจำนวน 19,763 ล้านบาท เป็นส่วน ของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 19,741 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน -16 ล้านบาท และบริษัทบางจากไบโอฟูเอล จำนวน 129 ล้านบาท แต่เป็นรายการระหว่างกัน 91 ล้านบาท 2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ ลดลง 1,458 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2550 เนื่องจากบริษัทฯ มี ผลขาดทุนสุทธิปี 2551 จำนวน 689 ล้านบาท และได้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการปี 2550 ไป จำนวน 336 ล้านบาท (จำนวน 1,119 ล้านหุ้น ปันผลหุ้นละ 0.30 บาท) รวมทั้งตัดจำหน่ายส่วนเกินทุน จากการตีราคาสินทรัพย์จำนวน 433 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นปีคงเหลือจำนวน 19,741 ล้านบาท 3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มี จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 287 ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็น 20.4% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวดปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 3.1 สำหรับปี 2551 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา 6,450 ล้านบาท โดยในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิลดลงจากกิจกรรมต่างๆ จำนวน 4,768 ล้านบาท โดยใช้เงินสดไปในกิจกรรม ดำเนินงาน 1,394 ล้านบาท ใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 7,735 ล้านบาท แต่ได้เงินสดจากกิจกรรมจัดหา เงิน 4,361 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นปี 2551 งบการเงินรวมจึงมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 1,682 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 1,495 ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 143 ล้านบาท และของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 45 ล้านบาท 3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากเงินสดต้นงวดจำนวน 6,088 ล้านบาท (เป็นเงินทุนโครงการ PQI 2,918 ล้านบาท และสำหรับดำเนินงานทั่วไปจำนวน 3,170 ล้านบาท) และในระหว่างปี บริษัทฯ ใช้เงินไป 4,593 ล้านบาท ในกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมดำเนินงาน 1,200 ล้านบาท ได้แก่ - มีกำไรจากการดำเนินงานที่เป็นเงินสด ก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สิน ดำเนินงาน 1,574 ล้านบาท - ได้เงินสดมาจากสินทรัพย์ดำเนินงาน 5,109 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าคงเหลือลดลง 4,059 ล้านบาท ลูกหนี้การค้าลดลง 1,512 ล้านบาท แต่สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 462 ล้านบาท - ใช้เงินสดไปในหนี้สินดำเนินงาน 4,952 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่ลดลงจำนวน 4,488 ล้านบาท และมีหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นลดลงจำนวน 464 ล้านบาท - บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายทางการเงิน และภาษีเงินได้ เป็นเงินสดจำนวน 1,163 ล้านบาท และ 1,768 ล้านบาท ตามลำดับ 2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 7,560 ล้านบาท ได้แก่ - จ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 7,541 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็น (ยังมีต่อ)