SET Announcements
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 2/2551
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2551
ภาพรวมธุรกิจปี 2551
ด้านราคาน้ำมัน
สำหรับไตรมาส 2 ปี 2551 นี้สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจาก
ไตรมาสที่แล้ว โดยสาเหตุหลักยังคงอยู่ที่ปัจจัยเดิมๆที่ผลักดันให้ราคาปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณความต้องการน้ำมัน
ในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง และการประกาศไม่เพิ่มกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันดิบ อีกทั้งปัญหาความไม่สงบใน
ดินแดนตะวันออกกลาง และโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่ยังไม่มีข้อยุติ รวมถึงค่าเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. ผันผวนทำ
ให้มีการซื้อขายทำกำไรในตลาดล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักวิเคราะห์หลายสถาบันได้ให้น้ำหนักของการเก็งกำไรใน
ตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมาก (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบ
ดูไบเฉลี่ยไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ 116.59 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สูงขึ้นถึง 79.9% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยไตรมาส
2 ปี 2550 ที่อยู่ที่ 64.82 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และสูงขึ้น 28.0% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยไตรมาส 1 ปี 2551 ที่อยู่
ที่ 91.09 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล) การปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันแม้ว่าจะทำให้ธุรกิจโรงกลั่นมีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน
เพิ่มขึ้น แต่จำเป็นต้องนำกำไรดังกล่าวไปซื้อน้ำมันดิบที่ราคาแพงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งในทางตรงข้ามเมื่อราคาน้ำมัน
ปรับตัวลดลงก็จะทำให้ธุรกิจโรงกลั่นมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันได้
ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงเริ่มส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันและขยายตัวของเศรษฐกิจในหลาย
ประเทศ รวมถึงเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นทำให้นักลงทุนเริ่มลดปริมาณการลงทุนในตลาดซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า
ทำให้ราคาน้ำมันในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 เริ่มปรับตัวลดลงแล้ว แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ราคา
น้ำมันปรับเพิ่มสูงขึ้นยังคงมีอยู่ ได้แก่ ความเสี่ยงต่อความเสียหายจากฤดูมรสุมในแหล่งผลิตบริเวณ Gulf of Mexico
และความไม่สงบและการขาดเสถียรภาพทางการเมืองในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ เป็นต้น
ด้านการผลิตและการจำหน่าย
ในไตรมาส 2 ปี 2551 บริษัทฯ สามารถกลั่นน้ำมันได้สูงเฉลี่ย 83.6 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องมาจากความ
ต้องการน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเพิ่มสูงขึ้น โดยความต้องการน้ำมันดีเซลมาจากตลาดสถานีบริการของบางจากฯ ที่มี
ยอดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นจากระดับเฉลี่ย 179 ล้านลิตรต่อเดือน ในไตรมาส 2 ปีก่อน เป็นระดับ 230 ล้านลิตรต่อเดือน
ในไตรมาสนี้ เหตุผลสำคัญประการหนึ่งคือ ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้
น้ำมันพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ 91 และ ไบโอดีเซล (บี5) มากขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าน้ำมันทั่วไป ซึ่ง
บริษัทฯ ได้เร่งขยายการจำหน่ายน้ำมันดังกล่าวในสถานีบริการน้ำมันให้ครอบคลุมผู้ใช้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯมี
ส่วนแบ่งการตลาดผ่านสถานีบริการน้ำมันในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 2551 ขึ้นเป็นอันดับที่ 2 โดยมีส่วนแบ่งการตลาด
อยู่ที่ 14.7% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 4 อยู่ที่ 12.7% ความต้องการ
น้ำมันเตาประเภทกำมะถันต่ำจากประเทศจีนและญี่ปุ่นได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งบริษัทฯสามารถผลิตน้ำมันเตา
ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า จึงทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่มกำลังกลั่นได้ในระดับที่สูงกว่าปกติ โดยปัจจุบันน้ำมัน
เตาที่บริษัทฯผลิตได้เกือบทั้งหมดเพื่อส่งจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ
1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 6 เดือน ปี 2551 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 2,697 ล้านบาท ซึ่งงบ
เฉพาะบริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 2,660 ล้านบาท บริษัทย่อย ได้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท และ
บริษัท บางจากไบโอฟูเอล มีผลกำไรสุทธิ 59 ล้านบาท แต่มีรายการระหว่างกัน 22 ล้านบาท
2) ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2551 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 1,846 ล้านบาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯมี
กำไรสุทธิจำนวน 1,818 ล้านบาท และบริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิ 51 ล้านบาท มีรายการระหว่างกัน 23 ล้าน
บาท
3) ผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท บางจากฯ ในไตรมาส 2 ปี 2551 มี EBITDA จากผลประกอบการจริง
จำนวน 1,017 ล้านบาท เมื่อรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 1,748 ล้านบาท จึงทำให้มี EBITDA
รวม 2,765 ล้านบาท ผลประกอบการแยกตามประเภทธุรกิจมีดังนี้
EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ
ไตรมาส 2 ปี 51 ไตรมาส 2 ปี 50 เพิ่ม + / ลด -
(หน่วย : ล้านบาท) (A) (B) (A) - (B)
1,017 595 +422
EBITDA (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน)
- โรงกลั่น 1,589 513 +1,076
- ตลาด (572) 82 -654
1,748 849 +899
บวก ผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน
2,765 1,444 +1,321
EBITDA รวม
- โรงกลั่น 3,337 1,362 +1,975
- ตลาด (572) 82 -654
- EBITDA จากผลประกอบการจริงของธุรกิจโรงกลั่นจำนวน 1,589 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 513 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกำไรจาก
สต๊อกน้ำมัน) 7.97 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (หรือประมาณ 1.63 บาทต่อลิตร) มีการใช้กำลัง
การผลิตที่ 83.6 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีค่าการกลั่นรวม 3.24 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล (หรือประมาณ 0.71 บาทต่อลิตร) และใช้กำลังการผลิตที่ระดับ 73.8 พันบาร์เรล
ต่อวัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังนี้
หน่วย : ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ผลแตกต่าง
ค่าการกลั่นจาก
ปี 2551 ปี 2550 +/-
ค่าการกลั่นพื้นฐาน 9.40 2.71 +6.69
GRM Hedging (1.43) 0.53 -1.96
รวม 7.97 3.24 +4.73
ค่าการกลั่นพื้นฐาน ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากในไตรมาสนี้ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมื่อเทียบ
กับน้ำมันดิบเฉลี่ยมีการปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลซึ่งบริษัทมีสัดส่วนการผลิตอยู่
ประมาณร้อยละ 35 โดยในไตรมาสนี้ส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันดิบดูไบ (GO/DB) เพิ่ม
ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 37.47 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล เทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่เฉลี่ย
16.44 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สาเหตุมาจากจากความต้องการน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก
โดยเฉพาะจากประเทศจีน เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก สำหรับส่วนต่างราคาน้ำมัน
เตาและน้ำมันดิบดูไบ (FO/DB) นั้นติดลบมากขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเตาที่บริษัทฯ
จำหน่ายไปยังต่างประเทศนั้นไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากเป็นน้ำมันเตาชนิดพิเศษบริษัทฯจึง
สามารถจำหน่ายได้ที่ราคารวม Premium ในระดับสูง ส่วนต่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ
อ้างอิง เป็นดังนี้
หน่วย : ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
ไตรมาส 2 ไตรมาส 2 ผลแตกต่าง
ส่วนต่างราคาเฉลี่ย
ปี 2551 ปี2550 +/-
UNL95/DB 12.87 20.95 -8.08
IK/DB 37.86 17.45 +20.41
GO/DB 37.47 16.44 +21.03
FO/DB -24.09 -10.79 -13.30
ค่าการกลั่นจาก GRM Hedging ลดลงเนื่องจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และน้ำมันดิบที่เกิดขึ้น
จริงในไตรมาสนี้ดีกว่าราคาที่บริษัทฯได้ทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงค่าการกลั่นล่วงหน้าไว้ บริษัทฯ
จึงได้รับผลขาดทุนจากการทำ GRM Hedging 1.43 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล โดยไตรมาสนี้มี
ปริมาณธุรกรรมที่บริษัทฯได้ทำไว้ล่วงหน้าประมาณ 22% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ย (ปีก่อนมี
ปริมาณการทำธุรกรรมเฉลี่ย 23% ของปริมาณกลั่น)
- EBITDA จากธุรกิจการตลาด -572 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 82 ล้านบาท
เนื่องจากไตรมาสนี้ค่าการตลาด(ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ -51.9 สตางค์ต่อลิตร (หรือประมาณ
-2.54 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล) เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำ
ให้บริษัทฯ ไม่สามารถปรับราคาขายหน้าสถานีบริการได้สอดคล้องกับต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นมาก จึง
ส่งผลให้ธุรกิจตลาดมีค่าการตลาดติดลบ อย่างไรก็ดีในไตรมาสนี้บริษัทฯ มีปริมาณการจำหน่ายใน
ตลาดบางจากโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นเป็น 57.5 พันบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่
ระดับ 52.7 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากบริษัทฯสามารถขยายการจำหน่ายน้ำมันพลังงานทดแทน
เช่น น้ำมันแก๊ซโซฮอล์ 91 และน้ำมันไบโอดีเซล (บี5) ในสถานีบริการได้ครอบคลุมผู้ใช้มากขึ้น
- ตามที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2551 นี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัว
สูงขึ้นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้โรงกลั่นน้ำมันได้รับผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเป็น
ประมาณ 1,748 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 849 ล้านบาท
1.2 การวิเคราะห์รายได้
1) สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2551 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ และ
บริษัทย่อยมีจำนวน 69,406 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน
68,931 ล้านบาท และรายได้จากการขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 10,325 ล้านบาท ใน
รายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 9,850 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขายน้ำมัน
สำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้กับบริษัท บางจากกรีนเนท
2) สำหรับไตรมาส 2 ปี 2551 รายได้จากการขายและการให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 39,587
ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการขายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 39,367 ล้านบาท และรายได้จาก
การขายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 5,496 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 5,276
ล้านบาท โดยรายได้ต่างๆของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน ได้แก่
- รายได้จากการขาย 39,367 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15,502 ล้านบาท หรือ 64.9% เนื่องจากปริมาณการ
จำหน่ายที่เพิ่มสูงขึ้น 14.4% ราคาน้ำมันในรูปสกุลเงินดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 56.8%
ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นประมาณ 6.8% (อ้างถึงอัตราขายถัวเฉลี่ยไตรมาส 2 ปี 2551
ที่ 32.45 บาท/ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเฉลี่ยไตรมาส 2 ปี 2550 ที่ระดับ 34.81 บาท/ดอลลาร์ สรอ.)
ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนขายในทิศทางเดียวกันด้วย
- รายได้จากดอกเบี้ยรับจำนวน 15 ล้านบาท ลดลง 42 ล้านบาท หรือ 73.2% เนื่องจากในปีก่อน
บริษัทฯ นำเงินที่ได้รับจากการขายหุ้นเพิ่มทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ส่วนหนึ่งที่ยัง
ไม่ถึงกำหนดชำระไปลงทุนในเงินฝากประจำ
1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
1) สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2551 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน
63,774 ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 63,598 ล้านบาท และต้นทุนของ
บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 9,985 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 9,809 ล้านบาท ซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนการขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ แก่บริษัท บางจากกรีนเนท
2) ไตรมาส 2 ปี 2551 ค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ต้นทุนขายและให้บริการตามงบการเงินรวมมีจำนวน 35,535
ล้านบาท ประกอบด้วย ต้นทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 35,496 ล้านบาท และต้นทุนของบริษัท
บางจากกรีนเนท จำนวน 5,517 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 5,478 ล้านบาท สำหรับ
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของบริษัทบางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสูงขึ้น 105 ล้านบาท หรือ 21.1% ส่วนใหญ่เป็นค่าขนส่งเพื่อการ
จำหน่ายที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้น
จากปริมาณการจำหน่ายที่สูงขึ้น
- ไตรมาสนี้บริษัทฯ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 323 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาส 2 ปีก่อนมี
ผลกำไร 15 ล้านบาท สาเหตุจากเงินบาทที่อ่อนค่าลงจาก ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551 จึงทำให้เกิดผล
ขาดทุนจากการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามในไตรมาสนี้บริษัทฯ
จะได้รับค่าการกลั่นในรูปสกุลเงินบาทที่สูงขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน
- ขาดทุนจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้าจำนวน 353 ล้านบาท ในขณะที่
ไตรมาส 2 ปีก่อนมีผลกำไร 127 ล้านบาท เหตุผลดังที่กล่าวไว้แล้วตามการวิเคราะห์กำไรขาดทุน
ในเรื่องค่าการกลั่นจาก GRM Hedging
- บริษัทฯ รับรู้ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 141 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 25 ล้านบาท หรือ 14.9%
เนื่องจากยอดหนี้เงินกู้เฉลี่ยที่ลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงด้วยประมาณ 0.2% ต่อปี
1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร
งวด 6 เดือนปี 2551 งวด 6 เดือนปี 2550
งบรวม งบบริษัท งบรวม งบบริษัท
69,406 68,931 44,078 43,655
รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท
2,697 2,660 839 791
กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท
8.11 7.74 4.73 4.23
อัตรากำไรขั้นต้น, ร้อยละ
3.89 3.86 1.90 1.81
อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ
2.41 2.38 0.75 0.71
กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น
ไตรมาส 2 ปี 2551 ไตรมาส 2 ปี 2550
งบรวม งบบริษัท งบรวม งบบริษัท
39,587 36,367 24,093 23,866
รายได้จากการขายและให้บริการ, ล้านบาท
1,846 1,818 881 845
กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท
10.23 9.83 6.85 6.35
อัตรากำไรขั้นต้น, ร้อยละ
4.66 4.62 3.66 3.54
อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ
1.65 1.62 0.79 0.76
กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น
อัตรากำไรขั้นต้นมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ
กลั่นและค่าการตลาด โดยงวด 6 เดือน และไตรมาส 2 ปี 2551 บริษัทฯมีอัตรากำไรขั้นต้น 7.74% และ 9.83%
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2550 ที่อยู่ที่ 4.23% และ 6.35% ตามลำดับ สาเหตุหลักมาจากค่าการกลั่น
โดยรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วตาม 1.1 ข้อ 3) รวมถึงมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันเนื่องจากราคาน้ำมัน
ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิในไตรมาส 2 ปี 2551 เมื่อเทียบกับปี 2550 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.54%
เป็น 4.62% ส่วนอัตรากำไรสุทธิงวด 6 เดือน ปี 2551 เมื่อเทียบกับปี 2550 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 1.81% เป็น 3.86%
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2550
สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551 มีจำนวน 52,951 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ
จำนวน 52,662 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 830 ล้านบาท และบริษัท
บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 164 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกัน 705 ล้านบาท โดย
ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้การค้าจำนวน 641 ล้านบาท
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
จำนวน 7,822 ล้านบาท หรือประมาณ 17.5% ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- ลูกหนี้การค้ามูลค่า 7,274 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้น 1,293 ล้านบาท หรือ 21.6% สาเหตุหลัก
เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจำนวนวันลูก หนี้เฉลี่ยลดลงจาก 20 วัน เป็น
17 วัน
- สินค้าคงเหลือมูลค่า 15,468 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,723 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 43.9% เนื่องจากราคา
น้ำมันที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนมิถุนายน 2551 ที่ 127.88
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล สูงขึ้น 48.7% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคมปี 2550 ที่อยู่ที่ 85.98
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล) รวมทั้งปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3 ล้านบาร์เรล เนื่องจาก
ปริมาณการกลั่นเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น
- เงินชดเชยกองทุนน้ำมันค้างรับมีจำนวน 628 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 431 ล้านบาท หรือ 219.1%
เนื่องจาก ในปีนี้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ประกาศให้อัตราเงินชดเชยราคา
น้ำมันเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะน้ำมันพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันไบโอดีเซล อีกทั้ง
บริษัทฯมีสัดส่วนการจำหน่ายน้ำมันดังกล่าวในปริมาณมาก จึงทำให้มีเงินชดเชยกองทุนค้างรับเพิ่ม
สูงขึ้น
- สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ มีจำนวน 395 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 252 ล้านบาท หรือ 176.9% ส่วนใหญ่มา
จากรายการ VAT ค้างรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากมูลค่าการขายส่งออกมีจำนวนสูงขึ้นรวมถึงผลจากการที่
ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมากทำให้มีฐานภาษีซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย
- บริษัทฯ มีที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551 จำนวน 22,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
4,540 ล้านบาท หรือ 24.7% โดยเป็นการลงทุนสำหรับโครงการ PQI จำนวน 4,753 ล้านบาท และ
การลงทุนประจำปีอื่นประมาณ 303 ล้านบาท แต่มีการตัดค่าเสื่อมราคาสำหรับงวด 6 เดือน จำนวน
516 ล้านบาท
- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ จำนวน 1,744 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 799 ล้านบาท หรือ 84.5% ส่วนใหญ่
เป็นเงินค้ำประกันการทำธุรกรรม Hedging ที่บริษัทฯวางไว้กับคู่สัญญาเนื่องจากการทำสัญญาซื้อ
ขายน้ำมันเพื่อป้องกันความเสี่ยงเนื่องจากค่าการกลั่นไว้ล่วงหน้าจนถึงปี 2552 อย่างไรก็ตามบริษัทฯ
จะได้รับดอกเบี้ยสำหรับเงินค้ำประกันนี้ด้วย และจะได้รับเงินคืนเมื่อส่วนต่างราคาน้ำมันปรับตัว
ลดลง
หนี้สิน
1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551 จำนวน 29,514 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน
29,337 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 756 ล้านบาท และบริษัท
บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 74 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกัน จำนวน 653 ล้านบาท โดย
ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าจำนวน 641 ล้านบาท
2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 5,696
ล้านบาท หรือประมาณ 24.1% ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- เจ้าหนี้การค้ามูลค่า 12,062 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,102 ล้านบาท หรือ 34.6% สาเหตุหลักมาจากการ
ที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นทำให้ราคาซื้อน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันในเดือนมิถุนายน 2551
สูงขึ้นกว่า 40% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2550
- หนี้สินจากการประกันความเสี่ยงลดลง 438 ล้านบาท หรือลดลง 47.1% เนื่องจากการจ่ายชำระ
เจ้าหนี้ตามสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันที่ถึงกำหนดชำระแล้ว
ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551 รวมจำนวน 23,437 ล้านบาท
เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 23,325 ล้านบาท ของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 74
ล้านบาท และบริษัทบางจากไบโอฟูเอล จำนวน 90 ล้านบาท และเป็นรายการระหว่างกัน 52 ล้านบาท
2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ เพิ่มขึ้น 2,126 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2550 เนื่องจากบริษัทฯ มี
กำไรสุทธิสำหรับครึ่งปีแรก 2551 จำนวน 2,660 ล้านบาท แต่ได้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการปี
2550 ไปจำนวน 336 ล้านบาท (จำนวน 1,119 ล้านหุ้น ปันผลหุ้นละ 0.30 บาท) และมีการตัดจำหน่าย
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์จำนวน 197 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 30 มิถุนายน
2551 มีจำนวน 23,325 ล้านบาท
3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 มี
จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 287 ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็น 20.4%
ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2551
3.1 สำหรับงวด 6 เดือน ปี 2551 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา
6,450 ล้านบาท โดยในระหว่างปีมีเงินสดสุทธิลดลงจากกิจกรรมต่างๆ จำนวน 4,257 ล้านบาท ประกอบด้วย
เงินสดที่ใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงาน 47 ล้านบาท เงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 6,460 ล้านบาท แต่
ได้เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 2,250 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551 งบการเงินรวมจึงมีเงินสด
และรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 2,193 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 1,923
ล้านบาท ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 223 ล้านบาท และของบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำนวน 47
ล้านบาท
3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากเงินสดต้นงวดจำนวน 6,088 ล้านบาท และในระหว่างงวดบริษัทฯใช้เงิน
ไป 4,165 ล้านบาท ในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมดำเนินงาน 160 ล้านบาท ได้แก่
- มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานที่เป็นเงินสด
4,594 ล้านบาท
- มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 2,680 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 3,096
ล้านบาท แต่ได้จ่ายชำระหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นจำนวน 416 ล้านบาท
- ใช้เงินสดไปเพื่อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 6,479 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 4,723 ล้าน
บาท ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น 1,101 ล้านบาท และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 655 ล้านบาท
- บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ไปเป็นเงินสดจำนวนรวม 955 ล้านบาท
2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 6,207 ล้านบาท ได้แก่
(ยังมีต่อ)