SET Announcements
MD&A ผลการดำเนินงานสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน และงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550
ภาพรวมธุรกิจปี 2550
ด้านราคาน้ำมัน
สำหรับไตรมาส 3 ปี 2550 สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงมีการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส
ที่แล้ว โดยมีความกังวลถึงภาวะอุปทานตึงตัวในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งสาเหตุที่สำคัญมาจากการก่อการร้ายและเข้าโจมตี
แหล่งผลิตน้ำมันดิบหลายแห่งทั้งในประเทศไนจีเรียและเม็กซิโก กรณีความขัดแย้งที่ยังคงมีอยู่ระหว่างอิหร่านกับชาติ
ตะวันตกในประเด็นการพัฒนาสมรรถนะแร่ยูเรเนี่ยม รวมถึงการประกาศปริมาณน้ำมันสำรองของสหรัฐอเมริกาที่ลดลง
ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ แม้ว่าจากการประชุมกลุ่ม OPEC เมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมาจะมีมติเพิ่ม
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบขึ้นอีก 500 KBD แล้วก็ตามแต่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงปรับตัวสูงขึ้น (อ้างอิงราคา
น้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยไตรมาส 3 ปี 2550 ที่ 70.03 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล สูงขึ้น 8.0% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยไตรมาส
2 ปี 2550 ที่อยู่ที่ 64.82 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล)
ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นจนทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ
ธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ส่งผลให้ Hedge Funds เพิ่มการลงทุนในตลาด Commodities มากขึ้น อย่างไรก็ตามหาก
ระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ผู้บริโภคลดปริมาณการใช้น้ำมันและเปลี่ยนไปใช้
พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นปัจจัยให้ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงได้
ด้านการผลิต
บริษัทฯ มีปริมาณการกลั่น 71.3 พันบาเรลต่อวัน ในไตรมาส 3 เทียบกับในช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่อยู่ที่
60.4 พันบาเรลต่อวัน ทั้งนี้เป็นผลจากการที่บริษัทฯ ได้บรรลุสัญญาขายเทอมน้ำมันเตาชนิด FOVS (Fuel Oil Very
Low Sulfur) ในการส่งออกไปยังโรงกลั่นในประเทศจีนเพื่อนำไปกลั่นต่อให้เป็นน้ำมันดีเซลและเบนซิน ทั้งนี้บริษัทฯได้
จำหน่ายน้ำมันดังกล่าวในระดับเฉลี่ย 100 -120 ล้านลิตรต่อเดือน ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีผลถึงสิ้นปี 2550 ขณะนี้บริษัทฯ
ได้บรรลุข้อตกลงในการต่อสัญญาไปจนถึงสิ้นปี 2551 แล้ว อีกทั้งในช่วงนี้ราคาน้ำมันเตาปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน
เนื่องจากปัญหาโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น จึงทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันเตาเพิ่มสูงขึ้นและคาดว่าปัญหาที่
เกิดขึ้นต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการแก้ไข
1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
งวด 9 เดือนปี 2550 งวด 9 เดือนปี 2549
งบรวม งบบริษัท งบรวม งบบริษัท
รายได้รวม, ล้านบาท 67,635 67,010 75,767 75,133
กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 1,346 1,289 878 916
อัตรากำไรขั้นต้น, ร้อยละ 5.23 4.76 3.61 3.33
อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 2.01 1.94 1.17 1.24
กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 1.20 1.15 0.97 1.01
ไตรมาส 3 ปี 2550 ไตรมาส 3 ปี 2549
งบรวม งบบริษัท งบรวม งบบริษัท
รายได้รวม, ล้านบาท 23,117 22,924 23,956 23,741
กำไร / (ขาดทุน) สุทธิ, ล้านบาท 508 498 (30) (2)
อัตรากำไรขั้นต้น, ร้อยละ 6.20 5.77 3.71 3.53
อัตรากำไรสุทธิ, ร้อยละ 2.21 2.18 (0.13) (0.01)
กำไรสุทธิต่อหุ้น, บาท/หุ้น 0.45 0.44 (0.03) (0.00)
1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2550 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 1,346 ล้านบาท ซึ่งงบ
เฉพาะบริษัทฯมีกำไรสุทธิจำนวน 1,289 ล้านบาท และบริษัทย่อย ได้แก่บริษัท บางจากกรีนเนท มีผล
กำไรสุทธิ 56 ล้านบาท และมีรายการระหว่างกัน +1 ล้านบาท
2) ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2550 งบการเงินรวมมีผลกำไรสุทธิ 508 ล้านบาท ซึ่งงบเฉพาะบริษัทฯมี
กำไรสุทธิจำนวน 498 ล้านบาท และบริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิ 11 ล้านบาท มีรายการระหว่างกัน -1 ล้าน
บาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มี EBITDA 960 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 243 ล้าน
บาท อยู่ 717 ล้านบาท หรือคิดเป็น 295% สำหรับผลประกอบการไตรมาสที่ 3 แยกตามประเภทธุรกิจ
เป็นดังนี้
EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ
ไตรมาส 3 ปี 50 ไตรมาส 3 ปี 49 เพิ่ม + / ลด -
(หน่วย : ล้านบาท) (A) (B) (A) - (B)
(สอบทานแล้ว)
EBITDA 960 243 +717
- โรงกลั่น 815 (89) +904
- ตลาด 145 332 -187
(หัก) กำไรจากสต๊อกน้ำมัน (279) -279
บวก ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน 582 -582
Adjusted EBITDA 681 825 -144
- โรงกลั่น 536 493 +43
- ตลาด 145 332 -187
- EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 815 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ -89 ล้านบาท
โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่นรวม 4.67 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล (รวมผลกำไรจากสต๊อก
น้ำมันเนื่องจากราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวสูงขึ้น) มีการใช้กำลังการผลิตที่ 71.3 พันบาเรลต่อวัน
สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีค่าการกลั่นรวม 2.23 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล และใช้กำลังการ
ผลิตที่ระดับ 60.4 พันบาเรลต่อวัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังนี้
หน่วย : ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 ผลแตกต่าง
ค่าการกลั่นจาก ปี 2550 ปี 2549 +/-
ค่าการกลั่นพื้นฐาน 3.63 3.09 +0.54
Improvement Program - 3.48 0.36 3.23 -0.36 0.25
Oil Hedging (0.15) (0.22) +0.07
สต๊อกน้ำมัน 1.19 (1.00) +2.19
รวม 4.67 2.23 +2.44
ค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) 3.48 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล สูงกว่าช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 3.23 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล จากค่าการกลั่นพื้นฐานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
0.54 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เนื่องจากส่วนต่างราคาน้ำมันเตาเมื่อเทียบกับน้ำมันดิบดูไบมีการ
ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง 6.03 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เมื่อเทียบจากไตรมาส 3 ปี 2549
จากความต้องการน้ำมันเตาที่เพิ่มสูงขึ้นหลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นมีปัญหาต้องปิดซ่อมแซมเป็น
เวลาหลายเดือนเนื่องจากได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ในไตรมาสนี้บริษัทฯไม่มี
Improvement Program จากการส่งน้ำมันเตาไป Crack ที่โรงกลั่นไทยออยล์ แต่ได้ทำการส่งออก
น้ำมันเตาชนิด FOVS ไปยังโรงกลั่นในประเทศจีนแทน ทำให้บริษัทฯสามารถใช้กำลังการผลิตได้ดี
ขึ้นอยู่ในระดับ 71.3 พันบาเรลต่อวัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ใช้กำลังการผลิตอยู่ 60.4
พันบาเรลต่อวัน ในส่วนค่าการกลั่นจากการทำ Hedging นั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.07 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาเรล จากขาดทุน 0.22 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ในปีก่อนลดลงเป็นขาดทุน 0.15 ดอลลาร์ สรอ.ต่อ
บาเรล ในปีนี้เนื่องจากการปรับตัวของค่าการกลั่นเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับที่บริษัทได้เข้าทำ
สัญญาธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าไว้ สำหรับไตรมาสนี้มีปริมาณธุรกรรมที่บริษัทฯได้ทำไว้
ล่วงหน้าประมาณ 52% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ยไตรมาส ในขณะที่ปีก่อนมีระดับการทำธุรกรรม
ประมาณ 33% ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ยไตรมาส
ไตรมาสนี้มีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 1.19 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่
ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน 1.00 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เนื่องจากไตรมาส 3 ปีนี้ราคาน้ำมันได้
ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสาเหตุดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
- EBITDA จากธุรกิจการตลาด 145 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 332 ล้านบาท
เนื่องจากไตรมาสนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวในทิศทางขาขึ้นทำให้ราคาขายปลีกปรับตัวได้
ช้ากว่าต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับเมื่อปีก่อนที่ราคาน้ำมันมีการปรับตัวลดลง จึงทำให้ไตรมาสนี้
บริษัทฯ มีค่าการตลาด(ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 36.7 สตางค์ต่อลิตร ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 68.4 สตางค์ต่อลิตร ส่วนปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากระดับ 47.3 พัน
บาเรลต่อวัน เป็น 49.7 พันบาเรลต่อวัน เนื่องจากบริษัทฯผลักดันการจำหน่ายน้ำมันพลังงาน
ทดแทนมากขึ้น ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91, 95 และน้ำมันไบโอดีเซล B5
1.2 การวิเคราะห์รายได้
1) สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2550 รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 67,635 ล้านบาท เป็นรายได้
ของบริษัท บางจากฯ จำนวน 67,010 ล้านบาท และรายได้ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 9,924
ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 9,299 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขาย
น้ำมันสำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้กับบริษัท บางจากกรีนเนท
2) สำหรับไตรมาส 3 ปี 2550 รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีจำนวน 23,117 ล้านบาท ประกอบด้วย
รายได้ของบริษัท บางจากฯ จำนวน 22,924 ล้านบาท และรายได้ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน
3,579 ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 3,386 ล้านบาท โดยรายได้ของบริษัท
บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
- รายได้จากการขาย 22,815 ล้านบาท ลดลง 839 ล้านบาท หรือ 4% เนื่องจาก อัตราแลกเปลี่ยนที่
แข็งค่าขึ้นประมาณ 10% (อ้างถึงอัตราขายถัวเฉลี่ยไตรมาส 3 ปี 2550 ที่ 34.17 บาท/ดอลลาร์
สรอ. เทียบกับเฉลี่ยไตรมาส 3 ปี 2550 ที่ระดับ 37.79 บาท/ดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนขายที่
ลดลงด้วยเช่นกัน แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม
- รายได้จากดอกเบี้ยรับจำนวน 40 ล้านบาท ลดลง 28 ล้านบาท หรือ 41% เนื่องจากบริษัทฯได้
ทยอยใช้จ่ายเงินทุนตามโครงการ PQI โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 บริษัทฯมีเงินฝาก
ประเภทประจำคงเหลืออยู่จำนวน 3,159 ล้านบาท (เป็นส่วนของเงินทุน PQI 2,930 ล้านบาท)
ในขณะที่ปีก่อนมีเงินฝากประจำคงเหลืออยู่ ณ สิ้นไตรมาส 3 จำนวน 4,726 ล้านบาท (เป็นส่วน
ของเงินทุน PQI 4,500 ล้านบาท)
- รายได้อื่นๆจำนวน 69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51 ล้านบาท หรือ 295% ส่วนใหญ่มาจาก
การคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลปีบัญชี 2530 จากกรมสรรพากรจำนวน 20 ล้านบาท และค่าพรีเมียมจาก
สัญญาขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า 11 ล้านบาท
1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
1) สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2550 ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 66,289 ล้านบาท
ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 65,721 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของบริษัท
บางจากกรีนเนท จำนวน 9,868 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 9,300
ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ แก่บริษัท บางจากกรีนเนท
2) สำหรับไตรมาส 3 ปี 2550 ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 22,609 ล้านบาท
ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 22,426 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของบริษัท บาง
จากกรีนเนท จำนวน 3,568 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 3,385 ล้าน
บาท โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ได้แก่
- ในไตรมาสนี้ไม่มีการ Write Down สินค้าคงเหลือ เนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น ในขณะ
ที่ปีก่อนในช่วงปลายไตรมาส 3 ราคาน้ำมันเริ่มมีการปรับตัวลดลงมาก ทำให้ต้องตั้งสำรองมูลค่า
สินค้าคงเหลือลดลงไว้จำนวน 350 ล้านบาท เนื่องจาก ณ วันสิ้นงวดไตรมาส 3 ปี 2549 สินค้า
คงเหลือมีมูลค่าสูงกว่าราคาสุทธิที่บริษัทฯคาดว่าจะได้รับ
- บริษัทฯ รับรู้ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 78 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 4 ล้านบาท
เนื่องจากในไตรมาสนี้บริษัทฯได้ขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในอัตราต่ำกว่าอัตราแลกเปลี่ยน
เฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริง
- บริษัทฯ รับรู้ดอกเบี้ยจ่าย 161 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 48 ล้านบาท หรือ 23%
เนื่องจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.5% ต่อปี โดยบริษัทฯ มีต้นทุนเงินกู้ยืมเฉลี่ย
ไตรมาส 3 ปี 2550 อยู่ที่ 5.5% รวมถึงเป็นผลจากยอดเงินต้นเฉลี่ยที่ลดลงจำนวน 2,305 ล้านบาท
1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร
อัตรากำไรขั้นต้นมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการ
กลั่นและค่าการตลาด โดยงวด 9 เดือน และไตรมาส 3 ปี 2550 บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้น 4.8% และ 5.8%
ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 ที่อยู่ที่ 3.3% และ 3.5% ตามลำดับ สาเหตุหลักมาจากค่าการ
กลั่นรวมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วตาม 1.1 ข้อ 2) ทำให้อัตรากำไรสุทธิงวด 9 เดือน ปี 2550 และ
2549 เป็น 1.9% และ 1.2% ส่วนอัตรากำไรสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2550 และ 2549 เป็น 2.2% และ 0%
ตามลำดับ
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2549
2.1 สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2550 มีจำนวน 41,589 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ
จำนวน 41,498 ล้านบาท และบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 523 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมี
สินทรัพย์ระหว่างกัน 432 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชีลูกหนี้จำนวน 429 ล้านบาท
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2550 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2549 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
จำนวน 3,555 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- ณ 30 กันยายน 2550 บริษัทฯมีลูกหนี้การค้า-สุทธิ 4,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,009 ล้านบาท หรือ
เพิ่มขึ้น 32% เนื่องจากปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงบริษัทมีการจำหน่ายน้ำมันส่งออกมาก
ขึ้นซึ่งเป็นลูกหนี้กลุ่มที่มีเทอมชำระเงินเฉลี่ยนาน 30 วัน
- สินค้าคงเหลือ 11,873 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,233 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 37% เนื่องจากปริมาณสินค้า
เพิ่มขึ้นตามปริมาณการกลั่นที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นด้วย
2.2 หนี้สิน
1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2550 จำนวน 21,948 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน
21,871 ล้านบาท และของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 506 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่าง
กัน จำนวน 429 ล้านบาท
2) หนี้สินของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2550 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2549 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 2,620
ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
- ณ 30 กันยายน 2550 เจ้าหนี้การค้ามีจำนวน 8,027 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,881 ล้านบาท หรือ 94%
เนื่องจากช่วงสิ้นปี 2549 มีการจ่ายชำระหนี้ค่าน้ำมันดิบล่วงหน้า 2 เที่ยวเรือ ปริมาณ 0.73 ล้าน
บาเรล เป็นจำนวนเงิน 1,725 ล้านบาท อีกทั้งไตรมาสนี้ราคาน้ำมันได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นด้วยทำให้
ราคาซื้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 10.9% (ซื้อเดือนก.ย. 2550 เทียบกับเดือนธ.ค. 2549)
2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2550 รวมจำนวน 19,641 ล้านบาท
เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 19,627 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทบางจากกรีนเนท จำนวน
17 ล้านบาท และเป็นรายการระหว่างกัน -3 ล้านบาท
2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2550 เพิ่มขึ้น 935 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี
2549 เนื่องจากบริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับ 9 เดือนปี 2550 จำนวน 1,289 ล้านบาท แต่มีการจ่ายเงิน
ปันผลประจำปีจำนวน 190 ล้านบาท และได้มีการตัดจำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์เป็น
จำนวน 164 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 30 กันยายน 2550 มีจำนวน 19,627 ล้านบาท
3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือตราสารสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 มี
จำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 287 ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็นร้อยละ
20.4 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2550
3.1 สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2550 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวดยกมา
2,705 ล้านบาท โดยในระหว่างงวดมีเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมต่างๆจำนวน 2,317 ล้านบาท
ประกอบด้วยเงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,817 ล้านบาท เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมลงทุนจำนวน
2,227 ล้านบาท และใช้เงินสดไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 1,727 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2550 จึงมี
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 5,022 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน
4,858 ล้านบาท และเป็นเงินสดของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 164 ล้านบาท
3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากกำไรสุทธิงวด 9 เดือน จำนวน 1,289 ล้านบาท บวกกลับค่าใช้จ่ายที่ไม่
ใช้เงินสดจำนวน 792 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทฯ มีกำไรที่เป็นเงินสดจำนวน 2,081 ล้านบาท มีเงินสดต้นงวด
จำนวน 2,599 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้และใช้เงินสดในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานจำนวน 324 ล้านบาท โดยที่
- ใช้เงินสดไปเพื่อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 4,179 ล้านบาท ได้แก่ ลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้น 961 ล้าน
บาท สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 3,233 ล้านบาท และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นลดลงจำนวน 15 ล้านบาท
- มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 3,855 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 3,889
ล้านบาท แต่ได้จ่ายชำระหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นจำนวน 34 ล้านบาท
2) บริษัทฯ ได้เงินสดมาจากกิจกรรมลงทุน 2,229 ล้านบาท ได้แก่
- จากรายการเงินลงทุนชั่วคราวจำนวน 3,816 ซึ่งเป็นการโอนเปลี่ยนประเภทจากเงินฝากประจำไม่เกิน
3 เดือน มาเป็นเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
- การจ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 1,684 ล้านบาท ในจำนวนนี้
เป็นส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดไปในปีจำนวน 1,502 ล้านบาท
- บริษัทฯได้เงินสดจากกิจกรรมการลงทุนอื่นๆอีก 97 ล้านบาท
3) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 1,727 ล้านบาท
- ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น(ธนาคารกรุงไทย)จำนวน 1,200 ล้านบาท
- ชำระคืนเงินกู้ระยะยาว(ธนาคารกรุงไทย)จำนวน 337 ล้านบาท
- จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น 190 ล้านบาท (จำนวน 1,119 ล้านหุ้น อัตราหุ้นละ 17 สตางค์)
ดังนั้น บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้น 2,259 ล้านบาท เมื่อรวมเงินสดต้นงวดจำนวน
2,599 ล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2550 มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เป็นจำนวน 4,858 ล้านบาท
ซึ่งเป็นเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 1,534 ล้านบาท และเงินสดที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน
3,324 ล้านบาท
4. สรุปผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
บริษัทฯ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึกบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทจากวิธี
ส่วนได้เสีย (Equity Method) เป็นวิธีราคาทุน (Cost Method) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไป
ตามข้อกำหนดใหม่ของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 ประกาศโดยสภาวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 26/2549 ทั้งนี้เงินลงทุนใน
บริษัทย่อยที่แสดงอยู่ในงบเฉพาะบริษัทนั้นบันทึกโดยใช้ราคาทุนเดิม (Historical Cost) เป็นราคาทุนเริ่มต้น ซึ่งการ
เปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวทำให้กำไร (ขาดทุน) สุทธิ ในงบการเงินเฉพาะบริษัทจะไม่เท่ากับงบการเงินรวมอีก
ต่อไป และบริษัทฯ ได้ปรับปรุงย้อนหลังงบการเงินปี 2549 ที่แสดงเปรียบเทียบด้วย ส่งผลให้กำไรสะสม ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2549 เพิ่มขึ้นจำนวน 0.49 เท่ากับมูลค่าหุ้นที่บริษัทฯลงทุนในบริษัท บางจากกรีนเนท เพื่อให้สะท้อนมูลค่าเงิน
ลงทุนตามวิธีราคาทุนเดิมตามที่มาตรฐานได้กำหนดไว้ ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีนี้ได้แสดงไว้ใน "ผล
สะสมจากการเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย" ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้นเฉพาะบริษัท
หน่วย : ล้านบาท
งบกำไรขาดทุน ไตรมาส 3 ปี 2550 ไตรมาส 3 ปี 2549
(งบเฉพาะบริษัท) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด)
ส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน)จาก - 11 (11) - - -
บริษัทย่อย
งบดุล 30 กันยายน 2550 31 ธันวาคม 2549
(งบเฉพาะบริษัท) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด)
เงินลงทุนบริษัทย่อย 0.49 18 (17) 0.49 - 0.49
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวส่งผลต่อการแสดงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงิน
ลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อการจัดทำงบการเงินรวมและ
ปัจจัยพื้นฐานการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯแต่อย่างใด
5. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ในส่วนของ
ค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจากการขึ้นลง
ของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่โรงกลั่นของ
บริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery ซึ่งมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงกลั่นประเภท
Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯ ถูกจำกัดไว้ ซึ่งบริษัทฯ มี
ความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียม
กับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุล
น้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery
ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และคาดว่าจะ
ทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ย 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท หลังจาก
ที่โครงการฯดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะราคาน้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ ซึ่ง
โครงการ PQI ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วโดยมีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด
(ยังมีต่อ)