MD&A งวด 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31/3/2550

คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2550 ภาพรวมธุรกิจปี 2550 สำหรับไตรมาสแรกปี 2550 สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงมีความผันผวนอยู่ หลังจากที่ราคาน้ำมันได้ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาจากช่วงปลายไตรมาส 3 ปี 2549 จนมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในช่วงวันที่ 19 มกราคม 2550 (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 48.88 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ลดลง 13.7% เมื่อเทียบกับราคาปิดสิ้นปี 2549) เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันลดลงจากสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าปกติในช่วงฤดูหนาวในแถบสหรัฐอเมริกาและยุโรป อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเริ่มมีการปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม จากปัจจัยความตึงเครียด ระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตกที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และความขัดแย้งภายในประเทศไนจีเรียรวมถึง ความตึงตัวของอุปทานน้ำมัน Gasoline ก่อนเข้าสู่ช่วง Driving Season ของสหรัฐฯ และการเริ่มเข้ามาเก็งกำไร จาก Hedge Fund ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบปิดวันที่ 30 มีนาคม 2550 ที่ 63.09 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล สูงขึ้น 11.4% เมื่อเทียบกับราคาปิดสิ้นปี 2549) ด้วยปัจจัยความกังวลต่ออุปทานน้ำมันจากความไม่สงบของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง อาจทำให้ ราคาน้ำมันดิบยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไปได้ อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาส 2 เป็นช่วงที่โรงกลั่นหลายแห่งทั่วโลก จะมีการหยุดดำเนินการเพื่อซ่อมบำรุงโรงกลั่นตามปกติ ซึ่งจะทำให้ความต้องการน้ำมันดิบลดลงและจากท่าทีของกลุ่ม ประเทศ OPEC ที่ออกมาระบุว่าระดับการผลิตในปัจจุบันเหมาะสมแล้วจึงมีการคาดการณ์ว่า OPEC จะไม่ปรับลดระดับ การผลิตอีกหากราคาน้ำมันดิบยังคงรักษาฐานราคาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ รวมถึงการคาดการณ์อัตราการเติบโตของ เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงนั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงได้ ดังนั้นบริษัทฯจึงใช้วิธีบริหารระดับสินค้า คงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันให้มากที่สุด 1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2550 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2549 1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน 1) ผลการดำเนินงานปี 2549 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีขาดทุนสุทธิรวมจำนวน 42 ล้านบาท ประกอบด้วยผล ขาดทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 54 ล้านบาท ผลกำไรของบริษัท บางจากกรีนเนท 11 ล้านบาท และรายการ ระหว่างกันจำนวน 1 ล้านบาท 2) ผลการดำเนินงานบริษัท บางจากฯ มี EBITDA 277 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 1,124 ล้านบาท อยู่ 847 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน (Inventory Gain/Loss) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ * EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 86 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 946 ล้านบาท โดย ไตรมาส 1 ปี 2550 บริษัทฯ มีค่าการกลั่นรวม 1.54 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล (รวมผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวลดลงโดยเฉลี่ย) ใช้กำลังการผลิตที่ 52.3 พันบาเรลต่อวัน ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ของปีก่อนที่มีค่าการกลั่น 4.35 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล (รวมกำไรจากสต๊อกน้ำมัน) และใช้กำลังการผลิตที่ระดับ 66.5 พันบาเรลต่อวัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังนี้ หน่วย : U$/Barrel ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 ผลแตกต่าง ค่าการกลั่นจาก ปี 2550 ปี 2549 +/- ค่าการกลั่นพื้นฐาน 2.46 0.78 +1.68 Improvement Program 0.07 0.42 -0.35 Hedging 0.32 2.11 -1.79 สต๊อกน้ำมัน (1.31) 1.04 -2.35 รวม 1.54 4.35 -2.81 ค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) 2.85 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ ระดับ 3.31 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล โดยค่าการกลั่นพื้นฐานมีการปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 0.78 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล เป็น 2.46 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ส่วนกำไรจากการทำ Improvement Program ลดลง 0.35 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เนื่องจากบริษัทลดการส่งน้ำมันเตาไปCrack ที่โรงกลั่นไทยออยล์ลง รวมถึงกำไรจากสัญญา ซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้า (Hedging) ก็ลดลง 1.79 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เนื่องจากในช่วง ไตรมาส 1 ปีที่แล้วค่าการกลั่นพื้นฐานตกต่ำมากตามค่าการกลั่นของโรงกลั่นในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง กอปรกับก่อนหน้านั้น บริษัทฯ มีโอกาสเข้าทำสัญญาประกันความเสี่ยงล่วงหน้าไว้ได้ในระดับราคาที่เหมาะสม คิดเป็นประมาณ 56% ของ ปริมาณการผลิตเฉลี่ยไตรมาส สำหรับไตรมาสนี้ปริมาณสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทำไว้มีเพียง 25% ของปริมาณการผลิต เฉลี่ยไตรมาส อีกทั้งค่าการกลั่นพื้นฐานมีการปรับตัวดีขึ้นใกล้เคียงกับเป้าหมายที่บริษัทฯได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ บริษัทฯจึงได้รับกำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้าไม่มากนัก สาเหตุหลักของค่าการกลั่นที่ลดลงนั้นมาจากผลขาดทุนของสต๊อกน้ำมัน 1.31 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ในขณะที่ช่วง เดียวกันของปีก่อนมีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 1.04 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ทั้งนี้เนื่องมาจากสถานการณ์ความผันผวนของ ราคาน้ำมัน ทำให้ไตรมาสนี้บริษัทฯยังคงมีผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันขาดทุนอยู่จำนวน 297 ล้านบาท หากไม่รวมผลกระ ทบดังกล่าวจะทำให้ธุรกิจโรงกลั่นมี Adjusted EBITDA 383 ล้านบาท * EBITDA จากธุรกิจการตลาด 191 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 178 ล้านบาทโดยบริษัทฯ มีค่าการตลาด (ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 36.9 สตางค์ต่อลิตร ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 44.4 สตางค์ต่อลิตร และมีปริมาณการจำหน่าย 52.6 พันบาเรลต่อวัน ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ระดับ 53.8 พันบาเรลต่อวัน ส่งผลให้มีกำไรเบื้องต้นลดลง แต่มีรายได้อื่นเพิ่มขึ้นจากรายได้ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายที่ลดลงส่วนใหญ่ มาจากค่าโฆษณาและค่าซ่อมบำรุงสถานีบริการน้ำมัน ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นมาราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อีกครั้ง ทำให้การปรับราคาขายปลีกหน้าสถานีบริการและราคาขายโรงงานอุตสาหกรรมในช่วงดังกล่าวทำได้ช้ากว่า ต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาที่สิงคโปร์ อีกทั้งได้รับผลจากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น การมีอุปทานส่วนเกินในตลาดรวมถึง ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงมานานทำให้การบริโภคน้ำมันลดลง และหันไปใช้พลังงานทางเลือกอื่นทดแทน ล้วนเป็นปัจจัยที่ ทำให้ค่าการตลาดปรับลดลง * EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ ไตรมาส 1 ปี 50 ไตรมาส 1 ปี 49 เพิ่ม + / ลด - (หน่วย : ล้านบาท) (A) (B) (A) - (B) (สอบทานแล้ว) (ปรับปรุงใหม่) * EBITDA 277 1,124 -847 - โรงกลั่น 86 946 -860 - ตลาด 191 178 +13 * (หัก) กำไรจากสต๊อกน้ำมัน - (267) +267 บวก ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและ Write Down 297 - +297 * Adjusted EBITDA 574 857 -283 - โรงกลั่น 383 679 -296 - ตลาด 191 178 +13 1.2 การวิเคราะห์รายได้ รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 20,207 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ของบริษัท บางจากฯ จำนวน 20,007 ล้านบาท และรายได้ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 2,898 ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็น รายการระหว่างกันจำนวน 2,698 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขายน้ำมันสำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้กับบริษัท บางจากกรีนเนท โดยรายได้ของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักคือ 1) รายได้จากการขายจำนวน 19,790 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 6,070 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 23 เนื่องจากราคาขายน้ำมันเฉลี่ยลดลงร้อยละ 8 (ราคาขายน้ำมันเฉลี่ย 17.39 บาทต่อลิตร เทียบกับ 18.95 บาทต่อ ลิตร) และปริมาณการจำหน่ายน้ำมันรวมลดลงร้อยละ 17 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปริมาณการกลั่นที่ลดลงเนื่องจากไตรมาส แรกที่ผ่านมามีข้อจำกัดในการจำหน่ายน้ำมันเตา FOVS อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้บรรลุข้อตกลงการทำสัญญาขายเทอม น้ำมันเตา FOVS ให้กับโรงกลั่นในประเทศจีนแล้ว บริษัทฯจึงมีแผนที่จะเพิ่มการกลั่นให้สูงขึ้นในระดับมากกว่า 70 พัน บาเรลต่อวัน ตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป 2) บริษัทฯ มีรายได้จากดอกเบี้ยรับจำนวน 64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 55 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ มี การนำเงินสดส่วนเกินและเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ส่วนหนึ่งที่ยังไม่ถึงกำหนด ชำระไปลงทุนในเงินฝากประจำประเภทมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-14 เดือน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 มีเงินฝากประเภท ประจำอยู่จำนวน 4,429 ล้านบาท ส่วนหนึ่งจำนวน 3,829 ล้านบาท คงอยู่ในรายการเงินลงทุนชั่วคราว อีกส่วน จำนวน 600 ล้านบาท อยู่ในรายการเทียบเท่าเงินสดเนื่องจากมีระยะเวลาฝากคงเหลือน้อยกว่า 3 เดือน 3) กำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าจำนวน 71 ล้านบาท ลดลง 470 ล้านบาท หรือลดลง ร้อยละ 87 โดยที่บริษัทฯ มีการเข้าทำสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าเป็นระยะๆ ตามนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากความ ผันผวนของราคาน้ำมันเพื่อประกันค่าการกลั่น สำหรับไตรมาส 1 ปี 2550 ค่าการกลั่นพื้นฐานอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ เป้าหมายที่กำหนดไว้ บริษัทฯจึงได้รับกำไรจากการทำ Hedging ไม่มากนัก โดยบริษัทฯ ได้ทำธุรกรรมการซื้อขาย สัญญาล่วงหน้าประมาณร้อยละ 25 ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ยไตรมาส เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 มีการทำ ธุรกรรมอยู่ประมาณร้อยละ 56 ของปริมาณการกลั่นเฉลี่ยไตรมาส ซึ่งปริมาณการทำ Hedging นั้นขึ้นอยู่กับภาวะของ ตลาดในแต่ละช่วงเวลา 1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 20,249 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ จำนวน 20,061 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 2,887 ล้านบาท โดยค่าใช้ จ่ายดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 2,699 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ แก่ บริษัท บางจากกรีนเนท โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักคือ 1) ต้นทุนขายจำนวน 19,459 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5,720 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 23 เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในไตรมาสนี้ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (ราคาน้ำมันดิบดู ไบปรับตัวลดลงเฉลี่ยประมาณ 2.5 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล หรือลดลงร้อยละ 4) และปริมาณการจำหน่ายน้ำมันรวม ลดลงร้อยละ 17 2) บริษัทฯ มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 23 ล้านบาท (ในขณะที่ปีก่อนเป็นกำไร 77 ล้านบาท) เนื่องจากใน ไตรมาสนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 3 (อัตราธนาคารพาณิชย์ขายเงินดอลลาร์ สรอ. ถัวเฉลี่ย ณ สิ้นไตร มาส 1 ปี 2550 จำนวน 35.14 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 36.23 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2549) และบริษัทฯมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น 3) บริษัทฯ มีดอกเบี้ยจ่าย 176 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 18 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่ม ขึ้นของอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.9% ต่อปี 4) บริษัทฯได้เครดิตภาษีเงินได้จำนวน 26 ล้านบาท เนื่องจากผลการดำเนินงานที่ขาดทุนในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 และจากการตั้งภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เนื่องจากมีผลขาดทุนสุทธิทางภาษีจากการใช้สิทธิประโยชน์ตาม พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 460 เพื่อส่งเสริมการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าให้ดีขึ้น (เงินได้ที่จ่ายเพื่อลงทุนใน งวดนี้ประมาณ 82 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนสำหรับโครงการ PQI) 1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร อัตรากำไรขั้นต้นมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการกลั่นและค่า การตลาด โดยไตรมาส 1 ปี 2550 มีอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 1.7 ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2549 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.6 สาเหตุหลักมาจากค่าการกลั่นรวมที่ปรับตัวลดลง แม้ว่าค่าการกลั่นพื้นฐานจะปรับตัวดีขึ้น แต่กำไรจากการทำ Hedging ลดลง รวมถึงได้รับผลกระทบจากราคาสต๊อกน้ำมัน ดังสาเหตุที่ได้กล่าวไว้แล้วตาม 1.1 ข้อ 2) ส่งผลถึง อัตรากำไรสุทธิที่ลดลงจากร้อยละ 2.1 เป็นร้อยละ -0.3 2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 2.1 สินทรัพย์ 1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2550 มีจำนวน 38,959 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน 38,905 ล้านบาท และบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 470 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่าง กัน 416 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชีลูกหนี้จำนวน 412 ล้านบาท 2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2550 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2549 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จำนวน 962 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ * เงินสดเพิ่มขึ้น 117 ล้านบาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 บริษัทฯ มีเงินสดทั้งสิ้น 2,716 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 1,760 ล้านบาท และเงินสดที่ได้จัดสรรสำหรับโครงการ PQI จำนวน 956 ล้านบาท โปรดดูรายการวิเคราะห์เพิ่มเติมจากงบกระแสเงินสดในข้อ (3) * ณ 31 มีนาคม 2550 บริษัทฯมีลูกหนี้การค้า-สุทธิ 3,603 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 475 ล้านบาท หรือคิดเป็นการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เนื่องจากมีการขายน้ำมันส่งออกมากขึ้นซึ่งเป็นลูกหนี้กลุ่มที่มีเทอมชำระเงินเฉลี่ยประมาณ 30 วัน * ณ 31 มีนาคม 2550 บริษัทฯมีสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ 803 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 174 ล้านบาท หรือคิดเป็นการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ส่วนใหญ่มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มค้างรับเพิ่มขึ้นจำนวน 131 ล้านบาท 2.2 หนี้สิน 1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2550 จำนวน 20,407 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน 20,322 ล้านบาท และของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 497 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกัน จำนวน 412 ล้านบาท 2) หนี้สินรวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2550 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2549 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 1,071 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ * เจ้าหนี้การค้าจำนวน 6,621 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,475 ล้านบาท เนื่องจากช่วงสิ้นปีมีการจ่ายชำระหนี้ค่าน้ำ มันล่วงหน้า 2 เที่ยวเรือ ปริมาณ 0.73 ล้านบาเรล จำนวน 1,725 ล้านบาท อีกทั้งปริมาณการซื้อ (ที่มีเทอม 30 วัน) ในเดือนมีนาคม 2550 สูงขึ้นกว่าเดือนธันวาคม 2549 อยู่ประมาณ 0.40 ล้านบาเรล * เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินลดลงจากการชำระคืนให้แก่ธนาคารกรุงไทยจำนวน 1,200 ล้านบาท * เงินกู้ยืมระยะยาวรวมส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี จำนวน 11,443 ล้านบาท ลดลง 85 ล้านบาท รายละเอียดเงินกู้ระยะยาว สามารถจำแนกได้ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท เงินกู้ระยะยาว 31 มี.ค. 2550 31 ธ.ค. 2549 เพิ่ม + / ลด - เงินกู้จากธนาคารกรุงไทย 7,699 7,784 -85 เงินกู้ PQI 38 38 - หุ้นกู้แปลงสภาพ (CDDR) 2,176 2,176 - หุ้นกู้แปลงสภาพ (CD-PTT) 585 585 - หุ้นกู้/ ตั๋วสัญญาใช้เงิน 945 945 - รวม 11,443 11,528 -85 หัก ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 1,285 1,285 - เงินกู้ระยะยาวคงเหลือ ณ สิ้นงวด 10,158 10,243 -85 2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น 1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2550 รวมจำนวน 18,552 ล้านบาท เป็น ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ จำนวน 18,583 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท บางจากกรีนเนท -27 ล้านบาท และเป็น รายการระหว่างกัน 4 ล้านบาท 2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2550 ลดลงจำนวน 109 ล้านบาท จาก ณ สิ้น ปี 2549 เนื่องจากบริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2550 จำนวน 54 ล้านบาท และได้มีการตัดจำหน่ายส่วน เกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในงวดนี้เป็นจำนวน 55 ล้านบาท ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 31 มีนาคม 2550 มี จำนวน 18,583 ล้านบาท 3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด สิทธิ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 มีจำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้ รวม 287 ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 20.4 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด 3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวด 3 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2550 3.1 สำหรับไตรมาส 1 ปี 2550 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดต้นงวดยกมา 2,705 ล้านบาท โดยใน ระหว่างงวดมีเงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมต่างๆจำนวน 152 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนิน งาน 1,389 ล้านบาท เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมลงทุนจำนวน 48 ล้านบาท และใช้เงินสดไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 1,285 ล้านบาท ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2550 จึงมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 2,857 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 2,716 ล้านบาท และเป็นเงินสดของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 141 ล้านบาท 3.2 กระแสเงินสดเฉพาะบริษัทฯ เกิดจากขาดทุนสุทธิจำนวน 54 ล้านบาท บวกกลับค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช้เงินสด จำนวน 219 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทฯ มีกำไรที่เป็นเงินสดจำนวน 165 ล้านบาท และมีเงินสดต้นงวดจำนวน 2,599 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้ใช้เงินสดดังกล่าวไปในกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) บริษัทฯ ได้เงินสดสุทธิจากสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานจำนวน 1,189 ล้านบาท โดยที่ * ใช้เงินสดไปเพื่อสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 911 ล้านบาท ได้แก่ ลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้น 434 ล้านบาท สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 302 ล้านบาท และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จำนวน 175 ล้านบาท * มีเงินสดได้มาจากหนี้สินดำเนินงาน 2,100 ล้านบาท ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 2,471 ล้านบาท แต่ได้จ่ายชำระหนี้สินและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นจำนวน 371 ล้านบาท 2) บริษัทฯ ได้เงินสดมาจากกิจกรรมลงทุน 48 ล้านบาท ได้แก่ * ได้เงินสดจากเงินลงทุนชั่วคราว 216 ล้านบาท ตามที่ได้ฝากเงินประเภทประจำมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-14 เดือน ไว้ ณ 31 มีนาคม 2550 เงินฝากส่วนหนึ่งได้แปลงสภาพเป็นรายการเทียบเท่าเงินสดเนื่องจากมีระยะเวลาฝาก คงเหลือไม่เกิน 3 เดือน * มีการจ่ายเงินสดสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 121 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นส่วน ของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดไปจำนวน 76 ล้านบาท * บริษัทฯใช้เงินสดไปในกิจกรรมการลงทุนอื่นๆอีก 47 ล้านบาท 3) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 1,285 ล้านบาท * ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น(ธนาคารกรุงไทย)จำนวน 1,200 ล้านบาท * ชำระคืนเงินกู้ระยะยาว(ธนาคารกรุงไทย)จำนวน 85 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 117 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินสดต้นงวดจำนวน 2,599 ล้านบาทแล้ว ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2550 บริษัทฯมีเงินสดคงเหลือจำนวน 2,716 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินสดเพื่อ ใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 1,760 ล้านบาท และเงินสดที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 956 ล้านบาท 4. สรุปผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี บริษัทฯ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึกบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทจากวิธี ส่วนได้เสีย (Equity Method) เป็นวิธีราคาทุน (Cost Method) ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เป็นต้นไป เพื่อให้ เป็นไปตามข้อกำหนดใหม่ของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 ประกาศโดยสภาวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 26/2549 ทั้งนี้เงินลงทุน ในบริษัทย่อยที่แสดงอยู่ในงบเฉพาะบริษัทนั้นบันทึกโดยใช้ราคาทุนเดิม (Historical Cost) เป็นราคาทุนเริ่มต้น ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวทำให้กำไร (ขาดทุน) สุทธิ ในงบการเงินเฉพาะบริษัทจะไม่เท่ากับงบการเงินรวมอีก ต่อไป และบริษัทฯ ได้ปรับปรุงย้อนหลังงบการเงินปี 2549 ที่แสดงเปรียบเทียบด้วย ส่งผลให้กำไรสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เพิ่มขึ้นจำนวน 0.49 เท่ากับมูลค่าหุ้นที่บริษัทฯลงทุนในบริษัท บางจากกรีนเนท เพื่อให้สะท้อนมูลค่าเงิน ลงทุนตามวิธีราคาทุนเดิมตามที่มาตรฐานได้กำหนดไว้ ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีนี้ได้แสดงไว้ใน "ผล สะสมจากการเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย? ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้นเฉพาะบริษัท หน่วย : ล้านบาท งบกำไรขาดทุน ไตรมาส 1 ปี 2550 ไตรมาส 1 ปี 2549 (งบเฉพาะบริษัท) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) * ส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน) - - - - (11) +11 จากบริษัทย่อย งบดุล 31 มีนาคม 2550 31 ธันวาคม 2549 (งบเฉพาะบริษัท) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เพิ่ม (ลด) * เงินลงทุนบริษัทย่อย 0.49 - 0.49 0.49 - +0.49 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวส่งผลต่อการแสดงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนใน บริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะบริษัทเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อการจัดทำงบการเงินรวมและปัจจัยพื้นฐานการดำเนิน ธุรกิจของบริษัทฯแต่อย่างใด 5. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ในส่วน ของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจากการขึ้น ลงของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่โรงกลั่น ของบริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery ซึ่งมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงกลั่น ประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯ ถูกจำกัดไว้ ซึ่งบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ใน ระดับที่ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วย แตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ บริษัทฯคาดว่าโครงการฯดังกล่าวจะสามารถเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ ได้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2551 และคาดว่าจะทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่ม EBITDA จากระดับเฉลี่ย 2,000-4,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 6,000- 8,000 ล้านบาท หลังจากที่โครงการฯดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะ ราคาน้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ ซึ่งโครงการ PQI ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วโดยมีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณี มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 378 ล้านเหรียญสหรัฐ สัญญาก่อสร้างโครงการ PQI นี้เป็นลักษณะราคาก่อสร้างคงที่ มีกำหนดเวลาก่อสร้างที่แน่นอน และรับประกันผลงาน โดยบริษัทได้จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand Co., Ltd.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ในส่วนของการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการ แล้วเสร็จครบถ้วนตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยมีความคืบหน้าโครงการสิ้นสุดเดือน มีนาคม 2550 คิดเป็นร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบจากแผนที่วางไว้ที่ร้อยละ 15.8 นอกจากระดับราคาน้ำมันที่ผันผวนจะส่งผลกระทบสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯแล้ว ปัจจัยอีกประการ หนึ่งที่อาจมีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทฯคือ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้น บริษัทฯจะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้าโดยมีการอ้างอิง ราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ แต่ทั้งนี้ บริษัทฯก็มีนโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันเมื่อมีค วามพร้อม โดยปัจจุบันบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดแล้ว บางส่วน ซึ่งบริษัทฯมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงที่คอยติดตามและบริหารความเสี่ยงดังกล่าวอย่าง ใกล้ชิด