SET Announcements
คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ 31 ธ.ค.2549 (MD&A)
ที่ 1000 / 040 / 2550
23 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่อง คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานประจำปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สิ่งที่ส่งมาด้วย คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานประจำปีสิ้นสุดวันที่
31 ธันวาคม 2549
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ มีการจัดทำคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการทุกไตรมาส เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจ
ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดียิ่งขึ้นนอกเหนือจากข้อมูลตัวเลขในงบการเงิน อีกทั้งเพื่อให้ผู้ลงทุนได้
มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (GOOD GOVERNANCE)
ในเรื่องการให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลนั้น
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ได้ให้ความ
สำคัญต่อการดำเนินกิจการอย่างโปร่งใสตามแนวนโยบายบรรษัทภิบาล จึงได้จัดทำและใคร่ขอนำส่งคำอธิบายและการ
วิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานประจำปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ดังรายละเอียดตามสิ่งที่ส่ง
มาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
-ลงนามแล้ว-
(นายปฏิภาณ สุคนธมาน)
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
สายงานด้านบัญชีและการเงิน
สำนักแผนกิจการและนักลงทุนสัมพันธ์
โทร 0 -2335-4583
สำเนาเรียน ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549
ข้อมูลทั่วไป
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งขึ้นตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2527
ต่อมาได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2536
โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 210 หมู่ 1 ซอยสุขุมวิท 64 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป ทั้งค้าส่งและค้าปลีก มีการขยายเครือข่ายสถานีบริการ
น้ำมันออกไป 1,096 แห่ง ทั่วประเทศ โดยเป็นสถานีบริการน้ำมันขนาดมาตรฐาน 566 แห่ง และสถานีบริการชุมชนอีก
530 แห่ง และบริหารกิจการโรงกลั่นน้ำมันขนาด 120,000 บาเรลต่อวัน ซึ่งก่อสร้างใหม่ทดแทนหน่วยเดิม โดยหน่วย
กลั่นล่าสุดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2536 การออกแบบกระบวนการกลั่นเน้นการผลิตได้น้ำมันสะอาด ประหยัดพลังงาน และ
ให้ผลผลิตสูง ขณะนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างก่อสร้างโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) โดยการติดตั้งหน่วยแตกโมเลกุล
(Hydro Cracking) และหน่วยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นประมาณเทียบเท่า 378 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อ
ทำการปรับเปลี่ยนผลผลิตน้ำมันเตาที่ได้จากหน่วยผลิตเดิมให้เป็นน้ำมันเบนซินและดีเซลที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ โดยจะทำให้มี
ผลิตภัณฑ์น้ำมันเตาเหลือน้อยที่สุด สัญญาก่อสร้างโครงการ PQI นี้เป็นลักษณะราคาก่อสร้างคงที่ มีกำหนดเวลาก่อสร้าง
ที่แน่นอน และรับประกันผลงาน โดยว่าจ้างผู้รับเหมาที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จและ
สามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ ได้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2551
ภาพรวมธุรกิจปี 2549
สำหรับปี 2549 ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนมาก ในช่วงครึ่งปีแรกราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางขาขึ้น
โดยราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวขึ้นไปทำสถิติสูงสุดในเดือนกรกฎาคม สาเหตุมาจากปัจจัยความกังวลถึงอุปทานน้ำมันในตลาด
จากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม เช่น การรั่วไหลของท่อส่งน้ำมันดิบขนาดใหญ่ที่สุดของรัสเซีย ความไม่สงบในไน
จีเรีย ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและเลบานอน รวมถึงความขัดแย้งของประเทศอิหร่านกับสหประชาชาติในเรื่อง
การทดลองพลังงานนิวเคลียร์ได้ทวีความตึงเครียดมากขึ้น ผนวกกับการเข้าเก็งกำไรของกองทุนทางการเงิน (Hedge
Fund) แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันก็ได้เริ่มปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงกลางเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ทั้งนี้
เนื่องจากตลาดได้คลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดต่างๆ ของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบในแถบ
ตะวันออกกลาง รวมถึงฤดูมรสุมของสหรัฐอเมริกาในปีนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายรุนแรงต่อแหล่งผลิตและโรงกลั่นน้ำมัน
ในแถบอ่าวเม็กซิโกดังเช่นปีก่อน ประกอบกับปัจจัยพื้นฐานของอุปทานน้ำมันยังคงมีเพียงพอต่อความต้องการใช้โดย
พิจารณาได้จากปริมาณสำรองน้ำมันในสหรัฐที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี
ในช่วงไตรมาส 4 แม้ว่ากลุ่มประเทศ OPEC ได้ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง 1.2 ล้านบาเรลต่อวัน มา
อยู่ที่ระดับ 26.3 ล้านบาเรลต่อวัน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2549 แล้วก็ตาม แต่ราคาน้ำมันไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามที่มีการ
คาดการณ์ไว้สาเหตุหลักน่าจะมาจากอุณหภูมิในแถบอเมริกาและยุโรปค่อนข้างอบอุ่นกว่าปกติ ทำให้ความต้องการใช้น้ำมัน
ประเภท Heating Oil ไม่ได้สูงตามที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่อุปทานยังมีอยู่ค่อนข้างมากในตลาด สถานการณ์ราคา
น้ำมันในประเทศเองก็ได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันโดยมีการปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์ แต่การ
ปรับราคาขายหน้าสถานีบริการน้ำมันจะกระทำได้ช้ากว่า
1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับปี 2549 เปรียบเทียบกับปี 2548
ในปี 2549 นี้ บริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือจากเกณฑ์เข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO)
เป็นเกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) ดังนั้นในการนำเสนองบการเงินสำหรับปีนี้ จึงเป็นการ
เปรียบเทียบกับงบการเงิน 2548 ซึ่งได้ถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ เสมือนว่าได้มีการปฏิบัติด้วยมาตรฐานการบัญชีเดียวกันสรุป
ได้ดังนี้
1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานปี 2549 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิรวมจำนวน 196 ล้านบาท ประกอบด้วยผล
กำไรของบริษัท บางจากฯ จำนวน 239 ล้านบาท และผลขาดทุนของบริษัท บางจาก
กรีนเนท รวมรายการระหว่างกันจำนวน -43 ล้านบาท
2) ผลการดำเนินงานบริษัท บางจากฯ มี EBITDA 1,613 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่
4,620 ล้านบาท อยู่ 3,007 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน (Inventory Gain/Loss) โดยมี
รายละเอียดดังนี้
* EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 1,141 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 4,928 ล้านบาท
เนื่องจากในปี 2549 บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน) 3.05 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ต่ำ
กว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 3.57 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่มีอยู่ค่อนข้าง
สูง อันเนื่องจากมีอุปทานส่วนเกินในตลาด และปริมาณสำรองน้ำมันในสหรัฐที่อยู่ในระดับสูง อีกทั้งสภาพอากาศที่อบอุ่น
กว่าปกติทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชียเหนือ ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อทำความอบอุ่นลดลง ล้วนเป็นปัจจัยที่
ทำให้ระดับราคาปรับตัวลดต่ำลง ส่งผลต่อค่าการกลั่นพื้นฐานที่ปรับตัวลดลง ในปี 2549 บริษัทฯ มีระดับการผลิตที่ 56.3
พันบาเรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 62.0 พันบาเรลต่อวัน
เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวในทิศทางขาลงตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 3 โดยราคาน้ำมันดิบดูไบปรับขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ
72.29 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ในเดือนกรกฎาคม และปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงสิ้นปีอยู่ที่ระดับ 56.63
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล รวมถึงผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้ปี 2549 บริษัทฯ ขาดทุนจากสต๊อก
น้ำมันประมาณ 0.70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล (ในขณะที่ปีก่อนราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะจาก
เหตุการณ์พายุเฮอริเคน ทำให้มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันอยู่ถึงระดับ 2.02 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล) อีกทั้งในปีนี้บริษัทฯ
ได้ตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง (Write Down) จำนวนเงิน 55 ล้านบาท คิดเป็นค่าการกลั่นที่ลดลง 0.06
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล (ในขณะที่ปีก่อนมีการกลับรายการ Write Down ที่ตั้งไว้ในปี 2547 จำนวน 288 ล้านบาท
คิดเป็นค่าการกลั่น 0.28 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล) เมื่อรวมผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและ Write Down แล้วในปี
2549 บริษัทฯ จะมีค่าการกลั่นรวมอยู่ที่ระดับ 2.29 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีค่าการกลั่น
รวมอยู่ที่ 5.87 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ส่งผลให้บริษัทฯ มี EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันในปี 2549 เมื่อเทียบ
กับปี 2548 จำนวน 1,141 ล้านบาท และ 4,928 ล้านบาท ตามลำดับ แต่หากไม่รวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมัน ปีนี้
โรงกลั่นจะมี Adjusted EBITDA จำนวน 1,851 ล้านบาท (ในขณะที่ปีก่อนมี Adjusted EBITDA จำนวน 2,569
ล้านบาท)
* EBITDA จากธุรกิจการตลาด 472 ล้านบาทสูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ -308 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้บริษัทฯ มี
ค่าการตลาด(ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 38.5 สตางค์ต่อลิตร สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 15.4 สตางค์ต่อลิตร แม้
ว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549 มีค่าการตลาดที่ต่ำมากเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากปี
2548 อย่างไรก็ดีตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นมาราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วทำให้มีค่าการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากการปรับราคาขายหน้าสถานีบริการและราคาขายโรงงานอุตสาหกรรมนั้นทำได้ช้ากว่าการลดลงของต้นทุนจริง
สำหรับปริมาณการจำหน่ายในธุรกิจการตลาดมีจำนวน 51 พันบาเรลต่อวัน ต่ำกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 53 พันบาเรลต่อวัน
ลดลงร้อยละ 3.7 เป็นผลจากการที่บริษัทฯ จำกัดปริมาณการจำหน่ายในช่วงไตรมาส 2 ที่ค่าการตลาดติดลบ
* อย่างไรก็ตามหากไม่พิจารณาผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันแล้วจะทำให้ปีนี้มี Adjusted EBITDA จำนวน
2,323 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนจำนวน 62 ล้านบาท ดังนี้
EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ
ปี 2549 (A) ปี 2548 (B) เพิ่ม + / ลด -
(หน่วย : ล้านบาท) (ตรวจสอบแล้ว) (ปรับปรุงใหม่) (A) - (B)
* EBITDA +1,613 +4,620 -3,007
- โรงกลั่น +1,141 +4,928 -3,787
- ตลาด +472 -308 +780
* (หัก) กำไรจากสต๊อกน้ำมัน - (2,359) +2,359
บวก ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและ Write Down 710 - +710
* Adjusted EBITDA +2,323 +2,261 +62
- โรงกลั่น +1,851 +2,569 -718
- ตลาด +472 -308 +780
1.2 การวิเคราะห์รายได้
รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 95,375 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ของบริษัท บางจากฯ
จำนวน 94,600 ล้านบาท และรายได้ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 11,960 ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็น
รายการระหว่างกันจำนวน 11,185 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายการขายน้ำมันสำเร็จรูปจากบริษัทฯ ให้กับบริษัท
บางจากกรีนเนท โดยรายได้ของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักคือ
1) รายได้จากการขายจำนวน 93,539 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8,503 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
เนื่องจากราคาขายน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 (ราคาขายน้ำมันเฉลี่ย 19.65 บาทต่อลิตร เทียบกับ 16.06 บาท
ต่อลิตร) ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันรวมลดลงร้อยละ 10 เนื่องจากภาวะราคาน้ำมันมีความผันผวนบริษัทฯ จึงเน้น
การจำหน่ายเฉพาะในตลาดที่มีกำไร และจำกัดปริมาณการจำหน่ายในช่วงที่ค่าการตลาดติดลบ
2) บริษัทฯ มีรายได้จากดอกเบี้ยรับจำนวน 172 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 152 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ มี
การนำเงินสดส่วนเกินและเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ส่วนหนึ่งที่ยังไม่ถึงกำหนด
ชำระไปลงทุนในเงินฝากประจำประเภทมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-14 เดือน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีเงินฝาก
ประเภทประจำอยู่จำนวน 4,045 ล้านบาท
3) บริษัทฯ มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 120 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากกำไรจากเจ้าหนี้ค่าน้ำมันที่ต้องชำระ
เป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่ปีก่อนเป็นขาดทุน 26 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2549 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า
ร้อยละ 12 (อัตราธนาคารพาณิชย์ขายเงินดอลลาร์ สรอ. ถัวเฉลี่ย ณ สิ้นปี 2548 จำนวน 41.13 บาทต่อดอลลาร์
สรอ. เป็น 36.23 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2549)
4) กำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าจำนวน 682 ล้านบาท สูงขึ้น 145 ล้านบาท หรือเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 27 เป็นผลมาจากบริษัทฯ มีการเข้าทำสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าเป็นระยะๆ ตามนโยบายป้องกันความเสี่ยง
จากความผันผวนของราคาน้ำมันเพื่อประกันค่าการกลั่น ในปี 2549 บริษัทฯ ได้ทำ
ธุรกรรมการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณการกลั่น เทียบกับปี 2548 มีการทำ
ธุรกรรมอยู่ประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณการกลั่นทั้งปี
1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 95,179 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ
จำนวน 94,361 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 12,010 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายดัง
กล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 11,192 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นทุนขายน้ำมันสำเร็จรูปของบริษัทฯ แก่บริษัท
บางจากกรีนเนท โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักคือ
1) ต้นทุนขายจำนวน 91,722 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 11,616 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เป็นผล
มาจากราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 12
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล หรือคิดเป็นราคาที่สูงขึ้นร้อยละ 24 โดยเป็นการปรับตัวที่สูงขึ้นมากในช่วงครึ่งปีแรก
2) บริษัทฯ ได้ตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง (Write Down) ไว้จำนวน 55 ล้านบาท เนื่องจากราคา
ทุนสินค้าคงเหลือสูงกว่ามูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ โดยราคาปิดน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลก ณ วันที่สิ้นงวดได้ปรับตัวลด
ลงประมาณร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคม 2549
3) บริษัทฯ รับรู้ผลขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียจำนวน 9.59 ล้านบาท จากผลประกอบการของ
บริษัทย่อย โดยการรับรู้ผลขาดทุนดังกล่าวเท่ากับที่มีบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยอยู่ ณ วันต้นงวด
4) บริษัทฯ มีดอกเบี้ยจ่าย 745 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 106 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้ที่สูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 1.0% ต่อปี เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเงินกู้ที่มีต่อธนาคารและ
อัตราตลาดที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
5) ปี 2549 บริษัทฯมีเครดิตภาษีเงินได้จำนวน 107 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการตั้งภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
เนื่องจากมีผลขาดทุนสุทธิทางภาษีจากการใช้สิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 460 เพื่อส่งเสริมการลงทุนเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าให้ดีขึ้น (เงินได้ที่จ่ายเพื่อลงทุนในงวดนี้ประมาณ 2,058 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงิน
ลงทุนสำหรับโครงการ PQI)
1.4 การวิเคราะห์อัตรากำไร
อัตรากำไรขั้นต้นมีการปรับตัวตามความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผันแปรตามค่าการกลั่นและค่าการ
ตลาด โดยปี 2549 มีอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 2.3 ลดลงจากปี 2548 ที่อยู่ที่ร้อยละ 6.2 สาเหตุหลักมาจากค่าการก
ลั่นที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาสต๊อกน้ำมันที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2548 ที่มีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน
จำนวนมาก แม้ว่าค่าการตลาดในปี 2549 นี้จะมีการปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม ดังสาเหตุที่ได้กล่าวไว้แล้วตาม 1.1 ข้อ 2)
ส่งผลถึงอัตรากำไรสุทธิที่ลดลงจากร้อยละ 3.4 เป็นร้อยละ 0.2
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2548
2.1 สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2549 มีจำนวน 37,586 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน
37,541 ล้านบาท และบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 434 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกัน 389
ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชีลูกหนี้จำนวน 385 ล้านบาท
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2549 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2548 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจำนวน 3,342
ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
* เงินสดเพิ่มขึ้น 1,038 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทฯ มีเงินสดทั้งสิ้น 2,599 ล้าน
บาท แบ่งเป็นเงินสดเพื่อใช้สำหรับดำเนินงานจำนวน 1,799 ล้านบาท และเงินสดที่ได้จัดสรรสำหรับโครงการ PQI
จำนวน 800 ล้านบาท โปรดดูรายการวิเคราะห์เพิ่มเติมจากงบกระแสเงินสดในข้อ (3)
* เงินลงทุนชั่วคราวเพิ่มขึ้นจำนวน 4,045 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ ได้นำเงินจากบัญชีสำรองเพื่อ
การชำระหนี้ธนาคารกรุงไทย และอีกส่วนหนึ่งจากเงินลงทุนที่ได้จัดสรรสำหรับโครงการ PQI ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระให้
แก่ผู้รับเหมาก่อสร้าง ไปลงทุนในบัญชีเงินฝากประเภทประจำมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-14 เดือน ณ 31 ธันวาคม 2549
คงเหลือเงินฝากประจำที่เป็นเงินทุนโครงการ PQI จำนวน 3,816 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 229 ล้านบาท เป็นเงิน
สำรองเพื่อไว้ชำระหนี้ธนาคารกรุงไทย
* มูลค่าสินค้าคงเหลือ(สุทธิค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง) รวมเท่ากับ 8,640 ล้านบาทลดลง 2,070 ล้าน
บาท หรือลดลงร้อยละ 19 สาเหตุหลักมาจากปริมาณสินค้าคงเหลือที่ลดลง 129 ล้านลิตร(ลดลงประมาณ 0.81
ล้านบาเรล จากระดับ 4.32 ล้านบาเรล มาอยู่ที่ระดับ 3.51 ล้านบาเรล) ตามแผนการควบคุมระดับสินค้าคงเหลือ
และแผนการผลิตที่ได้ลดปริมาณการกลั่นลงตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ปี 2549 ทั้งนี้เนื่องจากสถาณการณ์ราคาน้ำมันที่มีการ
ปรับตัวลดลงอย่างมาก การที่บริษัทฯสำรองน้ำมันไว้ในปริมาณสูงจะทำให้เกิดขาดทุนสต๊อกน้ำมันมาก รายละเอียดของ
สินค้าคงเหลือมีดังนี้
ปี 2549 ปี 2548 เพิ่มขึ้น / (ลดลง)
ผลิตภัณฑ์ มูลค่า ราคาต้นทุน มูลค่า ราคาต้นทุน มูลค่า ราคาต้นทุน
(ล้านบาท) เฉลี่ย (ล้านบาท) เฉลี่ย (ล้านบาท) เฉลี่ย
(บาท/ลิตร) (บาท/ลิตร) (บาท/ลิตร)
น้ำมันดิบ 4,565 14.28 7,053 14.84 (2,488) (0.56)
น้ำมันสำเร็จรูป 4,075 17.09 3,657 17.17 418 (0.08)
รวม 8,640 15.48 10,710 15.59 (2,070) (0.11)
* เงินชดเชยกองทุนน้ำมันค้างรับลดลง เนื่องจากในปีนี้บริษัทฯได้รับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันคืนจากกรมศุลกากร
จำนวน 246 ล้านบาท สำหรับการนำเข้าน้ำมันดีเซลเมื่อต้นปี 2548 (ในช่วงเวลาดังกล่าวมีมาตรการชดเชยราคา
น้ำมันดีเซลผ่านกองทุนน้ำมัน)
* สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ลดลง 279 ล้านบาท ส่วนใหญ่จาก 1) ลูกหนี้ค้างรับจากสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า
ลดลงจำนวน 156 ล้านบาท เนื่องจาก ณ สิ้นปี 2549 มีมูลค่าค้างรับจำนวน 1.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากสิ้นปี
2548 ที่มีอยู่จำนวน 5.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. 2) ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างรับลดลงจำนวน 119 ล้านบาท เนื่องจาก ในปี
2549 บริษัทฯ ลดปริมาณการซื้อน้ำมันลงโดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบเที่ยวใหญ่ ประกอบกับได้ใช้ระบบ E-Payment
ในการขอคืนเงินภาษีจากกรมสรรพากรจึงสามารถบริหารภาษีซื้อและภาษีขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
* รายการเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสียลดลงเป็นศูนย์ เนื่องจากบริษัท บางจากกรีนเนท ซึ่งเป็นบริษัท
ย่อย มีผลการดำเนินงานขาดทุนจำนวน 50 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้รับรู้ผลขาดทุนเพียงเท่ากับเงินลงทุนที่มีอยู่ต้นปี
จำนวน 9.59 ล้านบาท
* ณ สิ้นปี 2549 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น 1,794 ล้านบาท เป็นผลมาจากการลงทุนเพิ่มขึ้น 2,664
ล้านบาท และมีการตัดค่าเสื่อมราคาสำหรับปี 870 ล้านบาท ในส่วนของการลงทุนแบ่งได้เป็นการลงทุนสำหรับโครงการ
PQI จำนวน 2,438 ล้านบาท และเป็นการลงทุนประจำปีประมาณ 226 ล้านบาท
* บริษัทฯ ได้ตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเพิ่มในรอบปีบัญชี 2549 จำนวน 126 ล้านบาท จากผลแตก
ต่างชั่วคราวของกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชีและภาษี โดยส่วนใหญ่เกิดจากบริษัทฯมีผลขาดทุนทางภาษีจำนวน 378
ล้านบาท เนื่องจากได้นำสิทธิประโยชน์จากการลงทุนตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 460 มาใช้ โดยในปี 2549 บริษัทฯ
มีเงินได้ที่จ่ายเพื่อลงทุนในโครงการ PQI และโครงการอื่นที่เข้าเงื่อนไขจำนวน 2,058 ล้านบาท โดยสามารถนำมา
หักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ 25% บริษัทฯ จึงได้ตั้งรายการสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีไว้จำนวน 113 ล้านบาท
(30% ของผลขาดทุนทางภาษีจำนวน 378 ล้านบาท)
2.2 หนี้สิน
1) หนี้สินรวม ณ สิ้นปี 2549 จำนวน 18,937 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทฯ จำนวน 18,850 ล้าน
บาท และของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 473 ล้านบาท ในหนี้สินดังกล่าวเป็นหนี้ระหว่างกัน จำนวน 386 ล้าน
บาท
2) หนี้สินรวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2549 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2548 มีมูลค่ารวมลดลง 2,456 ล้าน
บาท ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
* เจ้าหนี้การค้าจำนวน 4,145 ล้านบาท ลดลง 1,332 ล้านบาท เนื่องจากมีการจ่ายชำระหนี้ค่าน้ำ
มันล่วงหน้าจำนวน 1,725 ล้านบาท เมื่อเทียบกับการซื้อในช่วงเดือนธันวาคม 2548 ที่มีการจ่ายชำระหนี้ค่าน้ำมัน
ล่วงหน้าจำนวน 1,191 ล้านบาท อีกทั้งปริมาณการซื้อในเดือนธันวาคม 2549 ลดลง 0.30 ล้านบาเรล เมื่อเทียบกับ
เดือนธันวาคม 2548 เพื่อต้องการรักษาระดับสินค้าคงเหลือให้ต่ำที่สุดในช่วงที่ราคาน้ำมันผันผวนมาก
* เงินกู้ยืมระยะยาวรวมส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี จำนวน 11,528 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48
ล้านบาท รายละเอียดเงินกู้ระยะยาว สามารถจำแนกได้ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
เงินกู้ระยะยาว 31 ธ.ค. 2549 31 ธ.ค. 2548 ?
เงินกู้จากธนาคารกรุงไทย 7,784 8,309 -525
เงินกู้ PQI 38 - +38
หุ้นกู้แปลงสภาพ (CDDR) 2,176 2,226 -50
หุ้นกู้แปลงสภาพ (CD-PTT) 585 - +585
หุ้นกู้/ ตั๋วสัญญาใช้เงิน 945 945 -
รวม 11,528 11,480 +48
หัก ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 1,285 319 +966
เงินกู้ระยะยาวคงเหลือ ณ สิ้นงวด 10,243 11,161 -918
เงินกู้จากธนาคารกรุงไทยจำนวน 7,784 ล้านบาท (จากวงเงินกู้ทั้งสิ้นที่ได้รับจำนวน 8,500 ล้านบาท) มี CDDR อยู่
จำนวน 2,176 ล้านบาท ในปีนี้บริษัทฯ ได้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพให้แก่ ปตท. จำนวน 585 ล้านบาท เพื่อนำเงินมาลงทุน
ในโครงการ PQI รวมถึงมีการเบิกเงินกู้โครงการ PQI จำนวน 38 ล้านบาท และมีหุ้นกู้และตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน
945 ล้านบาท โดยมีส่วนที่จะถึงกำหนดชำระในหนึ่งปีจำนวน 1,285 ล้านบาท เป็นเงินกู้จากธนาคารจำนวน 340 ล้าน
บาท และหุ้นกู้/ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะครบกำหนดไถ่ถอนเดือนธันวาคม 2550 จำนวน 945 ล้านบาท
* บริษัทฯ ไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่ายสำหรับปี 2549 แม้ว่าจะมีกำไรสุทธิก่อนภาษีเงินได้จำนวน
131 ล้านบาท แต่เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายทางภาษีเพิ่มขึ้นจากการนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการลงทุนตาม
พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 460 มาใช้ จึงทำให้มีผลขาดทุนสุทธิทางภาษี ดังนั้น ณ สิ้นปี 2549 บริษัทฯ จึงไม่มีภาระ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย ในขณะที่ปีก่อนมีผลกำไรและมีการตั้งค้างจ่ายค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้จำนวน 261 ล้าน
บาท
2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2549 รวมจำนวน 18,649 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือ
หุ้นบริษัทฯ จำนวน 18,691 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท บางจากกรีนเนท -39 ล้านบาท และเป็นรายการ
ระหว่างกัน -3 ล้านบาท
2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2549 จำนวน 18,691 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2548
จำนวน 5,798 ล้านบาท เนื่องจาก
* บริษัทฯ มีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อระดมทุนมาใช้ในโครงการ PQI จำนวน 428 ล้านหุ้น สุทธิค่า
ใช้จ่ายในการออกหุ้นเพิ่มทุนแล้วเป็นจำนวน 5,935 ล้านบาท และมีการแปลงสภาพจากหุ้นกู้แปลงสภาพ CDDR จำนวน
3.5 ล้านหุ้น คิดเป็นจำนวนเงิน 50 ล้านบาท รวมถึงการเพิ่มขึ้นจากกำไรสุทธิจำนวน 239 ล้านบาท
* ในงวดนี้ได้มีการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการปี 2548 ให้กับผู้ถือหุ้นสามัญในเดือนพฤษภาคม
2549 ที่ผ่านมาจำนวน 206 ล้านบาท รวมถึงบริษัทฯมีการตัดจำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ เป็นจำนวน
220 ล้านบาท
3) บริษัทฯ มีตราสารอื่นที่ผู้ถือสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิ เช่น
หุ้นกู้แปลงสภาพ และใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีจำนวนหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้รวม 287
ล้านหุ้น เมื่อคิด Fully Dilution แล้วจะมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 20.4 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2549
3.1 สำหรับปี 2549 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดต้นงวดยกมา 1,753 ล้านบาท โดยในระหว่างงวดมี
เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมต่างๆจำนวน 952 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 2,387
ล้านบาท เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 5,027 ล้านบาท และใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 6,462 ล้าน
(ยังมีต่อ)