SET Announcements
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส3 30/9/2549
ที่ 1000 / 257 / 2549
20 พฤศจิกายน 2549
เรื่อง คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่
30 กันยายน 2549
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สิ่งที่ส่งมาด้วย คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 สิ้นสุด
วันที่ 30 กันยายน 2549
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ มีการจัดทำคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการทุกไตรมาส เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจ
ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดียิ่งขึ้นนอกเหนือจากข้อมูลตัวเลขในงบการเงิน อีกทั้งเพื่อให้ผู้ลงทุนได้
มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (GOOD GOVERNANCE)
ในเรื่องการให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลนั้น
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ได้ให้ความ
สำคัญต่อการดำเนินกิจการอย่างโปร่งใสตามแนวนโยบายบรรษัทภิบาล จึงได้จัดทำและใคร่ขอนำส่งคำอธิบายและการ
วิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2549 ดังรายละเอียด
ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
-ลงนามแล้ว-
(นายปฏิภาณ สุคนธมาน)
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
สายงานด้านบัญชีและการเงิน
สำนักแผนกิจการและนักลงทุนสัมพันธ์
โทร 0 -2335-4583
สำเนาเรียน ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2549
ข้อมูลทั่วไป
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดย รัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม
ติณสูลานนท์ โดยมุ่งหมายให้ดำเนินการแบบเอกชน และเป็นบริษัทน้ำมันของคนไทยที่ดำเนินกิจการสอดคล้องกับประโยชน์
ของคนไทยและสังคมไทย
ปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง และบริหารกิจการโรงกลั่นน้ำมัน
ขนาด 120,000 บาเรลต่อวัน ซึ่งก่อสร้างใหม่ทดแทนหน่วยเดิม โดยหน่วยกลั่นล่าสุดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2536 การ
ออกแบบกระบวนการกลั่นเน้นการผลิตได้น้ำมันสะอาด ประหยัดพลังงาน และให้ผลผลิตสูง อีกทั้ง บริษัทฯ มีการขยาย
เครือข่ายสถานีบริการน้ำมันออกไปประมาณ 1,100 แห่ง ทั่วประเทศ โดยเป็นสถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ประมาณ
600 แห่ง และปั๊มชุมชนขนาดเล็กประมาณ 500 แห่ง
ภาพรวมธุรกิจไตรมาส 3 ปี 2549
สำหรับไตรมาส 3 ปี 2549 ราคาน้ำมันในตลาดโลกส่วนใหญ่ได้ปรับตัวขึ้นไปทำสถิติสูงสุดในช่วงเดือนกรกฎาคม
และสูงต่อเนื่องไปจนถึงเดือนสิงหาคม สาเหตุมาจากปัจจัยความกังวลถึงอุปทานน้ำมันในตลาด จากเหตุท่อส่งน้ำมันใน
Alaska สหรัฐฯ รั่ว ความไม่สงบในไนจีเรีย การปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมันในเวเนซุเอลา การลอบวางระเบิดท่อ
ขนส่งน้ำมันในอิรัก และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและเลบานอน รวมถึงความขัดแย้งของประเทศอิหร่านกับ
สหประชาชาติในเรื่องของการทดลองพลังงานนิวเคลียร์ แต่อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันก็ได้เริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วง
กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา และปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงปลายเดือนกันยายน ทั้งนี้เนื่องจากตลาดได้คลายความ
กังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดต่างๆ ของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบในแถบตะวันออกกลาง รวมถึงฤดูมรสุม
ของสหรัฐอเมริกาในปีนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายรุนแรงต่อแหล่งผลิตและโรงกลั่นน้ำมันในแถบอ่าวเม็กซิโกดังเช่นปีก่อน
อีกทั้งเริ่มเข้าสู่ช่วง Low Demand Season ของน้ำมันสำเร็จรูปเนื่องจากหมดช่วง Driving Season แล้วและมีอุป
ทานน้ำมันเบนซินในตลาดค่อนข้างสูง ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศเองก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยมีการปรับ
ขึ้นลงตามราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์ แต่การปรับราคาขายหน้าสถานีบริการจะเป็นไปได้ช้ากว่า
อย่างไรก็ดีสถานการณ์ราคาน้ำมันอาจมีการปรับตัวสูงขึ้นได้ในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวในแถบ
อเมริกาและยุโรป โดยจะมีความต้องการใช้น้ำมันประเภท Heating Oil เพื่อทำความร้อนเพิ่มขึ้น อีกทั้งท่าทีของกลุ่ม
ประเทศ OPEC ต่อระดับราคาน้ำมัน ที่ประกาศลดเพดานการผลิตน้ำมันดิบลงเพื่อเป็นการรักษาระดับราคาน้ำมันดิบให้อยู่
ในระดับที่เหมาะสม
1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3 ปี 2549 เปรียบเทียบไตรมาส 3 ปี 2548
ไตรมาสนี้ บริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือจากเกณฑ์เข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO)
เป็นเกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) โดยเริ่มตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 กรกฎาคม 2549
เป็นต้นไป ดังนั้นในการนำเสนองบการเงินสำหรับไตรมาส 3 นี้ จึงเป็นการเปรียบเทียบกับงบการเงินในช่วง
เดียวกันของปีก่อนซึ่งได้ถูกปรับปรุงใหม่ เสมือนว่าได้มีการปฏิบัติด้วยมาตรฐานการบัญชีเดียวกันดังนี้
1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2549 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีขาดทุนสุทธิรวมจำนวน 34 ล้านบาท
ประกอบด้วยผลขาดทุนของบริษัท บางจากฯ จำนวน 2 ล้านบาท และผลขาดทุนของบริษัท บางจาก
กรีนเนท รวมรายการระหว่างกันจำนวน 32 ล้านบาท
2) ผลการดำเนินงานบริษัท บางจากฯ มี EBITDA 243 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 1,659
ล้านบาท อยู่ 1,416 ล้านบาท เป็นผลมาจากปัจจัยหลักดังต่อไปนี้
* EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น -89 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 1,949 ล้านบาท
เนื่องจากในไตรมาส 3 ปี 2549 บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมกำไรจากสต๊อกน้ำมัน) 3.23 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อบาเรล ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 5.36 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ทั้งนี้เป็นผลจากระดับราคาน้ำมัน
ได้ปรับตัวลดลงตามปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากตลาดได้คลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดต่างๆ ของกลุ่ม
ประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบในแถบตะวันออกกลาง รวมถึงฤดูมรสุมของสหรัฐอเมริกาในปีนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายรุนแรงต่อ
แหล่งผลิตและโรงกลั่นน้ำมันในแถบอ่าวเม็กซิโกดังเช่นปีก่อน ซึ่งบริษัทฯยังคงระดับการผลิตไว้ที่ 60 พันบาเรลต่อวัน
ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 58 พันบาเรลต่อวัน
ด้วยระดับราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากนั้น (จากราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนมิ.ย. 65.22 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อบาเรล เป็นเฉลี่ยเดือนก.ย. 59.82 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ลดลง 8% และราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันเฉลี่ยเดือนมิ.ย.
จาก 76.40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เป็นเฉลี่ยเดือนก.ย. 66.64 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ลดลง 13%) ไตรมาส
นี้บริษัทฯจึงมีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันประมาณ 1.00 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล (ในขณะที่ปีก่อนที่มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันอยู่
ถึงระดับ 3.50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล) เมื่อรวมผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันแล้วไตรมาสนี้บริษัทฯ จะมีค่าการกลั่นรวม
อยู่ที่ระดับ 2.23 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีค่าการกลั่นรวมอยู่ที่ 8.86 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อบาเรล
ในไตรมาสนี้บริษัทฯ ได้ตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง (Write Down) ไว้จำนวน 350 ล้านบาท คิดเป็น
1.52 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เนื่องจาการที่ราคาทุนสินค้าคงเหลือสูงกว่ามูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ จากราคาปิด
ของน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลก ณ วันที่สิ้นงวดได้ปรับตัวลดลงอีกประมาณ 3-4% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ย
เดือนก.ย. 49
* EBITDA จากธุรกิจการตลาด 332 ล้านบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ -290 ล้านบาท
เนื่องจากไตรมาสนี้บริษัทฯ มีค่าการตลาด(ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 68.40 สตางค์ต่อลิตร สูงกว่าช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ -17.50 สตางค์ต่อลิตร ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ได้ปรับตัว
ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนขายลดต่ำลง ในขณะที่การปรับลดราคาขายหน้าสถานีบริการน้ำมันหรือราคาขายในตลาด
อุตสาหกรรมนั้นกระทำได้ช้ากว่า ส่งผลให้ไตรมาสนี้ในตลาดค้าปลีกมีค่าการตลาด 75.42 สตางค์ต่อลิตร และตลาดอุต
สาหรรมมีค่าการตลาดอยู่ที่ 54.85 สตางค์ต่อลิตร
สำหรับปริมาณการจำหน่ายในตลาดบางจากเพิ่มขึ้นเป็น 48 พันบาเรลต่อวัน ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่อยู่ที่ระดับ 49 พันบาเรลต่อวัน
* อย่างไรก็ตามหากไม่พิจารณาผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันแล้วจะทำให้ไตรมาสนี้มี Adjusted EBITDA จำนวน
825 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 43 ล้านบาท ดังนี้
EBITDA จำแนกตามประเภทธุรกิจ
หน่วย : ล้านบาท ไตรมาส 3 ปี 49 ไตรมาส 3 ปี 48 เพิ่ม +/ลด-
(A) (B) (A) - (B)
(สอบทานแล้ว) (ปรับปรุงใหม่)
* EBITDA +243 +1,659 -1,416
- โรงกลั่น -89 +1,949 -2,038
- ตลาด +332 -290 +622
* (หัก) กำไรจากสต๊อกน้ำมัน - (877) +877
บวก ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและ
Write Down 582 - +582
* Adjusted EBITDA +825 +782 +43
- โรงกลั่น +493 +1,072 -579
- ตลาด +332 -290 +622
1.2 การวิเคราะห์รายได้
รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 23,956 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ของบริษัท บางจากฯ
จำนวน 23,742 ล้านบาท และรายได้ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 2,934 ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็น
รายการระหว่างกันจำนวน 2,720 ล้านบาท โดยรายได้ของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักคือ
1) รายได้จากการขายจำนวน 23,655 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,487 ล้านบาท
เนื่องจากราคาขายน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 12% (ราคาน้ำมันเฉลี่ย 20.6 บาท/ลิตร เทียบกับ 18.4 บาท/ลิตร) ส่วน
ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบรวมไม่เปลี่ยนแปลง
2) บริษัทฯ มีรายได้จากดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นจำนวน 64 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ มีการนำเงินสำรองและเงิน
ส่วนหนึ่งที่ได้รับจากการเพิ่มทุนสำหรับโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินไปลงทุนใน
ตราสารที่มีความมั่นคงจำนวนประมาณ 4,726 ล้านบาท
1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 23,990 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจาก
ฯ จำนวน 23,744 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 2,965 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายดัง
กล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 2,719 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักคือ
1) ต้นทุนขายจำนวน 22,820 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3,485 ล้านบาท เป็นผลมาจาก
ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 3 ปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปีที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบดู
ไบปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 11 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล หรือคิดเป็นราคาที่สูงขึ้น 19%
2) บริษัทฯ ได้ตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง (Write Down) ไว้จำนวน 350 ล้านบาท เนื่องจากราคา
ทุนสินค้าคงเหลือสูงกว่ามูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ จากราคาปิดของน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลก ณ วันที่สิ้น
งวดได้ปรับตัวลดลงอีกประมาณ 3-4% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนก.ย. 49
3) บริษัทฯ ขาดทุนจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้า 50 ล้านบาท ในขณะที่ช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนมีกำไรจำนวน 37 ล้านบาท โดยไตรมาสนี้บริษัทฯ ได้ทำธุรกรรมดังกล่าวเพื่อลดความผันผวนจากราคาน้ำมัน
คิดเป็นประมาณ 33% ของปริมาณการผลิตเฉลี่ยไตรมาส
4) บริษัทฯ มีดอกเบี้ยจ่าย 209 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 49 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่ม
ขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้นประมาณ 1.5% ต่อปี
5) ในงวดนี้บริษัทฯมีเครดิตภาษีเงินได้จำนวน 144 ล้านบาท เนื่องจากมีผลขาดทุนก่อนภาษีสำหรับไตรมาส 3
ปี 2549 จำนวน 146 ล้านบาท คิดเป็นเครดิตภาษีเงินได้จำนวน 41 ล้านบาท และอีกจำนวน 103 ล้านบาท มาจาก
สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 156 โดยมีผลตั้งแต่รอบ
ระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 มกราคม 2549 (จากเงินลงทุนประมาณ 1,374 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนสำหรับ
โครงการ PQI)
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินสำหรับ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 เปรียบเทียบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2548
2.1 สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2549 มีจำนวน 40,100 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัท
จำนวน 40,052 ล้านบาท และบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 363 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่าง
กันจำนวน 315 ล้านบาท
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2549 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2548 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
จำนวน 5,853 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
* เงินลงทุนชั่วคราวเพิ่มขึ้นจำนวน 4,726 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ ได้นำเงินสำรองและเงินส่วนหนึ่งที่ได้
รับจากการเพิ่มทุนสำหรับโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความ
มั่นคงจำนวนประมาณ 4,726 ล้านบาท
* มูลค่าสินค้าคงเหลือ(สุทธิค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง) รวมเท่ากับ 11,311 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 601 ล้านบาท
เนื่องจากราคาเฉลี่ยที่สูงขึ้น 1.07 บาทต่อลิตร ส่วนปริมาณสินค้าคงเหลือลดลง 8 ล้านลิตร (ประมาณ 0.05
ล้านบาเรล)
2.2 หนี้สิน
1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2549 จำนวน 20,714 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัทจำนวน
20,638 ล้านบาท และของบริษัทบางจากกรีนเนท จำนวน 389 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ระหว่างกันอยู่จำนวน 313 ล้าน
บาท
2) หนี้สินรวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2549 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2548 มีมูลค่ารวมลดลง
668 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
* เจ้าหนี้การค้าจำนวน 5,034 ล้านบาท ลดลง 444 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2548 เนื่องจากการลด
ปริมาณการสั่งซื้อวัตถุดิบในช่วงเดือนกันยายน 2549 ลงประมาณ 0.29 ล้านบาเรล เมื่อเทียบกับปริมาณซื้อในช่วงเดือน
ธันวาคม 2548
* ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่ายลดลงเนื่องจากในไตรมาส 3 ปี 2549 นี้บริษัทฯมีผลขาดทุน ซึ่งต้องขอคืน
ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ชำระไว้แล้วสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรกของปี 2549 จึงไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคล
ค้างจ่าย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2549 ในขณะที่ปีก่อนมีผลกำไร บริษัทฯ จึงตั้งค้างจ่ายค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้จำนวน
261 ล้านบาท
2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2549 รวมจำนวน 19,386 ล้านบาท เป็น
ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท จำนวน 19,414 ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท บางจากกรีนเนท -26 ล้านบาท และเป็น
รายการระหว่างกัน -2 ล้านบาท
2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2549 จำนวน 19,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
6,521 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2548 เนื่องจาก
* บริษัทฯ มีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อระดมทุนมาใช้ในโครงการ PQI จำนวน 428 ล้านหุ้น สุทธิค่าใช้จ่าย
ในการออกหุ้นเพิ่มทุนแล้วเป็นจำนวน 5,935 ล้านบาท และมีการแปลงสภาพจากหุ้นกู้แปลงสภาพ CDDR จำนวน 3.5
ล้านหุ้น คิดเป็นจำนวนเงิน 50 ล้านบาท รวมถึงการเพิ่มขึ้นจากกำไรสุทธิสำหรับงวดเก้าเดือน 907 ล้านบาท
* ในงวดนี้ได้มีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสามัญในเดือนพ.ค. 2549 ที่ผ่านมาจำนวน 206 ล้านบาท รวม
ถึงบริษัทฯมีการตัดจำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ เป็นจำนวน 165 ล้านบาท
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุด 30 กันยายน 2549
3.1 สำหรับงวดเก้าเดือนของปี 2549 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดต้นงวดยกมา 1,753 ล้านบาท โดยใน
ระหว่างงวดมีเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมต่างๆจำนวน 221 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนิน
งาน 32 ล้านบาท เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 6,173 ล้านบาท และใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน
6,426 ล้านบาท ดังนั้น คงเหลือเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2549 จำนวน 1,532 ล้าน
บาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 1,459 ล้านบาท และเป็นเงินสดของบริษัท บางจากกรีนเนท
จำนวน 73 ล้านบาท
3.2 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 907 ล้านบาท บวกกลับค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช้เงินสดจำนวน 646 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทฯ มีกำไร
ที่เป็นเงินสดจำนวน 1,553 ล้านบาท และมีเงินสดต้นงวดจำนวน 1,561 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้ใช้เงินสดดังกล่าว
ไปในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) บริษัทฯ ใช้เงินสดสุทธิไปในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานจำนวน 1,448 ล้านบาท โดยที่
* บริษัทฯมีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 601 ล้านบาท เนื่องจากราคาเฉลี่ยได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 1.07 บาทต่อ
ลิตร โดยที่ปริมาณสินค้าคงเหลือลดลงเล็กน้อยประมาณ 8 ล้านลิตร
* มีเงินสดรับลดลงจากลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้น 204 ล้านบาท
* จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2548 จำนวน 261 ล้านบาท
* จ่ายชำระเจ้าหนี้การค้าจำนวน 444 ล้านบาท
* ได้เงินสดมาจากสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานอื่นจำนวน 62 ล้านบาท
2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 6,380 ล้านบาท ได้แก่
* การนำเงินสำรองและเงินสดส่วนหนึ่งที่ได้รับจากการเพิ่มทุนสำหรับโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ที่
ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความมั่นคงจำนวนประมาณ 4,726 ล้านบาท
* การจ่ายเงินสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 1,748 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นส่วนของ
โครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดแล้วจำนวน 1,690 ล้านบาท
* บริษัทมีเงินสดได้มาจากกิจกรรมการลงทุนอื่นๆอีกจำนวน 94 ล้านบาท
3) บริษัทฯ มีเงินสดได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน 6,173 ล้านบาท
* เป็นเงินที่ได้รับสุทธิจากการออกหุ้นเพิ่มทุนโครงการ PQI จำนวน 5,935 ล้านบาท และการออกหุ้นกู้แปลง
สภาพให้แก่ปตท.จำนวน 585 ล้านบาท
* จากการกู้ยืมระยะสั้น(ธนาคารกรุงไทย) 269 ล้านบาท และจากเงินกู้ระยะยาว PQI จำนวน 30 ล้านบาท
โดยที่มีการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำนวน 440 ล้านบาท
* ในงวดนี้มีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสามัญทั้ง BCP และ BCP-DR1 จำนวน 206 ล้านบาท
ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2549 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 1,459 ล้านบาท ลดลง 102 ล้าน
บาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2548
4. สรุปผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
การเปลี่ยนนโยบายการบัญชีสินค้าคงเหลือจากเกณฑ์เข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO) เป็นเกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
(Weighted Average) ทำให้บริษัทฯ ต้องปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2548 ซึ่งมีผลต่อ
งบการเงินที่ได้เคยแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไว้ ดังนี้
4.1 กำไรขาดทุนสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน
2549 2548
(หน่วย : ล้านบาท) WA FIFO +/- WA FIFO +/-
* กำไร(ขาดทุน)ก่อนภาษี (146) (277) +131 1,335 1,552 -217
* ภาษีเงินได้ 144 183 -39 (235) (302) +67
* กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (2) (94) +92 1,100 1,250 -150
4.2 กำไรขาดทุนสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน
2549 2548
(หน่วย : ล้านบาท) WA FIFO +/- WA FIFO +/-
* กำไร(ขาดทุน)ก่อนภาษี 1,134 1,069 +65 2,625 3,299 -674
* ภาษีเงินได้ (227) (208) -19 (92) (294) +202
* กำไร(ขาดทุน)สุทธิ 907 861 +46 2,533 3,005 -472
อนึ่งนอกจากบริษัทฯ ได้ปรับปรุงผลต่างจากเกณฑ์เข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO) เป็นเกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
(Weighted Average) สำหรับงวดสามเดือน และงวดเก้าเดือนปี 2548 แล้ว บริษัทฯยังได้ปรับปรุงผลต่างสำหรับปี
2548 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ในงบดุลด้วย ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 23 ล้านบาท
5. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น ในส่วน
ของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจากการขึ้น
ลงของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่โรงกลั่น
ของบริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery ซึ่งมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับโรงกลั่น
ประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯ ถูกจำกัดไว้
แต่จากการที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการส่งน้ำมันเตาของบริษัทฯ ไปเพิ่มมูลค่าที่โรงกลั่นอื่นก็สามารถลดผลกระทบจาก
เหตุการณ์ดังกล่าวได้บางส่วน ซึ่งบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะยาว
เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน
(PQI) โดยการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นของบริษัท
ฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ
โรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทฯคาดว่าโครงการฯดังกล่าวจะสามารถเริ่มการผลิตได้สิ้นปี 2551
และคาดว่าจะทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่ม EBITDA จากประมาณ 4,000 ล้านบาทในปี 2548 เป็นประมาณ 6,000-
8,000 ล้านบาท หลังจากที่โครงการฯดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะราคา
น้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ ซึ่งโครงการ PQI ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วโดยมีมูลค่าการลงทุนรวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการ
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369 ล้านบาท หรือคิดเป็น 378 ล้าน
เหรียญสหรัฐ โดยบริษัทได้จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation Limited และ CTCI (Thailand(
Co., Ltd.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง มีระยะเวลาก่อสร้างรวมการทดลองเดินเครื่องทั้งสิ้น 32 เดือน ในส่วนของการ
จัดหาเงินทุนสำหรับโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการแล้วเสร็จครบถ้วนตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549
นอกจากนี้ ระดับราคาน้ำมันก็ยังมีผลกระทบสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูง
ขึ้นมากตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546 เป็นต้นมา ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าราคาน้ำมันอาจปรับตัวลดลงในอนาคต เนื่องจากมีการ
ปรับฐานของระดับราคาเป็นครั้งคราว แต่บริษัทฯคาดว่าระดับราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจะยังคงอยู่ในระดับสูง
เช่นนี้ต่อไป ซึ่งบริษัทฯมีส่วนงานที่คอยติดตามและบริหารความเสี่ยงดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่อาจมีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทฯคือ ความผันผวนของ
อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้น บริษัทฯจะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้การค้า
ตามลำดับ โดยการอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลต่อมูลค่า
ของสินทรัพย์สุทธิ แต่ทั้งนี้บริษัทฯก็มีนโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ให้อยู่ใน
ระดับที่ใกล้เคียงกันเมื่อมีความพร้อม โดยปัจจุบันบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงดังกล่าวโดยใช้เครื่องมือ
ทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดแล้วบางส่วน