นำส่งงบการเงินก่อนสอบทาน ไตรมาส 3

ที่ 1000 / 244 / 2549 27 ตุลาคม 2549 เรื่อง นำส่งงบการเงินก่อนสอบทาน และชี้แจงผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2549 เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. งบการเงินก่อนสอบทานไตรมาส 3 ปี 2549 ฉบับภาษาไทย 1 ฉบับ 2. งบการเงินก่อนสอบทานไตรมาส 3 ปี 2549 ฉบับภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ ตามที่บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้มีการจัดส่งงบการเงินก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบ ตามแนวทางการนำส่งงบการเงินก่อนสอบทานและก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น บริษัทฯ ใคร่ขอนำส่งงบการเงินก่อนสอบทานโดยผู้สอบบัญชี สำหรับไตรมาส 3 ปี 2549 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 และขอชี้แจงผลการดำเนินงานเพิ่มเติมเนื่องจากมีผลกำไรขาดทุนเปลี่ยนแปลงจากงวดเดียวกันของปี ก่อนเกินร้อยละ 20 อีกทั้งในไตรมาสนี้ บริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือจากเกณฑ์เข้าก่อน- ออกก่อน (FIFO) เป็นเกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) โดยเริ่มตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไป ดังนั้นในการนำเสนองบการเงินสำหรับไตรมาส 3 นี้ จึงเป็นการเปรียบเทียบกับงบ การเงินในช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งได้ถูกปรับปรุงใหม่ เสมือนว่าได้มีการปฏิบัติด้วยมาตรฐานการบัญชีเดียวกันดังนี้ ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2549 บริษัทฯ มีรายได้รวม 23,742 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) 243 ล้านบาท มีดอกเบี้ยจ่ายสุทธิ (หักลบดอกเบี้ยรับ) 141 ล้านบาท มีค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย 199 ล้านบาท เมื่อเครดิตภาษีเงินได้ 144 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ 2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิ 1,100 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2548 บริษัทฯ มี กำไรจากสต๊อกน้ำมันสูงถึง 877 ล้านบาท ในขณะที่ในปี 2549 นี้มีผลขาดทุนจากมูลค่าต๊อกน้ำมันรวมจำนวน 582 ล้าน บาท ส่วนหนึ่งเป็นสต๊อกน้ำมันที่ขาดทุนจำนวน 232 ล้านบาท และการตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลงอีกจำนวน 350 ล้านบาท ผลการดำเนินงานดังกล่าวมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 1) บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมกำไรจากสต๊อกน้ำมัน) 3.23 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 5.36 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ทั้งนี้เป็นผลจากระดับราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงตามปัจจัยพื้นฐาน เนื่องจากตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดต่างๆ ของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบในแถบ ตะวันออกกลาง โดยเฉพาะความขัดแย้งของประเทศอิหร่านกับสหประชาชาติ และฤดูมรสุมของสหรัฐอเมริกาในปีนี้ไม่ได้ สร้างความเสียหายรุนแรงต่อแหล่งผลิตและโรงกลั่นน้ำมันในแถบอ่าวเม็กซิโกดังเช่นปีก่อน อีกทั้งเริ่มเข้าสู่ช่วง Low Demand Season ของน้ำมันสำเร็จรูปเนื่องจากหมดช่วง Driving Season แล้ว และมีอุปทานน้ำมันเบนซินในตลาด ค่อนข้างสูง รวมถึงการเทขายทำกำไรของ Hedge Fund ในตลาดล่วงหน้า ส่งผลให้ค่าการกลั่นปรับตัวลดลงมาก ซึ่ง บริษัทฯยังคงระดับการผลิตไว้ที่ 60 พันบาเรลต่อวัน ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 58 พันบาเรลต่อวัน ด้วยระดับราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากนั้น (จากราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเดือนมิ.ย. 65.22 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล เป็นเฉลี่ยเดือนก.ย. 59.82 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ลดลง 8% และราคาผลิตภัณฑ์น้ำมัน เฉลี่ยเดือนมิ.ย. จาก 76.40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เป็นเฉลี่ยเดือนก.ย. 66.64 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ลดลง 13%) ไตรมาสนี้ บริษัทฯจึงมีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันประมาณ 1.00 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล (ในขณะที่ปีก่อนที่มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันอยู่ ถึงระดับ 3.50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล) เมื่อรวมผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันแล้วไตรมาสนี้บริษัทฯ จะมีค่าการกลั่นรวม อยู่ที่ระดับ 2.23 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีค่าการกลั่นรวมอยู่ที่ 8.86 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล อย่างไรก็ดีสถานการณ์ราคาน้ำมันอาจมีการปรับตัวสูงขึ้นได้ในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวในแถบอเมริกาและ ยุโรป โดยจะมีความต้องการใช้น้ำมันประเภท Heating Oil เพื่อทำความร้อนเพิ่มขึ้น อีกทั้งท่าทีของกลุ่มประเทศ OPEC ต่อระดับราคาน้ำมัน ที่อาจประกาศลดเพดานการผลิตน้ำมันดิบลงเพื่อเป็นการรักษาระดับราคาน้ำมันดิบให้อยู่ใน ระดับที่เหมาะสม 2) บริษัทฯ มีค่าการตลาด(ไม่รวมน้ำมันเครื่อง) อยู่ที่ระดับ 68.40 สตางค์ต่อลิตร สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี ก่อนที่อยู่ที่ระดับ -17.50 สตางค์ต่อลิตร ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ได้ปรับตัวลดลง อย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนขายลดต่ำลง ในขณะที่การปรับลดราคาขายหน้าสถานีบริการน้ำมันหรือราคาขายในตลาด อุตสาหกรรมนั้นกระทำได้ช้ากว่า ส่งผลให้ไตรมาสนี้ในตลาดค้าปลีกมีค่าการตลาด 75.42 สตางค์ต่อลิตร และตลาดอุต สาหรรมมีค่าการตลาดอยู่ที่ 54.85 สตางค์ต่อลิตร 3) ในไตรมาสนี้บริษัทฯ ได้ตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง (Write Down) จำนวนเงิน 350 ล้านบาท จากการที่ราคาทุนสินค้าคงเหลือสูงกว่ามูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ เนื่องจากราคาปิดของน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปใน ตลาดโลก ณ วันที่สิ้นงวดได้ปรับตัวลดลงอีกประมาณ 3-4% เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนก.ย. 49 ส่งผลให้บริษัทฯมี EBITDA เป็นดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท) ไตรมาส 3 ปี 49 ไตรมาส 3 ปี 48 เพิ่ม + / ลด - (A) (B) (A) - (B) (ก่อนสอบทาน) (ปรับปรุงใหม่) * EBITDA +243 +1,659 -1,416 - โรงกลั่น -92 +1,949 -2,041 - ตลาด +335 -290 +625 * (หัก) กำไรจากสต๊อกน้ำมัน - (877) +877 บวก ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและ 582 - +582 Write Down- * Adjusted EBITDA +825 +782 +43 - โรงกลั่น +490 +1072 -582 - ตลาด +335 -290 +625 อย่างไรก็ตามหากไม่พิจารณาผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันแล้วจะทำให้ไตรมาสนี้มี Adjusted EBITDA จำนวน 825 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 43 ล้านบาท 4) บริษัทฯ มีดอกเบี้ยจ่ายสุทธิ 141 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15 ล้านบาท เป็นผลมาจาก ดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น 49 ล้านบาทจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้นประมาณ 1.5% ต่อปี ทั้งนี้บริษัทฯ มีราย ได้จากดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้นจำนวน 64 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ มีการนำเงินส่วนหนึ่งที่ได้รับจากการเพิ่มทุนสำหรับ โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความมั่นคงจำนวนประมาณ 4,500 ล้านบาท 5) ในงวดนี้มีเครดิตภาษีเงินได้จำนวน 144 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ มีผลขาดทุนก่อนภาษีสำหรับไตรมาส 3 ปี 2549จำนวน 146 ล้านบาท คิดเป็นเครดิตภาษีเงินได้จำนวน 41 ล้านบาท และอีกจำนวน 103 ล้านบาท มาจาก สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 156 โดยมีผลตั้งแต่รอบ ระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 มกราคม 2549 (จากเงินลงทุนประมาณ 1,374 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนสำหรับ โครงการ PQI) 6) งบดุลและอัตราส่วนทางการเงิน สรุปได้ดังนี้ ณ 30 ก.ย. 49 ณ 31 ธ.ค. 48 เพิ่ม + / ลด - (หน่วย : ล้านบาท) (ก่อนสอบทาน) (ปรับปรุงใหม่) * สินทรัพย์รวม 40,052 34,199 + 5,853 * หนี้สินรวม 20,638 21,306 - 668 * ส่วนของผู้ถือหุ้น 19,414 12,893 + 6,521 * สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น,เท่า 1/ 0.71 1.05 * มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น, บาท 2/ 17.35 18.75 หมายเหตุ 1/ คิดเฉพาะหนี้สินในส่วนที่มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย (Interest Bearing Debt) 2/ คำนวณจากจำนวนหุ้น ณ 30 ก.ย. 49 และ 31 ธ.ค. 48 จำนวน 1,119 ล้านหุ้น และ 687 ล้านหุ้น ตามลำดับ 7) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีสินค้าคงเหลือจากเกณฑ์เข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO) เป็น เกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) ทำให้บริษัทฯ ต้องปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังสำหรับรอบระยะ เวลาบัญชีปี 2548 ซึ่งมีผลต่องบการเงินที่ได้เคยแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไว้ ดังนี้ 7.1) กำไรขาดทุนสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2549 2548 (หน่วย : ล้านบาท) WA FIFO +/- WA FIFO +/- * กำไร(ขาดทุน)ก่อนภาษี (146) (366) +220 1,335 1,552 -217 * ภาษีเงินได้ 144 210 -66 (235) (302) +67 * กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (2) (156) +154 1,100 1,250 -150 7.2) กำไรขาดทุนสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2549 2548 (หน่วย : ล้านบาท) WA FIFO +/- WA FIFO +/- * กำไร(ขาดทุน)ก่อนภาษี 1,134 979 +155 2,616 3,299 -683 * ภาษีเงินได้ (227) (181) -46 (90) (294) +204 * กำไร(ขาดทุน)สุทธิ 907 798 +109 2,526 3,005 -479 อนึ่งนอกจากบริษัทฯ ได้ปรับปรุงผลต่างจากเกณฑ์เข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO) เป็นเกณฑ์ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) สำหรับงวดสามเดือน และงวดเก้าเดือนปี 2548 แล้ว บริษัทฯยังได้ปรับปรุงผลต่างสำหรับปี 2548 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ในงบดุลด้วย ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 23 ล้านบาท จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ -ลงนามแล้ว- (นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล) กรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักแผนกิจการและนักลงทุนสัมพันธ์ โทร. 0 -2335-4583