SET Announcements
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการไตรมาส 2 30 มิ.ย 49
ที่ 1000 / 206 / 2549
21 สิงหาคม 2549
เรื่อง คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สิ่งที่ส่งมาด้วย คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้สนับสนุนให้
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีการจัดทำคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการทุกไตรมาส
พื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดียิ่งขึ้นนอกเหนือจากข้อมูล
ตัวเลขในงบการเงิน อีกทั้งเพื่อให้ผู้ลงทุนได้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท
ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (GOOD GOVERNANCE) ในเรื่องการให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลนั้น
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์
ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจการอย่างโปร่งใสตามแนวนโยบายบรรษัทภิบาล จึงได้จัดทำและใคร่ขอ
นำส่งคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่
30 มิถุนายน 2549 ดังรายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
-ลงนามแล้ว-
(นายปฏิภาณ สุคนธมาน)
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
สายงานด้านบัญชีและการเงิน
สำนักแผนกิจการและนักลงทุนสัมพันธ์
โทร 0 -2335-4583
สำเนาเรียน ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549
ข้อมูลทั่วไป
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดย รัฐบาล
ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยมุ่งหมายให้ดำเนินการแบบเอกชน และเป็นบริษัทน้ำมันของคนไทย
ที่ดำเนินกิจการสอดคล้องกับประโยชน์ของคนไทยและสังคมไทย
ปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง และบริหารกิจการ
โรงกลั่นน้ำมันขนาด 120,000 บาเรลต่อวัน ซึ่งก่อสร้างใหม่ทดแทนหน่วยเดิม โดยหน่วยกลั่นล่าสุดแล้ว
เสร็จในปี พ.ศ. 2536 การออกแบบกระบวนการกลั่นเน้นการผลิตได้น้ำมันสะอาด ประหยัดพลังงาน
และให้ผลผลิตสูง อีกทั้ง บริษัทฯ มีการขยายเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันออกไปประมาณ 1,100 แห่ง
ทั่วประเทศ โดยเป็นสถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ประมาณ 600 แห่ง และปั๊มชุมชนขนาดเล็กประมาณ
500 แห่ง
ภาพรวมธุรกิจไตรมาส 2 ปี 2549
สำหรับไตรมาส 2 ปี 2549 บริษัทฯ ดำเนินกิจการภายใต้การปรับขึ้นลงของราคาน้ำมันในตลาด
โลกที่มีการแกว่งตัวผันผวนสูง ภายใต้สถานการณ์ความตึงเครียดของประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก
โดยเฉพาะความขัดแย้งของประเทศอิหร่านกับชาติตะวันตกในเรื่องของการทดลองพลังงานนิวเคลียร์
รวมถึงความต้องการใช้น้ำมันที่จะเพิ่มขึ้นในช่วง Driving Season และการเข้ามาซื้อขายของ
Hedge Fund ซึ่งเป็นแรงหนุนให้ราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ประกอบกับการคาดการณ์
ความต้องการใช้น้ำมันในปีนี้จะยังคงปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลในตลาด
โลกและตลาดสิงคโปร์ยังคงปรับตัวสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเตาได้ปรับตัวขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า
ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปชนิดอื่น ส่งผลให้โรงกลั่นที่ให้ผลผลิตน้ำมันเตาค่อนข้างมากมีข้อจำกัดใน
การใช้กำลังการผลิต สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศ มีการปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมันสำเร็จรูป
ที่สิงคโปร์ แต่ไม่สามารถปรับราคาขายหน้าสถานีบริการได้ทันกับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ราคาน้ำมันใน
ตลาดโลกปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ค่าการตลาด
ติดลบในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ และแม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม ความต้องการ
ใช้น้ำมันผ่านสถานีบริการยังคงเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2 ปี 2549 เปรียบเทียบไตรมาส 2 ปี 2548
1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2549 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิรวมจำนวน 300
ล้านบาท ประกอบด้วยผลกำไรของบริษัท บางจากฯ จำนวน 296 ล้านบาท และผลกำไร
ของบริษัท บางจากกรีนเนท 4 ล้านบาท
2) ผลการดำเนินงานบริษัท บางจากฯ มี EBITDA 827 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่อยู่ที่ 1,647 ล้านบาท อยู่ 820 ล้านบาท เป็นผลมาจากปัจจัยหลักดังต่อไปนี้
* EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 1,059 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ
1,561 ล้านบาท เนื่องจากในไตรมาส 2 ปี 2549 บริษัทฯ มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันจำนวน
227 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 0.95 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี
ก่อนที่อยู่ที่ระดับ 967 ล้านบาท หรือ 3.70 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เนื่องจากในปีก่อน
ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีอัตราการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าในปี 2549 ซึ่งในไตรมาส
2 ปีนี้บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมกำไรจากสต๊อกน้ำมัน) 4.53 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล
สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 3.28 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ทั้งนี้เป็นผลจากค่า
การกลั่นพื้นฐานและค่าการกลั่นจากการสร้างมูลค่าเพิ่มเติมที่ปรับตัวดีขึ้นจำนวน 0.24 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาเรล รวมถึงกำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้าสูงขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.01 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ส่งผลให้ในไตรมาสนี้ บริษัทฯ มีค่า
การกลั่นรวมอยู่ที่ระดับ 5.48 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล โดยการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ
54 พันบาเรลต่อวัน ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 65 พันบาเรลต่อวัน สาเหตุหลัก
มาจากการส่งน้ำมันเตาไปเพิ่มมูลค่าที่โรงกลั่นไทยออยล์ทำได้จำกัด จึงทำให้ต้องลดปริมาณการ
ผลิตลงเพื่อลดปริมาณผลผลิตน้ำมันเตา
* EBITDA จากธุรกิจการตลาด -232 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 86
ล้านบาท เนื่องจากในไตรมาส 2 ปี 2549 บริษัทฯ มีค่าการตลาด(ไม่รวมน้ำมันหล่อลื่น)
อยู่ที่ระดับ -12 สตางค์ต่อลิตร ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 47 สตางค์ต่อลิตร
ทั้งนี้เป็นผลมาจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งน้ำมัน
เบนซินและน้ำมันดีเซล ซึ่งทำให้บริษัทฯมีต้นทุนขายที่สูงขึ้นแต่ไม่สามารถปรับราคาขายหน้าสถานี
บริการน้ำมันได้ทัน จึงทำให้ในตลาดค้าปลีกมีค่าการตลาด -37 สตางค์ต่อลิตร อย่างไรก็ดี
บริษัทฯ ยังคงรักษากำไรในตลาดอุตสาหกรรมไว้ได้ โดยมีค่าการตลาดอยู่ที่ 50 สตางค์ต่อลิตร
สำหรับปริมาณการจำหน่ายในตลาดบางจากเพิ่มขึ้นเป็น 52.5 พันบาเรลต่อวัน ต่ำกว่าช่วง
เดียวกันปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 53.7 พันบาเรลต่อวัน
(หน่วย : ล้านบาท) ไตรมาส 2 ปี 49 (A) ไตรมาส 2 ปี 48 (B) เพิ่ม + / ลด -
(สอบทานแล้ว) (สอบทานแล้ว) (A) - (B)
* EBITDA +827 +1,647 -820
- โรงกลั่น +1,059 +1,561 -502
- ตลาด -232 +86 -318
* หัก กำไรจากสต๊อกน้ำม +227 +967 -740
* Adjusted EBITDA +600 +680 -80
- โรงกลั่น +832 +594 +238
- ตลาด -232 +86 -318
1.2 การวิเคราะห์รายได้
รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 25,166 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ของ
บริษัท บางจากฯ จำนวน 24,948 ล้านบาท และรายได้ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 3,171
ล้านบาท ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 2,953 ล้านบาท โดยรายได้ของบริษัท
บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักคือ
1) รายได้จากการขายจำนวน 24,676 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,608
ล้านบาท เนื่องจากราคาขายน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 38% (ราคาน้ำมันเฉลี่ย 20.8 บาท/ลิตร
เทียบกับ 15.0 บาท/ลิตร) แต่ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบรวมลดลง 19%
2) กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 109 ล้านบาท
โดยเป็นกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจากเจ้าหนี้การค้า 37 ล้านบาท และเป็นขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
จากอื่นๆ 19 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทจาก 38.9 บาทต่อดอลลาร์
สรอ. ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2549 เป็นเฉลี่ย 38.2 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาส 2 ปี
2549
3) บริษัทฯ มีกำไรจากสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้า 197 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ขาดทุน 91 ล้านบาท โดยที่ไตรมาสนี้บริษัทฯ มีการทำธุรกรรมป้องกัน
ความเสี่ยงเพื่อป้องกันความผันผวนจากราคาน้ำมันไว้คิดเป็นประมาณ 48% ของปริมาณการผลิต
เฉลี่ยไตรมาส
1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 24,866 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายของ
บริษัท บางจากฯ จำนวน 24,652 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 3,168
ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 2,955 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท
บางจากฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักคือ
1) ต้นทุนขายจำนวน 23,850 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3,819 ล้านบาท
เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยน้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย
ประมาณ 17 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ในไตรมาส 2 ปี 2549 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปีที่แล้ว
แต่ปริมาณการจำหน่ายลดลง จากระดับ 100.7 พันบาเรลต่อวันเป็น 81.1 พันบาเรลต่อวัน
2) บริษัทฯ มีดอกเบี้ยจ่าย 186 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 25 ล้านบาท เนื่องจาก
การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้นประมาณ 1.0% ต่อปี
3) บริษัทฯ มีภาษีเงินได้จำนวน 150 ล้านบาท ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีก่อนบริษัทไม่มีภาระภาษี
เงินได้นิติบุคคล เนื่องจากในไตรมาส 2 ปี 2548 บริษัทยังมีผลขาดทุนสะสมทางภาษี
(Tax Credit) อยู่ ซึ่งผลขาดทุนสะสมดังกล่าวได้หมดไปในปี 2548 ไตรมาสนี้จึงตั้งค้างจ่าย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 25 และ 30 ตามประมวลรัษฎากร
2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินสำหรับ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 เปรียบเทียบ ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2548
2.1 สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 มีจำนวน 41,918 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์
ของบริษัท จำนวน 41,841 ล้านบาท และบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 402 ล้านบาท
ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกันจำนวน 325 ล้านบาท
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2548 มีมูลค่า
เพิ่มขึ้นจำนวน 7,677 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
* เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 3,017 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,456 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2548 (รายละเอียดดูคำอธิบายเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
จากคำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดในข้อ 3)
* บริษัทฯ ได้นำเงินส่วนหนึ่งจากบัญชีลงทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (PQI) ไปลงทุน
ในบัญชีเงินฝากประเภทประจำมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-14 เดือน แบ่งเป็นส่วนที่ไม่เกิน 12
เดือน จัดเป็นเงินลงทุนชั่วคราวจำนวน 3,100 ล้านบาท และส่วนที่เกินกว่า 12 เดือน ขึ้นไป
จัดเป็นเงินลงทุนระยะยาวอื่นจำนวน 600 ล้านบาท
* สินค้าคงเหลือรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 13,288 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,617 ล้านบาท เนื่องจาก ณ
สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 มีปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 90 ล้านลิตร (ประมาณ 0.6
ล้านบาเรล) โดยที่ราคาเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้น 1.57 บาท/ ลิตร
2.2 หนี้สิน
1) หนี้สินรวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 จำนวน 22,425 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัท
จำนวน 22,349 ล้านบาท และของบริษัทบางจากกรีนเนท จำนวน 397 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้
ระหว่างกันอยู่จำนวน 321 ล้านบาท
2) หนี้สินรวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2548 มีมูลค่า
เพิ่มขึ้น 1,055 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ
* เงินกู้รวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 เพิ่มขึ้น 624 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2548
สาเหตุหลักเนื่องมาจากไตรมาสนี้บริษัทมีการออกหุ้นกู้แปลงสภาพจำหน่ายให้แก่บมจ. ปตท.
จำนวน 585 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินทุนส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในโครงการ PQI
* ยอดเจ้าหนี้การค้า จำนวน 6,197 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 719 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี
2548 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 11.4 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล (ราคาเฉลี่ย
เดือนมิ.ย. 49 เทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนธ.ค. 48)
2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 รวมจำนวน 19,493
ล้านบาท เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท จำนวน 19,492 ล้านบาท และเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วน
น้อยจำนวน 0.5 ล้านบาท
2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 จำนวน 19,492 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 6,622 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2548 เนื่องจาก
* บริษัทฯ มีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อระดมทุนมาใช้ในโครงการ PQI จำนวน 428 ล้านหุ้น
สุทธิค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นเพิ่มทุนแล้วเป็นจำนวน 5,935 ล้านบาท และมีการแปลงสภาพจาก
หุ้นกู้แปลงสภาพ CDDR จำนวน 3.5 ล้านหุ้น คิดเป็นจำนวนเงิน 50 ล้านบาท รวมถึงการ
เพิ่มขึ้นจากกำไรสุทธิสำหรับงวดหกเดือน 953 ล้านบาท
* ในงวดนี้ได้มีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสามัญในเดือนพ.ค. 2549 ที่ผ่านมาจำนวน 206
ล้านบาท รวมถึงบริษัทฯ มีการตัดจำหน่ายส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ เป็นจำนวน 110
ล้านบาท
3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2549 เปรียบเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปี 2548
3.1 สำหรับงวดหกเดือนของปี 2549 นี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดต้นงวดยกมา 1,753 ล้านบาท
โดยในระหว่างงวดมีเงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมต่างๆจำนวน 1,309 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสดที่
ได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 6,403 ล้านบาท ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 4,771 ล้านบาท
และ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมดำเนินงานอีก 323 ล้านบาท ดังนั้น คงเหลือเงินสดและรายการเทียบเท่า
เงินสด ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 จำนวน 3,062 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ
จำนวน 3,017 ล้านบาท และเป็นเงินสดของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 45 ล้านบาท
3.2 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 953 ล้านบาท บวกกลับค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช้เงินสดจำนวน 425 ล้านบาท ดังนั้น
บริษัทฯ มีกำไรที่เป็นเงินสดจำนวน 1,378 ล้านบาท และมีเงินสดต้นงวดจำนวน 1,561 ล้านบาท
โดยบริษัทฯ ได้ใช้เงินสดดังกล่าวไปในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) บริษัทฯ ใช้เงินสดสุทธิไปในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานจำนวน 1,599 ล้านบาท โดยที่
* บริษัทฯ มีสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้น 2,617 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้น 90
ล้านลิตร (ประมาณ 0.6 ล้านบาเรล) โดยที่ราคาเฉลี่ยได้ปรับตัวสูงขึ้น 1.57 บาท/ ลิตร
* บริษัทฯ มีเงินสดได้มาจากรายการเจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้น 722 ล้านบาท เนื่องมาจากราคา
น้ำมันดิบเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 11.4 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล(ราคาเฉลี่ยเดือนมิ.ย. 49 เทียบกับราคา
เฉลี่ยเดือนธ.ค. 48)
* ได้เงินสดมาจากการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานอื่นอีก 296 ล้านบาท
2) บริษัทฯ ใช้เงินสดไปในกิจกรรมลงทุน 4,726 ล้านบาท ได้แก่
* การนำเงินจากบัญชีสำรองเพื่อการชำระหนี้ธนาคารกรุงไทยจำนวน 224 ล้านบาท และเงินจาก
บัญชีลงทุนโครงการ PQI จำนวนทั้งสิ้น 3,700 ล้านบาท ไปลงทุนในบัญชีเงินฝากประเภท
ประจำมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-14 เดือน
* มีการจ่ายเงินสำหรับการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร-อุปกรณ์จำนวน 717 ล้านบาท ในจำนวน
นี้เป็นส่วนของโครงการ PQI ที่จ่ายเป็นเงินสดจำนวน 686 ล้านบาท
* บริษัทใช้เงินสดไปในการลงทุนอื่นๆอีก 85 ล้านบาท
3) บริษัทฯ มีเงินสดได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน 6,403 ล้านบาท
* เป็นเงินที่ได้รับสุทธิจากการออกหุ้นเพิ่มทุนโครงการ PQI จำนวน 5,935 ล้านบาท และการออก
หุ้นกู้แปลงสภาพให้แก่ปตท.จำนวน 585 ล้านบาท
* จากการกู้ยืมระยะสั้น(ธนาคารกรุงไทย) 414 ล้านบาท จากเงินกู้ระยะยาว(ธ.ทหารไทย)
จำนวน 30 ล้านบาท โดยที่มีการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำนวน 355
ล้านบาท
* ในงวดนี้มีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสามัญทั้ง BCP และ BCP-DR1 จำนวน 206 ล้านบาท
ดังนั้น ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 3,017
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,456 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2548
4. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต
ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำมัน คือค่าการตลาดและค่าการกลั่น
ในส่วนของค่าการตลาดจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคาขายปลีกเนื่องจาก
การขึ้นลงของราคาขายปลีกดังกล่าวทำได้ล่าช้ากว่าต้นทุนจริงที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาในส่วนของค่าการกลั่น จากการที่
โรงกลั่นของบริษัทฯ เป็นโรงกลั่นประเภท Simple Refinery ซึ่งมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตามากเมื่อเปรียบเทียบกับ
โรงกลั่นประเภท Complex Refinery โดยน้ำมันเตามีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ทำให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯ ถูก
จำกัดไว้ แต่จากการที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการส่งน้ำมันเตาของบริษัทฯ ไปเพิ่มมูลค่าที่โรงกลั่นอื่นก็สามารถลดผลกระทบ
จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้บางส่วน ซึ่งบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาในระยะ
ยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม ดังนั้นบริษัทฯ จึงดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพ
น้ำมัน (PQI) โดยการก่อสร้างหน่วยแตกตัวโมเลกุลน้ำมัน (Cracking Unit) และหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้โรงกลั่น
ของบริษัทฯเปลี่ยนเป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery ซึ่งสามารถลดสัดส่วนการผลิตน้ำมันเตาให้อยู่ในระดับ
ใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทฯคาดว่าโครงการฯดังกล่าวจะสามารถเริ่มการผลิตได้
สิ้นปี 2551 และคาดว่าจะทำให้บริษัทฯสามารถเพิ่ม EBITDA จากประมาณ 4,000 ล้านบาทในปี 2548 เป็น
ประมาณ 6,000-8,000 ล้านบาท หลังจากที่โครงการฯดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ และดำเนินการผลิตอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะราคาน้ำมัน ณ ขณะนั้นๆ ซึ่งโครงการ PQI ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วโดยมีมูลค่าการลงทุน
รวมเงินลงทุนสำรองกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ (Contingency Reserve) ทั้งสิ้น 15,369
ล้านบาท หรือคิดเป็น 378 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทได้จัดจ้าง บริษัท CTCI Overseas Corporation
Limited และ CTCI (Thailand( Co., Ltd.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง มีระยะเวลาก่อสร้างรวมการทดลอง
เดินเครื่องทั้งสิ้น 32 เดือน ในส่วนของการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการแล้วเสร็จครบถ้วน
ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2549
นอกจากนี้ ระดับราคาน้ำมันก็ยังมีผลกระทบสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยราคาน้ำมันได้ปรับตัว
สูงขึ้นมากตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546 เป็นต้นมา ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าราคาน้ำมันอาจปรับตัวลดลงในอนาคต เนื่องจาก
มีการปรับฐานของระดับราคาเป็นครั้งคราว แต่บริษัทฯ คาดว่าระดับราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจะยังคงอยู่ใน
ระดับที่สูงต่อไป ซึ่งบริษัทฯก็มีส่วนงานที่คอยติดตามและบริหารความเสี่ยงดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่อาจมีผลต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทฯคือ ความผันผวน
ของอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากในการซื้อและขายน้ำมันนั้น บริษัทฯจะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้าและรายการลูกหนี้
การค้าตามลำดับ โดยการอ้างอิงราคาอยู่กับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผล
ต่อมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ แต่ทั้งนี้บริษัทฯก็มีนโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐ
ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันเมื่อมีความพร้อม โดยปัจจุบันบริษัทฯได้ดำเนินการทำประกันความเสี่ยงดังกล่าวโดยใช้
เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดแล้วบางส่วน